พุทธวจน
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
อริยสาวกสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่
เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน
และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสม
หญ้า ไม้และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน
ภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่
เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และ
ข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจภายใน ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน
ภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็น
สุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของ
พระราชา มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความ
อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตราย
ภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพื่อความ
อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตนและเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่ง
ชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด
อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ
โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา
บททั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับ
มาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำ
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุศาสนีโดยเคารพ
ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร
ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้
ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอัน
เป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง
ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร
ภิกษุเป็นผู้สันโดษ
ภิกษุเป็นผู้มีสติ
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด
อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล
กุลบุตรผู้มีศรัทธาเมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมถึงสุคติโลกสวรรค์
เขาเข้าใจทั่วถึงธรรมนั้นแล้ว ย่อมเป็นผู้หมดอาสวกิเลสปรินิพพาน.
เปิดธรรมที่ถูกปิด ธรรมเครื่องอุ่นใจ รสพระธรรมที่รู้ได้เฉพาะตน ควรชักนำผู้อื่นให้เข้าถึงธรรม
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
อริยสาวกสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน
และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสม
หญ้า ไม้และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน
ภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่
เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และ
ข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจภายใน ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน
ภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็น
สุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของ
พระราชา มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความ
อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตราย
ภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพื่อความ
อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตนและเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่ง
ชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด
อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ
โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา
บททั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับ
มาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำ
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุศาสนีโดยเคารพ
ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร
ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้
ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอัน
เป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง
ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร
ภิกษุเป็นผู้สันโดษ
ภิกษุเป็นผู้มีสติ
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด
อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล
กุลบุตรผู้มีศรัทธาเมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมถึงสุคติโลกสวรรค์
เขาเข้าใจทั่วถึงธรรมนั้นแล้ว ย่อมเป็นผู้หมดอาสวกิเลสปรินิพพาน.