นิวโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์ Neurobics Exercise - การออกกำลังกายสมอง
การออกกำลังสมอง คืออะไร การออกกำลังสมองเปรียบได้กับการออกกำลังของร่างกายที่จะต้องเคลื่อนไหวเพื่อใช้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนให้ทำงานเชื่อมโยงกัน ส่งผลให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้น ดังนั้น การออกกำลังสมองจึงเป็นเสมือนการฝึกให้สมองส่วนต่างๆ มีการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กัน ทำให้ระบบการทำงานของสมองแข็งแรงและมีพลังขึ้น เพราะเมื่อฝึกออกกำลังสมองบ่อยๆ สมองจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่านิวโรโทรฟินส์ เปรียบเหมือน “อาหารสมอง” ที่ทำให้เซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ“เดนไดรต์” ที่เชื่อมระหว่างเซลล์ประสาททำงานดีขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เนื้อเซลล์เจริญเติบโตและเซลล์สมองแข็งแรง (1)
เดิมมีความเชื่อว่าเมื่อสมองพัฒนาสมบูรณ์จะถูกใช้งานไปเรื่อย ๆ จนล่วงเข้าวัยผู้ใหญ่เซลล์สมองจะลดลง และไม่สร้างขึ้นใหม่ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคสมองเสื่อมในวัยชรา แต่ปัจจุบันค้นพบแล้วว่า หาก รู้จักใช้สมองอย่างต่อเนื่อง และกระตุ้นถูกวิธี เซลล์ประสาทจะแตกแขนงทดแทนส่วนที่สูญเสียไป ความจำจึงดีได้แม้อายุมากขึ้นแล้วก็ตาม (2)
หลักการออกกำลังสมองนั้น สามารถทำโดยส่งเสริมให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น ลิ้มรส และการสัมผัส ได้ทำงานประสานเชื่อมโยงกับความพึงพอใจ หรือที่เกี่ยวข้องกับ “อารมณ์” (Emotional Sense) ได้ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันเดิมของเราเป็นตัวช่วย เพียงแต่ต้องเปลี่ยนวิธีการไปจากเดิม (1)
ตัวอย่างในวิดีโอเป็นการฝึกประสาทสัมผัสที่ดีอีกอย่างนึง
นิวโรบิคส์จึงเริ่มจาก เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันง่ายๆ เช่น หลับตาอาบน้ำ ใช้มือคลำสิ่งของ (ในผู้สูงอายุ แนะนำให้หาเก้าอี้นั่งกันการเซ ลื่นล้ม) เพิ่มกิจกรรมใหม่ให้ตัวเอง เช่น ระหว่างนั่งรถให้ฝึกอ่านป้ายโฆษณา หัดอ่านหนังสือกลับหัว เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ เช่น แปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด หัดใช้ตะเกียบแทนช้อนตักข้าว ใช้ประสาทสัมผัสมากขึ้น ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับเม้าส์ ชิมอาหารที่ไม่เคยทาน ดึงความสามารถของประสาทสัมผัสทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ มาใช้ให้มากที่สุด และใช้ประสาทสัมผัสมากกว่า 1 อย่างขึ้นไป โดยงดใช้ประสาทสัมผัสที่ใช้บ่อย เช่น ใช้มือคลำหาของ แทนการมองหา สื่อสารด้วยท่าทางแทนคำพูด ผสมผสานประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น ดมกลิ่นหอมของดอกไม้ขณะฟังเพลง ลิ้มลองรสชาติไปพร้อมสูดดมกลิ่นของอาหาร กระตุ้นประสาทสัมผัส เช่น ใช้กลิ่นบำบัด จุดน้ำมันหอมระเหยขณะนวดตัว เล่นเกมฝึกสมอง เช่น เล่นไพ่ ร้องเพลง เต้นลีลาศ หรือรำไทย หรือแม้กระทั่งการไปเที่ยวในที่ใหม่ ๆ ไปเดินตลาด มีบทสนทนากับคนใหม่ ๆ ช่วยกระตุ้นการหลั่ง dopamine ที่เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยเพิ่มแรงจูงใจ (motivation neurotransmitter) ซึ่งจะช่วยเราลดปัญหา burn out หรือภาวะหมดไฟได้ด้วย (3)
บทอ้างอิง
1.
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=718
2.
https://www.scimath.org/article-science/item/1915-neurobic
3.
https://www.trueplookpanya.com/plookfriends/blog/content/detail/87653
ท่าบริหาร ฉบับยาว ที่มีความยากขึ้นอีกนิดนึง
ข้อแนะนำ ให้นั่งทำนะครับ เพราะระยะแรกจะมีปัญหาเรื่องการทรงตัว
ท่านใดทำแล้วเกิดอาการเวียนหัว ขอให้หยุดก่อน
** จขกท ทำงานเป็นจิตอาสาในชมรมผู้สูงอายุ
จึงอยากแบ่งปันความรู้ และเรื่องราวที่น่าสนใจในการดูแลผู้สูงวัยที่บ้านอย่างง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้เองมาสู่ทุกคน
เรื่องการออกกำลังกายสมองนี้ จขกท.ได้ผ่านการอบรมมาแล้วครับ
บทความ เป็นเพียงการเรียบเรียงเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น จขกท ไม่ได้เขียนเองนะครับ
ยกความดีความชอบให้กับข้อเขียนตามบทอ้างอิงครับผม **
ห่วงผู้สูงวัยจะเป็นอัลไซเมอร์ มาชวนกันออกกำลังกายสมองเถอะ
การออกกำลังสมอง คืออะไร การออกกำลังสมองเปรียบได้กับการออกกำลังของร่างกายที่จะต้องเคลื่อนไหวเพื่อใช้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนให้ทำงานเชื่อมโยงกัน ส่งผลให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้น ดังนั้น การออกกำลังสมองจึงเป็นเสมือนการฝึกให้สมองส่วนต่างๆ มีการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กัน ทำให้ระบบการทำงานของสมองแข็งแรงและมีพลังขึ้น เพราะเมื่อฝึกออกกำลังสมองบ่อยๆ สมองจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่านิวโรโทรฟินส์ เปรียบเหมือน “อาหารสมอง” ที่ทำให้เซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ“เดนไดรต์” ที่เชื่อมระหว่างเซลล์ประสาททำงานดีขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เนื้อเซลล์เจริญเติบโตและเซลล์สมองแข็งแรง (1)
เดิมมีความเชื่อว่าเมื่อสมองพัฒนาสมบูรณ์จะถูกใช้งานไปเรื่อย ๆ จนล่วงเข้าวัยผู้ใหญ่เซลล์สมองจะลดลง และไม่สร้างขึ้นใหม่ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคสมองเสื่อมในวัยชรา แต่ปัจจุบันค้นพบแล้วว่า หาก รู้จักใช้สมองอย่างต่อเนื่อง และกระตุ้นถูกวิธี เซลล์ประสาทจะแตกแขนงทดแทนส่วนที่สูญเสียไป ความจำจึงดีได้แม้อายุมากขึ้นแล้วก็ตาม (2)
หลักการออกกำลังสมองนั้น สามารถทำโดยส่งเสริมให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น ลิ้มรส และการสัมผัส ได้ทำงานประสานเชื่อมโยงกับความพึงพอใจ หรือที่เกี่ยวข้องกับ “อารมณ์” (Emotional Sense) ได้ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันเดิมของเราเป็นตัวช่วย เพียงแต่ต้องเปลี่ยนวิธีการไปจากเดิม (1)
บทอ้างอิง
1. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=718
2. https://www.scimath.org/article-science/item/1915-neurobic
3. https://www.trueplookpanya.com/plookfriends/blog/content/detail/87653
จึงอยากแบ่งปันความรู้ และเรื่องราวที่น่าสนใจในการดูแลผู้สูงวัยที่บ้านอย่างง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้เองมาสู่ทุกคน
เรื่องการออกกำลังกายสมองนี้ จขกท.ได้ผ่านการอบรมมาแล้วครับ
บทความ เป็นเพียงการเรียบเรียงเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น จขกท ไม่ได้เขียนเองนะครับ
ยกความดีความชอบให้กับข้อเขียนตามบทอ้างอิงครับผม **