ตัวผู้เขียนอยากจะแบ่งปันการตกผลึกทางความคิด ซึ่งได้มาจากการที่ตัวผมนั้นรักในการที่จะแสวงหาแก่นแท้ของชีวิต จึงไล่ค้นหาความรู้โดยเฉพาะนักคิดทางปรัชญา ซึ่งก็คิดว่าหลังจากได้ทำการคิดมาพอสมควร(ยังต้องศึกษาไปตลอดชีวิต) แล้วนั้นก็อยากจะแบ่งปันแก่ท่านอื่นๆ เพื่อการขัดเกลาความคิดของตน และได้เห็นมุมมองของคนอื่นๆว่าความคิดเห็นอย่างไร
---
ผมต้องบอกว่าค่อนข้างได้รับอิทธิพลแนวคิดจาก "ฌอง-ปอล ซาร์ต" และ "พุทธศาสนา" แต่ผมจะนำแง่มุมที่ผมคิดว่าจุดนี้ที่เป็นจุดสำคัญ เป็นแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ทุกคนนั้นคือคำว่า...
"ความหมาย"...ซึ่งผมคิดว่าต้องมาสนทนาแลกเปลี่ยนพร้อมเน้นขยายความให้เห็นชัดเจน และตัวผมคิดว่าสิ่งที่ผมจะกำลังอธิบายนั้นไม่ซับซ้อนหรือยากเกินจะเข้าใจตามแบบปรัชญาที่ภาพลักษณ์ดูเป็นเช่นนั้น แต่กลับเป็นสิ่งที่ถ้าทุกท่านได้คิดตรึกตรองจะเห็นว่านี่เป็นความจริงของชีวิตเราที่ไม่ได้สังเกตเห็นหรือตั้งคำถามเท่านั้นเอง
ด้วยเหตุที่เราถูกม่านกำบังเสรีภาพอันแท้จริงของเราเอาไว้!
ผมขอเริ่มต้นว่าเมื่อเราเกิดขึ้นมาเป็นทารกนั้นเราเหมือน
"แก้วเปล่า" ซึ่งผมเห็นนั่นเป็น
ความหมายในตัวเองที่แท้จริงอยู่แล้วในคนทุกคน ความหมายอีกแบบคือสิ่งสมมุติในสังคม เราเกิดมาพร้อมกับมี
"เสรีภาพในการที่จะเลือก" คือการที่จะทำหรือเป็นอะไรแก่ตัวเราเองก็ได้ เพียงแต่เรา
ติดกับดักของตัวซึ่งเกิดจากอิทธิพลของคนอื่นเท่านั้น (ผมขอไม่ขยายความเพราะไม่ใช่ประเด็นที่จะเน้น ซึ่งผมเห็นคล้ายกับซาร์ตในจุดนี้)
ด้วยความว่างเปล่าทางจิตใจแต่เกิดนั้นเองเป็นเหตุทำให้เราต้องการ
หลีกหนีจากมัน ลองสังเกตดูในชีวิตจริงๆของเราทำไมเราไม่สามารถจะอยู่อย่างไร้เป้าหมายหรือการอยู่เฉยๆได้แท้จริงเลย เมื่อเราทำแบบนั้น
"ความกลวงในความรู้สึก ความโดดเดี่ยว ความไม่มีความหมายจะเข้าแทนที่และเราไม่อาจฝืนทนรับได้" ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึง
"เคลื่อนไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อหนีมัน" ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วมันคือการ
"ดิ้นรนทางจิตใจ" เพื่อหาหนทางรอดให้แก่ตัวมันเอง เหมือนกับกวางตัวน้อยๆที่วิ่งหนีจากความกลัวตายสุดชีวิตจากการไล่ล่าของสิงโต...ซึ่งผมเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นคล้ายดั่งนักวิทยาศาสตร์ทางจิตใจคนแรกๆที่พบการทำให้จิตนั้นอยู่ใน
"สภาพที่ไม่ยึดติด แต่ให้คงรูปในความว่างเอาไว้" แต่ผมเห็นว่านั่นก็มาจากเหตุที่ต้องการหลีกหนีจากความอ้างว้างในจิตใจอยู่นั่นเอง
การดิ้นรนทางจิตใจนั้นเองพร้อมทั้งมีการดิ้นรนอีกทางหนึ่งคือ
"ทางกาย" ในการที่จะคงสภาพเอาไว้จนกว่าจะตายไปตามธรรมชาติ เช่นต้องหาอาหารมากิน การดิ้นรนทั้งสองอย่างนี้ทำให้เป็น
"ทำให้เกิดการกระทำ" และผลต่อมาคือ
"จุดเริ่มต้นแห่งความหมายแบบที่สองของมนุษย์ คือสิ่งที่สังคมสมมุติให้ แล้วก็ยึดไว้จนลืมมองเห็นความหมายที่แท้จริงนั่นคือเสรีภาพของตนเอง" ขึ้นมา ซึ่งอธิบายมาถึงจุดนี้จากเริ่มที่คนเรานั้นว่างเปล่า แต่ด้วยการต้องดิ้นรนเพื่อหลีกหนีจากสภาพที่มนุษย์ไม่อาจทนได้ ประกอบกับ
เสรีภาพที่ติดตัวของมนุษย์ที่สามารถทำอะไรได้อย่างมากมายนั้น แล้วเกิดเป็น "
การเลือก" ที่จะเป็นหรือทำในสิ่งนั้น เราจึงเกิด
"ตัวตนอันสมบูรณ์" ที่เรารู้จักว่าคนนั้นได้ว่าเขาคือใคร เขาเป็นอะไร ยกตัวอย่าง นายบอสเกิดมาพอเขาเข้าไปในโรงเรียนเขามีความหมายเป็น "นักเรียน" พอเขาไปสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยเขามีความหมายเป็น "อาจารย์"
ซึ่งจากสิ่งที่อธิบายมาผมจึงสรุปชวนร่วมกันคิดว่าคนเราแท้ที่จริงแล้ว
"มนุษย์มีความหมายในตนเองที่แท้จริงอยู่แล้วตั้งแต่เกิด นั่นคือเสรีภาพที่จะเลือกว่าตนเองจะมีชีวิตที่มีความหมายในสังคมแบบใด" ในระหว่าง
"การดำรงชีวิตขณะมีชีวิตอยู่" ไม่ใช่ความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นและหลงผิดเชิดชูกันเอง...แล้วทุกท่านหละครับคิดว่าอย่างไร?
---
หรือแก่นแท้ของชีวิตคือคำว่า... "ความหมาย 2 แบบ"
---
ผมต้องบอกว่าค่อนข้างได้รับอิทธิพลแนวคิดจาก "ฌอง-ปอล ซาร์ต" และ "พุทธศาสนา" แต่ผมจะนำแง่มุมที่ผมคิดว่าจุดนี้ที่เป็นจุดสำคัญ เป็นแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ทุกคนนั้นคือคำว่า..."ความหมาย"...ซึ่งผมคิดว่าต้องมาสนทนาแลกเปลี่ยนพร้อมเน้นขยายความให้เห็นชัดเจน และตัวผมคิดว่าสิ่งที่ผมจะกำลังอธิบายนั้นไม่ซับซ้อนหรือยากเกินจะเข้าใจตามแบบปรัชญาที่ภาพลักษณ์ดูเป็นเช่นนั้น แต่กลับเป็นสิ่งที่ถ้าทุกท่านได้คิดตรึกตรองจะเห็นว่านี่เป็นความจริงของชีวิตเราที่ไม่ได้สังเกตเห็นหรือตั้งคำถามเท่านั้นเอง ด้วยเหตุที่เราถูกม่านกำบังเสรีภาพอันแท้จริงของเราเอาไว้!
ผมขอเริ่มต้นว่าเมื่อเราเกิดขึ้นมาเป็นทารกนั้นเราเหมือน "แก้วเปล่า" ซึ่งผมเห็นนั่นเป็นความหมายในตัวเองที่แท้จริงอยู่แล้วในคนทุกคน ความหมายอีกแบบคือสิ่งสมมุติในสังคม เราเกิดมาพร้อมกับมี "เสรีภาพในการที่จะเลือก" คือการที่จะทำหรือเป็นอะไรแก่ตัวเราเองก็ได้ เพียงแต่เราติดกับดักของตัวซึ่งเกิดจากอิทธิพลของคนอื่นเท่านั้น (ผมขอไม่ขยายความเพราะไม่ใช่ประเด็นที่จะเน้น ซึ่งผมเห็นคล้ายกับซาร์ตในจุดนี้)
ด้วยความว่างเปล่าทางจิตใจแต่เกิดนั้นเองเป็นเหตุทำให้เราต้องการหลีกหนีจากมัน ลองสังเกตดูในชีวิตจริงๆของเราทำไมเราไม่สามารถจะอยู่อย่างไร้เป้าหมายหรือการอยู่เฉยๆได้แท้จริงเลย เมื่อเราทำแบบนั้น "ความกลวงในความรู้สึก ความโดดเดี่ยว ความไม่มีความหมายจะเข้าแทนที่และเราไม่อาจฝืนทนรับได้" ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึง "เคลื่อนไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อหนีมัน" ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วมันคือการ "ดิ้นรนทางจิตใจ" เพื่อหาหนทางรอดให้แก่ตัวมันเอง เหมือนกับกวางตัวน้อยๆที่วิ่งหนีจากความกลัวตายสุดชีวิตจากการไล่ล่าของสิงโต...ซึ่งผมเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นคล้ายดั่งนักวิทยาศาสตร์ทางจิตใจคนแรกๆที่พบการทำให้จิตนั้นอยู่ใน "สภาพที่ไม่ยึดติด แต่ให้คงรูปในความว่างเอาไว้" แต่ผมเห็นว่านั่นก็มาจากเหตุที่ต้องการหลีกหนีจากความอ้างว้างในจิตใจอยู่นั่นเอง
การดิ้นรนทางจิตใจนั้นเองพร้อมทั้งมีการดิ้นรนอีกทางหนึ่งคือ "ทางกาย" ในการที่จะคงสภาพเอาไว้จนกว่าจะตายไปตามธรรมชาติ เช่นต้องหาอาหารมากิน การดิ้นรนทั้งสองอย่างนี้ทำให้เป็น "ทำให้เกิดการกระทำ" และผลต่อมาคือ "จุดเริ่มต้นแห่งความหมายแบบที่สองของมนุษย์ คือสิ่งที่สังคมสมมุติให้ แล้วก็ยึดไว้จนลืมมองเห็นความหมายที่แท้จริงนั่นคือเสรีภาพของตนเอง" ขึ้นมา ซึ่งอธิบายมาถึงจุดนี้จากเริ่มที่คนเรานั้นว่างเปล่า แต่ด้วยการต้องดิ้นรนเพื่อหลีกหนีจากสภาพที่มนุษย์ไม่อาจทนได้ ประกอบกับเสรีภาพที่ติดตัวของมนุษย์ที่สามารถทำอะไรได้อย่างมากมายนั้น แล้วเกิดเป็น "การเลือก" ที่จะเป็นหรือทำในสิ่งนั้น เราจึงเกิด "ตัวตนอันสมบูรณ์" ที่เรารู้จักว่าคนนั้นได้ว่าเขาคือใคร เขาเป็นอะไร ยกตัวอย่าง นายบอสเกิดมาพอเขาเข้าไปในโรงเรียนเขามีความหมายเป็น "นักเรียน" พอเขาไปสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยเขามีความหมายเป็น "อาจารย์"
ซึ่งจากสิ่งที่อธิบายมาผมจึงสรุปชวนร่วมกันคิดว่าคนเราแท้ที่จริงแล้ว "มนุษย์มีความหมายในตนเองที่แท้จริงอยู่แล้วตั้งแต่เกิด นั่นคือเสรีภาพที่จะเลือกว่าตนเองจะมีชีวิตที่มีความหมายในสังคมแบบใด" ในระหว่าง "การดำรงชีวิตขณะมีชีวิตอยู่" ไม่ใช่ความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นและหลงผิดเชิดชูกันเอง...แล้วทุกท่านหละครับคิดว่าอย่างไร?
---