ตามหลักการของกาเมสุมิจฉาจาร เคสนี้ใครเป็นสามีที่แท้ของผู้หญิงคนนี้ครับ รบกวนบัณฑิตชาวพุทธช่วยวิเคราะห์ทีครับ

กระทู้สนทนา
มิถุนายนปี 2559 ผมคบกับผู้หญิงคนหนึ่งตกลงปลงใจกินอยู่ด้วยกันที่คอนโดแห่งหนึ่งของเธอ โดยผู้หญิงคนนี้

"ไม่ได้อยู่กับมารดารวมทั้งมาารดาไม่ได้เลี้ยงดู" (มาตุรักขิตา) ,
"ไม่ได้อยู่กับบิดา (ปิตุรักขิตา) รวมทั้งบิดาไม่ได้เลี้ยงดู"
และไม่ได้อยู่กับ "มารดาและบิดา"  (มาตาปิตุรักขิตา)

ต่อมาเดือนสิงหาคม ฝ่ายหญิงเธอย้ายมากินนอนที่บ้านของผมและทำงานร่วมกันกับผม พ่อแม่ฝ่ายหญิงได้ทราบแล้วว่าผมกับเธออยู่ด้วยกัน เธออยู่กับผมด้วยความพึงพอใจรักใคร่ ( ฉันทวาสินี - หญิงที่สมัครใจไปอยู่กับชาย) โดยผมนั้นแม้จะยังไม่มีเงินแต่ง  ก็ได้ส่งเงินเป็นค่าช่วยเหลือด้านการใช้จ่ายให้กับพ่อแม่ฝ่ายหญิงเดือนละห้าพันถือเป็นค่าน้ำนม  ซึ่งพ่อแม่ฝ่ายหญิงก็รับทราบและก็ยอมรับ

ต่อมา เดือนพฤษภาคม  ผมทะเลาะกับผู้หญิงคนนั้นในเรื่องบางอย่าง  เธอย้ายหนีออกไปผมไม่ทราบที่อยู่ แต่ยังติดต่อได้ เพราะการงานยังต้องทำร่วมกัน  ประมาณสิบกว่าวันต่อมา  เธอบอกว่าเธอมีแฟนใหม่  และผู้ชายใหม่คนนี้ก็ใจเร็ว อยากครอบครอง กลัวผมจะเข้าไปก้าวก่ายได้ จึงพาไปหาพ่อแม่ของเธอ


พ่อแม่ของฝ่ายหญิง ได้ยกผู้หญิงคนนี้ให้กับผู้ชายคนใหม่  ผู้ชายคนใหม่จึงถือสิทธิ์(คิดเอา)ว่า  พ่อแม่ฝ่ายหญิงยกให้กับตนแล้ว  ผมไม่มีสิทธิ์อะไรในตัวผู้หญิงอีก


เคสนี้  เมื่อคืนผมลองทำคำถาม ถามตอบ ตามหลักอภิธรรมแล้วพิมพ์มาอ่านทบทวนดูแล้ว  ได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้  ผิดถูกหรือไม่ครับ  ขอบัณฑิตช่วยตรวจทานทีครับ

สมมุติชื่อ ผม คือ อ้น
ชื่อแฟน คือ นก
ชื่อผู้ชาย คือ หน่อง

ชื่อทั้งสามนี้ใช้สมมุติในการวิเคราะห์   การวิเคราะห์มีดังนี้


จากการวิเคราะห์ตามหลักพระพุทธศาสนา  หากเราไม่ยกให้  นกย่อมเป็นภรรยาของเราจนทุกวันนี้

อ้างอิงการวิเคราะห์ -

วิเคราะห์สถานะของนก อ้น และหน่อง ตามหลักพระพุทธศาสนา

คำถาม : ในศีลข้อสาม กาเมสุมิจฉาจารนั้น  กล่าวว่า สตรีที่มีเจ้าของแล้ว  ผู้ใดที่ละเมิดในสตรีนั้น เป็นอันศีลขาด  สตรีที่มีเจ้าของนั้นมีกี่ประเภท

ตอบ : 20 ประเภท ดังต่อไปนี้
http://oknation.nationtv.tv/blog/praputtamon/2017/07/27/entry-1

ในบรรดาหญิง 20 ประเภทน้ั้น ผู้ใดได้ล่วงประเวณีต่อหญิงนั้น เป็นได้เรียกว่าศีลขาด  

คำถาม : อดีตและปัจจุบันนี้ นกอยู่ในสถานะภรรยาเหล่านั้นหรือไม่ ?

ตอบ : อยู่

คำถาม : อยู่ในประเภทไหน ?

ตอบ : อยู่ในประเภทฉันทวาสีนี

คำถาม : ฉันทวาสินี คือ อย่างไร ?

ตอบ : "ฉนฺทวาสินี ในภาษาบาลี แปลเป็นไทย หมายถึง  หญิงที่สมัครใจไปอยู่กับชาย เช่น หญิงที่รักหรือพอใจชายคนหนึ่งคนใด แต่บิดามารดาไม่ยินดียกให้ หญิงนั้นก็หนีไปอยู่กับชายนั้น หญิงพวกนี้ได้ชื่อว่า ฉันทวาสินี" ในที่นี้ จากหลักสี่มาที่พรานนก นกย่อมเป็นฉันทวาสินีโดยสมบูรณ์ แม้บิดามารดาของนก มิได้ยกนกให้กับเรา แต่เมือนกได้สมัครใจมากินอยู่กับเราแล้ว  ย่อมได้เรียกว่าเป็นภรรยาของเราประเภทฉันทวาสินี

คำถาม : หากไม่มีการหย่าร้างกันโดยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย  เมื่อฉันทวาสินีได้รับการยกจากบิดามารดาให้ชายอื่น แม้จะมีการหมั้นหมายหรือแต่งงาน ชายนั้นถือว่าเป็นสามีของฉันทวาสินีโดยชอบธรรมหรือไม่ ?

ตอบ : ชายนั้นไม่ถือเป็นสามี  เป็นเพียงชู้เท่านั้น  เพราะเจ้าของของฉันทวาสินีคือสามีที่แท้นั้น "มิได้ยกให้" เมื่อสามี (เรา) มิได้ยกให้  การได้สตรีนั้นไปจึงเป็นการละเมิดศีลโดยครบองค์  

ในกรณีที่ไม่ได้อยู่กับบิดามารดา(มาตาปิตุรักขิตา) และบิดามารดาไม่ได้เลี้ยงดู(มาตาปิตุรักขิตา) หากหญิงนั้นสมัครใจอยู่กับชาย  ไม่ถือว่าหญิงนั้นเป็นของบิดามารดาแล้ว  ย่อมเป็นของชายที่ตนอยู่ด้วย

ดังนั้น  จากอคมนียวัตถุในพระอภิธรรมัตถสหงคหปริเฉทที่ 5 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (1)  แสดงให้เห็นได้ว่า  กรณีของนกกับเรา  นกเป็นฉันทวาสินีของเรา  และแม้บิดามารดาหรือญาติได้ยกนกให้กับหน่อง  ก็ไม่อาจถือได้โดยธรรมะปฏิบัติว่านกเป็นภรรยาของหน่องโดยชอบธรรม  เพราะในเมื่อนกเป็นฉันทวาสินีของเราแล้ว  เราย่อมเป็นเจ้าของ  สิทธิ์ในการยกให้หรือการตัดขาดเป็นภรรยานั้นไม่ใช่กิจที่บิดาหรือมารดาหญิงนั้นจะกระทำได้  แม้จะไม่มีการหมั้นหมายหรือแต่งงาน แต่ทางธรรม  นกเป็นภรรยาของเราโดยสมบูรณ์  ปัจจุบันก็ยังเป็น




ผมวิเคราะห์ตกหล่นยังไงขออภัยนะครับ  รบกวนกัลยาณมิตรช่วยตรวจทานหน่อยว่าเคสนี้ ผู้ชายคนใดเป็นสามีของหญิงนี้อย่างถูกต้องตามพุทธประเพณีครับ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่