คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
อัล สะกดด้วยพยัชนะภาษาอาหรับคือ ตัว อาลีฟ กับ ลาม =ال เป็นคำนามที่ใช้เจาะจงใช้กับ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เชื้อชาติ ประเทศ ศาสนา สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ฯลฯ ไม่ได้หมายถึงเรื่องไปฮัจย์ หรือต้องผ่านการแสดงแสวงบุญมาแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกัน คนละเรื่อง ชาวอาหรับเป็นชนชาติที่มีชื่อ-สกุล ยาวมาก การตั้งชื่อของชาวอาหรับจะประกอบไปด้วย 5 อย่าง ซึ่งต้องมีความหมายที่ดี
1 اسم คือ ชื่อจริง เช่น อับดุลเราะฮ์มาน, อุมัร, อาลี, อุสมาน, ยาซีน, มุฮัมมัด, อิบรอฮีม, อดัม ฯลฯ
2 كنية ส่วนที่เติมเพื่อให้เกียรติ(ใช้เติมว่าคนนั้นเป็นพ่อ-แม่ของใคร) จะใช้กับคนที่แต่งงานไปแล้ว เช่น อบู คอลิด หมายถึง พ่อของคอลิด หรือ อุมมู เช่น อุมมู ฟาตีมะฮ์ หมายถึง แม่ของฟาตีมะฮ์
3 نسب ส่วนเติมเพื่อให้เกียรติแก่ผู้นั้น(ใช้เติมว่าคนนั้นเป็นบุตร-บุตรีของใคร) หรือที่รู้จักในคำว่า บิน(ผู้ชาย),บินตี(ผู้หญิง)เช่น อิสมาอีล บินอิบรอฮีม หมายถึง อิสมาอีล บุตรอิบรอฮีม หรือ อามีร่า บินตี มุฮัมมัด หมายถึง อามีร่า บุตรีของมุฮัมมัด เป็นต้น ส่วนใหญ่
4 لقب ชื่อรองหรือฉายาเพื่อบ่งบอกคุณลักษณะพิเศษของคนนั้น เช่นจะนำคำภาษาอาหรับมาใช้
เช่น อัลฟารุค หมายถึง ผู้จำแนกความจริงกับความเท็จ ตำแหน่งของฉายาต้องตั้งชื่อจริงมาก่อนเสมอเช่น ชื่อ อุมัร ฉายาคุณลักษณะพิเศษ คืออัลฟารุค รวมกันเป็น อุมัร อัลฟารุค หมายถึง อุมัร ผู้จำแนกความจริงและความเท็จ
5 نسبة สกุลหรือชื่อตระกูล เป็นการนำ ชื่อคน ชื่อเผ่า ชื่อบรรพบุรุษ หรือ สิ่งของ สถานที่เกิด ชนชาติ ดินแดน สัญลักษณ์ต่างๆ สิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ฯลฯ มาตั้งเป็นสกุล
เช่น อัลสิยามี่ย= หมายถึง ชาวสยาม หรือไทย
มุฮัมมัด บินอับดุลลอฮ์ อัลสิยามี่ย์ หมายถึง มุฮัมมัด บุตรอับดุลลอฮ์ ชาวสยาม หรือ มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานีย์ หมายถึง มุฮัมมัด นาศิรุดดีน ชาวอัลบาเนีย หรือประเทศแอลเบเนีย
ซัลมาน อัลฟารีซี่ย์ หมายถึง ซัลมาน ชาวเปอร์เชีย หรือ อับดุลอะซีซ อัลอิมารอตี = อับดุลอะซีซ ชาวเอมิเรสต์ เป็นต้น
ชาวอาหรับปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมตั้งชื่อ ตามด้วยบุตร และสกุล ดังหมายเลข 1 ,3 และ 5 อย่างที่ได้ยินกัน เช่น คอลิด บินยัสซิม อัลมัฆริบีย์ หมายถึง คอลิด บุตรยัสซิม ชาวตะวันตก ซึ่งหมายถึงดินแดนตะวันตก ถัดจากประเทศอิยิปต์เป็นต้นไป ปัจจุบันคือประเทศ ลิเบีย ตูนีเซีย อัลจีเรีย โมร๊อคโค
1 اسم คือ ชื่อจริง เช่น อับดุลเราะฮ์มาน, อุมัร, อาลี, อุสมาน, ยาซีน, มุฮัมมัด, อิบรอฮีม, อดัม ฯลฯ
2 كنية ส่วนที่เติมเพื่อให้เกียรติ(ใช้เติมว่าคนนั้นเป็นพ่อ-แม่ของใคร) จะใช้กับคนที่แต่งงานไปแล้ว เช่น อบู คอลิด หมายถึง พ่อของคอลิด หรือ อุมมู เช่น อุมมู ฟาตีมะฮ์ หมายถึง แม่ของฟาตีมะฮ์
3 نسب ส่วนเติมเพื่อให้เกียรติแก่ผู้นั้น(ใช้เติมว่าคนนั้นเป็นบุตร-บุตรีของใคร) หรือที่รู้จักในคำว่า บิน(ผู้ชาย),บินตี(ผู้หญิง)เช่น อิสมาอีล บินอิบรอฮีม หมายถึง อิสมาอีล บุตรอิบรอฮีม หรือ อามีร่า บินตี มุฮัมมัด หมายถึง อามีร่า บุตรีของมุฮัมมัด เป็นต้น ส่วนใหญ่
4 لقب ชื่อรองหรือฉายาเพื่อบ่งบอกคุณลักษณะพิเศษของคนนั้น เช่นจะนำคำภาษาอาหรับมาใช้
เช่น อัลฟารุค หมายถึง ผู้จำแนกความจริงกับความเท็จ ตำแหน่งของฉายาต้องตั้งชื่อจริงมาก่อนเสมอเช่น ชื่อ อุมัร ฉายาคุณลักษณะพิเศษ คืออัลฟารุค รวมกันเป็น อุมัร อัลฟารุค หมายถึง อุมัร ผู้จำแนกความจริงและความเท็จ
5 نسبة สกุลหรือชื่อตระกูล เป็นการนำ ชื่อคน ชื่อเผ่า ชื่อบรรพบุรุษ หรือ สิ่งของ สถานที่เกิด ชนชาติ ดินแดน สัญลักษณ์ต่างๆ สิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ฯลฯ มาตั้งเป็นสกุล
เช่น อัลสิยามี่ย= หมายถึง ชาวสยาม หรือไทย
มุฮัมมัด บินอับดุลลอฮ์ อัลสิยามี่ย์ หมายถึง มุฮัมมัด บุตรอับดุลลอฮ์ ชาวสยาม หรือ มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานีย์ หมายถึง มุฮัมมัด นาศิรุดดีน ชาวอัลบาเนีย หรือประเทศแอลเบเนีย
ซัลมาน อัลฟารีซี่ย์ หมายถึง ซัลมาน ชาวเปอร์เชีย หรือ อับดุลอะซีซ อัลอิมารอตี = อับดุลอะซีซ ชาวเอมิเรสต์ เป็นต้น
ชาวอาหรับปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมตั้งชื่อ ตามด้วยบุตร และสกุล ดังหมายเลข 1 ,3 และ 5 อย่างที่ได้ยินกัน เช่น คอลิด บินยัสซิม อัลมัฆริบีย์ หมายถึง คอลิด บุตรยัสซิม ชาวตะวันตก ซึ่งหมายถึงดินแดนตะวันตก ถัดจากประเทศอิยิปต์เป็นต้นไป ปัจจุบันคือประเทศ ลิเบีย ตูนีเซีย อัลจีเรีย โมร๊อคโค
แสดงความคิดเห็น
อยากถามเกี่ยวกับชื่ออาหรับหน่อยครับ
อยากถามว่า คำว่า อัล- ต่อท้ายหมายถึงอะไรครับ บางคนก็ อัล-อาฟาสี แล้วเอาอะไรมาตั้งเป็นนามสกุลหรือยังไงครับ
ปกติต้องเรียกชื่อแล้วตามด้วยชื่อพ่อไม่ใช่หรอครับ เช่น มูฮัมหัด บิน อับดุลเลาะห์