ค่าครองชีพต่ำและค่าครองชีพสูง มีความแตกต่างกันอย่างไร?

เช่น ประเทศพัฒนาแล้ว หลายๆประเทศมีแนวโน้มที่จะะมีค่าครองชีพที่สูงกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาหลายๆประเทศ เป็นเพราะอะไรครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ค่าครองชีพสูง มันจะ balance กับค่าข้าวของอุปโภคบริโภคด้วย

ประเทศที่ค่าครองชีพสูง ก็ไม่ได้หมายความว่าเขารวย
เขาก็ยากจนหาเช้ากินค่ำนั่นล่ะครับ
สมมุติเงินเดือนเขาตีเป็นเงินไทย เดือนละ 4 หมื่น
แต่ค่าข้าวของเครื่องใช้ ที่พักต่างๆ มันไม่ใช่ราคาไทยๆแบบเรานะครับ
มันเป็นราคาที่ผกผันไปกับรายได้เลย เช่น ข้าวตีเป็นเงินไทยจานละ 180 บ.
มะม่วงลูกละ 90 บ. ส้มเขียวหวานกิโลละ 200 บ.

ค่าครองชีพสูงๆ ไม่ได้หมายความว่าชาตินั้นจะพัฒนาแล้วครับ
เพราะชาติตะวันออกกลางเศรษฐีน้ำมันทั้งหลายยังไม่ใช่ชาติพัฒนาแล้วเช่นกัน

ส่วนคนประเทศที่ค่าครองชีพต่ำกว่า
ก็แน่นอนว่า อยากตะเกียกตะกายตัวเองไปทำงานในประเทศที่ค่าครองชีพสูงกว่าเป็นธรรมดา
แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าจะรวยทุกคน ขึ้นอยู่กับนิสัยคนนั้นๆด้วยว่าเก็บออมเป็นหรือเปล่า

อย่างคนไทยบางจำพวก
ที่แอบเข้าไปทำงานในเกาหลี งานที่ทำนั้นเป็นงานที่คนเกาหลีเขาไม่ทำกัน
แต่คนไทยจำพวกนี้ก็ยอมทำ เพราะเงินมันตีเป็นเงินไทยราวๆ 3 หมื่นเป็นอย่างน้อยต่อเดือน หรือไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นต่อเดือน

เงินแค่นี้ สำหรับคนเกาหลีแล้วแทบไม่พอกินสำหรับเขาครับ
(ความรู้สึก 3 หมื่นบาทไทยที่ได้ในเกาหลีนั้น ,หากประมาณว่าอยู่ประเทศไทย มันจะราวๆ 7-8 พันต่อเดือนของไทย)ซึ่งต่ำมากๆสำหรับประเทศไทย
แต่พอกลับมาอยู่ไทย 3 หมื่นของเกาหลีนั้นมันมีค่ามากมาย เพราะค่าครองชีพเราถูก ข้าวของถูก

คล้ายแรงงานพม่า ที่เรามองว่าทำไมเงินเดือนเขาได้น้อยมากๆ
แท้จริงแล้วพอคนพม่าเขากลับประเทศ เขากลายเป็นเศรษฐี เพราะะค่าครองชีพเขาต่ำกว่าเรา
เป็นต้น

แต่บางทีก็น่าคิดนะครับ
แบบว่าคิดเล่นๆ เทียบค่าเงินของแต่ละประเทศกัน
เช่น ประเทศที่ค่าเงินสูงอย่างจีน ค่าเงินจีนสูงกว่าญี่ปุ่น เกาหลี แต่ค่าครองชีพดันต่ำกว่า
หรือไทยเรา ค่าเงินไทยสูงกว่าญี่ปุ่น เกาหลี แต่ค่าครองชีพก็ดันต่ำกว่า
อันนี้คือเทียบบัญญัติไตรยางศ์เล่นๆนะครับ
สรุปแล้วคือ ค่าเงินไม่ได้ช่วยให้ค่าครองชีพสูงตามเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่