โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease หรือ CKD) คือ ภาวะที่ไตมีการทำงานผิดปกติ หรือเสื่อมสภาพลง โดยมีระยะเวลาของการทำงานผิดปกติตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ทำให้การกำจัดของเสียออกจากเลือด และการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายมีความบกพร่อง ส่งผลให้ไม่สามารถขับของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากกระแสเลือดได้ โดยในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ หากปล่อยเอาไว้เป็นเวลานาน และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
คนไทยกินเค็มเสี่ยงไตเรื้อรังมากขึ้น
คนไทยมีพฤติกรรมทานอาหารที่มีโซเดียมสูง โดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่บริโภคอาหารสำเร็จรูปที่มีปริมาณโซเดียมสูง คนไทยจึงมีแนวโน้มป่วยเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสถิติผู้ป่วยรวมเกือบ 15 ล้านคน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองป่วย เพราะในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ หากจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อไตเสียหายไปมากแล้ว โดยต้องได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก
สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง
สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ส่วนโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุอีก ได้แก่ โรคเกาต์ โรคนิ่วในไต เป็นต้น โดยโรคเหล่านี้ย่อมมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร และหากบริโภคอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กลายเป็นโรคไตเรื้อรัง และไตวายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
อาการของโรคไตเรื้อรัง
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียน และอาจอาเจียนเป็นเลือด
- อ่อนเพลีย
- ตัวซีด โลหิตจาง
- คันตามตัว
- อาจมีอาการชัก สมองหยุดทำงาน และหมดสติ
- เป็นหมัน และหมดสมรรถภาพทางเพศ
- มีอาการบวมบริเวณรอบดวงตา เท้า และท้อง โดยจะเป็นรอยบุ๋มเมื่อออกแรงกด
- ประจำเดือนขาด (ในผู้หญิง)
- มีอาการปวดเอว หรือบริเวณหลังด้านข้าง
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง
- อายุมากกว่า 60 ปี
- มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไต
- รับประทานยาที่ทำลายไต เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะไตวายเรื้อรัง
- อาจเกิดอาการ Uremia เป็นกลุ่มอาการในภาวะท้ายของโรคไตวาย ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปลายประสาทเสื่อม เกิดความคิดสับสน ชัก และหมดสติ
การรักษาโรคไตเรื้อรัง
- ล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD) เป็นการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องประมาณ 2 ลิตร โดยทำวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 6 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
- การฟอกเลือด (Hemodialysis) เป็นการนำเลือดเสียผ่านเข้าไปในเครื่องกรองเลือด และนำเลือดที่ถูกกรองสะอาดแล้วกลับสู่ร่างกายอีกครั้ง
- การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) รผ่าตัดเปลี่ยนไตจะทำได้ 2 วิธี คือ ผู้ป่วยจะได้รับบริจาคอวัยวะจากสภากาชาดไทย หรืออาจได้รับการปลูกถ่ายไตจากญาติพี่น้องร่วมสายโลหิต หรือจากคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาอย่างน้อย 3 ปี
การป้องกันตนเองจากโรคไตเรื้อรัง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง
- หากเป็นโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ควรควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อไต เช่น ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน เป็นต้น
ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังดูแลตนเองอย่างไร
- ผู้ป่วยโรคไตจะต้องจำกัดอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมาก และจำกัดอาหารที่มีรสจัด รวมถึงรับประทานเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่ นมในปริมาณที่น้อยลง
- หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาที่หักโหมจนเกินไป
- รับประทานยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด
ไตเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน และทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจร่างกายตั้งแต่เนิ่น ๆ นอกจากจะช่วยให้เราค้นพบโรคที่ซ่อนอยู่แล้ว ยังช่วยให้เราสามารถรักษาโรคได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินแก้
ไตวายเรื้อรัง ความเสี่ยงที่คนชอบกินเค็มควรระวัง
คนไทยกินเค็มเสี่ยงไตเรื้อรังมากขึ้น
คนไทยมีพฤติกรรมทานอาหารที่มีโซเดียมสูง โดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่บริโภคอาหารสำเร็จรูปที่มีปริมาณโซเดียมสูง คนไทยจึงมีแนวโน้มป่วยเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสถิติผู้ป่วยรวมเกือบ 15 ล้านคน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองป่วย เพราะในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ หากจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อไตเสียหายไปมากแล้ว โดยต้องได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก
สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง
สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ส่วนโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุอีก ได้แก่ โรคเกาต์ โรคนิ่วในไต เป็นต้น โดยโรคเหล่านี้ย่อมมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร และหากบริโภคอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กลายเป็นโรคไตเรื้อรัง และไตวายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
อาการของโรคไตเรื้อรัง
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียน และอาจอาเจียนเป็นเลือด
- อ่อนเพลีย
- ตัวซีด โลหิตจาง
- คันตามตัว
- อาจมีอาการชัก สมองหยุดทำงาน และหมดสติ
- เป็นหมัน และหมดสมรรถภาพทางเพศ
- มีอาการบวมบริเวณรอบดวงตา เท้า และท้อง โดยจะเป็นรอยบุ๋มเมื่อออกแรงกด
- ประจำเดือนขาด (ในผู้หญิง)
- มีอาการปวดเอว หรือบริเวณหลังด้านข้าง
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
- อายุมากกว่า 60 ปี
- มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไต
- รับประทานยาที่ทำลายไต เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะไตวายเรื้อรัง
- อาจเกิดอาการ Uremia เป็นกลุ่มอาการในภาวะท้ายของโรคไตวาย ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปลายประสาทเสื่อม เกิดความคิดสับสน ชัก และหมดสติ
การรักษาโรคไตเรื้อรัง
- ล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD) เป็นการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องประมาณ 2 ลิตร โดยทำวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 6 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
- การฟอกเลือด (Hemodialysis) เป็นการนำเลือดเสียผ่านเข้าไปในเครื่องกรองเลือด และนำเลือดที่ถูกกรองสะอาดแล้วกลับสู่ร่างกายอีกครั้ง
- การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) รผ่าตัดเปลี่ยนไตจะทำได้ 2 วิธี คือ ผู้ป่วยจะได้รับบริจาคอวัยวะจากสภากาชาดไทย หรืออาจได้รับการปลูกถ่ายไตจากญาติพี่น้องร่วมสายโลหิต หรือจากคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาอย่างน้อย 3 ปี
การป้องกันตนเองจากโรคไตเรื้อรัง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง
- หากเป็นโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ควรควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อไต เช่น ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน เป็นต้น
ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังดูแลตนเองอย่างไร
- ผู้ป่วยโรคไตจะต้องจำกัดอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมาก และจำกัดอาหารที่มีรสจัด รวมถึงรับประทานเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่ นมในปริมาณที่น้อยลง
- หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาที่หักโหมจนเกินไป
- รับประทานยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด
ไตเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน และทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจร่างกายตั้งแต่เนิ่น ๆ นอกจากจะช่วยให้เราค้นพบโรคที่ซ่อนอยู่แล้ว ยังช่วยให้เราสามารถรักษาโรคได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินแก้