เรื่องเล่าจากชนเผ่า

เรื่องเล่าจากชนเผ่า BaBemba ในแอฟริกา



(The Bembas (หรือ Babemba) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ Bantu ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาตอนใต้ในภูมิภาคจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกไปยังแซมเบีย)

เมื่อมีใครสักคนทำบางอย่างที่ผิดหรือเป็นอันตราย พวกเขาจะนำเอาคนนั้นไปที่กลางหมู่บ้าน แล้วทุกคนในหมู่บ้านก็จะมาล้อมวงรอบคนนั้นไว้
พวกเขาจะพูดกับชายคนนั้นถึงสิ่งดีๆที่ เขาได้เคยทำมาทั้งหมดเป็นเวลาถึงสองคืนสองวัน

ชนเผ่านี้เชื่อว่า มนุษย์แต่ละคนเกิดมาในโลกโดยมีพื้นฐานแห่งความดี แต่ละคนต้องการความปลอดภัย ความรัก ความสงบ และความสุข เพียงแต่บางครั้ง ในการแสวงหาสิ่งเหล่านี้ ทำให้เขาคนนั้นทำผิดไปบ้าง คนในชุมชนเห็นถึงความผิดนั้นเสมือนการร้องขอให้ช่วย
พวกชนเผ่าจะรวมตัวกันยกเขาขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับธรรมชาติที่แท้จริงของเขา เพื่อเตือนเขาให้รู้จักตัวตนที่แท้จริง จนกระทั่งเขาจำได้ถึงความจริงทั้งหมดที่อาจจะถูกขัดจังหวะหรือรบกวน ว่า " ฉันเป็นคนดี”
Cr.facebook.com/AksornLearnspace

กะเหรี่ยง นักเล่านิทานผู้โศกเศร้า


(ผูกข้อมือให้คนป่วยหลังพิธีเรียกขวัญ (ภาพจากหนังสือหกเผ่าชาวดอย))

ชาวกะเหรี่ยงนั้นเป็นกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักเล่านิทานชั้นยอด” โดยชาวกะเหรี่ยงมักตั้งวงนั่งล้อมรอบกองไฟยามค่ำคืนผลัดกันเล่าผลัดกันฟังนิยายที่แต่งขึ้นเองใหม่บ้าง หรือเป็นยกตำนานเล่าขานมาพูดบ้างก็มี  อย่างไรก็ตามเรื่องเล่าของชาวกะเหรี่ยงนั้นพบว่าเป็นมีแต่เรื่องโศกเศร้า ไม่หนีไปจากเรื่องชีวิตที่ต้องเผชิญแต่กับเรื่องอาภัพอับจน
นิทานอันแสนเศร้าของชาวกระเหรี่ยงนี้เป็นเหมือนกระจกสะท้อนความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในชนชาติของตนที่ไร้ซึ่งอำนาจปกครอง ไร้ซึ่งที่อยู่อาศัย ถูกมองว่าเป็นภาระ คำว่า “กะเหรี่ยง” กลายเป็นคำที่แฝงความหมายลบในภาษาไทย หนำซ้ำในบางครั้งยังได้รับบทเป็นตัวร้ายในละครไทยบางเรื่องอีกด้วย

ในบรรดาเรื่องเล่าของชาวกะเหรี่ยง เรื่องของ “จ้อ เกอะ โด่” อยู่คู่หมู่บ้าน เล่ากันปากต่อปากมายาวนาน จนสืบค้นหาแหล่งที่มาไม่ได้ ถามคนเฒ่าคนแก่ ก็ได้รับคำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นเรื่องที่เล่ามาแต่โบราณ ตั้งแต่จำความได้ก็รู้เรื่องของจ้อ เกอะ โด่ กันแล้ว อย่างกับว่าเป็นคนมีชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน  จากเรื่องจริงกลายเป็นนิทาน และมีคนแต่งเสริมเติมเข้าไปอีกเป็นจำนวนมาก แม้ว่ารายละเอียดจะเพิ่มแตกต่างกันไปตามแต่ละหมู่บ้าน แต่แก่นเรื่องไม่เคยเปลี่ยน
คือเรื่องของชายเจ้าเล่ห์ จ้อ เกอะ โด่ เป็นสามัญชนที่ออกจะจนยากลำบาก ที่ไม่เคยเสียสิ่งใดไปง่ายๆ ข้อต่อรองอยู่บนพื้นฐานของความเจ้าเล่ห์ วางแผนเดินเกมได้แยบยลแม้กระทั่งวันตายก็ยังไม่ตายเปล่า ยังทิ้งร่องรอยไว้ให้คนรับกรรมตามสนอง  
(อ่านเพิ่มเติม https://www.silpa-mag.com/history/article_5835)
Cr.silpa-mag.com/

เรื่องเล่าจากชนเผ่าอินเดียแดง


ชายหนุ่มชนเผ่าอินเดียแดงคนหนึ่งไปปรึกษาหัวหน้าเผ่า
เพราะมีความรู้สึกว่าข้างในมันร้อนรุ่ม อยากให้หัวหน้าเผ่าช่วยตัดสิน และช่วยบอกเค้าทีว่าต้องทำอย่างไร
หนุ่มอินเดียแดง : ท่านหัวหน้า ข้ามีเรื่องมาปรึกษา
หัวหน้าเผ่า : มีอะไร เล่ามา
หนุ่มอินเดียแดง : ...ข้ารู้สึกว่า ในหัวของข้ามีหมาป่า 2 ตัว ต่อสู้กันไปมา ตัวนึงก็พยายามบอกให้ข้าออกไปล่าสัตว์ แต่อีกตัวก็บอกว่าไปแย่งอาหารจากเพื่อน...
ข้ารู้สึกว่า บางครั้งตัวที่นิสัยดี ก็ชนะตัวที่ชั่วร้าย แต่บางครั้งตัวที่ชั่วร้าย ก็มีพลังที่มากกว่า. ..ทำให้ข้าสับสนว่าจะต้องทำตัวอย่างไร ถึงจะให้ตัวดีมีพลังมากกว่า และชนะตัวที่ชั่วร้ายได้....
หัวหน้าเผ่า : มันขึ้นอยู่กับเจ้า...ว่าเจ้าป้อนอาหารให้ตัวไหน. ถ้าเจ้าป้อนสิ่งดีๆ ตัวที่นิสัยดี ก็มีพลังมาก...
แต่ถ้าเจ้าป้อนแต่สิ่งชั่วร้าย...ตัวที่นิสัยไม่ดีก็ยิ่งเข้มแข็ง
....
หนุ่มอินเดียแดง : ข้าเข้าใจแล้ว..ท่านหัวหน้า
Cr.facebook.com/FamilyByCoach1

เรื่องเล่าชนเผ่ากะเหรี่ยง ปาเกอญอ


มีตำนานเล่าถึงการเดินทางเพื่อหาผืนดินใหม่ของกะเหรี่ยงว่า เดิมปกากะญอตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ภูเขาทีปล่อก่อ มีผู้เฒ่าชื่อเทาะแมป่าเป็นผู้นำชุมชน สืบเชื้อสายกันมานานจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง กระทั่งที่ทำกินไม่เพียงพอ
เทาะแมป่าจึงคิดพาลูกหลานอพยพหาแหล่งทำกินใหม่ ผืนดินใหม่ที่ว่าต้องมีดินดี วิธีตรวจสอบผืนดินของเทาะแมป่าคือ เอาไม้เท้าจิ้มลงไปในดินแล้วดึงไม้เท้าขึ้น หากว่าดินเต็มขึ้นมาถึงเจ็ดครั้ง ก็ให้ถือว่า ผืนดินบริเวณนั้นเหมาะต่อการสร้างถิ่นอาศัยและเป็นแหล่งทำมาหากินของลูกหลานได้สืบไป
เมื่อเริ่มออกเดินทาหาแผ่นดินใหม่ เทาะแมป่าเดินเร็วมากจนลูกๆ หลานๆ ตามไม่ค่อยทัน บางกลุ่มจึงพากันหยุดอยู่ตามลุ่มน้ำต่างๆ เช่น สาละวิน อิระวดี ลูกหลานเหล่านั้นจำคำสอนของเทาะแมป่าได้ จึงพากันเอาไม้เท้าจิ้มดิน เลือกแหล่งพักพิงดังคำสอน เมื่อพบแหล่งดินดี ก็พากันตั้งบ้านเรือนตามถิ่นต่างๆ แตกหน่อแยกเผ่าพันธุ์กันไป
เหตุนี้จึงเป็นที่มาของการตั้งถิ่นฐานของปกากะญอหรือชาวกะเหรี่ยง ซึ่งกระจายกันอยู่ทั่วไปทั้งในเขตพม่า กับทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย โดยมีจำนวนประมาณ 3 ล้านคนหรืออาจจะมากกว่านั้นในปัจจุบันนี้
Cr.blurborders.wordpress.com/

เรื่องเล่าชนเผ่าViking 


28 มีนาคม พ.ศ. 1387 (ค.ศ. 845) - ชนเผ่าไวกิง บุกล้อมปารีสเพื่อเรียกค่าไถ่มูลค่ามหาศาล

Viking แปลว่าโจรสลัด เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อชนเผ่าหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านการเดินเรือในทะเล และปล้นสะดมหัวเมืองต่างๆ ที่ตั้งอยู่ใน ยุโรป ทางเหนือ คนทั่วไปคิดว่าไวกิ้งชอบสวมหมวกที่มีเขา มีเครายาวและดุร้าย ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 ประเทศต่างๆ ในยุโรป ได้ถูกชนเผ่าไวกิ้งโจมตีอยู่เนืองๆ 
และในตอนปลายของศตวรรษนั่นเองไวกิ้งก็ได้ถูกกองทัพที่เข้มแข็งของ จักรพรรดิ Charlemagne ต่อต้านจนไวกิ้งต้องถอยทัพกลับไป แต่เมื่อจักรพรรดิ์ขององค์จักรพรรดิ์เริ่มล่มสลาย ไวกิ้งก็รวบรวม กองทัพเข้าบุกโจมตีอีก และยึดเมือง Tours, Orleans และ Rouen ของฝรั่งเศสได้ รวมทั้งได้เข้าล้อมกรุงปารีสด้วย แต่เมื่อกษัตริย์ Charles ของฝรั่งเศสได้ทรงมอบเงินและทองคำ ที่หนัก 6 ตันให้แก่ไวกิ้ง ไวกิ้งจึงได้ถอยทัพกลับไป แต่ก็ได้หวนกลับมารุกราน ฝรั่งเศสอีกหลายต่อหลายครั้ง จนในที่สุดฝรั่งเศสต้องยก Normandy ให้ไวกิ้งไป
Cr.https://www.mwit.ac.th/

เรื่องเล่าของผู้หญิงในชนเผ่า Apatani 


ประวัติศาสตร์หรือที่มาที่ไปของชนเผ่านี้ไม่ได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีเรื่องเล่าที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบันนี้ 
 
Apatanis เป็นชนเผ่าที่อพยพมาอยู่ในที่ราบสูง Apatani ของประเทศอินเดีย พวกเขาเป็นที่รู้จักในฐานะชนเผ่าที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเกษตรกรรม
สำหรับผู้หญิงในชนเผ่าที่เรียกตัวเองว่า Apatanis หรือ Tanis ไม่มีโอกาสทำให้ตัวเองดูสวยงามเหมือนผู้หญิงทั่วไป เพราะความสวยจะเป็นอันตรายต่อตัวเองได้  ประวัติศาสตร์หรือที่มาที่ไปของชนเผ่านี้ไม่ได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีเรื่องเล่าที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบันนี้ 
 
หนึ่งในเรื่องเล่าเหล่านั้นคือ เหตุผลที่ผู้หญิงในชนเผ่า Apatanis ที่ส่วนใหญ่แล้วจะต้องเจาะรูจมูกเป็นกว้าง และมีรอยสักอยู่ทั่วใบหน้าของพวกเธอ
มีการเล่าว่าผู้หญิงในชนเผ่านี้ เป็นคนที่สวยมากและด้วยความสวยความงามเหล่านี้ จะทำให้พวกเธาถูกผู้ชายต่างชนเผ่ามาลักพาตัวไปเป็นภรรยา โดยที่ผู้หญิงไม่ได้มีความรู้สึกเต็มใจเลย 
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ผู้สูงอายุของชนเผ่าจึงตัดสินใจสักบนใบหน้าของผู้หญิงและเจาะรูจมูกของพวกเธอให้กว้างตั้งแต่เด็ก ทำให้มีลักษณะที่ดูอัปลักษณ์ เพื่อลดความสนใจของผู้ชายต่างเผ่า

อย่างไรก็ตาม ประเพณีการสักใบหน้าและเจาะรูจมูกกำลังจะถูกยกเลิกไป เพราะถูกรัฐบาลอินเดียสั่งห้ามตั้งแต่ช่วงปี 1970
ที่มา dailymail
Cr.https://www.catdumb.com/

เรื่องเล่าเผ่านักรบหญิง


เผ่าอเมซอน เป็นตำนานเล่าขานกันในหมู่ชาวกรีกโบราณมายาวนาน ว่าเป็นเผ่านักรบหญิงที่มีพละกำลัง และทักษะการรบที่เก่งกาจไม่แพ้ผู้ชาย บ้างก็บอกว่าเก่งกว่าแต่ก็น่าจะจริงเพราะดูแล้วพวกเธอแข็งแกร่งกว่าคนธรรมดามาก จากบันทึกได้เผยว่า นักรบหญิงอเมซอน มีส่วนร่วมอยู่ในประวัติศาสตร์การรบของชาวกรีกอยู่บ่อยครั้ง เช่น ยุคมหาสงครามกรุงทรอยก็เคยประมือกับวีรบุรุษอคีลิสมาแล้ว หรือแม้แต่ในตำนานของจอมพลัง เฮอร์คิวลีส เองก็มีเรื่องราวของชาวอเมซอนรวมอยู่ด้วย

มีเรื่องเล่าว่าชาวอเมซอนจะต้องตัดเต้านมออกข้างหนึ่งเพื่อจะได้ไม่เกะกะเวลาง้างธนู หรือขว้างหอก ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่น่าจะจริง เพราะในภาพวาดโบราณก็ไม่เคยมีอะไรแบบนั้นถูกบันทึกไว้ ถ้าจะใกล้เคียงที่สุดก็น่าจะแค่ชุดออกรบของพวกเธอ ที่จะสวมเสื้อหนังสัตว์แบบเปลือยไหล่หนึ่งข้าง เพื่อความถนัดในการออกรบ
ด้วยเรื่องเล่าที่ชวนเหลือเชื่อของอเมซอนบางเรื่องก็ดูเหมือนจะยังมีเค้าความจริงอยู่บ้าง จากหลักฐานการขุดพบสุสานของชาวไซเธียน ชนเผ่าเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในแถบทะเลดำ ไล่ไปถึงมองโกเลียที่ค้นพบส่วนใหญ่แล้วจะเจอทั้งธนู คันศร หอก มีด โครงกระดูกมนุษย์ที่เต็มไปด้วยบาดแผลจากการสู้รบ โครงกระดูกม้า และอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นของสตรีเพศ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงการมีตัวตนได้

เล่ากันว่า บ้านที่แท้จริงของนักรบหญิงอเมซอนนั้นตั้งอยู่ที่ เกาะ Giresun Island ในประเทศตุรกี เพราะบนเกาะมีการขุดพบแท่นบูชา และซากโบราณสถานอยู่จริงด้วย นั่นจึงทำให้คิดได้ว่าเกาะอเมซอนนั้นอาจไม่ได้เป็นเพียงนิทานปรัมปราก็ได้ ซึ่งหากใครเคยอ่านเรื่อง อภินิหารขนแกะทองคำ จะร้องอ๋อขึ้นมาเลย
Cr.https://www.flagfrog.com/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่