โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร วิ่งผ่าน 9 สถานี ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถเดินทางจากสถานีมักกะสัน ถึงสถานีอู่ตะเภาได้ภายในเวลา 45 นาที ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการก่อสร้าง โดยกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (CPH) คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567
โครงการนี้ยังถูกออกแบบให้ควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่มีเป้าหมายเชื่อมโยงกรุงเทพฯ แบบไร้รอยต่อ และเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ได้ เช่น มอเตอร์เวย์ เพื่อสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวและการลงทุน ที่จะจูงใจนักลงทุนจากต่างประเทศ และเพื่อความสมบูรณ์ของการขนส่ง ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ส่งผลให้เกิดการลงทุนในมิติต่างๆ เชื่อมไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ประกอบกับมีเสียงเรียกร้องจากประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออก ขอให้รัฐขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไปจนถึงจังหวัดตราด ทางสำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จึงให้มีการสำรวจและศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติโครงการส่วนต่อขยายได้ในปี 2564 แล้วสามารถคัดเลือกเอกชนผู้ลงทุนได้ในปี 2567 และเสร็จพร้อมให้บริการในปี 2571
โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก ระยะที่ 2 จะเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยสร้างต่อจากสถานีอู่ตะเภา จ.ระยอง ไปยังจังหวัดจันทบุรี และตราด รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร ทำให้สามารถเดินทางจากสถานีอู่ตะเภาถึงจังหวัดตราดได้ในระยะเวลาเพียง 64 นาที
ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังเร่งส่งมอบพื้นที่ให้ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ กลุ่ม CPH เข้าดำเนินการก่อสร้าง โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1. ช่วงพญาไท - สุวรรณภูมิ หรือเส้นทางแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ระยะทาง 28 ก.ม. พร้อมส่งมอบพื้นที่ทันทีในวันที่เอกชนคู่สัญญา ชำระค่าให้สิทธิ์การร่วมลงทุนแก่ ร.ฟ.ท. ภายใน 2 ปี (ต.ค. 2564 กลุ่ม CPH จะชำระค่าสิทธิ์จำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อเข้าบริหารโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์)
2. ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ระยะทาง 170 ก.ม. พร้อมส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 2 ปี หลังจากลงนามในสัญญาร่วมทุน (ภายในม.ค. 2564)
3. ช่วงพญาไท - ดอนเมือง ระยะทาง 22 ก.ม. พร้อมส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปี หลังจากลงนามในสัญญาร่วมทุน (ภายในม.ค. 2565)
ปัจจุบันกลุ่ม CPH ได้เริ่มดำเนินการไปได้หลายส่วน อาทิ การส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ ระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงออกแบบปรับปรุงสถานีและบริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งคณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนของบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกฯ เพื่อมาดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านบริการและการให้ชุมชนสองข้างทางที่รถไฟพาดผ่านมีส่วนร่วมกับการพัฒนา
อย่างไรก็ตาม ไฮไลท์ส่วนที่ 1 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกนี้ อยู่ที่การปรับปรุงบริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในรูปโฉมใหม่ เพียงแค่อดใจรอจากนี้อีกไม่เกินหนึ่งปี คงจะมีอะไรดี ๆ มาให้ชมกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้รวบรวมข้อมูลจากข่าว
รูปเก่าจากคลังภาพ
ไฮสปีดเทรนอีอีซีแนวโน้มไปได้สวย เตรียมสร้างส่วนต่อขยายสุดสายตะวันออก
โครงการนี้ยังถูกออกแบบให้ควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่มีเป้าหมายเชื่อมโยงกรุงเทพฯ แบบไร้รอยต่อ และเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ได้ เช่น มอเตอร์เวย์ เพื่อสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวและการลงทุน ที่จะจูงใจนักลงทุนจากต่างประเทศ และเพื่อความสมบูรณ์ของการขนส่ง ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ส่งผลให้เกิดการลงทุนในมิติต่างๆ เชื่อมไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ประกอบกับมีเสียงเรียกร้องจากประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออก ขอให้รัฐขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไปจนถึงจังหวัดตราด ทางสำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จึงให้มีการสำรวจและศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติโครงการส่วนต่อขยายได้ในปี 2564 แล้วสามารถคัดเลือกเอกชนผู้ลงทุนได้ในปี 2567 และเสร็จพร้อมให้บริการในปี 2571
โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก ระยะที่ 2 จะเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยสร้างต่อจากสถานีอู่ตะเภา จ.ระยอง ไปยังจังหวัดจันทบุรี และตราด รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร ทำให้สามารถเดินทางจากสถานีอู่ตะเภาถึงจังหวัดตราดได้ในระยะเวลาเพียง 64 นาที
ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังเร่งส่งมอบพื้นที่ให้ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ กลุ่ม CPH เข้าดำเนินการก่อสร้าง โดยแบ่งการส่งมอบออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1. ช่วงพญาไท - สุวรรณภูมิ หรือเส้นทางแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ระยะทาง 28 ก.ม. พร้อมส่งมอบพื้นที่ทันทีในวันที่เอกชนคู่สัญญา ชำระค่าให้สิทธิ์การร่วมลงทุนแก่ ร.ฟ.ท. ภายใน 2 ปี (ต.ค. 2564 กลุ่ม CPH จะชำระค่าสิทธิ์จำนวนกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อเข้าบริหารโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์)
2. ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ระยะทาง 170 ก.ม. พร้อมส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 2 ปี หลังจากลงนามในสัญญาร่วมทุน (ภายในม.ค. 2564)
3. ช่วงพญาไท - ดอนเมือง ระยะทาง 22 ก.ม. พร้อมส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปี หลังจากลงนามในสัญญาร่วมทุน (ภายในม.ค. 2565)
ปัจจุบันกลุ่ม CPH ได้เริ่มดำเนินการไปได้หลายส่วน อาทิ การส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ ระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงออกแบบปรับปรุงสถานีและบริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งคณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนของบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกฯ เพื่อมาดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านบริการและการให้ชุมชนสองข้างทางที่รถไฟพาดผ่านมีส่วนร่วมกับการพัฒนา
อย่างไรก็ตาม ไฮไลท์ส่วนที่ 1 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกนี้ อยู่ที่การปรับปรุงบริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในรูปโฉมใหม่ เพียงแค่อดใจรอจากนี้อีกไม่เกินหนึ่งปี คงจะมีอะไรดี ๆ มาให้ชมกัน