จาการ์ต้า (Jakarta) หรือชื่อในอดีตคือ บาตาวียา (Batavia) ถือเป็นเมืองหลวงของอินโดนีเซียมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม เป็นศูนย์กลางมาหลายสิบปี
แม้ว่าจะตั้งอยู่ในดินแดนของชาวซุนดา แต่ปัจจุบัน ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่คือชาวชวา ซึ่งอพยพมาจากต่างถิ่น ตามมาด้วยชาวบะตาวี ที่เป็นชนพื้นเมือง
ประชากรของจาการ์ต้า มีอยู่ประมาณ 10,000,000 กว่าคน ความหนาแน่นประมาณ 7,7000 คนต่อตารางกิโลเมตร มากกว่ากรุงเทพหลายเท่าตัว
แน่นอนว่าด้วยสภาวะการจราจร มลภาวะ (ซึ่งจริงๆ ยังเบากว่าในกรุงเทพ) ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่อพยพมาจากต่างถิ่นทั้งในชวาและเกาะอื่นๆ
ทำให้การคิดย้ายเมือง มีมานานตั้งแต่ยุคของซูการ์โน และ ซูซิโล บัมบัง ยุโดห์โยโน รวมไปถึงความพยายามในยุคของ โจโกวี ในเวลานี้ด้วย
โจโกวี วางแผนคิดจะย้ายเมืองหลวงไปที่บริเวณจังหวัดกาลิมันตันตะวันออกในเกาะบอร์เนียว ด้วยเหตุผลว่าอยู่กึ่งกลางของอินโดนีเซียพอดี
บริเวณเมืองหลวงใหม่ ยังอยู่ใกล้กับเมืองบาลิก์ปาปัน และ สามารินดา ซึ่งเป็นเมืองที่กำลังเติบโตและเจริญรุ่งเรืองอยู่ในเกาะบอร์เนียวแห่งนี้อยู่
วันที่ 26 สิงหาคม ปีที่ผ่านมา โจโกวี ประกาศว่าจะดำเนินการขอย้ายเมืองหลวงไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอให้อนุมัติการย้ายเมืองหลวง
โดยการก่อสร้างและพัฒนาเมืองหลวงใหม่ น่าจะเริ่มขึ้นแล้วในตอนนี้ (หรือเร็วๆ นี้ เนื่องจากระบุไว้ว่าจะเริ่มทำ 2020) และจะเสร็จสิ้นภายในปี 2024
โดยการนี้ รัฐบาลอินโดนีเซีย ถึงกับประกาศจัดการแข่งขันการร่างเมืองหลวง ซึ่งจัดโดย กระทรวงโยธาธิการและอาคารสาธารณะ (PUPR RI)
การแข่งขันการร่างแบบแปลน เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2019 จนถึง ธันวาคม 2019 มีเงินรางวัลถึงประมาณ 5 พันล้านรูเปียห์ (366,000 ดอลล่าห์)
กรรมการตัดสินการร่างแบบแปลนเมืองหลวง มีถึง 13 คน โดยหัวหน้าคณะกรรมการคือ อิหม่าม สันโตโซ เอร์นาวี (Imam Santoso Ernawi)
เงื่อนไขสำคัญของการแข่งขันคือ ต้องมีเอกลักษณ์ของชาติ, มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และ เป็นเมืองที่ทันสมัย มีความเป็นสากล
มีผู้เสนอเข้าแข่งขันถึง 762 บริษัท โดยมี 12 บริษัท ที่มาจากต่างประเทศ (ไม่รู้มีไทยด้วยหรือเปล่า) ผู้ชนะการแข่งขันก็คือ Nagara Rimba Nusa
โดยแนวคิดหลักของ Nagara Rimba Nusa ก็คือ การเน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ พร้อมๆ กับการพัฒนาเมืองให้ทันสมัย มีความเป็นสากล
มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า การผ่านร่างกฎหมายย้ายเมืองของรัฐบาลโจโกวีนั้น เพื่อเป็นการป้องกันรัฐบาลชุดต่อไปเปลี่ยนแปลงแผนการย้ายเมืองหลวง
เอมิล ซาลิม (Emil Salim) ยังกล่าวว่า งบประมาณการย้ายเมืองหลวง ควรจะถูกใช้จ่ายไปกับการปรับปรุงแก้ไขเรื่องน้ำท่วมในจาการ์ต้าจะดีกว่า
ขณะที่พรรค Gerindra ของปราโบโว (Prabowo) เองก็วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นขยะทางการเมือง และเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะให้กับประเทศชาติ
ขณะที่เสียงตอบรับเชิงบวก ยังพอมีอยู่บ้าง ดั่งกรณีของ สุลต่าน อะจี มุฮัมหมัด อาริฟิน ผู้สืบทอดราชวงศ์กุไล รู้สึกพอพระทัยที่ได้มีการย้ายเมืองหลวง
พระองค์กล่าวว่า บริเวณเมืองหลวงใหม่นั้น คือดินแดนเก่าของรัฐสุลต่านกุไล ที่เป็นหนึ่งในอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดในเขตแดนปัจจุบันของอินโดฯ
สำหรับพื้นที่ดั่งกล่าวที่โจโกวี เข้าไปวางแผนนั้น ส่วนหนึ่งจะอยู่ในเขตภูเขา สลับซับซ้อน ในเขต ปะนาจัม ปาซะร์ อุตาระ (Penajam Paser Utara)
เขตของเมืองหลวงใหม่ จะครอบคลุมไปถึงส่วนหนึ่งของเขตกุไลการ์ตานะกรา (Kutai Kartanegara) และแน่นอนว่าจะเชื่อมกับเมืองใหญ่ 2 เมืองด้วย
พื้นที่ส่วนหนึ่ง เดิมเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ของบริษัท PT ITCI ภายหลัง รัฐได้นำมาเป็นพื้นที่สำหรับสร้างเมืองหลวงใหม่ ประมาณ 56,000 เฮกเตอร์
พื้นที่ของรัฐบาล จะใช้พื้นที่ประมาณ 5,600 เฮกเตอร์ โดยในขั้นตอนปัจจุบันนั้น โจโกวีกล่าวว่า กำลังอยู่ในการวางแผนแปลนเมืองตามพื้นที่จริงอยู่
และจะเริ่มก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ในช่วงกลางปี 2020 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ รวมไปถึงการร่างกฎหมายสำหรับการย้ายเมืองที่รอการอนุมัติโดยรัฐสภาด้วย
โจโกวี กับการคิดจะย้ายเมืองหลวง
แม้ว่าจะตั้งอยู่ในดินแดนของชาวซุนดา แต่ปัจจุบัน ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่คือชาวชวา ซึ่งอพยพมาจากต่างถิ่น ตามมาด้วยชาวบะตาวี ที่เป็นชนพื้นเมือง
ประชากรของจาการ์ต้า มีอยู่ประมาณ 10,000,000 กว่าคน ความหนาแน่นประมาณ 7,7000 คนต่อตารางกิโลเมตร มากกว่ากรุงเทพหลายเท่าตัว
แน่นอนว่าด้วยสภาวะการจราจร มลภาวะ (ซึ่งจริงๆ ยังเบากว่าในกรุงเทพ) ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่อพยพมาจากต่างถิ่นทั้งในชวาและเกาะอื่นๆ
ทำให้การคิดย้ายเมือง มีมานานตั้งแต่ยุคของซูการ์โน และ ซูซิโล บัมบัง ยุโดห์โยโน รวมไปถึงความพยายามในยุคของ โจโกวี ในเวลานี้ด้วย
โจโกวี วางแผนคิดจะย้ายเมืองหลวงไปที่บริเวณจังหวัดกาลิมันตันตะวันออกในเกาะบอร์เนียว ด้วยเหตุผลว่าอยู่กึ่งกลางของอินโดนีเซียพอดี
บริเวณเมืองหลวงใหม่ ยังอยู่ใกล้กับเมืองบาลิก์ปาปัน และ สามารินดา ซึ่งเป็นเมืองที่กำลังเติบโตและเจริญรุ่งเรืองอยู่ในเกาะบอร์เนียวแห่งนี้อยู่
วันที่ 26 สิงหาคม ปีที่ผ่านมา โจโกวี ประกาศว่าจะดำเนินการขอย้ายเมืองหลวงไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอให้อนุมัติการย้ายเมืองหลวง
โดยการก่อสร้างและพัฒนาเมืองหลวงใหม่ น่าจะเริ่มขึ้นแล้วในตอนนี้ (หรือเร็วๆ นี้ เนื่องจากระบุไว้ว่าจะเริ่มทำ 2020) และจะเสร็จสิ้นภายในปี 2024
โดยการนี้ รัฐบาลอินโดนีเซีย ถึงกับประกาศจัดการแข่งขันการร่างเมืองหลวง ซึ่งจัดโดย กระทรวงโยธาธิการและอาคารสาธารณะ (PUPR RI)
การแข่งขันการร่างแบบแปลน เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2019 จนถึง ธันวาคม 2019 มีเงินรางวัลถึงประมาณ 5 พันล้านรูเปียห์ (366,000 ดอลล่าห์)
กรรมการตัดสินการร่างแบบแปลนเมืองหลวง มีถึง 13 คน โดยหัวหน้าคณะกรรมการคือ อิหม่าม สันโตโซ เอร์นาวี (Imam Santoso Ernawi)
เงื่อนไขสำคัญของการแข่งขันคือ ต้องมีเอกลักษณ์ของชาติ, มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และ เป็นเมืองที่ทันสมัย มีความเป็นสากล
มีผู้เสนอเข้าแข่งขันถึง 762 บริษัท โดยมี 12 บริษัท ที่มาจากต่างประเทศ (ไม่รู้มีไทยด้วยหรือเปล่า) ผู้ชนะการแข่งขันก็คือ Nagara Rimba Nusa
โดยแนวคิดหลักของ Nagara Rimba Nusa ก็คือ การเน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ พร้อมๆ กับการพัฒนาเมืองให้ทันสมัย มีความเป็นสากล
มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า การผ่านร่างกฎหมายย้ายเมืองของรัฐบาลโจโกวีนั้น เพื่อเป็นการป้องกันรัฐบาลชุดต่อไปเปลี่ยนแปลงแผนการย้ายเมืองหลวง
เอมิล ซาลิม (Emil Salim) ยังกล่าวว่า งบประมาณการย้ายเมืองหลวง ควรจะถูกใช้จ่ายไปกับการปรับปรุงแก้ไขเรื่องน้ำท่วมในจาการ์ต้าจะดีกว่า
ขณะที่พรรค Gerindra ของปราโบโว (Prabowo) เองก็วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นขยะทางการเมือง และเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะให้กับประเทศชาติ
ขณะที่เสียงตอบรับเชิงบวก ยังพอมีอยู่บ้าง ดั่งกรณีของ สุลต่าน อะจี มุฮัมหมัด อาริฟิน ผู้สืบทอดราชวงศ์กุไล รู้สึกพอพระทัยที่ได้มีการย้ายเมืองหลวง
พระองค์กล่าวว่า บริเวณเมืองหลวงใหม่นั้น คือดินแดนเก่าของรัฐสุลต่านกุไล ที่เป็นหนึ่งในอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดในเขตแดนปัจจุบันของอินโดฯ
สำหรับพื้นที่ดั่งกล่าวที่โจโกวี เข้าไปวางแผนนั้น ส่วนหนึ่งจะอยู่ในเขตภูเขา สลับซับซ้อน ในเขต ปะนาจัม ปาซะร์ อุตาระ (Penajam Paser Utara)
เขตของเมืองหลวงใหม่ จะครอบคลุมไปถึงส่วนหนึ่งของเขตกุไลการ์ตานะกรา (Kutai Kartanegara) และแน่นอนว่าจะเชื่อมกับเมืองใหญ่ 2 เมืองด้วย
พื้นที่ส่วนหนึ่ง เดิมเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ของบริษัท PT ITCI ภายหลัง รัฐได้นำมาเป็นพื้นที่สำหรับสร้างเมืองหลวงใหม่ ประมาณ 56,000 เฮกเตอร์
พื้นที่ของรัฐบาล จะใช้พื้นที่ประมาณ 5,600 เฮกเตอร์ โดยในขั้นตอนปัจจุบันนั้น โจโกวีกล่าวว่า กำลังอยู่ในการวางแผนแปลนเมืองตามพื้นที่จริงอยู่
และจะเริ่มก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ในช่วงกลางปี 2020 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ รวมไปถึงการร่างกฎหมายสำหรับการย้ายเมืองที่รอการอนุมัติโดยรัฐสภาด้วย