ใกล้จะปลายปีแล้ว หลายๆ คนอาจจะจองตั๋วไปเคานต์ดาวน์ที่ต่างประเทศกันรัวๆ แต่เวลาบินไกลๆ อาจจะเกิดอาการเจ็ตแล็ก (Jet lag) ขึ้น สำหรับใครที่ยังไม่รู้ เจ็ตแล็กคืออาการอ่อนเพลียที่เกิดจากการเดินทางข้ามประเทศไกลๆ ผ่านเส้นแบ่งเวลา ทำให้ร่างกายเราปรับตัวไม่ทัน เช่น หากเราไปอเมริกาที่ช่วงเวลาช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง เวลาเที่ยงของอเมริกาคือเวลาเที่ยงคืนของไทย แต่ร่างกายเรายังคุ้นกับเวลาไทยอยู่ อาจจะทำให้เกิดอาการง่วงนอนขึ้น ทำให้เราต้องปรับนาฬิการ่างกายใหม่ คนที่เป็นหนักมากๆ อาจมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ทีนี้เรามาดูดีกว่าว่ามีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง

1. คำนวณเวลาที่จะเดินทางถึงที่หมาย เช่น หากเราจะไปถึงที่หมายตอน 7 โมงเช้า (ของประเทศนั้น) ขณะอยู่บนเครื่องก็นอนยาวๆ ไปเลย หรือหากถึงที่หมายตอน 2 ทุ่ม ขณะอยู่บนเครื่องก็หาอะไรทำ ดูซีรีส์หรืออะไรก็ว่าไป พอแลนด์ดิ้งแล้วจะได้นอน พยายามบริหารจัดการตารางเวลาของเราให้ดี จะได้ไม่มีปัญหานะ
2. เตรียมร่างกายให้พร้อม พักผ่อนเยอะๆ ดื่มน้ำมากๆ งดคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนการเดินทาง เพราะจะไปรบกวนการนอนหลับ ทำให้หลับไม่สนิท
3. อาจใช้ยานอนหลับที่ออกฤทธิ์สั้นๆ เพื่อช่วยในการปรับเวลานอนและพักผ่อน แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ด้วย ถ้าอาการไม่หนักมากหรือไม่จำเป็นจริงๆ ไม่แนะนำให้ใช้ยานอนหลับนะฮะ
4. ยืดเส้นยืดสาย ลุกเดินหรือยืนเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายตื่นตัว หากถึงที่หมายแล้วแต่ยังรู้สึกง่วงอยู่ก็ลองอาบน้ำดูก็ได้นะ จะช่วยให้ตาสว่างขึ้น
โดยทั่วไปความรุนแรงของอาการเจ็ตแล็กจะขึ้นอยู่กับเส้นแบ่งเวลาที่บินข้าม ความสามารถในการปรับตัวของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม นอกจากเจ็ตแล็กแล้ว ยังมีอาการป่วยอื่นๆ ที่มักเป็นเวลาโดยสารเครื่องบินอีก เช่น หูอื้อ ปวดหู ฯลฯ ดังนั้นควรเตรียมร่างกายให้พร้อมหากต้องขึ้นเครื่องบินจะดีที่สุดนะฮับ
++ How to รับมืออาการ Jet lag ++
1. คำนวณเวลาที่จะเดินทางถึงที่หมาย เช่น หากเราจะไปถึงที่หมายตอน 7 โมงเช้า (ของประเทศนั้น) ขณะอยู่บนเครื่องก็นอนยาวๆ ไปเลย หรือหากถึงที่หมายตอน 2 ทุ่ม ขณะอยู่บนเครื่องก็หาอะไรทำ ดูซีรีส์หรืออะไรก็ว่าไป พอแลนด์ดิ้งแล้วจะได้นอน พยายามบริหารจัดการตารางเวลาของเราให้ดี จะได้ไม่มีปัญหานะ
2. เตรียมร่างกายให้พร้อม พักผ่อนเยอะๆ ดื่มน้ำมากๆ งดคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนการเดินทาง เพราะจะไปรบกวนการนอนหลับ ทำให้หลับไม่สนิท
3. อาจใช้ยานอนหลับที่ออกฤทธิ์สั้นๆ เพื่อช่วยในการปรับเวลานอนและพักผ่อน แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ด้วย ถ้าอาการไม่หนักมากหรือไม่จำเป็นจริงๆ ไม่แนะนำให้ใช้ยานอนหลับนะฮะ
4. ยืดเส้นยืดสาย ลุกเดินหรือยืนเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายตื่นตัว หากถึงที่หมายแล้วแต่ยังรู้สึกง่วงอยู่ก็ลองอาบน้ำดูก็ได้นะ จะช่วยให้ตาสว่างขึ้น
โดยทั่วไปความรุนแรงของอาการเจ็ตแล็กจะขึ้นอยู่กับเส้นแบ่งเวลาที่บินข้าม ความสามารถในการปรับตัวของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม นอกจากเจ็ตแล็กแล้ว ยังมีอาการป่วยอื่นๆ ที่มักเป็นเวลาโดยสารเครื่องบินอีก เช่น หูอื้อ ปวดหู ฯลฯ ดังนั้นควรเตรียมร่างกายให้พร้อมหากต้องขึ้นเครื่องบินจะดีที่สุดนะฮับ