เจอข้อมูลดีๆจากเฟสคุณหมอภา/Jeerapa prapaspong เลยอยากแบ่งปันค่ะ

ขอบคุณคุณหมอภา นางฟ้าของดิฉันเพราะดิฉันก็มีลูกในวัย 5 ขวบ และหวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคุณพ่อ คุณแม่ทุกท่านะคะ

ถ้าเรานึกถึงความจริงของ “สมองเด็ก”
เราจะรู้วิธีการดูแลเด็กๆ
และพ่อแม่จะอ่อนโยนลงมาก อีโมติคอน smile

+++++++++++++++++++++
วันนี้หมอขอเล่าเกี่ยวกับสมองเด็ก
เชื่อมโยงกับโพสต์ที่ผ่านมา
จะพยายามเล่าแบบสั้นๆ เข้าใจง่ายๆ
ไม่ใช้ศัพท์แสงยุ่งยากซับซ้อน
แบบเอาข้อมูลไปใช้ได้เลยนะคะ อีโมติคอน smile

ส่วนใหญ่สมองของเด็กจะพัฒนา
ตอนหลังคลอด โดยเฉพาะสมองส่วนบน
ที่ทำหน้าที่ คิดโดยใช้เหตุผล
การยับยั้งชั่งใจ การวางแผน ฯลฯ

การที่เด็กๆแสดงความโกรธรุนแรง
เอาแต่ใจ ปรี๊ด ลงไปนอนดิ้น
ไม่ใช่เพราะเค้าดื้อ ไม่เชื่อฟังเรา
แต่เป็นเพราะสมองส่วนบนที่ทำหน้าที่
คิดโดยใช้เหตุผล ยังพัฒนาได้ไม่ดีพอ
สมองส่วนล่าง ที่กระตุ้นพฤติกรรมตามสัญชาตญาณ
และสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์
จึงทำหน้าที่เด่นกว่า

ดังนั้นเมื่อเห็นเด็กๆมีอาการงอแง
โวยวายขอให้เข้าใจเค้าว่าสมองส่วนที่
ใช้เหตุผลของเค้ายังพัฒนาไม่เต็มที่
พ่อแม่จึงต้องเข้ามาช่วยให้เค้าผ่านพ้น
อารมณ์ตรงนี้ไปให้ได้ด้วยความรัก
และเป็นตัวช่วยให้เค้าพัฒนาสมองส่วนนี้ให้เติบโตขึ้น

=============================
วิธีการที่จะช่วยลูก ลองดูตามโพสต์นี้นะคะ
ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน

https://www.facebook.com/healthyworldUbon/photos/a.632130056851895.1073741838.613927778672123/866620913402807/?type=1&theater

การที่เราเข้าใจลูก เข้าไปกอดลูก แสดงความรัก
ยอมรับลูกทำให้ลูกอบอุ่นใจ ช่วยให้ลูกสงบลงได้
ทำให้ลูกหลั่งฮอร์โมนที่ดีออกมา
ฮอร์โมนความเครียดจะลดลง
สมองส่วนบนของเค้าจะพัฒนาวิถีประสาท
ที่จำเป็นต่อการควบคุมอารมณ์ตามธรรมชาติได้
นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างไฟเบอร์
เชื่อมสมองแต่ละส่วนให้ทำงานประสานเชื่อมโยงกัน

เมื่อลูกอยู่ในอารมณ์สงบพร้อมที่รับฟัง
เวลาหลังจากนั้นจึงจะเป็นเวลาที่เหมาะ
ในกระตุ้นสมองส่วนบนลูกให้พัฒนา
โดยการใช้เหตุผลสอนลูกตามวัย
หรือให้ทางเลือกเพื่อให้ลูกได้พัฒนาการฝึกคิดวิเคราะห์

บางครั้งการที่พ่อแม่ปรี๊ด หรือออกคำสั่งกับลูก
ให้หยุดทำ อย่าทำ
กลับจะไปกระตุ้นสมองลูกผิดส่วน คือ
กระตุ้นระบบความกลัว ความโกรธแทน

ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
จะเป็นช่วงที่พ่อแม่ต้องรับมือกับอาการเหล่านี้ค่อนข้างมาก
เนื่องจากสมองส่วนบนยังพัฒนาไม่เต็มที่
แต่ถ้าเราเข้าไปปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสม
และพัฒนาลูกตามวัย
ลูกก็จะเติบโตขึ้นอย่างงดงาม

สำหรับหมอเองคิดว่า
ไม่ว่าวัยใด จะโตแค่ไหน เราต่างก็ต้องการความเข้าใจ
และการยอมรับด้วยกันทั้งนั้น อีโมติคอน smile

++++++++++++++++++++++++++++

หมออยากจะบอกเพื่อนๆทุกคนด้วยความรักว่า
ทุกโพสต์ที่หมอเขียนมา ไม่ได้ตั้งใจเขียนให้เชื่อมโยงกัน
แต่พอหมอต้องตอบคำถามหลายท่าน
ทำให้เห็นว่าแต่ละโพสต์เชื่อมโยงกันไปหมด

มันมีหลักการง่ายๆแค่ ถ้าเราเป็นคุณแม่ ++
เราจะอยู่ในพลังงาน + เมื่อลูกอยู่ในพลังงาน –
เราจะมีความมั่นคงในใจเรา
สามารถเข้าใจลูก
และดึงลูกกลับมาอยู่ในพลังงาน + ได้
โดยไม่ปรี๊ดไปพร้อมกับลูก

เมื่อแม่ลูก กลับมาอยู่ในพลังงาน +
เราก็สามารถใช้วิธีปรับเด็กๆให้น่ารักขึ้น
ดีขึ้น เก่งขึ้นได้ โดยที่ไม่ต้องทะเลาะกัน
ตอนนั้นจะสอนอะไร อยากพัฒนาเรื่องไหน
จะเรียนรู้อะไร
เด็กๆก็พร้อมที่จะรับได้ทั้งนั้น
แถมมาด้วยความสุขและความสัมพันธ์ที่ดีอีกด้วยค่ะ
มันไม่ใช่เรื่องในเทพนิยายนะคะ
หมอยืนยันอีกครั้งว่า ทุกคนทำได้
แล้วชีวิตจะดี๊ ดี และมีความสุขมากเลยค่ะ อีโมติคอน smile

ด้วยรักจากใจ
หมอภา/Jeerapa prapaspong

ใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้ในหนังสือ
The science of parenting.
No-drama discipline.
The whole brain child.
Between parent & child.

cr.pic http://barisgurkas.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่