
สวัสดีครับ คราวนี้ผมจะนำราเม็งจากทั่วญี่ปุ่นมาฝากให้ลองดูและจินตนาการไปด้วยครับ ส่วนตัวเป็นคนชอบกินราเม็งมาก และกินได้เกือบทุกมื้อ ช่วงที่ผมเรียนอยู่ที่ญี่ปุ่น ผมได้มีโอกาสไปFukuoka เดือนละครั้ง และทุกครั้งที่ไปผมจะกินราเม็งเป็นมื้อเที่ยงเกือบทุกครั้งครับ และด้วยความที่ชอบราเม็งและอยากรู้อยากเห็นของผม ผมจึงนำมาฝากทุกท่านในกระทู้นี้ครับ

และจะมีอะไรกันบ้างนะ ไปดูกันเลย

หลักๆแล้ว Ramen จะมีอยู่ 4 สูตรหลัก
-
Miso : ราเม็งที่เป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือและฮอกไกโดก็ว่าได้ โดยเฉพาะเมืองSapporo ที่ขึ้นชื่อว่าดังที่สุดในราเม็งสูตรนี้ โดยน้ำซุปได้มาจากการผัดของวัตถุดิบต่างๆและมิโซะสูตรเฉพาะ และเป็นราเม็งที่ใส่ผักมากกว่าทุกสูตรครับ

-
Shoyu : ราเม็งแบบที่ทานง่ายที่สุดและหาง่ายที่สุด โดยรสชาติหลักของซุปมาจากโชยุหลากชนิดแล้วแต่ภูมิภาค โชยุราเม็งมีทั้งน้ำใสและน้ำข้นอีกด้วยแล้วแต่สูตรของทางร้านนั้นๆครับ

-
Tonkotsu : ราเม็งที่ขึ้นชื่อว่าเข้มข้นที่สุด และมันที่สุดจากทุกสูตร โดยซุปได้มาจากการเคี่ยวกระดูหลายชั่วโมงและไขกระดูกที่ผ่านการบดอย่างละเอียดเสริมความหวานมันให้กับน้ำซุป ราเม็งสูตรนี้พบได้ทั่วไปในะคิวชู และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำภูมิภาคอีกด้วย

-
Shio : ราเม็งสูตรที่มีรสอ่อนที่สุดจากทุกสูตร โดยน้ำซุปได้รสมาจากเกลือทะเลและกระดูก และนับได้ว่าเป็นรสชาติที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดครับ ทว่าราเม็งสูตรนี้พบได้น้อย ส่วนมากพบได้ที่ฮอกไกโดครับ
แผนที่แบ่งประเภทราเม็งทำเองครับ
(Okinawa ไม่มีราเม็ง แต่มีโซบะแทนเลยไม่เอากับเขาด้วยนะ)
Hokkaido
-
Asahikawa Ramen (Shoyu) ราเม็งที่ผสมเครื่องต้มซุปหลากชนิด เช่นปลา กระดูกหมู และไก่เข้าด้วยกัน และโชยุให้รสชาติของซุป เส้นหมี่เป็นเส้นขนาดกลางซึ่งใช้น้ำในการนวดน้อยกว่าเส้นอื่นๆกว่า 28-32% เอกลักษณ์คือเส้นและซุปที่กินได้ง่ายนั้นเอง

-
Sapporo Ramen (Miso) ราเม็งจานหลัก 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น น้ำซุปได้จากการผัดโดยผสมด้วยผัดต่างๆ ซุปกระดูกหมู และมิโซะ และได้ชื่อว่าสามารถคลายหนาวและกันหนาวของอากาศที่ฮอกไกโดได้เป็นอย่างดี รสชาติของซุปสามารถเป็นได้ทั้งหวาน และเค็ม หรือจะผสมเนยก็ได้ทั้งหมด

-
Hakodate Ramen (Shio) ราเม็งซุปเกลือชื่อดังของญี่ปุ่นและเป็นราชาในบันดาลซุปดังกล่าว โดยน้ำซุปเป็นการผสมระหว่างซุปจากโครงไก่ กระดูกหมู และเกลือที่เป็นรสชาติหลักของชามนี้ เส้นที่ใช้เป็นเส้นหมี่ขนาดกลาง และเครื่องเคียงเช่น หมูชาชู ต้นหอม หญ้าโบเร็น เป็นต้น เป็นราเม็งที่ผมชอบเป็นอันดับที่ 3จาก Tokushima และ Hakata

-
Muroran Ramen (Shoyu) ราเม็งที่ประกอบด้วย ซุปโชยุ ผงปลาคะซึโอะ และสาหร่ายคมบุที่เป็นสินค้าหลักของเมืองมุโรรัน
Tohoku
-
Tsugaru Ramen (Shoyu) เป็นกึ่งราเม็งและโซบะ น้ำซุปได้มาจากการผสมระหว่างปลาตากแห้งและโชยุ และเส้นหมี่สูตรเฉพาะแล้วแต่ร้านที่จำหน่าย บางร้านก็ผสมซุปกระดูกหมูและไก่เพื่อเพิ่มปริมาณ เครื่องเคียงของราเม็งชามนี้เช่น ต้นหอม หมูชาชู หน่อไม้ดอง ธัญพืช เป็นต้น หมูชาชูที่ใส่มักจะหั่นหนาเป็นพิเศษซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของราเม็งชามนี้ และมีประวัติยาวนานตั้งแต่ยุคไทโชซึ่งเริ่มต้นขายที่สถานีAomori ซึ่งยังคงมีอนุสรณ์อยู่ที่นั่นครับ

-
Hachinohe Ramen (Shoyu) ราเม็งประจำเมืองฮาจิโนะเฮะ จังหวัดอาโอโมริ ซุปได้มาจากปลาแห้งและไก่ในท้องถิ่น ใส่โชยุให้รสชาติ เอกลักษณ์คือการใช้เส้นขนาดเฉพาะของทางร้าน กระเทียมและต้นหอมจากท้องถิ่น เครื่องเคียงประกอบด้วยหมูชาชู ต้นหอมซอย และหน่อไม้ดอง

-
Natto Ramen (Miso) ราเม็งที่ใส่นัตโตะในการทำซุปและเครื่องเคียงซึ่งผมไม่เคยได้ยินมาก่อนครับ โดยราเม็งนี้พบได้ในจังหวัดอีวาเตะ และเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลในประวัติศาสตร์ Tecchibou ซึ่งในยุคของเค้าเป็นยุคที่มีราเม็งชามนี้กำเนิดขึ้น บางครั้งก็ใส่กิมจิลงไปด้วยซึ่งได้รับอิทธิพลจากภรรยาของเค้านั้นเอง

-
Sendai Miso Ramen (Miso) มิโซะราเม็งสูตรเฉพาะประจำเมืองเซนได จังหวัดมิยากิ แม้เครื่องเคียงจะไม่ต่างไปจากสูตรของเมืองซัปโปโร แต่มิโซะที่ใช้ได้จากสูตรของเจ้าเมืองเก่าสมัยเอโดะ Date Masamune ไดเมียวชื่อดังในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นครับ (ราเม็งท่านไดเมียวตาเดียว)

-
Yonesawa Ramen (Shoyu) เอกลักษณ์คือเส้นบะหมี่บางๆและซุปโชยุรสอ่อน ซุปราเม็งชามนี้ส่วนมากได้มาจาก ผัก โครงไก่ และปลาตากแห้ง

-
Akayu Karamiso Ramen (Miso) ราเม็งที่กำเนิดขึ้นในที่เมืองAkayu จังหวัดยามางาตะตั้งแต่สมัยเอโดะ โดยใช้มิโซะรสเผ็ดสูตรพิเศษชื่อว่า “Ishiyaki-Namban”

-
Kitakata Ramen (Shoyu-Tonkotsu) ราเม็งประจำเมืองKitakata จังหวัดฟุกุชิม่า และเป็นราเม็ง 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น โดยน้ำซุปได้มาจากโชยุและซุปใสจากกระดูกหมู มีรสอ่อน และสามารถเติมความเข้มข้นได้ตามต้องการซึ่งจะเติมกระดูกหมูบดละเอียดลงไปคล้ายกับHakata Ramen บางร้านก็ใช้มิโซะและเกลือเป็นน้ำซุป เส้นหมี่เป็นเส้นใหญ่สูตรพิเศษที่เรียกว่า “Hirauchi-Shoseitaka Suimen” เนื่องจากเส้นที่ใหญ่และซุปรสอ่อนๆ ทำให้ทานได้ง่าย

-
Misokare-Gyunyu Ramen (Miso) การรวมตัวระหว่าง มิโซะ นมสด และผงกะหรี่กลายเป็นซุปราเม็งสุดพิสดาร ทำขึ้นครั้งแรกในปี 1978 มีเครื่องเคียงเช่นถั่วงอก เนย สาหร่ายวากาเมะ และหน่อไม้ดอง พบได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่อาโอโมริและฮอกไกโด
EP Special: รวมราเม็งทุกรูปแบบจากทุกภูมิภาคของญี่ปุ่น
หลักๆแล้ว Ramen จะมีอยู่ 4 สูตรหลัก
- Miso : ราเม็งที่เป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือและฮอกไกโดก็ว่าได้ โดยเฉพาะเมืองSapporo ที่ขึ้นชื่อว่าดังที่สุดในราเม็งสูตรนี้ โดยน้ำซุปได้มาจากการผัดของวัตถุดิบต่างๆและมิโซะสูตรเฉพาะ และเป็นราเม็งที่ใส่ผักมากกว่าทุกสูตรครับ
- Shoyu : ราเม็งแบบที่ทานง่ายที่สุดและหาง่ายที่สุด โดยรสชาติหลักของซุปมาจากโชยุหลากชนิดแล้วแต่ภูมิภาค โชยุราเม็งมีทั้งน้ำใสและน้ำข้นอีกด้วยแล้วแต่สูตรของทางร้านนั้นๆครับ
- Tonkotsu : ราเม็งที่ขึ้นชื่อว่าเข้มข้นที่สุด และมันที่สุดจากทุกสูตร โดยซุปได้มาจากการเคี่ยวกระดูหลายชั่วโมงและไขกระดูกที่ผ่านการบดอย่างละเอียดเสริมความหวานมันให้กับน้ำซุป ราเม็งสูตรนี้พบได้ทั่วไปในะคิวชู และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำภูมิภาคอีกด้วย
- Shio : ราเม็งสูตรที่มีรสอ่อนที่สุดจากทุกสูตร โดยน้ำซุปได้รสมาจากเกลือทะเลและกระดูก และนับได้ว่าเป็นรสชาติที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดครับ ทว่าราเม็งสูตรนี้พบได้น้อย ส่วนมากพบได้ที่ฮอกไกโดครับ
แผนที่แบ่งประเภทราเม็งทำเองครับ
Hokkaido
- Asahikawa Ramen (Shoyu) ราเม็งที่ผสมเครื่องต้มซุปหลากชนิด เช่นปลา กระดูกหมู และไก่เข้าด้วยกัน และโชยุให้รสชาติของซุป เส้นหมี่เป็นเส้นขนาดกลางซึ่งใช้น้ำในการนวดน้อยกว่าเส้นอื่นๆกว่า 28-32% เอกลักษณ์คือเส้นและซุปที่กินได้ง่ายนั้นเอง
- Sapporo Ramen (Miso) ราเม็งจานหลัก 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น น้ำซุปได้จากการผัดโดยผสมด้วยผัดต่างๆ ซุปกระดูกหมู และมิโซะ และได้ชื่อว่าสามารถคลายหนาวและกันหนาวของอากาศที่ฮอกไกโดได้เป็นอย่างดี รสชาติของซุปสามารถเป็นได้ทั้งหวาน และเค็ม หรือจะผสมเนยก็ได้ทั้งหมด
- Hakodate Ramen (Shio) ราเม็งซุปเกลือชื่อดังของญี่ปุ่นและเป็นราชาในบันดาลซุปดังกล่าว โดยน้ำซุปเป็นการผสมระหว่างซุปจากโครงไก่ กระดูกหมู และเกลือที่เป็นรสชาติหลักของชามนี้ เส้นที่ใช้เป็นเส้นหมี่ขนาดกลาง และเครื่องเคียงเช่น หมูชาชู ต้นหอม หญ้าโบเร็น เป็นต้น เป็นราเม็งที่ผมชอบเป็นอันดับที่ 3จาก Tokushima และ Hakata
- Muroran Ramen (Shoyu) ราเม็งที่ประกอบด้วย ซุปโชยุ ผงปลาคะซึโอะ และสาหร่ายคมบุที่เป็นสินค้าหลักของเมืองมุโรรัน
Tohoku
- Tsugaru Ramen (Shoyu) เป็นกึ่งราเม็งและโซบะ น้ำซุปได้มาจากการผสมระหว่างปลาตากแห้งและโชยุ และเส้นหมี่สูตรเฉพาะแล้วแต่ร้านที่จำหน่าย บางร้านก็ผสมซุปกระดูกหมูและไก่เพื่อเพิ่มปริมาณ เครื่องเคียงของราเม็งชามนี้เช่น ต้นหอม หมูชาชู หน่อไม้ดอง ธัญพืช เป็นต้น หมูชาชูที่ใส่มักจะหั่นหนาเป็นพิเศษซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของราเม็งชามนี้ และมีประวัติยาวนานตั้งแต่ยุคไทโชซึ่งเริ่มต้นขายที่สถานีAomori ซึ่งยังคงมีอนุสรณ์อยู่ที่นั่นครับ
- Hachinohe Ramen (Shoyu) ราเม็งประจำเมืองฮาจิโนะเฮะ จังหวัดอาโอโมริ ซุปได้มาจากปลาแห้งและไก่ในท้องถิ่น ใส่โชยุให้รสชาติ เอกลักษณ์คือการใช้เส้นขนาดเฉพาะของทางร้าน กระเทียมและต้นหอมจากท้องถิ่น เครื่องเคียงประกอบด้วยหมูชาชู ต้นหอมซอย และหน่อไม้ดอง
- Natto Ramen (Miso) ราเม็งที่ใส่นัตโตะในการทำซุปและเครื่องเคียงซึ่งผมไม่เคยได้ยินมาก่อนครับ โดยราเม็งนี้พบได้ในจังหวัดอีวาเตะ และเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลในประวัติศาสตร์ Tecchibou ซึ่งในยุคของเค้าเป็นยุคที่มีราเม็งชามนี้กำเนิดขึ้น บางครั้งก็ใส่กิมจิลงไปด้วยซึ่งได้รับอิทธิพลจากภรรยาของเค้านั้นเอง
- Sendai Miso Ramen (Miso) มิโซะราเม็งสูตรเฉพาะประจำเมืองเซนได จังหวัดมิยากิ แม้เครื่องเคียงจะไม่ต่างไปจากสูตรของเมืองซัปโปโร แต่มิโซะที่ใช้ได้จากสูตรของเจ้าเมืองเก่าสมัยเอโดะ Date Masamune ไดเมียวชื่อดังในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นครับ (ราเม็งท่านไดเมียวตาเดียว)
- Yonesawa Ramen (Shoyu) เอกลักษณ์คือเส้นบะหมี่บางๆและซุปโชยุรสอ่อน ซุปราเม็งชามนี้ส่วนมากได้มาจาก ผัก โครงไก่ และปลาตากแห้ง
- Akayu Karamiso Ramen (Miso) ราเม็งที่กำเนิดขึ้นในที่เมืองAkayu จังหวัดยามางาตะตั้งแต่สมัยเอโดะ โดยใช้มิโซะรสเผ็ดสูตรพิเศษชื่อว่า “Ishiyaki-Namban”
- Kitakata Ramen (Shoyu-Tonkotsu) ราเม็งประจำเมืองKitakata จังหวัดฟุกุชิม่า และเป็นราเม็ง 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น โดยน้ำซุปได้มาจากโชยุและซุปใสจากกระดูกหมู มีรสอ่อน และสามารถเติมความเข้มข้นได้ตามต้องการซึ่งจะเติมกระดูกหมูบดละเอียดลงไปคล้ายกับHakata Ramen บางร้านก็ใช้มิโซะและเกลือเป็นน้ำซุป เส้นหมี่เป็นเส้นใหญ่สูตรพิเศษที่เรียกว่า “Hirauchi-Shoseitaka Suimen” เนื่องจากเส้นที่ใหญ่และซุปรสอ่อนๆ ทำให้ทานได้ง่าย
- Misokare-Gyunyu Ramen (Miso) การรวมตัวระหว่าง มิโซะ นมสด และผงกะหรี่กลายเป็นซุปราเม็งสุดพิสดาร ทำขึ้นครั้งแรกในปี 1978 มีเครื่องเคียงเช่นถั่วงอก เนย สาหร่ายวากาเมะ และหน่อไม้ดอง พบได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่อาโอโมริและฮอกไกโด