รอยยิ้มลุงตู่ผู้ทำให้ฝ่ายค้านและบรรดากูรู้สั่นสะเทือนในความมั่นคงเด็ดเดี่ยวของท่าน
นายกฯลุงตู่ผู้สยบมารทั้งหลาย ท่านไม่ได้มาอย่างโชคช่วย ท่านมาทำงานอย่างตั้งใจเต็ม100%
ฝ่ายนักกฎหมายข้างลุงแต่ละท่านเชี่ยวชาญมีความสามารถในการตีความทุกคน
กูรู้นั้นเอาแต่อ้างจิตสำนึกว่าอยู่มานานแล้วต้องออกเสียที โดยไม่อ้างกฎหมาย แต่ละคนล้วนคือฝ่ายรอเก้าอี้นายกฯจะไปเป็นฝ่ายพวกตัวบ้าง ก็แค่นั้น
ลุงอยู่นานก็ผิดด้วยนะ นี่ทางเขมรคงหัวเราะฟันแทบร่วงเห็นคนไทยตีความกันแบบที่เขมรร้องยี้
มาดูนักกฎหมายคนนี้ตีความกันบ้างค่ะ....👇👇👇👇👇
นักกฎหมาย ชี้บันทึกกรธ. ทำขึ้นหลังรธน. 60 ใช้บังคับแล้ว มีน้ำหนักเบาหวิวต่อกรณี 8 ปีนายกฯ
“ดร.ณัฎฐ์” ชี้ ปัญหาข้อกฎหมาย หลักฐานเพียงบันทึก กรธ.เกิดขึ้นภายหลังรัฐธรรมนูญ 60 ใช้บังคับแล้ว มีน้ำหนักน้อย แม้พ้นจาก 24 สิงหา พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ยังมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ตราบใดที่ศาลรัฐธรรมนูญมิได้สั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่
20 ส.ค.2565 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ”ดร.ณัฎฐ์”นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงการนับระยะเวลา 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรั ให้นับตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งมีความเห็นแตกต่างกัน ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่า ปัญหาการนับระยะเวลา ตามมาตรา 158 วรรคท้าย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 การโต้แย้งการนับระยะเวลา 8 ปี เริ่มต้นวันใด ถึงวันใด เป็นปัญหาข้อกฎหมาย การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปโดยระบบไต่สวนตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ต้องพิจารณาถึงคำร้องว่า สส. 1 ใน 10 ของเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา หรือ กกต.จะยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีการตั้งประเด็นใดบ้าง
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าเท่าที่ทราบแค่การยื่นคำร้องของฝ่ายค้านยังขาดความไม่สมบูรณ์ ต้องไปเติมข้อความให้ครบถ้วนว่า “ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา” อันเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน เพราะเป็นไปตามช่องทางการยื่นคำร้องตามมาตรา 82 วรรคหนึ่ง ผ่านประธานสภาผู้แทนราษฏรหรือประธานรัฐสภา
ทั้งนี้ โดยต้องดูประเด็นที่ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีประเด็นใดบ้าง หากเฉพาะประเด็นตามมาตรา 158 วรรคท้ายและบทเฉพาะกาลมาตรา 264 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 สามารถนับรวมเวลาหรือนับย้อนหลังได้หรือไม่ อย่างไร
ดังนั้น การนับระยะเวลาเริ่มต้นวันใด รัฐธรรมนูญฉบับใด สิ้นสุดวันที่เท่าไหร่ ตามรัฐธรรมนูญฉบับใด ล้วนแต่ต้องใช้พยานหลักฐานมาสนับสนุนข้ออ้าง หรือหักล้างพยานหลักฐานทั้งสิ้น ปัญหาข้อกฎหมายศาลจะไต่สวน หากข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายย่อมงดไต่สวนก็ได้ เท่าที่เห็นสาระสำคัญที่ศาลรัฐธรรมนูญจะหยิบมาวินิจฉัยในพยานเอกสาร เพื่อชี้ขาดข้อถกเถียง
ซึ่งขณะนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่รับพิจารณาคดีจากองค์กรใด ย่อมแสดงเหตุผลทางวิชาการได้ ไม่ได้ชี้นำและไม่ได้ละเมิดอำนาจศาล เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งสาระสำคัญในการให้น้ำหนักพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย ดังนี้
(1)เจตนารมณ์ร่างรัฐธรรมนูญ
เท่าที่ปรากฎ ขณะร่างรัฐธรรมนูญ(พิมพ์เขียว) ขณะนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ชุด กรธ.ที่อาจารย์มีชัยฯ เป็นประธาน ไม่ได้จัดทำและเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแต่ละมาตราไว้ ก่อนจะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 เมษายน 2560 ปัญหาข้อถกเถียงและการตีความที่ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด จึงต้องอาศัยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแต่ละมาตรา มีที่มาอย่างไร ไม่ใช่ว่า จะให้ศาลมานั่งเทียนตีความเอง เป็นช่องโหว่ปัญหาการตีความตามมาตรา 158 วรรคท้าย 159 และมาตรา 264 บทเฉพาะกาล
การหยิบเจตนารมณ์ร่างรัฐธรรมนูญในมาตราดังกล่าว มาตีความเพื่อให้สมาชิกภาพของรัฐมนตรีสิ้นสุดลง มาตรา 7(9) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของรัฐมนตรี ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องตีความด้วยความระมัดระวังเพราะขาดความชัดเจนในพยานเอกสาร หากพิจารณาตามพิมพ์เขียวร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ปรากฎเจตนารมณ์และคำอธิบายแต่ละมาตรา ซึ่งจะต้องประกอบกัน ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความตามมาตรา 158 วรรคท้าย,159 ,264 เกินจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไม่ได้
(2)คำอธิบายรายมาตรา
หากพิจารณาคำอธิบายรายมาตรา พิจารณาถึงเอกสารชั้นต้น คือ รายงานการบันทึกการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในครั้งที่ 500 ลงวันที่ 7 กันยายน 2561 เป็นการอภิปรายถึงคำอธิบายรายมาตรา 158 วรรคท้าย ซึ่งในการประชุมจัดทำคำอธิบายรายมาตรา มีระยะเวลาภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เทียบเคียง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 เมษายน 2560-ประชุม กรธ.คำอธิบายรายมาตรา 7 กันยายน 2561) ตรงนี้ห่างกัน 1 ปีกว่า และข้อถกเถียงมาตรา 158 วรรคท้าย ที่ว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้" ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เป็นมติคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ ย่อมมีน้ำหนักเบาบาง ค่อนข้างน้อย จึงต้องใช้ความเห็น "พยานบุคคล” ผู้ร่าง เป็นตัวชี้ขาดว่า ระยะเวลา 8 ปี ให้นับรวมกันหรือไม่
สังเกตว่า...👇👇👇👇👇
(1)เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและคำอธิบายรายมาตรา ไม่ได้จัดทำขึ้น ก่อนมีประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการจัดทำคำอธิบายรายมาตรา ภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ และเมื่อตรวจสอบบันทึกรายงานการประชุม ที่แพร่หลายทางสื่อ การประชุม กรธ.ครั้งที่ 500 ไม่มีการโหวตเสียงมติในเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้นับรวมเวลาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หรือไม่ มีเพียงข้อถกเถียง การนับระยะเวลาที่บันทึกไว้ เป็นเพียงความเห็นบางส่วนเท่านั้น
"ซึ่งไม่ผูกพันเป็นมติ กรธ.และไม่ได้บรรจุเป็นคำอธิบายรายมาตรา ให้นับระยะเวลารวมกันก่อนหน้านี้หรือไม่ หากนำไปใช้ในชั้นศาล ศาลย่อมตีความตามเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ จึงทำให้เกิดช่องว่างในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและเปิดช่องใช้ดุลพินิจในการตีความ" ดร.ณัญวุฒิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากพ้นวันที่ 24 สิงหาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่และต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่หรือไม่ ดร.ณัฎฐ์ กล่าวว่า การตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจฝ่ายบริหาร เป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ โดยให้อำนาจหนึ่ง ใช้อำนาจยับยั้งอำนาจอีกอำนาจหนึ่ง ประเด็น สมาชิกภาพความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงหรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 82 วรรคสอง ประกอบมาตรา 170 วรรคท้าย “…เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณา หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปก่อนพ้นจากตำแหน่ง..”
ดังนั้น ตราบใดศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้สั่งให้หยุดปฎิบัติ พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน หากศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฎิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553 มาตรา 41 ให้รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน แต่จะไปใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 168 นายกรัฐมนตรีปฎิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ เพราะต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก่อน ถึงจะเข้าหลักเกณฑ์มาตรา 167,168 และมาตรา 170 วรรคสอง
นักกฎหมายผู้นี้ตั้งตั้งข้อสังเกตว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง ใช้เกณฑ์ปรากฎ "เหตุอันสมควร" ตามคำร้อง เปิดช่องให้ศาลใช้ดุลพินิจแบบกว้าง ไม่ได้บทบัญญัติบังคับเด็ดขาด การสั่งให้หยุดปฎิบัติของนายกรัฐมนตรี จึงต้องพิจารณาถึงผลกระทบการบริหารราชการแผ่นดินประกอบการพิจารณาด้วย จะนำกรณี ส.ส.มาเทียบเคียงไม่ได้ แต่เชื่อว่า โอกาสศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่โอกาสน้อยมาก เกิดจากตัวแปรสาเหตุเจตนารมณ์ร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายรายมาตรา 158 วรรคท้าย ไม่ชัดเจน เป็นเพียงความเห็น ไม่ใช่มติ กรธ.จึงมีน้ำหนักน้อย ศาลจะต้องค้นคว้าหาความจริงโดยความเห็นพยานบุคคลเพิ่มเติม.
หลังวันที่24ส.ค. 2565 นายกฯก็ยังชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา และทำงานต่อไปได้นะคะ
หากศาลรัฐธรรมนูญยังไม่สั่งมา
แล้วพวกดิ้นพล่านจะให้นายกฯหยุดทันที จะทำไงดีล่ะ ก่อม็อบไล่คงไม่สง่างามตามระบอบประชาธิปไตย เพราะนายกฯไม่ทุจริตหรือทำผิดอะไร ให้เป็นแผลแบบพวกมัมมี่
ก็ควรยอมรับกติกาตามกฎหมายนะค้าาาาา
อย่างอแงร้องชักดิ้นชักงอ กรี๊ดๆเป็นเด็กเอาแต่ใจ
อดทนแบบลุงตู่ให้ได้ค่าาาา
❤️มาลาริน❤️มาแล้วค่าาา....นับถอยหลังอีก3วันเท่านั้น ถึง 24 ส.ค. ศาลรธน.บอกลุงตู่อยู่ต่อจะงอแงกันอีกไหมค้าาา..😃😃😃😃😃
หากพิจารณาคำอธิบายรายมาตรา พิจารณาถึงเอกสารชั้นต้น คือ รายงานการบันทึกการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในครั้งที่ 500 ลงวันที่ 7 กันยายน 2561 เป็นการอภิปรายถึงคำอธิบายรายมาตรา 158 วรรคท้าย ซึ่งในการประชุมจัดทำคำอธิบายรายมาตรา มีระยะเวลาภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เทียบเคียง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 เมษายน 2560-ประชุม กรธ.คำอธิบายรายมาตรา 7 กันยายน 2561) ตรงนี้ห่างกัน 1 ปีกว่า และข้อถกเถียงมาตรา 158 วรรคท้าย ที่ว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้" ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เป็นมติคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ ย่อมมีน้ำหนักเบาบาง ค่อนข้างน้อย จึงต้องใช้ความเห็น "พยานบุคคล” ผู้ร่าง เป็นตัวชี้ขาดว่า ระยะเวลา 8 ปี ให้นับรวมกันหรือไม่