ผู้หญิงส่วนใหญ่ต่างเคยมีอาการปวดประจำเดือนและมักคิดว่าอาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติ
โดยเฉพาะหากมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
อาการปวดประจำเดือนเล็กน้อยแต่ปวดมาเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคร้ายได้
เช่นเดียวกับอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรงจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ วิธีดูแล เมื่อปวดท้องประจำเดือน
ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดท้องประจำเดือน หรือปวดท้องเมน (Period pain) มักจะเกิดก่อนที่ประจำเดือนจะมาประมาณ 1-2 วัน
หรือจะปวดขณะที่มีประจำเดือน โดยอาการปวดของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนจะมีอาการปวดแบบปวดบิด ๆ
หรือปวดเป็นพัก ๆ บริเวณท้องน้อย บางคนอาจมีอาการปวดร้าวไปถึงหลัง และบริเวณต้นขา
นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการอื่น ๆ ได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ถ่ายเหลว เป็นต้น
ปวดท้องประจำเดือน เกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อให้ร่างกายขับเนื้อเยื่อภายในมดลูกออกมาเป็นประจำเดือน
แต่บางครั้งอาจมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่รุนแรงมากกว่าปกติจนอาจไปกดทับหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียงจนทำให้ออกซิเจน
ไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงได้จึงทำให้เกิดอาการปวดเกร็ง และในช่วงที่มีประจำเดือนร่างกายจะมีการผลิตสารที่ชื่อว่า
โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่เป็นสารที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการบีบตัวมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้อาการปวดประจำเดือนยังอาจเกิดขึ้นจากปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะนี้จะทำให้ปวดท้องมาก โดยจะมีอาการติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน
อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ด้วย
ถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome) เป็นความผิดปกติของระดับฮอร์โมนทำให้เกิดถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่
คนไข้จะมีประจำเดือนที่ผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานานกว่าปกติ
เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อของมดลูก ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
เนื้องอกที่ว่านี้จะมีขนาดเล็กมากไปจนถึงมีขนาดใหญ่เท่าลูกแตงโม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
หรือทำให้มีลูกยากได้ อาการที่แสดงออกมาในบางรายอาจปวดท้องเมนอย่างรุนแรง หรือประจำเดือนมามาก และมาเป็นเวลานานผิดปกติ
อุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ โดยอาการหลักจะเป็นการปวดที่อุ้งเชิงกราน
และยังส่งผลให้ผู้ป่วยปวดประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็นคาวด้วย
ปากมดลูกตีบ ทำให้ขัดขวางการไหลของเลือดประจำเดือน และเกิดแรงดันภายในมดลูกมาก ก่อให้เกิดอาการปวดประจำเดือน
และประจำเดือนมาไม่ปกติ
ปวดท้องประจำเดือนต้องทำอย่างไร เพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือน
ประคบอุ่นบริเวณท้องน้อย เป็นวิธีแก้อาการปวดท้องประจำเดือนที่ง่ายที่สุด เพียงแค่ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณท้องน้อย
หรือบริเวณที่ปวดท้องเมนส์ ความอุ่นจากประเป๋าน้ำร้อนจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
ดื่มชา ช่วยลดอาการปวดได้ ไเช่น ชาคาโมมายล์, ชาเขียวอู่หลง, ชาเปปเปอร์มินต์ หรือจะเป็นเครื่องดื่มร้อน
เช่น น้ำผึ้งผสมมะนาว หรือน้ำขิง เป็นต้น แต่ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป
เพราะหากดื่มน้ำหรือชามากเกินไปอาจทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และทำให้ปวดท้องเพิ่มขึ้นได้
งดอาหารมัน รับประทานผัก การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้ย่อยยากและเกิดอาการไม่สบายตัวมากขึ้น
หรือถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แนะนำให้เลือกใช้น้ำมันมะกอกแทนน้ำมันชนิดอื่น และเปลี่ยนมารับประทานผัก ผลไม้
เพื่อช่วยลดของเสียในร่างกายและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
ออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 40-60 นาที อย่างสม่ำเสมอ
ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้เทียบเท่ากับการกินยาแก้ปวด
เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข
และเมื่อร่างกายหลังสารเอ็นโดรฟินออกมามากก็จะช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนลงได้
การทำสมาธิ หรือโยคะ สามารถช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ เพราะการทำสมาธิจะช่วยลดความเครียด
ส่วนการเล่นโยคะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงและเสริมความยืดหยุ่นให้ร่างกายมากขึ้น
ทำให้กล้ามเนื้อท้องและหลังยืดหยุ่น จึงช่วยแก้อาการปวดท้องประจำเดือนได้ดีขึ้น

ทั้งนี้หากดูแลตัวเองและลองทำตามคำแนะนำไปแล้ว แต่อาการยังไม่ทุเลาลงและมีอาการดังต่อไปนี้
ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ เดือน
สังเกตจากการที่ต้องใช้ยาแก้ปวดมากขึ้น รับประทานยาแก้ปวดแล้วแต่ยังไม่ทุเลาปวด และยังคงมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น
ปวดท้องมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน รู้สึกปวดท้องน้อยถึงแม้ไม่ใช่ช่วงที่มีประจำเดือน ประจำเดือนมีปริมาณมากกว่าปกติ
สังเกตจากการใช้ผ้าอนามัยเยอะขึ้น มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ถ่ายเหลว บางครั้งอาจปวดท้องมากจนเหงื่อไหล
บางคนอาจมีไข้ระหว่างปวดประจำ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=NQahKkovQEk
https://www.thonburihospital.com/Endometriosis.html
https://shorturl.asia/jTRDg

วิธีดูแล เมื่อปวดท้องประจำเดือน
โดยเฉพาะหากมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
อาการปวดประจำเดือนเล็กน้อยแต่ปวดมาเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคร้ายได้
เช่นเดียวกับอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรงจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ วิธีดูแล เมื่อปวดท้องประจำเดือน
ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดท้องประจำเดือน หรือปวดท้องเมน (Period pain) มักจะเกิดก่อนที่ประจำเดือนจะมาประมาณ 1-2 วัน
หรือจะปวดขณะที่มีประจำเดือน โดยอาการปวดของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนจะมีอาการปวดแบบปวดบิด ๆ
หรือปวดเป็นพัก ๆ บริเวณท้องน้อย บางคนอาจมีอาการปวดร้าวไปถึงหลัง และบริเวณต้นขา
นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการอื่น ๆ ได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ถ่ายเหลว เป็นต้น
แต่บางครั้งอาจมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่รุนแรงมากกว่าปกติจนอาจไปกดทับหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียงจนทำให้ออกซิเจน
ไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงได้จึงทำให้เกิดอาการปวดเกร็ง และในช่วงที่มีประจำเดือนร่างกายจะมีการผลิตสารที่ชื่อว่า
โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่เป็นสารที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการบีบตัวมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้อาการปวดประจำเดือนยังอาจเกิดขึ้นจากปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะนี้จะทำให้ปวดท้องมาก โดยจะมีอาการติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน
อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ด้วย
ถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome) เป็นความผิดปกติของระดับฮอร์โมนทำให้เกิดถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่
คนไข้จะมีประจำเดือนที่ผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานานกว่าปกติ
เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อของมดลูก ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
เนื้องอกที่ว่านี้จะมีขนาดเล็กมากไปจนถึงมีขนาดใหญ่เท่าลูกแตงโม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
หรือทำให้มีลูกยากได้ อาการที่แสดงออกมาในบางรายอาจปวดท้องเมนอย่างรุนแรง หรือประจำเดือนมามาก และมาเป็นเวลานานผิดปกติ
อุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ โดยอาการหลักจะเป็นการปวดที่อุ้งเชิงกราน
และยังส่งผลให้ผู้ป่วยปวดประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็นคาวด้วย
ปากมดลูกตีบ ทำให้ขัดขวางการไหลของเลือดประจำเดือน และเกิดแรงดันภายในมดลูกมาก ก่อให้เกิดอาการปวดประจำเดือน
และประจำเดือนมาไม่ปกติ
ปวดท้องประจำเดือนต้องทำอย่างไร เพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือน
ประคบอุ่นบริเวณท้องน้อย เป็นวิธีแก้อาการปวดท้องประจำเดือนที่ง่ายที่สุด เพียงแค่ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณท้องน้อย
หรือบริเวณที่ปวดท้องเมนส์ ความอุ่นจากประเป๋าน้ำร้อนจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
ดื่มชา ช่วยลดอาการปวดได้ ไเช่น ชาคาโมมายล์, ชาเขียวอู่หลง, ชาเปปเปอร์มินต์ หรือจะเป็นเครื่องดื่มร้อน
เช่น น้ำผึ้งผสมมะนาว หรือน้ำขิง เป็นต้น แต่ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป
เพราะหากดื่มน้ำหรือชามากเกินไปอาจทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และทำให้ปวดท้องเพิ่มขึ้นได้
งดอาหารมัน รับประทานผัก การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้ย่อยยากและเกิดอาการไม่สบายตัวมากขึ้น
หรือถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แนะนำให้เลือกใช้น้ำมันมะกอกแทนน้ำมันชนิดอื่น และเปลี่ยนมารับประทานผัก ผลไม้
เพื่อช่วยลดของเสียในร่างกายและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
ออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 40-60 นาที อย่างสม่ำเสมอ
ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้เทียบเท่ากับการกินยาแก้ปวด
เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข
และเมื่อร่างกายหลังสารเอ็นโดรฟินออกมามากก็จะช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนลงได้
การทำสมาธิ หรือโยคะ สามารถช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ เพราะการทำสมาธิจะช่วยลดความเครียด
ส่วนการเล่นโยคะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงและเสริมความยืดหยุ่นให้ร่างกายมากขึ้น
ทำให้กล้ามเนื้อท้องและหลังยืดหยุ่น จึงช่วยแก้อาการปวดท้องประจำเดือนได้ดีขึ้น
ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ เดือน
สังเกตจากการที่ต้องใช้ยาแก้ปวดมากขึ้น รับประทานยาแก้ปวดแล้วแต่ยังไม่ทุเลาปวด และยังคงมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น
ปวดท้องมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน รู้สึกปวดท้องน้อยถึงแม้ไม่ใช่ช่วงที่มีประจำเดือน ประจำเดือนมีปริมาณมากกว่าปกติ
สังเกตจากการใช้ผ้าอนามัยเยอะขึ้น มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ถ่ายเหลว บางครั้งอาจปวดท้องมากจนเหงื่อไหล
บางคนอาจมีไข้ระหว่างปวดประจำ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=NQahKkovQEk
https://www.thonburihospital.com/Endometriosis.html
https://shorturl.asia/jTRDg