
นอกจากหนังเรื่องนี้จะอยู่ในชุดหนังไตรภาคของลาร์ส วอน เทียร์ที่ว่าด้วยการเจ็บป่วยทางจิตใจด้วยอาการซึมเศร้าของเขา ถูกนำเสนอผ่านเรื่องราวของผู้หญิงและครอบครัวของพวกเธอในหนัง Melancholia (2011) ที่นำเสนอความโศกเศร้าผ่านงานศิลปะยุคโรแมนติกนิยม และ Antichrist (2009) ที่ว่าด้วยพ่อแม่ที่เสียลูกไปเพราะความใคร่ของพวกเขา ใช้เรื่องราวของพระเยซูและบาปทั้งเจ็ดประกาศเป็นสื่อกลาง
ในหนังเรื่องล่าสุดของเขาก็ไม่พ้นการโฮเมจให้กับบรมครูทาร์คอฟสกี้ (เช่นเดียวกับสองเรื่องที่กล่าวมา) ทั้ง Solaris (1972) ที่ใช้ธีมหน้าหนาว และภาพพืชในหน้าที่พริ้วไหว Andrei Rublev (1966) ที่ปรากฎภาพอิคอนให้เห็นชัดเจน The Mirror (1975) ที่นำมาเป็นชื่อตอนๆ หนึ่งในหนัง นอกจากนี้เขายังพูดถึงหนังตัวเอง เช่นฉากลูกชายกำลังจะโดดตึก ก็เหมือนกับใน Antichrist

ส่วนเรื่องราวก็เล่าถึงชีวิตของหญิงติดเซ็กส์ ตั้งแต่การสนใจเรื่องเพศของเด็ก (ฟรอยด์) ไปสนใจถึงการคบคนพาลของเธอ ตัวเอกเกลียดแม่รักพ่อ (อิเล็คตรา) และเธอก็ติดนิสัยผู้ชายมา สิ่งถูกระบายผ่านความต้องการทางเพศของเธอ รวมทั้งตอนหลังที่เธอทำตัวเป็นมาเฟียก็เป็นผลมาจากอิทธิพลของปมอิเล็คตราด้วยเช่นกัน
จริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นผลมาจากปมดังกล่าวอย่างเดียว เพราะหลายๆส่วนก็มาจากประสบการณ์ชีวิตของเธอที่เธอเลือกเดินออกนอกลู่นอกทาง คบเพื่อไม่ดี ชีวิตคู่ของเธอก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ขาดคนเข้าใจ และในท้ายที่สุดเธอก็ไม่พยายามเข้าใจใคร (สังเกตว่าตัวเอกไม่ได้เอาผิดพ่อของเธอเลย ซึ่งจริงๆแล้ว เราว่าส่วนหนึ่งอาจมาจากพ่อของเธอที่อาจไม่มีเวลาดูแลให้คำปรึกษาเธอ รวมทั้งชีวิตสมรสที่ไม่ราบรื่น แม้แต่วันตาย ภรรยาของเขาก็ยังไม่มาดูใจ)

หนังเปรียบเทียบชีวิตเธอกับศาสตร์ที่ชายบริสุทธิ์ผู้คงแก่เรียนคนหนึ่ง (ผู้ช่วยเหลือเธอเอาไว้) ศึกษามาตลอดชีวิต ชายที่ไม่เคยมีเซ็กส์และใช้ชีวิตในบั้นปลายเพียงลำพัง ผมเรื่องเซ็กส์ก็ยังติดใจเขาอยู่มาตลอด กับชีวิตของหญิงที่โชกโชนเรื่องบนเตียง หนังอาจนำเสนอความน่าสมเพชในชีวิตของเธอให้เราเห็นเด่นชัด กับชีวิตของชายที่เอาแต่วิพากย์วิจารณ์ชีวิตคนอื่นด้วยความรู้ของตัวเองที่ไม่ได้แม้แต่จะมีโอกาสลงมือปฏิบัติ เราว่าชีวิตของเขามันก็น่าสมเพชพอๆ กัน เผลอๆ นั่นยังน่าหดหู่ยิ่งกว่า
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ
https://www.facebook.com/survival.king
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: Nymphomaniac {Lars von Trier}, 2013
นอกจากหนังเรื่องนี้จะอยู่ในชุดหนังไตรภาคของลาร์ส วอน เทียร์ที่ว่าด้วยการเจ็บป่วยทางจิตใจด้วยอาการซึมเศร้าของเขา ถูกนำเสนอผ่านเรื่องราวของผู้หญิงและครอบครัวของพวกเธอในหนัง Melancholia (2011) ที่นำเสนอความโศกเศร้าผ่านงานศิลปะยุคโรแมนติกนิยม และ Antichrist (2009) ที่ว่าด้วยพ่อแม่ที่เสียลูกไปเพราะความใคร่ของพวกเขา ใช้เรื่องราวของพระเยซูและบาปทั้งเจ็ดประกาศเป็นสื่อกลาง
ในหนังเรื่องล่าสุดของเขาก็ไม่พ้นการโฮเมจให้กับบรมครูทาร์คอฟสกี้ (เช่นเดียวกับสองเรื่องที่กล่าวมา) ทั้ง Solaris (1972) ที่ใช้ธีมหน้าหนาว และภาพพืชในหน้าที่พริ้วไหว Andrei Rublev (1966) ที่ปรากฎภาพอิคอนให้เห็นชัดเจน The Mirror (1975) ที่นำมาเป็นชื่อตอนๆ หนึ่งในหนัง นอกจากนี้เขายังพูดถึงหนังตัวเอง เช่นฉากลูกชายกำลังจะโดดตึก ก็เหมือนกับใน Antichrist
ส่วนเรื่องราวก็เล่าถึงชีวิตของหญิงติดเซ็กส์ ตั้งแต่การสนใจเรื่องเพศของเด็ก (ฟรอยด์) ไปสนใจถึงการคบคนพาลของเธอ ตัวเอกเกลียดแม่รักพ่อ (อิเล็คตรา) และเธอก็ติดนิสัยผู้ชายมา สิ่งถูกระบายผ่านความต้องการทางเพศของเธอ รวมทั้งตอนหลังที่เธอทำตัวเป็นมาเฟียก็เป็นผลมาจากอิทธิพลของปมอิเล็คตราด้วยเช่นกัน
จริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นผลมาจากปมดังกล่าวอย่างเดียว เพราะหลายๆส่วนก็มาจากประสบการณ์ชีวิตของเธอที่เธอเลือกเดินออกนอกลู่นอกทาง คบเพื่อไม่ดี ชีวิตคู่ของเธอก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ขาดคนเข้าใจ และในท้ายที่สุดเธอก็ไม่พยายามเข้าใจใคร (สังเกตว่าตัวเอกไม่ได้เอาผิดพ่อของเธอเลย ซึ่งจริงๆแล้ว เราว่าส่วนหนึ่งอาจมาจากพ่อของเธอที่อาจไม่มีเวลาดูแลให้คำปรึกษาเธอ รวมทั้งชีวิตสมรสที่ไม่ราบรื่น แม้แต่วันตาย ภรรยาของเขาก็ยังไม่มาดูใจ)
หนังเปรียบเทียบชีวิตเธอกับศาสตร์ที่ชายบริสุทธิ์ผู้คงแก่เรียนคนหนึ่ง (ผู้ช่วยเหลือเธอเอาไว้) ศึกษามาตลอดชีวิต ชายที่ไม่เคยมีเซ็กส์และใช้ชีวิตในบั้นปลายเพียงลำพัง ผมเรื่องเซ็กส์ก็ยังติดใจเขาอยู่มาตลอด กับชีวิตของหญิงที่โชกโชนเรื่องบนเตียง หนังอาจนำเสนอความน่าสมเพชในชีวิตของเธอให้เราเห็นเด่นชัด กับชีวิตของชายที่เอาแต่วิพากย์วิจารณ์ชีวิตคนอื่นด้วยความรู้ของตัวเองที่ไม่ได้แม้แต่จะมีโอกาสลงมือปฏิบัติ เราว่าชีวิตของเขามันก็น่าสมเพชพอๆ กัน เผลอๆ นั่นยังน่าหดหู่ยิ่งกว่า
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ https://www.facebook.com/survival.king