นิพพานคืออะไร ตามความเข้าใจของผม
นิพพานคืออะไร เป็นสิ่งที่ผู้ที่มาศึกษาศาสนาพุทธ สนใจมากที่สุด และก็ยังมีการถกเถียงกันอย่างมากมาย
ซึ่ง อาจจะไม่กล่าวถึงนิพพานคืออะไรโดยตรงแต่ก็ประมาณเกี่ยวข้องกัน
ผมก็เป็นผู้หนึ่ง ที่สนใจเรื่องนี้ เพราะจู่ๆจะมาสนใจก็คงไม่ใช่ เมื่อเราเข้ามาศึกษาคำสอนใหม่ๆ ก็จะสืบเข้ามา เกี่ยวข้องกัน จนต้องทำให้อยากรู้ว่า นิพพานคืออะไร
ผมได้ศึกษา และเก็บข้อมูลความคิดเห็นของสมาชิกที่มาโพสกัน ทั้งที่เห็นต่าง และไม่พอใจ ไม่เป็นไรผมก็ไปศึกษาเพิ่มถ้ามีข้อมูลที่ดีก็คงต้องเปลี่ยนแนวความคิด
เข้าเรื่อง
นิพพาน ตามรากศัพท์ มีคนแปลว่า ดับเย็น
ถ้าอย่างนั้น นิพพานก็เป็นคำขยายนาม เช่น สภาวะนิพพาน ก็คือสภาวะดับเย็น และก็จะหมายถึงสภาวะที่ปราศจาก กิเลส นั้นเอง เช่น จิตเข้าสู่สภาวะนิพพาน ก็คือจิตเข้าสู่สภาวะ ปราศจากกิเลสนั้นเอง
อีกตัว อย่าง นิพพานธาตุ ก็คือธาตุที่ดับเย็น ก็หมายถึงธาตุชนิดหนึ่ง นั้นเอง
ผมเชื่อว่า นิพพาน เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า นิพพานธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวมนุษย์ และสัตว์โลกที่เวียนว่ายตายเกิด ทุกผู้ทุกนาม
ทำไมถึงเชื่อเช่นนั้น ในปรมัตถธรรม สี่ประการ ประกอบด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต เจตสิก รูป ก็คือขันธ์ห้า ส่วนนิพพานแยกออกไปต่างหาก
โดยที่ ขันธ์ห้า เป็นสังขตธรรม ปรุงแต่ง เปลียนแปลงได้ ส่วนนิพพาน ก็คือนิพพานธาตุนั้นเอง ปรุงแต่งไม่ได้ เป็นอสังขตธรรม ขันธ์ห้า ผูกติดกับ นิพพานด้วย กิเลสสังโยชน์
พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมชาตินั้นมีอยู่ ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า ธรรมชาตินั้น คือ นิพพานธาตุ
พระพุทธองค์ตรัสว่า อายตนะนิพพาน มีอยู่
รวมก็คือ นิพพานธาตุเป็นธาตุที่สามารถรับรู้ได้เพราะมีอายตนะ
จากที่เราเรียน ว่า ขันธ์ห้า มีอายตนะภายใน คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สัมผัสกับ อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ โดยการรับรู้ ของ จักษุวิญญาณ ไปจนถึงมโนวิญญาณ
แล้วก็เกิด เวทนา มีสุข มีทุกข์ และมี กลางๆ
ส่วนนิพพานธาตุเล่า สัมผัสอะไร
ผมเคยบอกว่า การสัมผัสของนิพพานธาตุ เราเรียกว่า สัมปชัญญะ และเมื่อสัมปชัญญะมีกำลังความต่อเนื่องพอ ก็จะกลายเป็นญาณ ผมเชื่อเช่นนั้น
แล้วผัสสะทางอายตนะนิพพานจะไม่เกิดเวทนา เพราะธาตุนี้เป็นอสังขตะธรรมปรุงแต่งไม่ได้
เมื่อท่านฝึกสัมปชัญญะท่านก็จะรู้ว่า สิ่งนี้ไม่มีเวทนา
มีหลายท่านบอกผมว่า คำว่าญาณ กับสัมปชัญญะก็คือ ปัญญินทรีย์ ซึ่งเป็นเจตสิกที่ 52 ผมไม่เชื่อเช่นนั้น
เพราะคำว่า เจตสิก ก็คือกริยาชนิดหนึ่งของจิต เช่น สติ ก็คือจิตระลึกได้ ถ้าปัญญินทรีย์ ก็คือ กริยาของจิต คือจิตรู้ นั้นเอง
ถ้าเราศึกษาเรื่องสติปัฏฐานสี่
ยกตัวอย่าง เช่นการทำ อานาปานสติ ในพระสูตร จะมีคำว่า มีสติ หายใจเข้า มีสติหายใจออก อันที่จริง ก็คงหมายถึง หายใจเข้ามีสติ หายใจออกมีสติ
เมื่อหายใจเข้า มีสติ ก็คือจิตระลึกได้ว่าผัสสะเช่นนี้คือหายใจเข้า
เมื่อหายใจออก มีสติ ก็คือ จิตระลึกได้ว่าผัสสะเช่นนี้คือหายใจออก
ต่อมา หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจออกยาว เหล่านี้ ก็คือสัมปชัญญะล้วน
การทำสติปัฏฐานเป้าหมายแรกก็คือให้มีการตื่นของตัวนิพพานธาตุ ให้ตื่นในลักษณะรู้สึกตัวเกิดขึ้นเรื่อยๆนั้นเอง
ถ้าสัมปชัญญะคือกริยาของจิต พระพุทธองค์ทำไมต้องบัญญัติว่า มีสติ มีสัมปชัญญะ ละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้
ถ้าท่านใช้คำค้นว่า สติ ในเวบ 84000.org ท่านจะได้คำตอบ แทบทุกคำถ้ามีคำว่า สติ ก็จะมีคำว่าสัมปชัญญะตามด้วยเสมอ
นักปฏิบัติธรรม ถ้าท่านสำรวจดูก็จะรู้ว่า ความรู้สึก ระหว่าง สติ กับสัมปชัญญะ ต่างกัน เพราะเหตุไดก็เพราะมาจากตัวรับรูปที่ต่างกันนั้นเอง
ถ้าท่านเป็นนักดูจิต เมือจิตเคลื่อน ท่านมีสติ จะตามด้วยสัมปชัญญะโดยอัตโนมัติ ต่างจาก การทำอานาปานสติ ซึ่งต้องฝึก ให้เกิดสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ลมสั้นลมยาวเป็นต้น
เป้าหมายคือการตึ่นรู้ของนิพพานธาตุ จนเกิดญาณ เพื่อเป็นฐานไปสู่การพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า นี้คือเหตุที่ ท่านเอาฐานกาย มีเป็นฐานแรกของสติปัฏฐานสี่ นั้นเอง
นิพพานธาตุของปุถุชน จะถูกห่อหุ้มไปด้วยจิตที่เต็มไปด้วยกิเลส เรียกได้ว่า ขาดความเป็นอิสรภาพ
ต่อเมื่อได้ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง จนเกิดวิปัสสนาญาณ ได้บรรลุธรรม ตัวจิตที่เต็มไปด้วยกิเลส ก็จะคลายกำหนัด จิตจะเข้าสู่สภาวะไร้กิเลส บางท่านเรียกว่า เข้าสู่สภาวะนิพพาน อันนี้บางท่านเข้าใจว่า จิตกลายเป็นจิตเดิมแท้ ไม่ใช่นะครับ
เมือจิตสู่สภาวะนิพพาน คือปราศจากกิเลส ตัวนิพพานธาตุก็จะเป็นอิสระ เรียกว่า เข้าสู่นิโรธ
เมื่อพระอรหันตุตายไป จะไม่มีขันธ์ใหม่มารองรับอีก ดังนั้น ตัวจิตก็ดับไปเหลือแต่นิพพานธาตุ ซึ่งไร้ที่ตั้ง ดังพระพุทธองค์กล่าวว่า ธรรมชาตินั้นมีอยู่ แต่ไร้ที่ตั้งนั้นเอง
เมื่อ พายเรือถึงฝั่ง ก็ต้องทิ้งเรือ เรือก็เปรียบเฉมือน จิต พระอรหันต์ตายแล้ว ไม่เอาจิตไปด้วย เมื่อขึ้นฝั่ง ก็ขึ้นแต่นิพพานธาตุ
มีคนเถียงผมว่า ในปุถุชน จะมีนิพพานธาตุอยู่ได้อย่างไร เพราะสิ่งนี้ เป็นสิ่งปราศจากกิเลส
อสังขตะธรรม ไมสามารถมีกิเลสได้ แต่ถูกจิตที่เป็นกิเลสห่อหุ้มได้ ท่านอุปมาเหมือน เชือก คือกิเลสสังโยชน์
สุตมยะปัญญา และ จินตมยะปัญญา เป็นความรู้ระดับจิต
ภาวนามยะปัญญา เป็นความรู้ในระดับญาณ ถ้าไม่ภาวนาให้เกิดญาณ ต่อให้ฉลาดเป็นดอกเต่อร์ ก็ไม่มีท่างบรรลุธรรม
บางท่านบอกว่า ผมกำลังผลัก คำว่า นิพพานเป็นอัตตา
ผมกล่าวตามพระพุทธองค์ว่า ธรรมชาติอันนั้น ก็คือธรรมชาติอันนั้น และธรรมชาติอันนั้นก็เป็นอย่างที่ผมอธิบายไม่ขัดแย้งพระสูตรเลย
พระสูตรกล่าวว่า ไม่มีจิตในตน ไม่มีตนในจิต ก็ไม่ขัดแย้ง
พระสูตรกล่าว่า ผู้ไม่เคยสดับ จะเบื่อหน่ายในจิตหามีไม่เพราะเหตุได้ เพราะเชื่อว่า จิต เป็นตน
ความเห็นของผมเช่นนี้ย่อมมีคนค้าน และเคือง เป็นธรรมดา ถ้าผมถูกท่านก็ผิด ถ้าผมผิดท่านก็ถูก
ความเชื่อเรื่องนิพพาน เปรียบเฉมือน เหรียญสองด้าน ดังนั้นจึงคนหนึ่งเท่านั้น อาจจะเป็นใครก็ได้
ยินดีรับฟัง ข้อโต้แย้ง แต่ขออย่าเคืองนะครับ
อยากเป็นเพื่อนกับทุกท่านครับ
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้
นิพพานคืออะไร ตามความเข้าใจของผม
นิพพานคืออะไร เป็นสิ่งที่ผู้ที่มาศึกษาศาสนาพุทธ สนใจมากที่สุด และก็ยังมีการถกเถียงกันอย่างมากมาย
ซึ่ง อาจจะไม่กล่าวถึงนิพพานคืออะไรโดยตรงแต่ก็ประมาณเกี่ยวข้องกัน
ผมก็เป็นผู้หนึ่ง ที่สนใจเรื่องนี้ เพราะจู่ๆจะมาสนใจก็คงไม่ใช่ เมื่อเราเข้ามาศึกษาคำสอนใหม่ๆ ก็จะสืบเข้ามา เกี่ยวข้องกัน จนต้องทำให้อยากรู้ว่า นิพพานคืออะไร
ผมได้ศึกษา และเก็บข้อมูลความคิดเห็นของสมาชิกที่มาโพสกัน ทั้งที่เห็นต่าง และไม่พอใจ ไม่เป็นไรผมก็ไปศึกษาเพิ่มถ้ามีข้อมูลที่ดีก็คงต้องเปลี่ยนแนวความคิด
เข้าเรื่อง
นิพพาน ตามรากศัพท์ มีคนแปลว่า ดับเย็น
ถ้าอย่างนั้น นิพพานก็เป็นคำขยายนาม เช่น สภาวะนิพพาน ก็คือสภาวะดับเย็น และก็จะหมายถึงสภาวะที่ปราศจาก กิเลส นั้นเอง เช่น จิตเข้าสู่สภาวะนิพพาน ก็คือจิตเข้าสู่สภาวะ ปราศจากกิเลสนั้นเอง
อีกตัว อย่าง นิพพานธาตุ ก็คือธาตุที่ดับเย็น ก็หมายถึงธาตุชนิดหนึ่ง นั้นเอง
ผมเชื่อว่า นิพพาน เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า นิพพานธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวมนุษย์ และสัตว์โลกที่เวียนว่ายตายเกิด ทุกผู้ทุกนาม
ทำไมถึงเชื่อเช่นนั้น ในปรมัตถธรรม สี่ประการ ประกอบด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต เจตสิก รูป ก็คือขันธ์ห้า ส่วนนิพพานแยกออกไปต่างหาก
โดยที่ ขันธ์ห้า เป็นสังขตธรรม ปรุงแต่ง เปลียนแปลงได้ ส่วนนิพพาน ก็คือนิพพานธาตุนั้นเอง ปรุงแต่งไม่ได้ เป็นอสังขตธรรม ขันธ์ห้า ผูกติดกับ นิพพานด้วย กิเลสสังโยชน์
พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมชาตินั้นมีอยู่ ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า ธรรมชาตินั้น คือ นิพพานธาตุ
พระพุทธองค์ตรัสว่า อายตนะนิพพาน มีอยู่
รวมก็คือ นิพพานธาตุเป็นธาตุที่สามารถรับรู้ได้เพราะมีอายตนะ
จากที่เราเรียน ว่า ขันธ์ห้า มีอายตนะภายใน คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สัมผัสกับ อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ โดยการรับรู้ ของ จักษุวิญญาณ ไปจนถึงมโนวิญญาณ
แล้วก็เกิด เวทนา มีสุข มีทุกข์ และมี กลางๆ
ส่วนนิพพานธาตุเล่า สัมผัสอะไร
ผมเคยบอกว่า การสัมผัสของนิพพานธาตุ เราเรียกว่า สัมปชัญญะ และเมื่อสัมปชัญญะมีกำลังความต่อเนื่องพอ ก็จะกลายเป็นญาณ ผมเชื่อเช่นนั้น
แล้วผัสสะทางอายตนะนิพพานจะไม่เกิดเวทนา เพราะธาตุนี้เป็นอสังขตะธรรมปรุงแต่งไม่ได้
เมื่อท่านฝึกสัมปชัญญะท่านก็จะรู้ว่า สิ่งนี้ไม่มีเวทนา
มีหลายท่านบอกผมว่า คำว่าญาณ กับสัมปชัญญะก็คือ ปัญญินทรีย์ ซึ่งเป็นเจตสิกที่ 52 ผมไม่เชื่อเช่นนั้น
เพราะคำว่า เจตสิก ก็คือกริยาชนิดหนึ่งของจิต เช่น สติ ก็คือจิตระลึกได้ ถ้าปัญญินทรีย์ ก็คือ กริยาของจิต คือจิตรู้ นั้นเอง
ถ้าเราศึกษาเรื่องสติปัฏฐานสี่
ยกตัวอย่าง เช่นการทำ อานาปานสติ ในพระสูตร จะมีคำว่า มีสติ หายใจเข้า มีสติหายใจออก อันที่จริง ก็คงหมายถึง หายใจเข้ามีสติ หายใจออกมีสติ
เมื่อหายใจเข้า มีสติ ก็คือจิตระลึกได้ว่าผัสสะเช่นนี้คือหายใจเข้า
เมื่อหายใจออก มีสติ ก็คือ จิตระลึกได้ว่าผัสสะเช่นนี้คือหายใจออก
ต่อมา หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจออกยาว เหล่านี้ ก็คือสัมปชัญญะล้วน
การทำสติปัฏฐานเป้าหมายแรกก็คือให้มีการตื่นของตัวนิพพานธาตุ ให้ตื่นในลักษณะรู้สึกตัวเกิดขึ้นเรื่อยๆนั้นเอง
ถ้าสัมปชัญญะคือกริยาของจิต พระพุทธองค์ทำไมต้องบัญญัติว่า มีสติ มีสัมปชัญญะ ละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้
ถ้าท่านใช้คำค้นว่า สติ ในเวบ 84000.org ท่านจะได้คำตอบ แทบทุกคำถ้ามีคำว่า สติ ก็จะมีคำว่าสัมปชัญญะตามด้วยเสมอ
นักปฏิบัติธรรม ถ้าท่านสำรวจดูก็จะรู้ว่า ความรู้สึก ระหว่าง สติ กับสัมปชัญญะ ต่างกัน เพราะเหตุไดก็เพราะมาจากตัวรับรูปที่ต่างกันนั้นเอง
ถ้าท่านเป็นนักดูจิต เมือจิตเคลื่อน ท่านมีสติ จะตามด้วยสัมปชัญญะโดยอัตโนมัติ ต่างจาก การทำอานาปานสติ ซึ่งต้องฝึก ให้เกิดสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ลมสั้นลมยาวเป็นต้น
เป้าหมายคือการตึ่นรู้ของนิพพานธาตุ จนเกิดญาณ เพื่อเป็นฐานไปสู่การพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า นี้คือเหตุที่ ท่านเอาฐานกาย มีเป็นฐานแรกของสติปัฏฐานสี่ นั้นเอง
นิพพานธาตุของปุถุชน จะถูกห่อหุ้มไปด้วยจิตที่เต็มไปด้วยกิเลส เรียกได้ว่า ขาดความเป็นอิสรภาพ
ต่อเมื่อได้ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง จนเกิดวิปัสสนาญาณ ได้บรรลุธรรม ตัวจิตที่เต็มไปด้วยกิเลส ก็จะคลายกำหนัด จิตจะเข้าสู่สภาวะไร้กิเลส บางท่านเรียกว่า เข้าสู่สภาวะนิพพาน อันนี้บางท่านเข้าใจว่า จิตกลายเป็นจิตเดิมแท้ ไม่ใช่นะครับ
เมือจิตสู่สภาวะนิพพาน คือปราศจากกิเลส ตัวนิพพานธาตุก็จะเป็นอิสระ เรียกว่า เข้าสู่นิโรธ
เมื่อพระอรหันตุตายไป จะไม่มีขันธ์ใหม่มารองรับอีก ดังนั้น ตัวจิตก็ดับไปเหลือแต่นิพพานธาตุ ซึ่งไร้ที่ตั้ง ดังพระพุทธองค์กล่าวว่า ธรรมชาตินั้นมีอยู่ แต่ไร้ที่ตั้งนั้นเอง
เมื่อ พายเรือถึงฝั่ง ก็ต้องทิ้งเรือ เรือก็เปรียบเฉมือน จิต พระอรหันต์ตายแล้ว ไม่เอาจิตไปด้วย เมื่อขึ้นฝั่ง ก็ขึ้นแต่นิพพานธาตุ
มีคนเถียงผมว่า ในปุถุชน จะมีนิพพานธาตุอยู่ได้อย่างไร เพราะสิ่งนี้ เป็นสิ่งปราศจากกิเลส
อสังขตะธรรม ไมสามารถมีกิเลสได้ แต่ถูกจิตที่เป็นกิเลสห่อหุ้มได้ ท่านอุปมาเหมือน เชือก คือกิเลสสังโยชน์
สุตมยะปัญญา และ จินตมยะปัญญา เป็นความรู้ระดับจิต
ภาวนามยะปัญญา เป็นความรู้ในระดับญาณ ถ้าไม่ภาวนาให้เกิดญาณ ต่อให้ฉลาดเป็นดอกเต่อร์ ก็ไม่มีท่างบรรลุธรรม
บางท่านบอกว่า ผมกำลังผลัก คำว่า นิพพานเป็นอัตตา
ผมกล่าวตามพระพุทธองค์ว่า ธรรมชาติอันนั้น ก็คือธรรมชาติอันนั้น และธรรมชาติอันนั้นก็เป็นอย่างที่ผมอธิบายไม่ขัดแย้งพระสูตรเลย
พระสูตรกล่าวว่า ไม่มีจิตในตน ไม่มีตนในจิต ก็ไม่ขัดแย้ง
พระสูตรกล่าว่า ผู้ไม่เคยสดับ จะเบื่อหน่ายในจิตหามีไม่เพราะเหตุได้ เพราะเชื่อว่า จิต เป็นตน
ความเห็นของผมเช่นนี้ย่อมมีคนค้าน และเคือง เป็นธรรมดา ถ้าผมถูกท่านก็ผิด ถ้าผมผิดท่านก็ถูก
ความเชื่อเรื่องนิพพาน เปรียบเฉมือน เหรียญสองด้าน ดังนั้นจึงคนหนึ่งเท่านั้น อาจจะเป็นใครก็ได้
ยินดีรับฟัง ข้อโต้แย้ง แต่ขออย่าเคืองนะครับ
อยากเป็นเพื่อนกับทุกท่านครับ
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้