JJNY : 5in1 ชาวบ้านร้องทร.ยึดที่อุทยาน│พิธาแวะ‘กระซิบรัก’│“เพื่อไทย” ย้ำชัด│ครูเกือบล้านประสบหนี้│ทุเรียนเวียดนามรุกจีน

ว่าที่ ส.ส.ก้าวไกล ภูเก็ต เปิดข้อมูล ชาวบ้านร้อง ทร.ยึดที่อุทยาน3.7พันไร่ สร้างฐานทัพใหม่
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7697218
 
 
ว่าที่ ส.ส.ก้าวไกล ภูเก็ต เปิดข้อมูล ชาวบ้านร้อง ทร.ยึดที่อุทยาน3.7พันไร่ สร้างฐานทัพใหม่ มีแผนผลักดันชาวบ้านออกพื้นที่ภายใน มิ.ย.นี้ วอนรัฐบาลหยุดดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่
 
วันที่ 3 มิ.ย.2566 นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ว่าที่ ส.ส.ภูเก็ต เขต 3 พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า มีประชาชนในพื้นที่สวนป่าบางขนุน อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เข้ามาร้องเรียนถึงการถูกเจ้าหน้าที่กองทัพเรือเข้าไปในพื้นที่ในชุดเครื่องแบบลายพรางและอาวุธปืน เข้าไปบอกชาวบ้านให้ออกจากพื้นที่ บางรายทหารได้มีการเข้าไปปักเขตพื้นที่ พ่นสัญลักษณ์ลงบนต้นยางของชาวบ้าน ทั้งที่ประชาชนหลายรายมีโฉนดที่ดินอย่างถูกต้อง ทำให้ประชาชนเกรงว่าจะเสียสิทธิในที่ดินทำกินไปเป็นพื้นที่ทหาร
 
ปัญหาเกิดขึ้นจากวันที่ 1 มี.ค. 2566 อธิบดีกรมป่าไม้ ได้มีการเซ็นมอบพื้นที่ดังกล่าวให้กับกองทัพเรือ ภาค 3 เพื่อใช้ตั้งฐานทัพของกองพันต่อสู้อากาศยาน ภายหลังจากการเซ็นมอบพื้นที่ดังกล่าว เจ้าที่ทหารจึงได้เข้าไปทำการปักหลักเขตแดนและเตรียมการขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ โดยที่ประชาชนไม่รู้มาก่อนว่าจะมีการเปลี่ยนพื้นที่ป่า และพื้นที่ทำกินให้เป็นกองทัพ
 
นายฐิติกันต์ กล่าวว่า ทางเสนาธิการกองทัพเรือ เปิดเผยว่าความจริงแล้วกองทัพเรือต้องการพื้นที่เพียงประมาณ 500 กว่าไร่ แต่กรมป่าไม้กลับมอบพื้นที่อุทยานสวนป่าบางขนุนให้ทั้งหมด 3,700 ไร่ โดยฝั่งทหารอ้างว่า พื้นที่ที่เหลือทหารจะเข้ามาทำการอนุรักษ์ เพราะเจ้าหน้าที่ป่าไม้มีกำลังคนไม่เพียงพอ
 
ปัญหาการบุกรุกในพื้นที่อุทยานสวนป่าบางขนุนเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ต้องพิสูจน์ แต่ประชาชนในพื้นที่แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มประชาชนที่อยู่อาศัยเดิมที่ต้องการอนุรักษ์ป่าบางขนุนให้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ และประชาชนที่เข้าไปทำกินใหม่ ด้วยความที่พื้นที่ไม่มีแนวเขตที่ชัดเจน ทำให้ในอนาคตควรมีการพิสูจน์แนวเขตที่ดินอย่างถูกต้อง และมีการทำประชาพิจารณ์ว่าประชาชนในพื้นที่ต้องการใช้สวนป่าบางขนุนแห่งนี้ควบคู่กับการอนุรักษ์ในฐานะป่าต้นน้ำอย่างไร
 
ประชาชนต้องการการประชาพิจารณ์และทำให้สวนป่าบางขนุนเป็นป่าชุมชน แต่กรมป่าไม้กลับยกพื้นที่ทั้งหมดให้เป็นพื้นที่ทหารและจะมีการสร้างฐานทัพเรือ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ทั้งสองกลุ่มรู้สึกไม่สบายใจอย่างมาก เพราะแทนที่พื้นที่จะเป็นป่าอนุรักษ์กลับถูกสร้างให้กลายเป็นฐานทัพของทหารแทน” นายฐิติกันต์กล่าว
 
นายฐิติกันต์ กล่าวว่า ตนเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 
1. ให้ทหารหยุดการดำเนินการต่างๆ รวมทั้งการขับไล่ประชาชน ล้อมรั้วพื้นที่ จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่มาดำเนินการ 
2. ต้องมีการพิสูจน์สิทธิและเดินแปลง ว่าตรงไหนเป็นที่โฉนด ตรงไหนเป็นพื้นที่ประชาชนมีเอกสารสิทธิ์การใช้ประโยชน์ และตรงไหนเป็นที่ดินของรัฐ
3. ต้องมีการประชาพิจารณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการตั้งฐานทัพว่าคนในพื้นที่ต้องการให้มีฐานทัพเรือมาตั้งในพื้นที่นั้นหรือไม่ 
และ 4. สิ่งแวดล้อม พื้นที่ตรงนี้เป็นป่าต้นน้ำ ไม่ควรมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ใดๆ
 
บริเวณใกล้เคียงกันมีท่าเรือทัพละมุ ที่มีพื้นที่เหลือ จนมีการเอาพื้นที่บางส่วนไปทำสนามกอล์ฟ ดังนั้นผมจึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าต้นน้ำของประชาชนมาสร้างเป็นฐานทัพเรือในเวลานี้” นายฐิติกันต์กล่าว



พิธา แวะ ‘กระซิบรัก’ หลังเกลี้ยงอีกจังหวัด เหล้า ‘อีสานรัม’ หนองคาย หมดโรงแล้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4011785

พิธา แวะ ‘กระซิบรัก’ หลังเกลี้ยงอีกจังหวัด เหล้า ‘อีสานรัม’ หนองคาย หมดโรงแล้ว
 
ภายหลังจากที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ออกรายการ กรรมกรข่าว คุยนอกจอ พูดคุยเรื่องนโยบายสุราก้าวหน้า แนะนำเหล้าสังเวียน จากสุพรรณบุรี และคีโร่ จากกระบี่ ที่ทำจากอ้อย กระทั่งมีรายงานว่า เหล้าสังเวียนจากสุพรรณบุรีขายหมดเกลี้ยงหลังนายพิธาแนะนำ
 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน นายพิธาได้ใช้เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เข้าไปคอมเมนต์ว่า “แวะมา ‘กระซิบรัก'” ใต้โพสต์ของเพจประชาชนเบียร์ ที่โพสต์ว่า “Issan Rum อีสานรัม (เหล้าหนองคาย) หมดโรงแล้วครับ

https://www.facebook.com/prachachonbeer/posts/pfbid03Eo3QyY3YK7ABHbnd3RLgB5eFfG6BVSnwXkXsUEAzngPE257DDHAVRsi1jf6wsnTl
 

 
“เพื่อไทย” ย้ำชัด “8 พรรค” กลมเกลียว-มุ่งตั้งรบ.แก้ปัญหาช่วยปชช. ลั่นเลิกฝัน “รัฐบาลแห่งชาติ”
https://siamrath.co.th/n/451954

“ประเสริฐ” ย้ำ 8 พรรคกลมเกลียวมุ่งตั้งรบ.แก้ปัญหาช่วยเหลือประชาชน ลั่น เลิกคิด เลิกฝัน เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ
 
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคร่วมรัฐบาลได้เสียงเลือกตั้งมาเกิน 300 เสียง แต่หลายฝ่ายยังไม่เชื่อมั่นว่าจะตั้งรัฐบาลได้ มีการหยิบยกประเด็นต่างๆมาพูดถึง ลุกลามไปถึงรัฐบาลแห่งชาติ ในฐานะแกนนำพรรคร่วมที่กำลังตั้งรัฐบาลกันอยู่มั่นใจว่าจะตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ ว่า การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคร่วม 8 พรรคครั้งนี้ไม่ได้มีปัญหาอะไรเลยและเดินหน้าไปได้ด้วยดี แม้หลายฝ่ายมองว่าอาจมีอุปสรรคเรื่องเสียงส.ว. แต่ตนยังเชื่อมั่นว่า ส.ว.จะรับฟังเสียงของประชาชนที่เลือกพรรคฝ่ายค้านเดิมมาอย่างถล่มทลาย และจะเห็นได้ว่าการทำงานของ 8 พรรคมีความคืบหน้าตลอดเวลา

"ในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ คณะทำงานเพื่อเปลี่ยนผ่านรัฐบาลแบบไร้รอยต่อ จะมีการสรุปเนื้อหาที่รัฐบาลในอนาคตจะเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน ที่เขาเฝ้าจับตาและรอคอยอย่างมีความหวังต่อรัฐบาลชุดใหม่อยู่ ยืนยันว่าการทำงานของทั้ง 8 พรรคไม่มีอุปสรรคอย่างที่หลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกต และถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองผลเลือกตั้งเร็วเท่าไหร่ ก็จะได้เห็นหน้าตารัฐบาลใหม่เร็วเท่านั้น เพราะวันนี้พรรคร่วม ทั้ง 8 พรรค ทำงานกันอย่างกลมเกลียวพร้อมเต็มที่ รอเพียงการรับรองผลของกกต. เพื่อเปิดสภาฯและเดินหน้าตั้งรัฐบาลของประชาชน"

เมื่อถามถึงข้อเสนอการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ นายประเสริฐ กล่าวว่า เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ ไม่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เราเพิ่งเลือกตั้งกันมา ประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจนว่าจะให้ฝ่ายค้านเดิมมาเป็นรัฐบาล แม้หลายคนอาจพยายามมโนว่ามีอุปสรรคต่างๆนานา แต่ตนเชื่อว่าทั้ง 8 พรรคจะเดินหน้าตั้งรัฐบาลสำเร็จตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญกำหนด ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรแต่ตนเชื่อว่าวิถีประชาธิปไตยยังมีทางออกอยู่ จึงขอให้เลิกคิดเลิกฝันถึงรัฐบาลแห่งชาติได้แล้ว



ครูเกือบล้านประสบปัญหาหนี้ ครูบำนาญโคราชนับพัน​ จ่อถูกฟ้องล้มละลาย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7697567

ปัญหาหนี้สินขยายวง ครูบำนาญโคราชนับพันคนจ่อถูกฟ้องล้มละลาย เกือบล้านคนประสบปัญหาสัดส่วนการหักเงินใช้หนี้ ทำหนี้พะรุงพะรัง
 
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 มิ.ย. ที่หอประชุมพระบรมราชสมภพ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 วัดสุทธจินดาวรวิหาร  อ.เมือง จ.นครราชสีมา ครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสถานศึกษาในพื้นที่ 32 อำเภอ ของ จ.นครราชสีมา จำนวน 210 คน

ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการครูบำนาญที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้สิน ร่วมประชุมกับเครือข่ายประชาชนแก้หนี้สินแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างการรับรู้ทำความเข้าใจ 5 เรื่อง คือ 1.รู้จักตนเอง 2.รู้เท่าทันสหกรณ์และสถาบันการเงิน 3.เครื่องมือระเบียบ ปี 2551 4.ระบบและกลไกเพื่อการขับเคลื่อน 5.เป้าหมายชีวิต
 
นายสมพูล วรรณทอง ผู้แทนเครือข่าย ปชช.แก้หนี้สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปิดเวทีให้ความรู้และหาทางออกปัญหาหนี้สินมีสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการหักเงินเดือนไม่เป็นไปตามข้อกำหนด 30 % ขณะนี้มีครู 900,000 คน จากจำนวน 1,400,000 คน ทั่วประเทศ ประสบปัญหา 30 % ทิพย์ ต้องเฉลี่ยหนี้ให้ลูกหนี้สามารถดำรงอยู่ได้
 
โดยจัดสรรเงินเดือน 70% ใช้หนี้ เพื่อให้เหลือเงิน 30 % ความเป็นจริงสหกรณ์ครูและสถาบันการเงินหักไปหมด หากปล่อยปละละเลยจะมีครูเข้าสู่กระบวนการถูกฟ้องล้มละลายนำไปสู่การขายทอดตลาด ทั้งที่ดินและสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อชำระหนี้สิน ดังนั้นรัฐบาลต้องออก พ.ร.ก ชะลอการฟ้องและการขายทอดตลาด ดำเนินการคู่ขนานเจรจาไกล่เกลี่ยนำไปสู่การฟื้นฟูและเฉลี่ยชำระหนี้สินอย่างเป็นธรรม
 
นางอรณี กระจ่างโพธิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนครูสู้คดี เปิดเผยว่า คำพิพากษาศาลปกครอง วันที่ 26 กันยายน 2562 ให้ครูใช้หนี้จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ 70 % และเหลืออีก 30 % เป็นเงินค่าครองชีพ ความเป็นจริงสหกรณ์ครูและสถาบันการเงินไม่ได้ยึดถือข้อปฏิบัติได้หักเงินเดือนตั้งแต่ต้นทางทำให้หลายรายเงินเดือนติดลบ เสมือน 30 % ทิพย์ ว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ยกเป็นปัญหาระดับชาติและสรรหาผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ทุเลาลง จะทำให้ให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทุ่มเทการสอนได้อย่างเต็มความสามารถ
 
นายสมปอง อินทรสอน ข้าราชการครูบำนาญ กล่าวว่า ขณะนี้มีเพื่อนครูในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ประมาณ 2,300 คน อยู่ระหว่างสถาบันการเงินยื่นฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายและอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องชดใช้หนี้สินแทน น่าเป็นห่วงกลุ่มที่ยังรับราชการหากไม่ชำระหนี้ตามเงื่อนไขต้องถูกให้ออกจากราชการ เมื่อเกษียณราชการ เงินที่ได้จากตำแหน่งและวิทยฐานะถูกตัดออกรวมทั้งหักเงินชำระหนี้ ทำให้เงินที่ได้รับไม่ถึง 30 % รัฐบาลต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนข้อกฎหมาย เช่นสหกรณ์ออมทรัพย์ครูไม่จำเป็นต้องมีแหล่งเดียว ถือเป็นการผูกขาดและเป็นแหล่งขุมทรัพย์รวมทั้งพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้และลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นธรรม
 
นางโสภา จันทฉายา อดีตครูผู้สอนโรงเรียนประถมชื่อดัง ยินดีต้องการเปิดเผยชีวิตความเป็นอยู่ ว่า สถานะมีหนี้สินร่วม 4 ล้านบาท ยังไม่รวมหนี้จากการค้ำประกันในกลุ่มเพื่อนครูโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูของสถาบันการเงิน ซึ่งต้องจับกลุ่มรวมกัน 5 คน ล่าสุดถูกฟ้องล้มละลาย 2 คน ทำให้ผู้ค้ำถูกร่างแหเฉลี่ยต้องชดใช้หนี้แทนประมาณ 1 ล้านบาท
 
ขณะนี้อยู่ขั้นตอนของการบังคับคดี ส่วนสามีเสียชีวิตเมื่อ 15 ปี ที่ผ่านมา ปัจจุบันเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวมีรายได้เดือนละ 6-7 พันบาท จากการเพาะพันธุ์ขายไม้ด่างที่ตลาดนัดรวมทั้งสอนพิเศษ ซึ่งดูแลแม่อายุ 87 ปี ลูกชายพิการติดเตียงรวมทั้งหลานประสบอุบัติเหตุจนพิการเป็นภาระต้องเลี้ยงดูทั้งหมด 4 ชีวิต อาศัยเบี้ยคนพิการแบ่งเบาภาระ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่