
ภาพประกอบข่าว© ไทยรัฐออนไลน์ ภาพประกอบข่าว
อาหารเมื่อถูกดัดแปลงรสชาติโดยคนไทยจะต้องมีความจัดจ้าน กลมกล่อมลงตัว เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เช่น อาหารประเภทยำ ลาบ จะปรุงให้มีรสจัดเนื่องจากมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก
การทำรสชาติให้จัดจะช่วยกลบกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ อาหารรสจัดบางชนิดของไทย อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทาน เพราะเป็นเมนูเนื้อสัตว์ดิบ หรืออาหารทะเลดิบๆ เช่น กุ้งแช่น้ำปลา ก้อย ลาบเลือด ซกเล็ก หากวัตถุดิบที่นำมาปรุงไม่สะอาด มีเชื้อก่อโรคหรือสิ่งปนเปื้อนจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
“กุ้งแช่น้ำปลา” อีกหนึ่งเมนูที่คนไทยทานกันดิบๆ คือ กุ้งดิบราดด้วยน้ำปลา ทานคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ดรสจัด เมื่อทานรวมกันจะมีความอร่อยแบบลงตัว
ท่านที่ชื่นชอบเมนูกุ้งแช่น้ำปลา สิ่งสำคัญคือ กุ้ง หากทำทานเองที่บ้านก็ต้องเป็นคนหัดเลือก หัดสังเกต ตั้งแต่การเลือกซื้อกุ้งสด เลือกกุ้งลำตัวใส ติดเปลือกแน่น หัวติดกับลำตัว ครีบและหางเป็นมัน ไม่หลุดออกจากกัน
ก่อนนำมาปรุงต้องล้างน้ำสะอาด แกะเปลือกและหัวกุ้งออก เพื่อป้องกันเชื้อก่อโรค เช่น วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ที่ติดมากับเปลือกและหัวกุ้ง เชื้อชนิดนี้พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่างๆตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเลและตามตะกอนโคลนตมในทะเล จึงอาจมีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนในอาหารทะเล กุ้ง หอย ปู ปลาได้
เมื่อเราได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจากการทานอาหารจะทําให้เกิดอาหารเป็นพิษ เกิดโรคกระเพาะอาหารและลําไส้อักเสบ มีอาการท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง มีอาการวิงเวียน อาเจียน ปวดหัว มีไข้ และหนาวสั่น
วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างกุ้งแช่น้ำปลา จำนวน 5 ตัวอย่าง จากร้านค้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์ เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ปนเปื้อน
ผลปรากฏว่าพบเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ในกุ้งแช่น้ำปลา 2 ตัวอย่าง ซึ่งตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องเกณฑ์
คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560) กำหนดไว้ว่าต้องไม่พบเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ปนเปื้อนในอาหารทะเลที่บริโภคดิบ
ขอแนะว่าเลือกทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วจะดีกว่า.
เชื้อก่อโรคในกุ้งแช่น้ำปลา
อาหารเมื่อถูกดัดแปลงรสชาติโดยคนไทยจะต้องมีความจัดจ้าน กลมกล่อมลงตัว เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เช่น อาหารประเภทยำ ลาบ จะปรุงให้มีรสจัดเนื่องจากมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก
การทำรสชาติให้จัดจะช่วยกลบกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ อาหารรสจัดบางชนิดของไทย อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทาน เพราะเป็นเมนูเนื้อสัตว์ดิบ หรืออาหารทะเลดิบๆ เช่น กุ้งแช่น้ำปลา ก้อย ลาบเลือด ซกเล็ก หากวัตถุดิบที่นำมาปรุงไม่สะอาด มีเชื้อก่อโรคหรือสิ่งปนเปื้อนจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
“กุ้งแช่น้ำปลา” อีกหนึ่งเมนูที่คนไทยทานกันดิบๆ คือ กุ้งดิบราดด้วยน้ำปลา ทานคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ดรสจัด เมื่อทานรวมกันจะมีความอร่อยแบบลงตัว
ท่านที่ชื่นชอบเมนูกุ้งแช่น้ำปลา สิ่งสำคัญคือ กุ้ง หากทำทานเองที่บ้านก็ต้องเป็นคนหัดเลือก หัดสังเกต ตั้งแต่การเลือกซื้อกุ้งสด เลือกกุ้งลำตัวใส ติดเปลือกแน่น หัวติดกับลำตัว ครีบและหางเป็นมัน ไม่หลุดออกจากกัน
ก่อนนำมาปรุงต้องล้างน้ำสะอาด แกะเปลือกและหัวกุ้งออก เพื่อป้องกันเชื้อก่อโรค เช่น วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ที่ติดมากับเปลือกและหัวกุ้ง เชื้อชนิดนี้พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่างๆตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเลและตามตะกอนโคลนตมในทะเล จึงอาจมีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนในอาหารทะเล กุ้ง หอย ปู ปลาได้
เมื่อเราได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจากการทานอาหารจะทําให้เกิดอาหารเป็นพิษ เกิดโรคกระเพาะอาหารและลําไส้อักเสบ มีอาการท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง มีอาการวิงเวียน อาเจียน ปวดหัว มีไข้ และหนาวสั่น
วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างกุ้งแช่น้ำปลา จำนวน 5 ตัวอย่าง จากร้านค้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์ เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ปนเปื้อน
ผลปรากฏว่าพบเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ในกุ้งแช่น้ำปลา 2 ตัวอย่าง ซึ่งตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องเกณฑ์
คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560) กำหนดไว้ว่าต้องไม่พบเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ปนเปื้อนในอาหารทะเลที่บริโภคดิบ
ขอแนะว่าเลือกทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วจะดีกว่า.