งานทดลองบนชั้นบรรยากาศในอดีต

เมื่อ NASA ส่งแมงกะพรุนไปอวกาศ


เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 1991 กระสวยอวกาศโคลัมเบียพุ่งทะยานขึ้นสู่อวกาศ โดยมีแมงกะพรุนพระจันทร์ (Moon Jelly, Aurelia aurita) ในระยะ Polyp และระยะว่ายน้ำขั้นเริ่มต้น (Ephyra) จำนวน 2,478 ตัว ถูกส่งขึ้นไปด้วย

แมงกะพรุนอวกาศกลุ่มนี้ คือตัวแทนของการทดลองเพื่อที่จะตอบคำถามว่า “สภาวะเกือบไร้แรงโน้มถ่วง (microgravity) มีผลอย่างไรต่อพัฒนาการของสิ่งมีชีวิต” 
แม้ว่าแมงกะพรุนจะต่างจากคนอย่างมาก แต่มีสิ่งหนึ่งที่คล้ายกัน คือระบบตรวจวัดแรงโน้มถ่วง (gravity receptor)  มันคือระบบที่ทำให้แมงกะพรุนบอกความแตกต่างระหว่างด้านบนกับด้านล่างได้ โดยมันจะมีผลึกแคลเซียมซัลเฟต (Statoliths) ในกระเปาะรอบๆ ขอบร่ม (bell margin) ซึ่งพอเวลามันเอียงตัว ผลึกนี้ก็จะกลิ้งขนที่ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ก็จะส่งสัญญาณไปยังเส้นประสาท ซึ่งคล้ายกับระบบที่อยู่ในหูชั้นในของคนเรา

 การทดลองนี้เริ่มขึ้นโดยการฉีดสารเคมีกระตุ้นให้ Polyp พัฒนาเป็น Ephyra ซึ่งบางกลุ่มจะเป็น Ephyra ตั้งแต่ก่อนยานออก ส่วนอีกกลุ่มเป็นเมื่ออยู่บนอวกาศแล้ว จากนั้นพวกเขาก็จะทำการบันทึกภาพและข้อมูลต่างๆ เช่น ลักษณะภายนอก ท่าทางการว่ายน้ำ จำนวนผลึกแคลเซียมซัลเฟต เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่อยู่บนโลก

นอกจากนั้น พวกเขายังปล่อยให้แมงกะพรุนที่เป็นตัวเต็มวัยในอวกาศได้ขยายพันธุ์ด้วย ซึ่งทำให้ในช่วงนั้นมีแมงกะพรุนโคจรรอบโลกถึง 60,000 ตัว
สิ่งที่นักวิจัยพบจากการทดลองนี้คือ พวกมันเจริญเติบโตได้อย่างปกติและว่ายน้ำได้ เพียงแต่เมื่อผ่านไปราว 9 วัน พวกที่เติบโตมาแล้วจากโลก จะสูญเสียผลึกแคลเซียมซัลเฟตไปเป็นจำนวนมาก และมีท่าว่ายแปลกๆ โดยมักว่ายวนเป็นวงกลม

และเมื่อแมงกะพรุนกลุ่มนี้กลับถึงโลก พวกบางส่วนไม่สามารถว่ายน้ำได้เหมือนเพื่อนแมงกะพรุนที่อยู่บนโลกทั่วไป เนื่องจากระบบตรวจวัดแรงโน้มถ่วงเกิดความผิดเพี้ยน… แต่ไม่นานพวกมันส่วนใหญ่ก็สามารถกลับคืนสู่การว่ายปกติได้
อ้างอิง
https://er.jsc.nasa.gov/seh/From_Undersea_To_Outer_Space.pdf
https://www.nytimes.com/2011/06/07/science/07jellyfish.html
https://www.youtube.com/watch?v=FvjVKAAvIn8
Cr.https://www.antijellyfish.com/nasa-ส่งแมงกะพรุนไปอวกาศ/ บทความ ร่างกายมหัศจรรย์ของน้องเยลลี่

"วิสกี้" บ่มในอวกาศ


โรงกลั่น อาร์ดเบ็ก จากเมืองอิสเลย์ สกอตแลนด์ ได้ร่วมมือกับบริษัท นาโนแร็กส์ บริษัทการบินอวกาศ จัดส่งวิสกี้ที่ยังไม่ผ่านการหมักบ่ม ขึ้นไปกับยานขนส่งอวกาศเพื่อไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2554 พร้อมกับการหมักบ่มด้วยไม้โอ๊คในสภาพที่แทบจะไร้น้ำหนัก เพื่อทดลองว่าเมื่อมีการหมักบ่มวิสกี้บนอวกาศที่อยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักแล้วจะได้วิสกี้ที่มีรสชาติอย่างไร มีความเหมือนหรือแตกต่างจากการหมักบ่มแบบเดียวกันและระยะเวลาเท่ากันบนพื้นโลกหรือไม่ โดยทางบริษัทได้หมักบ่มวิสกี้แบบเดียวกันด้วยไม้โอ๊คชนิดเดียวกันบนโลก เป็นตัวอย่างสำหรับการเปรียบเทียบ

ตัวอย่างของวิสกี้ที่ส่งขึ้นมาหมักบ่มบนไอเอสเอสเป็นเวลา 3 ปี ถูกส่งกลับมายังโลก และนำมาทดสอบเปรียบเทียบกับวิสกี้ที่อยู่บนโลก ผู้ทดสอบของอาร์ดเบ็ก พบความแตกต่างทั้งกลิ่นและรสของตัวอย่างวิสกี้ทั้งสอง โดยพบว่าตัวอย่างวิสกี้ที่อยู่บนโลกนั้นสามารถดูดซับกลิ่นของไม้โอ๊คได้ดีกว่าวิสกี้ที่ถูกหมักบ่มอยู่บนอวกาศ
 
สิ่งที่แตกต่างกันอย่างมากคือเรื่องของรสชาติโดยตัวอย่างของวิสกี้ที่หมักบ่มบนโลกยังคงให้รสชาติในแบบฉบับของอาร์ดเบ็กอาทิ มีกลิ่นของไม้ซีดาร์ กลิ่นหอมหวานที่ได้จากการรมควัน ส่วนตัวอย่างที่ได้จากไอเอสเอสจะมีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างออกไปอย่างมาก 

ซึ่งผู้ทดสอบอธิบายไว้ว่ามีความเข้มข้นกว่า ให้ความรู้สึกต่อผู้ทดสอบเหมือนกับการอมลูกอมฆ่าเชื้อโรคในปาก แถมยังมีกลิ่นยางไหม้ ที่อาร์ดเบ็กบอกว่า คงไม่มีใครอยากเปิดขวดนี้ออกมาฉลองในโอกาสสำคัญๆ แน่นอน เว้นเสียแต่ว่าอยากดื่มไปด้วยพร้อมกับการได้กลิ่นยางรถยนต์ครูดกับพื้นถนนเป็นทางยาวพร้อมกันไปด้วย

ดร.บิลล์ลัมส์เดนผู้อำนวยการของอาร์ดเบ็ก เปิดเผยว่า ตัวอย่างของวิสกี้ที่ส่งขึ้นไปหมักบ่มบนอวกาศมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ทั้งกลิ่นและรสชาติ ที่มีความชัดเจนมากกว่าการหมักบ่มบนโลก และให้กลิ่นรมควันที่แตกต่างชนิดที่ไม่เคยพบบนโลกนี้มาก่อน และว่า การค้นพบครั้งนี้อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมวิสกี้ทั้งหมดในวันหนึ่งข้างหน้า
ทั้งนี้อาร์ดเบ็กมีแผนที่จะเดินหน้าโครงการทดสอบการหมักบ่มในสภาวะไร้น้ำหนักต่อไปเพื่อหาทางพยายามและสร้างรสชาติของวิสกี้ที่แตกต่างออกไปจากเดิม

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่บริษัทอาร์ดเบ็กเท่านั้นที่สนใจผลิตวิสกี้รสชาติใหม่บนอวกาศ โดยเมื่อปี 2558 บริษัท ซันโตรี ในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น หนึ่งในบริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตวิสกี้ที่ดีที่สุดในโลก ก็ได้ส่งตัวอย่างของวิสกี้ของบริษัทและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ ของบริษัท ซันโตรี ขึ้นไปบนไอเอสเอสเพื่อดูถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการหมักบ่มในสภาวะไร้น้ำหนักบนอวกาศเพื่อนำมาพัฒนาวิสกี้ของบริษัทต่อไป
ที่มา : นสพ.มติชน
Cr.https://www.sanook.com/men/9931/ 
เครดิตรูป http://arstechnica.com/

  

เมล็ดพันธุ์พืช "มะม่วงอวกาศ"


ทีมนักวิทยาศาสตร์จีนประสบความสำเร็จการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชที่กลายพันธุ์บนอวกาศหลังดำเนินโครงการมานานกว่า 30 ปีย้อนกลับไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจีนส่งยานอวกาศ Shenzhou-11

ขึ้นสู่ห้วงอวกาศเพื่อปฏิบัติภารกิจพร้อมด้วยนักบินอวกาศ 2 นายและเมล็ดพันธุ์พืชหลากชนิดอีกจำนวนหนึ่ง
เมล็ดมะม่วงที่นักบินอวกาศชาวจีนพาขึ้นไปด้วยนั้นได้ใช้เวลารวม 33 วันบนอวกาศเมล็ดเหล่านี้ต้องเผชิญกับรังสี, ความดันและสภาวะไร้น้ำหนักจนกลายพันธุ์จากนั้นเมล็ดดังกล่าวได้ถูกส่งกลับลงมายังโลกเพื่อเพาะพันธุ์เป็นต้นอ่อน
 
วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้มีขึ้นเพื่อสร้างมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพและมีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้นซึ่งตลอด 4 เดือนที่ผ่านมาหลังเมล็ดมะม่วงเดินทางกลับมาสู่โลกทีมนักวิทย์ได้เพาะต้นอ่อนมะม่วงขึ้นมาจำนวนหนึ่งและขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างช่วงการคัดเลือกต้นอ่อนที่มียีนดีที่สุดในการพัฒนาเป็นมะม่วงสายพันธุ์ใหม่แห่งอนาคต
 
อย่างไรก็ดีทางจีนระบุว่ามะม่วงสายพันธุ์ใหม่นี้จะยังไม่ถูกวางขายในเร็ววันนี้แต่ความสำเร็จล่าสุดนี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าครั้งใหญ่ของโครงการที่ดำเนินมานานกว่า 30 ปีและเมล็ดหลายพันเมล็ดก่อนหน้าได้เคยเดินทางไปยังอวกาศมาแล้ว
ทั้งนี้ทางนักวิทย์จีนยอมรับว่าสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่นี้อาจมีราคาแพงและควรที่จะทำการผสมพันธุ์กับมะม่วงสายพันธุ์ท้องถิ่นจากข้อมูลระบุจีนเป็นประเทศอันอับที่ 2 ที่ส่งออกมะม่วงมากที่สุดโดยเป็นรองจากอินเดียความสำเร็จของโครงการครั้งนี้จึงนับเป็นความหวังใหม่ของจีน
Cr. https://www.khaophuket.com/จีนประสบความสำเร็จเพาะมะม่วงอวกาศ-803.php
 
  
  

 "แมงมุมอวกาศ"


เป็นเรื่องเหลือเชื่อ.. ที่เราต้องเชื่อ กับการหายตัวไปของแมงมุมบนยานอวกาศ ที่ยังคงเป็นเรื่องสงสัยกันอยู่ขององค์การนาซ่า ว่ามันหายไปไหน หลังนำแมงมุมขึ้นไปบนอวกาศ
ซึ่งจริงๆ แล้วเหตุการณ์ของหาย จนทำให้องค์การนาซ่าต้องเสียหน้า แบบนี้ ก็เคยเกิดขึ้นมาก่อน ที่นางไฮเดอมารี สเตฟานีซีน นักบินอวกาศ ทำถุงเครื่องมือ มูลค่าเกือบ 3 ล้านบาทหล่นหายไป ขณะซ่อมสถานีอวกาศนานาชาติแต่ก็ไม่ใช้เรื่องแปลกอะไร ที่คนเราก็สามารถทำของหล่นหาย 

แต่ที่น่าแปลกก็คือ หลังจากนั้นผ่านมาเพียงแค่ 2 อาทิตย์ พบว่า แมงมุมทดลองหายตัวไป เป็นแมงมุมพันธุ์ Orb ที่หายไปอย่างไร้ร่องรอย ทั้งๆ ที่แมงมุมนั้นอยู่ภายในกล่องที่มีการปิดผนึกอย่างดี 

นาย เคิร์ก ไชร์แมน ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า "ผมมั่นใจว่าในอีก 2-3 วัน ข้างหน้า จะต้องเจอมันชักใยอยู่ที่ใดสักที่หนึ่ง เป็นไปได้ที่มันจะไปหา พรรคพวกของมันที่อยู่ในกล่องอื่น"ซึ่งการนำแมงมุมขึ้นไปบนอวกาศ นั้นเป็นอีกหนึ่งในโครงการของนาซ่า และพบ ว่า แมงมุมในอวกาศชักใยเป็นรูปร่าง ที่แตกต่างไปจากแมงมุมบนโลก เนื่องจากมันพยายามชักใย เพื่อไม่ให้ มันลอยตัว ใยแมงมุมจึงดูยุ่งเหยิงกว่าใยที่พบบนโลก

แมงมุมชักใยในอวกาศ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNVEEwTVRJMU1RPT0=&sectionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBd09DMHhNaTB3TkE9PQ==
โดย sundarach
Cr.https://www.facebook.com/mostertoys/posts/618488348303349/ ท่องอวกาศ
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=361058 / ข่าวสดรายวัน

 "ฉี่รีไซเคิล"


นักบินอวกาศในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ฉลองความสำเร็จของภารกิจกระสวยอวกาศ Atlantis โดยการดื่ม "ฉี่รีไซเคิล" เป็นครั้งแรก

ISS ติดตั้งเครื่องรีไซเคิลปัสสาวะ (Urine Recycle) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2008 แต่กว่าเครื่องจะทำงานได้ถูกต้องก็ต้องปรับปรุงกันพอสมควร ในภารกิจของกระสวยอวกาศรอบก่อนหน้าได้ขนน้ำที่รีไซเคิลจากเครื่อง Urine Recycle อันนี้กลับมายังโลกเพื่อทดสอบ ผลการทดสอบพบว่าน้ำดื่มได้ไม่มีปัญหา นักบินอวกาศบน ISS จึงฉลองกันด้วยการดื่ม "ฉี่รีไซเคิล" ในที่สุด

เครื่อง Urine Recycle ที่ติดตั้งไว้บน ISS มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบการใช้งานก่อนนำไปใช้ในภารกิจสำรวจดาวอังคารและดวงจันทร์ที่จะมีขึ้นในอนาคต เหล่านักบินอวกาศบน ISS ต่างร้อง "เชียร์" ก่อนดื่มน้ำรีไซเคิลนี้ และพวกเขาบอกว่า "รสชาติเยี่ยม"!
ที่มา - Tech Fragments
Cr.https://jusci.net/node/987 / By: mk

 ดอกกุหลาบ


ในปี ค.ศ.1998 NASA และบริษัทน้ำหอมได้ร่วมมือกันในแผนการทดลองปลูกดอกกุหลาบบนชั้นบรรยากาศเพื่อศึกษาว่าสภาวะไร้แรงดึงดูดจะมีผลต่อกลิ่นหอมของดอกกุหลาบมากน้อยเพียงใด
ที่มา : spokedark
Cr.https://zpore.com/weird-space-experiments/

(ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่