
จากตัวละคร และฉากในละครข้าบดินทร์ จะเห็นว่ามีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับคำว่า "ลำดวน" ไม่ว่าจะเป็น นางเอกที่ชื่อลำดวน ฉากที่พระเอกมอบพวงมาลัยดอกลำดวน และมอบดอกลำดวนให้นางเอก ทั้งๆ ที่มีดอกไม้อื่นเยอะแยะสวยๆ วันนี้เลยเอาสาระเกี่ยวกับดอกลำดวนมากฝาก
ดอกลำดวน หรือที่ชาวเหนือเรียกหอมนวล มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Melodorum fruticosum เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงราว 8-12 เมตร ลำต้นหยัดตรง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอกแกมขอบขนาน หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีนวล ดอกสีเหลืองครีม มีทั้งหมด 6 กลีบ กลีบชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออกจากกัน ขณะที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะซ่อนอยู่หลังกลีบชั้นในซึ่งมี 3 กลีบหุบเข้าหากัน ผู้เขียนรู้สึกว่าดอกลำดวนนี้มีกลิ่นเย้ายวนคล้ายกระดังงาอยู่บ้างเหมือนกัน แต่ออกนุ่มนวลกว่า คล้ายเจือด้วยกลิ่นแป้งเล็กน้อย จนเมื่อได้ดมครั้งแรกก็เผลอตกอยู่ในภวังค์ครู่หนึ่ง นึกว่าได้ย้อนเวลากลับไปในสมัยโบราณ เพราะนึกเห็นภาพหญิงสาวในชุดผ้าสไบพลิ้วพรายพร้อมกลิ่นละมุนของเครื่องหอมไทยโชยออกมาจากเรือนร่าง
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มหากวีของไทย ทรงกล่าวถึงลำดวนในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกว่า
ลำดวนเจ้าเคยร้อย กรองเป็นสร้อยลำดวนถวาย
เรียมชมดมสบาย พี่เอาสร้อยห้อยคอนางฯ
ลำดวนปลิดกิ่งก้าน สนสาย
กรองสร้อยลำดวนถวาย ค่ำเช้า
ชูชมดมกลิ่นสบาย ใจพี่
เอาสร้อยห้อยคอเจ้า แนบหน้าชมโฉมฯ
จึงได้รู้ว่าคนโบราณใช้ดอกลำดวนร้อยเป็นมาลัยคล้องคอเหมือนกัน คนสมัยใหม่ได้เห็นเข้าคงจะว่าสวยแปลกตาดีเหมือนกัน เพราะดอกลำดวนมีรูปทรงน่ารักกระจุ๋มกระจิ๋มราวกับปั้นแต่งขึ้น ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นมีใครร้อยมาลัยดอกลำดวนกัน จริงๆ แล้ว
ดอกไม้ชนิดนี้มีกลีบค่อนข้างแข็ง ไม่บอบช้ำง่าย จึงเหมาะจะนำมาร้อยเป็นมาลัยมอบให้แก่กันแทนความรัก ที่มั่นคงแข็งแกร่ง และยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง

ความงามของดอกลำดวนนี้ยังปรากฏใน
ขนมที่ชื่อว่า “กลีบลำดวน” ทำจากแป้งสาลีผสมน้ำตาลทรายและน้ำมันพืช นำมาปั้นเลียนแบบรูปดอกลำดวน นำไปอบจนกรอบ เพิ่มความหอมน่ารับประทานด้วยการอบควันเทียนอันเป็นเอกลักษณ์ของขนมไทยโบราณ แม้จะไม่ได้กลิ่นหอมของดอกลำดวนแท้ๆ แต่ก็สื่อถึงความสวยน่ารักของดอกลำดวนได้อย่างดี
ลำดวนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ในเดือนมีนาคมซึ่งดอกลำดวนกว่า 50,000 ต้นภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์อันเป็นแหล่งที่มีต้นลำดวนมากที่สุดในประเทศไทย เริ่มเบ่งบานส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วบริเวณ จะมีการจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน โดยภายในงานมีกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และการแสดงมหรสพต่างๆ
ดอกลำดวนถือเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย เล่ากันว่าครั้งหนึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราฯ บรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวศรีสะเกษ เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นดอกลำดวนบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมโชยชื่น ก็ทรงพอพระราชหฤทัยมาก ดอกลำดวนจึงกลายเป็นเครื่องหมายของคนสูงอายุนับแต่นั้น เมื่อเห็นประโยชน์ทางการแพทย์ของลำดวนแล้ว ก็นับว่าเหมาะจะเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงวัยจริงๆ เพราะ ดอกลำดวนตากแห้งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจและกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือด รวมทั้งช่วยกระชับกล้ามเนื้ออีกด้วย ถือว่ามีสรรพคุณในทางบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายสดชื่นอ่อนเยาว์อยู่เสมอ
ดอกลำดวนเป็นดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา ดอกลำดวนมีความสำคัญทางวัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างกัมพูชาด้วย ถือเป็นดอกไม้ประจำชาติที่ปลูกแพร่หลายทั่วประเทศ โดยเฉพาะตามสถานที่สาธารณะต่างๆ กวีมักเปรียบเทียบความงามของหญิงสาวกับกลิ่นหอมที่ฟุ้งขจรของดอกลำดวน ดังที่ปรากฏในบทเจรียงกันตรึมหรือบทร้องของชาวเขมรและชาวอีสานใต้เชื้อสายกัมพูชา ซึ่งมักใช้ในพิธีมงคลต่างๆ
ตำรายาไทย ดอกลำดวน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 9 “พิกัดเนาวเกสร” ประกอบด้วย เกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกลำเจียก และดอกลำดวน มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้พิษโลหิต โดยมักใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลมวิงเวียน แก้ไอ แก้ไข้ เกสร เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ นำมาผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ และแก้ลม
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เนื้อไม้และดอกแห้ง ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ลม วิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ไข้
อ้างอิง : เสน่ห์ไม้หอมวงศ์กระดังงา
https://sangkae.wordpress.com/tag/กลิ่นดอกลำดวน
ดอกลำดวน
http://ayurvedicassociationofthailand.blogspot.com/2013/10/blog-post.html
สาระอื่นๆ :
สาระจากละคร ตอน หางช้างนั้นสำคัญไฉน
http://pantip.com/topic/33786987
สาระจากละคร ข้าบดินทร์ (ลักษณะสำคัญของช้างมงคล 7 ประการ)
http://pantip.com/topic/33782348
สาระจากละคร ตอน การจัดลำดับหมอช้าง ที่พี่เหมกำลังเป็นอยู่ตอนนี้
http://pantip.com/topic/33760500
ถ้าชอบกระทู้นี้ช่วยกด +

กันเยอะๆนะ
สาระจากละคร ข้าบดินทร์ ตอน (ทำไมต้องชื่อลำดวน ทำไมต้องเป็นพวงมาลัยดอกลำดวน ดอกลำดวนสำคัญอะไรในสมัยนั้น)
จากตัวละคร และฉากในละครข้าบดินทร์ จะเห็นว่ามีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับคำว่า "ลำดวน" ไม่ว่าจะเป็น นางเอกที่ชื่อลำดวน ฉากที่พระเอกมอบพวงมาลัยดอกลำดวน และมอบดอกลำดวนให้นางเอก ทั้งๆ ที่มีดอกไม้อื่นเยอะแยะสวยๆ วันนี้เลยเอาสาระเกี่ยวกับดอกลำดวนมากฝาก
ดอกลำดวน หรือที่ชาวเหนือเรียกหอมนวล มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Melodorum fruticosum เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงราว 8-12 เมตร ลำต้นหยัดตรง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอกแกมขอบขนาน หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีนวล ดอกสีเหลืองครีม มีทั้งหมด 6 กลีบ กลีบชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออกจากกัน ขณะที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะซ่อนอยู่หลังกลีบชั้นในซึ่งมี 3 กลีบหุบเข้าหากัน ผู้เขียนรู้สึกว่าดอกลำดวนนี้มีกลิ่นเย้ายวนคล้ายกระดังงาอยู่บ้างเหมือนกัน แต่ออกนุ่มนวลกว่า คล้ายเจือด้วยกลิ่นแป้งเล็กน้อย จนเมื่อได้ดมครั้งแรกก็เผลอตกอยู่ในภวังค์ครู่หนึ่ง นึกว่าได้ย้อนเวลากลับไปในสมัยโบราณ เพราะนึกเห็นภาพหญิงสาวในชุดผ้าสไบพลิ้วพรายพร้อมกลิ่นละมุนของเครื่องหอมไทยโชยออกมาจากเรือนร่าง
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มหากวีของไทย ทรงกล่าวถึงลำดวนในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกว่า
ลำดวนเจ้าเคยร้อย กรองเป็นสร้อยลำดวนถวาย
เรียมชมดมสบาย พี่เอาสร้อยห้อยคอนางฯ
ลำดวนปลิดกิ่งก้าน สนสาย
กรองสร้อยลำดวนถวาย ค่ำเช้า
ชูชมดมกลิ่นสบาย ใจพี่
เอาสร้อยห้อยคอเจ้า แนบหน้าชมโฉมฯ
จึงได้รู้ว่าคนโบราณใช้ดอกลำดวนร้อยเป็นมาลัยคล้องคอเหมือนกัน คนสมัยใหม่ได้เห็นเข้าคงจะว่าสวยแปลกตาดีเหมือนกัน เพราะดอกลำดวนมีรูปทรงน่ารักกระจุ๋มกระจิ๋มราวกับปั้นแต่งขึ้น ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นมีใครร้อยมาลัยดอกลำดวนกัน จริงๆ แล้วดอกไม้ชนิดนี้มีกลีบค่อนข้างแข็ง ไม่บอบช้ำง่าย จึงเหมาะจะนำมาร้อยเป็นมาลัยมอบให้แก่กันแทนความรัก ที่มั่นคงแข็งแกร่ง และยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง
ความงามของดอกลำดวนนี้ยังปรากฏในขนมที่ชื่อว่า “กลีบลำดวน” ทำจากแป้งสาลีผสมน้ำตาลทรายและน้ำมันพืช นำมาปั้นเลียนแบบรูปดอกลำดวน นำไปอบจนกรอบ เพิ่มความหอมน่ารับประทานด้วยการอบควันเทียนอันเป็นเอกลักษณ์ของขนมไทยโบราณ แม้จะไม่ได้กลิ่นหอมของดอกลำดวนแท้ๆ แต่ก็สื่อถึงความสวยน่ารักของดอกลำดวนได้อย่างดี
ลำดวนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ในเดือนมีนาคมซึ่งดอกลำดวนกว่า 50,000 ต้นภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์อันเป็นแหล่งที่มีต้นลำดวนมากที่สุดในประเทศไทย เริ่มเบ่งบานส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วบริเวณ จะมีการจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน โดยภายในงานมีกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และการแสดงมหรสพต่างๆ
ดอกลำดวนถือเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย เล่ากันว่าครั้งหนึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราฯ บรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวศรีสะเกษ เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นดอกลำดวนบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมโชยชื่น ก็ทรงพอพระราชหฤทัยมาก ดอกลำดวนจึงกลายเป็นเครื่องหมายของคนสูงอายุนับแต่นั้น เมื่อเห็นประโยชน์ทางการแพทย์ของลำดวนแล้ว ก็นับว่าเหมาะจะเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงวัยจริงๆ เพราะ ดอกลำดวนตากแห้งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจและกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือด รวมทั้งช่วยกระชับกล้ามเนื้ออีกด้วย ถือว่ามีสรรพคุณในทางบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายสดชื่นอ่อนเยาว์อยู่เสมอ
ดอกลำดวนเป็นดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา ดอกลำดวนมีความสำคัญทางวัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างกัมพูชาด้วย ถือเป็นดอกไม้ประจำชาติที่ปลูกแพร่หลายทั่วประเทศ โดยเฉพาะตามสถานที่สาธารณะต่างๆ กวีมักเปรียบเทียบความงามของหญิงสาวกับกลิ่นหอมที่ฟุ้งขจรของดอกลำดวน ดังที่ปรากฏในบทเจรียงกันตรึมหรือบทร้องของชาวเขมรและชาวอีสานใต้เชื้อสายกัมพูชา ซึ่งมักใช้ในพิธีมงคลต่างๆ
ตำรายาไทย ดอกลำดวน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 9 “พิกัดเนาวเกสร” ประกอบด้วย เกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกลำเจียก และดอกลำดวน มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้พิษโลหิต โดยมักใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลมวิงเวียน แก้ไอ แก้ไข้ เกสร เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ นำมาผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ และแก้ลม
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เนื้อไม้และดอกแห้ง ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ลม วิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ไข้
อ้างอิง : เสน่ห์ไม้หอมวงศ์กระดังงา https://sangkae.wordpress.com/tag/กลิ่นดอกลำดวน
ดอกลำดวน http://ayurvedicassociationofthailand.blogspot.com/2013/10/blog-post.html
สาระอื่นๆ :
สาระจากละคร ตอน หางช้างนั้นสำคัญไฉน http://pantip.com/topic/33786987
สาระจากละคร ข้าบดินทร์ (ลักษณะสำคัญของช้างมงคล 7 ประการ) http://pantip.com/topic/33782348
สาระจากละคร ตอน การจัดลำดับหมอช้าง ที่พี่เหมกำลังเป็นอยู่ตอนนี้ http://pantip.com/topic/33760500
ถ้าชอบกระทู้นี้ช่วยกด +