เฉลย อาการเกิดขึ้นของ วัฏฏะ(วงกลม) ซึ่งเป็นวัฏฏะสังสาระ

ก็บทนี้แล ที่ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ความรู้แจ้งนี้ วิญญาณนี้ย่อมเวียนกลับจากนามรูป ย่อมไม่เลยไปอื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง

ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่า

ความเกิดขึ้นพร้อม(สมุทัย) ความเกิดขึ้นพร้อม(สมุทัย) ดังนี้.
    


ตามความบทนี้ กล่าวคือ       
ถ้ามีความฝังใจหรือปักใจลงไปในรูป เมื่อตากระทบรูป เกิดกิริยารู้แจ้งทางตา เรียกว่า วิญญาณทางตา

ตา+รูป+วิญญาณทางตา ธรรม ๓ ประการ ประจวบพร้อม เรียกผัสสะคือสัมผัส

เมื่อมีผัสสะทางตา อินทรีย์คือตา ย่อมแล่นไปสู่ใจ

เมื่อรู้สึกพอใจ หรือรู้สึกไม่พอใจต่อรูปนั้น รูปนั้นย่อมเป็นอารมณ์ คือมีรูปเป็นธรรมารมณ์

ใจกระทบธรรมารมณ์ เกิดกิริยารู้แจ้งทางใจ เรียกว่า วิญญาณทางใจ

ใจ+ธรรมารมณ์+วิญญาณทางใจ ธรรม ๓ ประการประจวบพร้อม เรียกผัสสะ

ผัสสะนี้ เป็นผัสสะอันที่สอง เป็นผัสสะสมุทัย คือสัมผัสทำให้เกิดทุกข์ ซึ่งผัสสะแรกมีอยู่แล้วอันเกิดแต่ทางตา.
    


ถ้ามีความฝังใจหรือปักใจลงไปในเสียง เมื่อหูกระทบเสียง เกิดกิริยารู้แจ้งทางหู เรียกว่า วิญญาณทางหู

หู+เสียง+วิญญาณทางหู ธรรม ๓ ประการ ประจวบพร้อม เรียกผัสสะ
เมื่อมีผัสสะทางหู อินทรีย์คือหู ย่อมแล่นไปสู่ใจ

เมื่อรู้สึกพอใจ หรือรู้สึกไม่พอใจต่อเสียงนั้นเสียงนั้นย่อมเป็นอารมณ์ คือมีเสียงเป็นธรรมารมณ์

ใจกระทบธรรมารมณ์ เกิดกิริยารู้แจ้งทางใจ เรียกว่า วิญญาณทางใจ

ใจ+ธรรมารมณ์+วิญญาณทางใจ ธรรม ๓ ประการประจวบพร้อม เรียกผัสสะ

ผัสสะนี้ เป็นผัสสะอันที่สอง เป็นผัสสะสมุทัย คือสัมผัสทำให้เกิดทุกข์ ซึ่งผัสสะแรกมีอยู่แล้วอันเกิดแต่ทางหู.



ถ้ามีความฝังใจหรือปักใจลงไปในกลิ่น เมื่อจมูกกระทบกลิ่น เกิดกิริยารู้แจ้งทางจมูก เรียกว่า วิญญาณทางจมูก

จมูก+กลิ่น+วิญญาณทางจมูก ธรรม ๓ ประการ ประจวบพร้อม เรียกผัสสะ

เมื่อมีผัสสะทางจมูก อินทรีย์คือจมูก ย่อมแล่นไปสู่ใจ

เมื่อรู้สึกพอใจ หรือรู้สึกไม่พอใจต่อกลิ่นนั้น กลิ่นนั้นย่อมเป็นอารมณ์ คือมีกลิ่นเป็นธรรมารมณ์

ใจกระทบธรรมารมณ์ เกิดกิริยารู้แจ้งทางใจ เรียกว่า วิญญาณทางใจ

ใจ+ธรรมารมณ์+วิญญาณทางใจ ธรรม ๓ ประการประจวบพร้อม เรียกผัสสะ

ผัสสะนี้ เป็นผัสสะอันที่สอง เป็นผัสสะสมุทัย คือสัมผัสทำให้เกิดทุกข์ ซึ่งผัสสะแรกมีอยู่แล้วอันเกิดแต่ทางจมูก.



ถ้ามีความฝังใจหรือปักใจลงไปในรส เมื่อลิ้นกระทบรส เกิดกิริยารู้แจ้งทางลิ้น เรียกว่า วิญญาณทางลิ้น

ตา+รูป+วิญญาณทางลิ้น ธรรม ๓ ประการ ประจวบพร้อม เรียกผัสสะ

เมื่อมีผัสสะทางลิ้น อินทรีย์คือลิ้น ย่อมแล่นไปสู่ใจ

เมื่อรู้สึกพอใจ หรือรู้สึกไม่พอใจต่อรสนั้น รสนั้นย่อมเป็นอารมณ์ คือมีรสเป็นธรรมารมณ์

ใจกระทบธรรมารมณ์ เกิดกิริยารู้แจ้งทางใจ เรียกว่า วิญญาณทางใจ

ใจ+ธรรมารมณ์+วิญญาณทางใจ ธรรม ๓ ประการประจวบพร้อม เรียกผัสสะ

ผัสสะนี้ เป็นผัสสะอันที่สอง เป็นผัสสะสมุทัย คือสัมผัสทำให้เกิดทุกข์ ซึ่งผัสสะแรกมีอยู่แล้วอันเกิดแต่ทางลิ้น.



ถ้ามีความฝังใจหรือปักใจลงไปในกายสัมผัส เมื่อกระทบสัมผัส เกิดกิริยารู้แจ้งทางกาย เรียกว่า วิญญาณทางกาย

กาย+สัมผัส+วิญญาณทางกาย ธรรม ๓ ประการ ประจวบพร้อม เรียกผัสสะ

เมื่อมีผัสสะทางกาย อินทรีย์คือกาย ย่อมแล่นไปสู่ใจ

เมื่อรู้สึกพอใจ หรือรู้สึกไม่พอใจต่อสัมผัสนั้น สัมผัสนั้นย่อมเป็นอารมณ์ คือมีสัมผัสเป็นธรรมารมณ์

ใจกระทบธรรมารมณ์ เกิดกิริยารู้แจ้งทางใจ เรียกว่า วิญญาณทางใจ

ใจ+ธรรมารมณ์+วิญญาณทางใจ ธรรม ๓ ประการประจวบพร้อม เรียกผัสสะ

ผัสสะนี้ เป็นผัสสะอันที่สอง เป็นผัสสะสมุทัย คือสัมผัสทำให้เกิดทุกข์ ซึ่งผัสสะแรกมีอยู่แล้วอันเกิดแต่ทางกาย.

อาการเกิดวัฏฏะอย่างนี้เอง วิญญาณนั้น ย่อมไม่เลยไปอื่น ย่อมเวียนกลับจากนามรูป



ผัสสะ เป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง ผัสสะสมุทัย เป็นส่วนสุดข้างที่สอง

ผัสสะนิโรธมีในท่ามกลาง ตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัดให้ติดกัน

ตัณหานั่นแหละ ย่อมถักร้อยให้เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ นั่นเทียว.

อ้างอิง ไตรปิฏก บาลีสยามรัฐ ฉักกะนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๔๘ ข้อที่ ๓๓๒. อริย. ๗๖๒.



ข้อนี้ ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

...........ฯลฯ............เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ

โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นพร้อม

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อ้างอิง ไตรปิฏก บาลีสยามรัฐ นิทานวรรค สังยุตตนิกาย เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๒๖ ข้อที่ ๒๕๐.อ ปฏิจจ. ๕๖๔.

(แสดงโดยย่อ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้).


                                                               
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่