มีคำถามเกี่ยวกับทำงานล่วงเวลาค่ะ
เห็นมาตรา 24 ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มีเขียนไว้ว่า
ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทําติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉินหรือเป็นงานอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวงนายจ้างอาจให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาได้เท่าที่จําเป็น
(รวมถึงมาตรา 25 ก็ในลักษณะเดียวกัน)
สงสัยว่า สมมติทำงานเข้ากะดึกมา 12 ชม. โดนบังคับโดยอ้างมาตรานี้ให้ทำต่อตอนเช้าด้วย
ทั้งที่พนักงานได้แสดงออกแล้วว่าไม่ต้องการจะทำและทำไม่ไหวเนื่องจากเหนื่อย/เพลีย/ง่วง
แต่ก็โดนสั่งให้ทำ จนงานเกิดความเสียหายขึ้น
ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ ใครต้องเป็นคนรับผิดชอบความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นคะ?
แล้วอีกอย่างหนึ่ง คำว่า
"ต้องทําติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน" มันกว้างแค่ไหน
เพราะส่วนตัวดิฉันคิดว่า การที่พนักงานไม่มาทำงานในวันหยุดหรือไม่ทำงานล่วงเวลา ทั้งๆที่นายจ้างต้องการ มันก็ทำให้เกิดความเสียหายต่องานทั้งนั้น
ถ้านายจ้างจะอ้างเพื่อบังคับให้พนักงานทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด จะเป็นกรณีอย่างไรบ้างคะที่เข้าข้อนี้?
ขอบคุณทุกคำตอบล่วงหน้าค่ะ
ไม่อยากทำโอทีแต่โดนบังคับทำ งานเสียหายจากความเหนื่อยล้า กรณีแบบนี้ใครผิดคะ
เห็นมาตรา 24 ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มีเขียนไว้ว่า
ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทําติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉินหรือเป็นงานอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวงนายจ้างอาจให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาได้เท่าที่จําเป็น
(รวมถึงมาตรา 25 ก็ในลักษณะเดียวกัน)
สงสัยว่า สมมติทำงานเข้ากะดึกมา 12 ชม. โดนบังคับโดยอ้างมาตรานี้ให้ทำต่อตอนเช้าด้วย
ทั้งที่พนักงานได้แสดงออกแล้วว่าไม่ต้องการจะทำและทำไม่ไหวเนื่องจากเหนื่อย/เพลีย/ง่วง
แต่ก็โดนสั่งให้ทำ จนงานเกิดความเสียหายขึ้น
ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ ใครต้องเป็นคนรับผิดชอบความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นคะ?
แล้วอีกอย่างหนึ่ง คำว่า "ต้องทําติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน" มันกว้างแค่ไหน
เพราะส่วนตัวดิฉันคิดว่า การที่พนักงานไม่มาทำงานในวันหยุดหรือไม่ทำงานล่วงเวลา ทั้งๆที่นายจ้างต้องการ มันก็ทำให้เกิดความเสียหายต่องานทั้งนั้น
ถ้านายจ้างจะอ้างเพื่อบังคับให้พนักงานทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด จะเป็นกรณีอย่างไรบ้างคะที่เข้าข้อนี้?
ขอบคุณทุกคำตอบล่วงหน้าค่ะ