ต่อไปนี้บัญชีเงินฝากชื่อร่วมกัน 2 คนขึ้นไปต้องทำบัญชีแสดงรายได้และรายจ่ายของห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อยื่นต่อสรรพากร

กระทู้ข่าว
กรมสรรพากรประสบปัญหาการจัดเก็บรายได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 โดยรายได้ต่ำกว่าเป้า 9,000 ล้านบาท ต่อมาปีงบประมาณ 2557 การจัดเก็บรายได้ยังคงต่ำกว่าเป้าถึง 1.6 แสนล้านบาท ส่งผลให้รายได้รวมของรัฐบาลต่ำกว่าเป้า 2 แสนล้านบาท และปีงบประมาณ 2558 กรมสรรพากรมีแนวโน้มจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าอีก ด้วยมูลค่าที่ต่ำกว่าเป้าถึง 2 แสนล้านบาท ทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ลดต่ำกว่า 50%

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กรมสรรพากรจึงหาทางป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี มาตรการหนึ่งคือ แก้ไข พ.ร.บ.ประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งออกประกาศเรื่องการเสียภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

แต่กฎหมายดังกล่าวกลับส่งผลกระทบต่อผู้ที่เปิดบัญชีเงินฝากร่วมกัน 2 คนขึ้นไป หรือเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ร่วมกัน  เพราะต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน เนื่องจากหากได้รับดอกเบี้ยหรือกำไรจากการขายหุ้น จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% แล้วยังต้องนำดอกเบี้ยหรือกำไรที่เหลือไปรวมในเงินได้ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในสิ้นปีอีกด้วย

บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมธนาคารไทยกำลังเร่งออกหนังสือชี้แจงต่อประชาชนถึงการฝากเงินภายใต้ประกาศกรมสรรพากรฉบับใหม่ ที่ได้ออกตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 ที่มีผลปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558 ทำให้ประชาชนที่มีเงินฝาก หรือเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง สามีภรรรยา พ่อแม่ที่เปิดบัญชีเงินฝากให้ลูก ต้องปิดบัญชีและเปิดบัญชีเงินฝากใหม่เป็นชื่อเดียว ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นคณะบุคคลทำให้ต้องเสียภาษีสองต่อ

ทั้งนี้ ธนาคารต้องให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของลูกค้าหากจะเปิดบัญชีเงินฝากร่วม เพราะประกาศนี้ไม่มีข้อยกเว้นทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเปิดบัญชีเงินฝากร่วมด้วยเหตุผลใดก็ตาม หากมีการถอนดอกเบี้ยออกจากบัญชีเงินฝากร่วม เจ้าของบัญชีแต่ละคนจะต้องนำส่วนแบ่งดอกเบี้ยที่ได้รับไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า ตอนยื่นภาษีใน ภ.ง.ด.91 หลังจากที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปก่อนหน้านี้แล้ว

“หากลูกค้ายังยืนยันที่จะต้องเปิดบัญชีร่วม ก็จะต้องไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกรมสรรพากรให้ถูกต้องก่อน จึงจะมาเปิดบัญชีเงินฝากร่วมได้ ไม่เช่นนั้นธนาคารจะไม่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากร่วมให้ได้

นอกจากนี้ ผู้ที่ฝากเงินร่วมกันจะต้องทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายของห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อยื่นต่อกรมสรรพากรประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91” ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าว

อย่างไรก็ดี กรณีที่รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ได้รับปีละไม่เกิน 2 หมื่นบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่หากเป็นบัญชีเงินฝากประจำจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%

บุญทักษ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับลูกค้าใหม่ธนาคารจะยังไม่เปิดบัญชีให้จนกว่าจะปฏิบัติตามระเบียบ แต่หากเป็นลูกค้าเก่าที่เปิดบัญชีก่อน 1 ม.ค. 2558 ธนาคารจะต้องแจ้งให้ทยอยมาแก้ไข ด้วยการให้ปิดบัญชีเงินฝากไปก่อน ซึ่งขณะนี้สมาคมกำลังส่งร่างหนังสือให้ธนาคารสมาชิกพิจารณาเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันในการแจ้งให้ลูกค้าทราบ เพื่อไม่ให้ลูกค้าสับสน

“ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ว่าจะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบัญชีเงินฝากร่วมมากขนาดไหน” บุญทักษ์ กล่าว

ด้าน กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ กล่าวว่า การที่กรมสรรพากรปรับปรุงกฎหมายการจัดเก็บภาษีเงินได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล โดยจะต้องเสียภาษีส่วนแบ่งกำไรที่หุ้นส่วนหรือบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้รับ  รวมถึงการเปิดบัญชีร่วมกันระหว่างสามีภรรยา บัญชีเงินฝากที่พ่อแม่ร่วมกันเปิดให้ลูกด้วยนั้น ถือว่าเป็นการออกกฎหมายที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้ที่มีบัญชีเงินฝากร่วมกันจะต้องมีการเสียภาษีซ้ำซ้อน เสียภาษีสองต่อ คือ ภาษีดอกเบี้ย และเมื่อมีผลกำไรมาแบ่งกันก็ยังต้องเสียภาษีใหม่อีกรอบ

นอกจากนี้ การบังคับให้ผู้เปิดบัญชีร่วมกันจะต้องไปจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และเป็นคำสั่งที่มิชอบ ทำให้ผู้ที่มีบัญชีร่วมกันเกิดความยุ่งยาก
http://m.posttoday.com/article/356236/6000

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่