สวัสดีจ๊ะเพื่อนๆชาวพันทิป หลังจากที่ฉันได้เขียนเรื่องราวความฝันของไบค์เกอร์หนุ่มไปแล้ว เรื่องราวของนักไวโอลิน ที่เลือกบรรเลงเพลงบนท้องถนน คือเรื่องราวการไล่ล่าความฝันเรื่องที่สองที่ฉันค้นพบ
การถ่ายทอดเรื่องราวที่ฉันได้เขียนขึ้น ก็มาจากการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ที่ตามหาคนคนหนึ่งที่เลือกทำในสิ่งที่รัก และอยู่กับสิ่งๆนั้นจนเติบโต เป็นเส้นทางอาชีพของตัวเอง
นักไวโอลินคนนี้ไม่ธรรมดา ดีกรีจบเอกดนตรี จุฬาฯแต่เขาเลือกถนนเป็นเวทีแสดงดนตรี และเขาก็เลือกด้วยเหตุผลที่ว่า อยากทำให้ถนนมีเสียงดนตรี เพราะมันคือความสุขของเขา และมันก็ได้กลายเป็นความสุขของใครอีกหลายคนที่ได้ยิน ได้ฟังบทเพลงที่เขาเล่นออกมาด้วยความรู้สึก จากใจ โดยแท้จริง
เรื่องราวนี้จึงนำเสนอเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับผู้ที่กำลังค้นหาตัวเองอยู่ และหากค้นหาเจอแล้ว ก็อาจจะเป็นพลังให้เลือกทำสิ่งนั้นต่อไป จนกว่าจะ
สำเร็จ
"หากเลือกทำในสิ่งที่รัก สิ่งนั้นก็จะรักคุณเช่นกัน"
ฉันเชื่ออย่างนั้น
เรื่องราวของ"นักไวโอลิน" ดีกรีเอกดนตรีจุฬาฯ ที่เลือกบรรเลงเพลงบนท้องถนน "มันคือจิตวิญญาณล้วนๆ ผมอยากไปทำให้ถนนมันมีเสียงดนตรี"
ค่ำคืนหนึ่งที่ฉันลงจากเรือด่วน มาเดินที่ยอดพิมาน ริเวอร์วอร์ค คอมมูนิตี้ ริมน้ำ ฉันก็ได้พบกับพี่ตี๋ ยืนสีไวโอลิน บรรเลงเสียงเพลงหวานเสนาะโสต
ฉันยืนฟังพี่ตี๋เล่นจนจบเพลง และตัดสินใจว่า คนนี้แหละที่ฉันอยากพูดคุยด้วย เมื่อฟังจากการเล่น ต้องฝีมือไม่ธรรมดาแน่ อีกทั้งฉันเคยเห็นพี่เขายืนสีไวโอลิน ครวญเพลงหวานอยู่ที่ท่าน้ำสาทร ฉันจึงตัดสินใจเดินเข้าไปแนะนำตัว ว่าฉันอยากนำเสนอเรื่องราวของพี่ ให้ชาวพันทิปได้ติดตาม และพี่ตี๋ก็ตอบตกลง ด้วยท่าทีเป็นกันเอง
ถนนคือเวทีการแสดงดนตรี ที่ต้องเล่นให้ดีที่สุด

เมื่อถามถึงจุดเริ่มต้น การออกมาเล่นไวโอลิน สำหรับพี่ตี๋-พงษ์พิพัฒน์ มณฑา นักไวโอลิน ที่มีดีกรีจบคณะครุศาสตร์ เอกการดนตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่บ้านไวโอลิน สอนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่เขาเลือกถนนเป็นเวทีการแสดง ที่พี่ตี๋บอกว่า ต้องเล่นให้ดีที่สุด และคิดเสมอว่านี่คือเวทีของเรา มีคนคอยดู คอยฟัง ต้องเล่นให้ประทับใจคนที่ฟัง และนี่อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉันมองเห็นความเป็นศิลปิน ออนสตรีท
"แม้เพียงคนเดียวที่หยุดฟังเราก็จะเล่นให้ดีที่สุด ผมจะโค้งคำนับทุกครั้งที่มีคนหย่อนเงินในกล่องไวโอลิน ไม่เลือกว่าเป็นเด็ก คนรวย คนจน คนเมา คนสติไม่ดี เพราะผมถือเป็นการขอบคุณเขาเหล่านั้นที่ให้กำลังใจ และการเปิดหมวกคุณจะพบกับชีวิตบนท้องถนนที่หลากหลาย"
พี่ตี๋ให้นิยามระหว่างการเล่นดนตรีออนสตรีทกับวณิพกไว้ว่า การเล่นไวโอลินบนถนนสำหรับพี่ตี๋มันคือจิตวิญญาณล้วนๆ
"จะเรียกว่าวณิพกได้ไหม มันก็ได้ เพราะเราเล่นดนตรีแลกเงิน แต่ถ้าเป็นฝรั่งเรียก สตรีทอาร์ตใช่ไหมสตรีทอาร์ตที่มีการเล่นดนตรีบนท้องถนน เล่นละครใบ้ แสดงความสามารถกันบนถนน มันไม่ใช่วนิพกมันเป็นสตรีทอาร์ต"
พี่ตี๋เล่าให้ฟังต่อไปว่า ทุกวันที่เขาเล่นดนตรี จะได้รับคำขอบคุณจากคนที่ไม่รู้จัก และนั่นก็ทำให้เสียงดนตรีของพี่ตี๋เต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ที่เขามีความสุขทุกครั้งที่ได้ออกมาเล่นโชว์ ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะได้เงินมากน้อย ขอแค่ให้ได้ออกมาเล่น
"ไม่ได้อยากจะเอาสตางค์หรอก อยากไปทำให้ถนนมันมีเสียงดนตรี ทำให้คนที่เดินผ่านไป ผ่านมามีความสุข และเราก็เล่นเพราะเรามีความสุขกับมันด้วย อย่างน้อยเสียงไวโอลินของเราก็ทำให้ผ่อนคลายได้บ้าง"
และการออกมาเล่นดนตรีบนถนน ยังทำให้พี่ตี๋เจอเรื่องราวดีๆมากมาย
"เคยมีผู้หญิงคนหนึ่งหน้าตาสะสวย ตอนนั้นประมาณ 5 โมงเย็น มานั่งคอตก เราก็ยืนสีไวโอลิน ก็ดูแล้ว เห็นซึมๆ พอเราเล่นเพลงทรายกับทะเลเสร็จ เธอก็เดินมาบอกว่าขอเพลงนั้นอีกครั้งได้มั้ย พอเราเล่นจบ ก็เดินมาบอกว่าขอบคุณนะคะ มันให้รู้สึกดี ที่ดนตรีเราทำให้มีกำลังใจขึ้น"
บางทีก็มีคนแก่สองคนมานั่งที่พี่ตี๋เล่าว่า บอกขอเพลงได้ไหม ขอเพลงเก่าๆ แล้วไม่นานมานี้มีคู่รักชาวต่างชาติ ฟังดนตรี แล้วก็เต้นรำกันเลย
การออกมาเล่นดนตรีของพี่ตี๋ ยังต้องทำการบ้าน ฝึกฝนฝีมือทุกวัน โดยให้เสียงไวโอลินมีความไพเราะ ไม่ใช่ว่าเล่นไปแล้ว ทำให้คนฟังเกิดความรำคาญ และสิ่งสำคัญก็คือ ต้องสังเกตความรู้สึกของผู้คน และเลือกเพลงให้เข้ากับบรรยากาศ
" ผมคิดทุกครั้ง ว่าจะเอาเพลงไหนไปเล่นให้เขาฟัง วันนึงเล่น 60-70 เพลง แล้วเราไม่ได้ใช้โน๊ต ผมใช้การจำ และผมเล่นได้หมดทุกเพลง เพราะผมกลับไปทำการบ้าน"

การเล่นแต่ละครั้งผมจะรู้สึกว่า ต้องไม่ทำให้เขารู้สึกรำคาญ แต่ถ้าเสียงดนตรีเราไปทำให้เขารู้สึกรำคาญ นี่แสดงว่าเราเล่นแย่มากเลย แต่ถ้าเสียงดนตรีของเรา ทำให้เขาเดินไปแล้วหยุด แล้วถอยหลังแล้วฟัง ให้น้ำใจมา แค่นั้นเราแฮปปี้แล้ว เดี๋ยวก็มาละ ยกมือไหว้ บอกขอบคุณมาก เจออย่างนี้ทุกวัน มันทำให้ผมมีความสุข"
ย้อนกลับไปกว่าพี่ตี๋จะออกมาเล่นไวโอลินข้างนอกได้ เรียกได้ว่า มีจุดเริ่มต้นที่หัดเล่นเพื่อจะมาสอนลูกสาว ซึ่งเรียนไวโอลิน ตอนอายุ 5 ขวบ เรียนไปพร้อมกัน เพื่อได้มาสอนลูก เคี่ยวเข็ญให้ฝึกซ้อม
"ก่อนหน้านั้นเล่นเปียโน กีตาร์มาก่อน แต่ไวโอลินไม่เคยจับเลย แต่ลูกสาวเล่นไวโอลิน แล้วเราเกิดความรู้สึกว่า ถ้าเราไม่หัด แล้วลูกสาวเราจะเล่นเป็นได้ยังไง เราจะไปบอกให้เขาฝึกหัดเล่นยังไง วันนี้ไล่สเกลยังไง แล้วใครจะเคี่ยวเข็ญให้ซ้อม"
พี่ตี๋เริ่มซื้อไวโอลิน ตัวเล็ก ราคาสามพันบาท มาหัดเอง แอบดูตอนครูสอนลูกเล่น อาศัยครูพักลักจำ และศึกษาจากเว็บไซต์ยูทิวบ์ เรียนรู้ในเว็บไซต์พันทาวน์ เคี่ยวกรำตัวเองวันนึงไม่ต่ำกว่าวันละ 8 ชั่วโมง
"คราวหลังเราก็ได้เพื่อนเป็นครูมาช่วยสอนการจับไวโอลิน และก็ในเว็บไซต์พันทาวน์ ก็จะมีชุมชนไวโอลินซึ่งก็มีปรมาจารย์อยู่ในนั้นเต็มไปหมด เราก็เข้าไปโพสต์ถามทุกอย่างที่ไม่เข้าใจ เขาก็สอนเรา จากนั้นก็ทำการบ้านอย่างหนัก ฝึกอยู่ประมาณปีนึงได้"
จนกระทั่งเล่นได้เป็นเพลงที่พอจะเปิดแสดงโชว์ได้ พี่ตี๋ตัดสินใจออกมาเปิดหมวก เล่นบนถนนใน ห้วงวัย 40 ปี กับไวโอลินคู่ใจ ครั้งแรกที่จตุจักร
"ไปจตุจักรดุ่มๆไปเลย จากที่เก็บตัวซักซ้อมอยู่แต่ในบ้าน ต้องนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินไปลงสถานีจตุจักร ไปพร้อม ไวโอลินกับเครื่องเทปใหม่ๆอันนึง เพื่อไปเปิดหมวก ตอนนั้นตื่นเต้น กลัวจะไม่ได้ที่เล่นก็กลัว พอไปถึงตั้งปุ๊บ เจ้าหน้าที่ก็มาไล่บอก ไม่ได้น้องๆ ตรงนี้ไม่ได้ นะ เราก็ต้องเดินหาที่ใหม่ ยืนตากแดดหมวกก็ไม่ใส่ วันแรกก็ได้มา 800 บาท
อาทิตย์ต่อมาไปอีก คราวนี้ลูกไปเล่นด้วย ก็ได้เงินเรื่อยๆ พอจากนั้นเราก็เริ่มรู้สึกสนุกละ เราพัฒนาขึ้นจากการเล่นข้างนอก"

พี่ตี๋เล่นอยู่ที่จตุจักรประมาณ 3 ปี ต่อมาก็เล่นที่ท่าช้างอีก 5 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่มาเล่นที่สาทรและยอดพิมาน ริเวอร์วอร์ค คอมมูนิตี้ ริมน้ำ ย่านสะพานพุทธ
"เพื่อนเป็นสถาปนิก มาทำที่นี่เป็นโครงการรับจ๊อบบริษัทของเพื่อน ทีนี้พอเราเห็นสถานที่เป็นรูป เป็นร่างขึ้นมาก็รู้สึกว่าที่นี่สวย ทนไม่ได้ เราบอกกับตัวเองว่ายังไงต้องมาเล่นโชว์ที่นี่ให้ได้
พอสร้างไปได้ประมาณ 90 เปอร์เซ็น ผมก็ไปเสริชดูในเน็ตว่ายอดพิมานมีออฟฟิตอยู่ตรงไหน ส่งเมลล์ไปหาเขา บอกข้อมูลชื่อ นามสกุลว่าผมอยากจะมาเปิดหมวก และก็แนบคลิปวิดีโอที่เราลงยูทิวบ์ให้ดู เขาก็รับปาก 2 เดือนต่อมาเขาก็โทรกลับ บอกตกลง ผมก็สะพายไวโอลินไปเล่นวันนั้น ตอนสี่โมงเย็น"
จนถึงตอนนี้ ผู้คนที่ผ่านไปมา แว่วเสียงไวโอลินผ่านคันชันบาดลึกอารมณ์ให้หยุดฟัง บ้างก็หวานนุ่มนวล ชวนฝัน บางทีก็เคล้าเศร้า ว้าเหว่จับใจ
จากสาทร ถึงยอดพิมาน ที่พี่ตี๋ได้ยืนสีไวโอลิน สร้างความสุข ตราตรึงผู้คนไว้มากมาย
ถึงตรงนี้ พี่ตี๋ที่ได้ทิ้งท้ายฝากไปถึงคนที่อยากเล่นดนตรีเพื่อเป็นแรงบันดาลใจไว้ว่า
"
เครื่องดนตรีเหมือนเพื่อนสนิทของคุณ เวลาคุณไม่สบายใจ แค่หยิบขึ้นมาเล่นคุณจะรู้สึกดีขึ้น และขอให้ทุ่มเทไปกับมัน เพราะรัก คุณจะให้เวลากับมันเยอะ และจงเล่นเครื่องดนตรีให้เหมือนกับคุณร้องเพลง มีหนัก มีเบา ชอบอะไรก็เล่นอย่างนั้น ให้จริงจังสุดๆ "

ก่อนจบบทสนทนาพี่ตี๋ถือคันชัก สีไวโอลิน เลียนเสียงมนุษย์ เอื้อนบทเพลง "ชะตาชีวิต" ปิดท้ายยามค่ำคืนที่ทำให้ฉันรู้สึกมีความสุข และดีใจที่เจอกับพี่ตี๋ ที่เปิดโลกทัศน์ให้กว้างยิ่งขึ้นอีก
"นกน้อยคล้อยบินมาเดียวดาย คิดๆมิวายกังวลให้หม่นฤทัยหมอง
ขาดมวลมิตรไร้คนสนิทคู่เคียงครอง หลงใหลหมายปองคนปราณี.."
พิราบ001 เตรียมออกเดินทางไล่ล่าฝันที่สามต่อไป
เรื่องราวของ"นักไวโอลิน" ดีกรีเอกดนตรีจุฬาฯ ที่เลือกบรรเลงเพลงบนท้องถนน "มันคือจิตวิญญาณล้วนๆ "
การถ่ายทอดเรื่องราวที่ฉันได้เขียนขึ้น ก็มาจากการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ที่ตามหาคนคนหนึ่งที่เลือกทำในสิ่งที่รัก และอยู่กับสิ่งๆนั้นจนเติบโต เป็นเส้นทางอาชีพของตัวเอง
นักไวโอลินคนนี้ไม่ธรรมดา ดีกรีจบเอกดนตรี จุฬาฯแต่เขาเลือกถนนเป็นเวทีแสดงดนตรี และเขาก็เลือกด้วยเหตุผลที่ว่า อยากทำให้ถนนมีเสียงดนตรี เพราะมันคือความสุขของเขา และมันก็ได้กลายเป็นความสุขของใครอีกหลายคนที่ได้ยิน ได้ฟังบทเพลงที่เขาเล่นออกมาด้วยความรู้สึก จากใจ โดยแท้จริง
เรื่องราวนี้จึงนำเสนอเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับผู้ที่กำลังค้นหาตัวเองอยู่ และหากค้นหาเจอแล้ว ก็อาจจะเป็นพลังให้เลือกทำสิ่งนั้นต่อไป จนกว่าจะสำเร็จ
"หากเลือกทำในสิ่งที่รัก สิ่งนั้นก็จะรักคุณเช่นกัน"
ฉันเชื่ออย่างนั้น
เรื่องราวของ"นักไวโอลิน" ดีกรีเอกดนตรีจุฬาฯ ที่เลือกบรรเลงเพลงบนท้องถนน "มันคือจิตวิญญาณล้วนๆ ผมอยากไปทำให้ถนนมันมีเสียงดนตรี"
ค่ำคืนหนึ่งที่ฉันลงจากเรือด่วน มาเดินที่ยอดพิมาน ริเวอร์วอร์ค คอมมูนิตี้ ริมน้ำ ฉันก็ได้พบกับพี่ตี๋ ยืนสีไวโอลิน บรรเลงเสียงเพลงหวานเสนาะโสต
ฉันยืนฟังพี่ตี๋เล่นจนจบเพลง และตัดสินใจว่า คนนี้แหละที่ฉันอยากพูดคุยด้วย เมื่อฟังจากการเล่น ต้องฝีมือไม่ธรรมดาแน่ อีกทั้งฉันเคยเห็นพี่เขายืนสีไวโอลิน ครวญเพลงหวานอยู่ที่ท่าน้ำสาทร ฉันจึงตัดสินใจเดินเข้าไปแนะนำตัว ว่าฉันอยากนำเสนอเรื่องราวของพี่ ให้ชาวพันทิปได้ติดตาม และพี่ตี๋ก็ตอบตกลง ด้วยท่าทีเป็นกันเอง
ถนนคือเวทีการแสดงดนตรี ที่ต้องเล่นให้ดีที่สุด
เมื่อถามถึงจุดเริ่มต้น การออกมาเล่นไวโอลิน สำหรับพี่ตี๋-พงษ์พิพัฒน์ มณฑา นักไวโอลิน ที่มีดีกรีจบคณะครุศาสตร์ เอกการดนตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่บ้านไวโอลิน สอนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่เขาเลือกถนนเป็นเวทีการแสดง ที่พี่ตี๋บอกว่า ต้องเล่นให้ดีที่สุด และคิดเสมอว่านี่คือเวทีของเรา มีคนคอยดู คอยฟัง ต้องเล่นให้ประทับใจคนที่ฟัง และนี่อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉันมองเห็นความเป็นศิลปิน ออนสตรีท
"แม้เพียงคนเดียวที่หยุดฟังเราก็จะเล่นให้ดีที่สุด ผมจะโค้งคำนับทุกครั้งที่มีคนหย่อนเงินในกล่องไวโอลิน ไม่เลือกว่าเป็นเด็ก คนรวย คนจน คนเมา คนสติไม่ดี เพราะผมถือเป็นการขอบคุณเขาเหล่านั้นที่ให้กำลังใจ และการเปิดหมวกคุณจะพบกับชีวิตบนท้องถนนที่หลากหลาย"
พี่ตี๋ให้นิยามระหว่างการเล่นดนตรีออนสตรีทกับวณิพกไว้ว่า การเล่นไวโอลินบนถนนสำหรับพี่ตี๋มันคือจิตวิญญาณล้วนๆ
"จะเรียกว่าวณิพกได้ไหม มันก็ได้ เพราะเราเล่นดนตรีแลกเงิน แต่ถ้าเป็นฝรั่งเรียก สตรีทอาร์ตใช่ไหมสตรีทอาร์ตที่มีการเล่นดนตรีบนท้องถนน เล่นละครใบ้ แสดงความสามารถกันบนถนน มันไม่ใช่วนิพกมันเป็นสตรีทอาร์ต"
พี่ตี๋เล่าให้ฟังต่อไปว่า ทุกวันที่เขาเล่นดนตรี จะได้รับคำขอบคุณจากคนที่ไม่รู้จัก และนั่นก็ทำให้เสียงดนตรีของพี่ตี๋เต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ที่เขามีความสุขทุกครั้งที่ได้ออกมาเล่นโชว์ ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะได้เงินมากน้อย ขอแค่ให้ได้ออกมาเล่น
"ไม่ได้อยากจะเอาสตางค์หรอก อยากไปทำให้ถนนมันมีเสียงดนตรี ทำให้คนที่เดินผ่านไป ผ่านมามีความสุข และเราก็เล่นเพราะเรามีความสุขกับมันด้วย อย่างน้อยเสียงไวโอลินของเราก็ทำให้ผ่อนคลายได้บ้าง"
และการออกมาเล่นดนตรีบนถนน ยังทำให้พี่ตี๋เจอเรื่องราวดีๆมากมาย
"เคยมีผู้หญิงคนหนึ่งหน้าตาสะสวย ตอนนั้นประมาณ 5 โมงเย็น มานั่งคอตก เราก็ยืนสีไวโอลิน ก็ดูแล้ว เห็นซึมๆ พอเราเล่นเพลงทรายกับทะเลเสร็จ เธอก็เดินมาบอกว่าขอเพลงนั้นอีกครั้งได้มั้ย พอเราเล่นจบ ก็เดินมาบอกว่าขอบคุณนะคะ มันให้รู้สึกดี ที่ดนตรีเราทำให้มีกำลังใจขึ้น"
บางทีก็มีคนแก่สองคนมานั่งที่พี่ตี๋เล่าว่า บอกขอเพลงได้ไหม ขอเพลงเก่าๆ แล้วไม่นานมานี้มีคู่รักชาวต่างชาติ ฟังดนตรี แล้วก็เต้นรำกันเลย
การออกมาเล่นดนตรีของพี่ตี๋ ยังต้องทำการบ้าน ฝึกฝนฝีมือทุกวัน โดยให้เสียงไวโอลินมีความไพเราะ ไม่ใช่ว่าเล่นไปแล้ว ทำให้คนฟังเกิดความรำคาญ และสิ่งสำคัญก็คือ ต้องสังเกตความรู้สึกของผู้คน และเลือกเพลงให้เข้ากับบรรยากาศ
" ผมคิดทุกครั้ง ว่าจะเอาเพลงไหนไปเล่นให้เขาฟัง วันนึงเล่น 60-70 เพลง แล้วเราไม่ได้ใช้โน๊ต ผมใช้การจำ และผมเล่นได้หมดทุกเพลง เพราะผมกลับไปทำการบ้าน"
การเล่นแต่ละครั้งผมจะรู้สึกว่า ต้องไม่ทำให้เขารู้สึกรำคาญ แต่ถ้าเสียงดนตรีเราไปทำให้เขารู้สึกรำคาญ นี่แสดงว่าเราเล่นแย่มากเลย แต่ถ้าเสียงดนตรีของเรา ทำให้เขาเดินไปแล้วหยุด แล้วถอยหลังแล้วฟัง ให้น้ำใจมา แค่นั้นเราแฮปปี้แล้ว เดี๋ยวก็มาละ ยกมือไหว้ บอกขอบคุณมาก เจออย่างนี้ทุกวัน มันทำให้ผมมีความสุข"
ย้อนกลับไปกว่าพี่ตี๋จะออกมาเล่นไวโอลินข้างนอกได้ เรียกได้ว่า มีจุดเริ่มต้นที่หัดเล่นเพื่อจะมาสอนลูกสาว ซึ่งเรียนไวโอลิน ตอนอายุ 5 ขวบ เรียนไปพร้อมกัน เพื่อได้มาสอนลูก เคี่ยวเข็ญให้ฝึกซ้อม
"ก่อนหน้านั้นเล่นเปียโน กีตาร์มาก่อน แต่ไวโอลินไม่เคยจับเลย แต่ลูกสาวเล่นไวโอลิน แล้วเราเกิดความรู้สึกว่า ถ้าเราไม่หัด แล้วลูกสาวเราจะเล่นเป็นได้ยังไง เราจะไปบอกให้เขาฝึกหัดเล่นยังไง วันนี้ไล่สเกลยังไง แล้วใครจะเคี่ยวเข็ญให้ซ้อม"
พี่ตี๋เริ่มซื้อไวโอลิน ตัวเล็ก ราคาสามพันบาท มาหัดเอง แอบดูตอนครูสอนลูกเล่น อาศัยครูพักลักจำ และศึกษาจากเว็บไซต์ยูทิวบ์ เรียนรู้ในเว็บไซต์พันทาวน์ เคี่ยวกรำตัวเองวันนึงไม่ต่ำกว่าวันละ 8 ชั่วโมง
"คราวหลังเราก็ได้เพื่อนเป็นครูมาช่วยสอนการจับไวโอลิน และก็ในเว็บไซต์พันทาวน์ ก็จะมีชุมชนไวโอลินซึ่งก็มีปรมาจารย์อยู่ในนั้นเต็มไปหมด เราก็เข้าไปโพสต์ถามทุกอย่างที่ไม่เข้าใจ เขาก็สอนเรา จากนั้นก็ทำการบ้านอย่างหนัก ฝึกอยู่ประมาณปีนึงได้"
จนกระทั่งเล่นได้เป็นเพลงที่พอจะเปิดแสดงโชว์ได้ พี่ตี๋ตัดสินใจออกมาเปิดหมวก เล่นบนถนนใน ห้วงวัย 40 ปี กับไวโอลินคู่ใจ ครั้งแรกที่จตุจักร
"ไปจตุจักรดุ่มๆไปเลย จากที่เก็บตัวซักซ้อมอยู่แต่ในบ้าน ต้องนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินไปลงสถานีจตุจักร ไปพร้อม ไวโอลินกับเครื่องเทปใหม่ๆอันนึง เพื่อไปเปิดหมวก ตอนนั้นตื่นเต้น กลัวจะไม่ได้ที่เล่นก็กลัว พอไปถึงตั้งปุ๊บ เจ้าหน้าที่ก็มาไล่บอก ไม่ได้น้องๆ ตรงนี้ไม่ได้ นะ เราก็ต้องเดินหาที่ใหม่ ยืนตากแดดหมวกก็ไม่ใส่ วันแรกก็ได้มา 800 บาท
อาทิตย์ต่อมาไปอีก คราวนี้ลูกไปเล่นด้วย ก็ได้เงินเรื่อยๆ พอจากนั้นเราก็เริ่มรู้สึกสนุกละ เราพัฒนาขึ้นจากการเล่นข้างนอก"
พี่ตี๋เล่นอยู่ที่จตุจักรประมาณ 3 ปี ต่อมาก็เล่นที่ท่าช้างอีก 5 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่มาเล่นที่สาทรและยอดพิมาน ริเวอร์วอร์ค คอมมูนิตี้ ริมน้ำ ย่านสะพานพุทธ
"เพื่อนเป็นสถาปนิก มาทำที่นี่เป็นโครงการรับจ๊อบบริษัทของเพื่อน ทีนี้พอเราเห็นสถานที่เป็นรูป เป็นร่างขึ้นมาก็รู้สึกว่าที่นี่สวย ทนไม่ได้ เราบอกกับตัวเองว่ายังไงต้องมาเล่นโชว์ที่นี่ให้ได้
พอสร้างไปได้ประมาณ 90 เปอร์เซ็น ผมก็ไปเสริชดูในเน็ตว่ายอดพิมานมีออฟฟิตอยู่ตรงไหน ส่งเมลล์ไปหาเขา บอกข้อมูลชื่อ นามสกุลว่าผมอยากจะมาเปิดหมวก และก็แนบคลิปวิดีโอที่เราลงยูทิวบ์ให้ดู เขาก็รับปาก 2 เดือนต่อมาเขาก็โทรกลับ บอกตกลง ผมก็สะพายไวโอลินไปเล่นวันนั้น ตอนสี่โมงเย็น"
จนถึงตอนนี้ ผู้คนที่ผ่านไปมา แว่วเสียงไวโอลินผ่านคันชันบาดลึกอารมณ์ให้หยุดฟัง บ้างก็หวานนุ่มนวล ชวนฝัน บางทีก็เคล้าเศร้า ว้าเหว่จับใจ
จากสาทร ถึงยอดพิมาน ที่พี่ตี๋ได้ยืนสีไวโอลิน สร้างความสุข ตราตรึงผู้คนไว้มากมาย
ถึงตรงนี้ พี่ตี๋ที่ได้ทิ้งท้ายฝากไปถึงคนที่อยากเล่นดนตรีเพื่อเป็นแรงบันดาลใจไว้ว่า
"เครื่องดนตรีเหมือนเพื่อนสนิทของคุณ เวลาคุณไม่สบายใจ แค่หยิบขึ้นมาเล่นคุณจะรู้สึกดีขึ้น และขอให้ทุ่มเทไปกับมัน เพราะรัก คุณจะให้เวลากับมันเยอะ และจงเล่นเครื่องดนตรีให้เหมือนกับคุณร้องเพลง มีหนัก มีเบา ชอบอะไรก็เล่นอย่างนั้น ให้จริงจังสุดๆ "
ก่อนจบบทสนทนาพี่ตี๋ถือคันชัก สีไวโอลิน เลียนเสียงมนุษย์ เอื้อนบทเพลง "ชะตาชีวิต" ปิดท้ายยามค่ำคืนที่ทำให้ฉันรู้สึกมีความสุข และดีใจที่เจอกับพี่ตี๋ ที่เปิดโลกทัศน์ให้กว้างยิ่งขึ้นอีก
"นกน้อยคล้อยบินมาเดียวดาย คิดๆมิวายกังวลให้หม่นฤทัยหมอง
ขาดมวลมิตรไร้คนสนิทคู่เคียงครอง หลงใหลหมายปองคนปราณี.."
พิราบ001 เตรียมออกเดินทางไล่ล่าฝันที่สามต่อไป