การกระทำที่ถอนความรู้สึกดีของมนุษย์ออกไปได้อย่างหมดสิ้น คือการผิดสัญญา เนื่องจากการกล่าวให้สัญญา ในทางจิตวิทยาแล้ว ถือเป็นการกระทำที่ทำให้จิตใจของทั้งตัวเราและตัวเขา (คนที่เราไปให้สัญญา) ได้รับการเติมเต็มไปด้วยความคาดหวังอย่างเต็มเปี่ยม ว่าจะต้องเกิดสิ่งนี้ขึ้น เกิดการตั้งใจรอคอย (attention) และความรู้สึกที่มโนภาพไปล่วงหน้าแล้วว่า เราจะรู้สึกอย่างไรตามที่เขาสัญญา เช่น สัญญาว่าพรุ่งนี้พ่อบอกกับลูกว่าจะพาไปเที่ยวงานหนังสือ แล้วถึงวันนั้นเมื่อพ่อไม่ได้พาไปจริงๆ จากความรู้สึกดีๆ ที่เด็กตั้งตาคอย จะแปรเปลี่ยนไปเกิดเป็นอารมณ์ที่รู้สึก "ผิดหวัง" (ทั้งที่มันเป็นแค่เพียงคำพูดลมปากเท่านั้นเอง) ซึ่งในบางสถานการณ์อาจทำให้ความรู้สึกกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือไปได้เลย เพียงเพราะไม่ได้ลงมือทำให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ส่งผลให้คนเรามักมีปัญหาความสัมพันธ์ก็เนื่องด้วยการผิดสัญญา
หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น คนเลิกกันมักจะบอกว่า "ที่สัญญากันไว้ ลืมๆไปเถอะนะ" คิดแล้วก็น่าสังเกตเหมือนกันครับว่าเพราะอะไรการให้คำมั่นสัญญาจึงมีผลกระทบต่อจิตใจมนุษย์ได้อย่างมากมายจริงๆ
เมื่อผิดสัญญา ผู้ที่ได้ฟังคำสัญญานั้น จากความรู้สึกที่ดีๆ (ด้วยการวาดภาพความหวังนั้นไว้ในใจว่าจะต้องเป็นจริง และอาจมีการเตรียมตัวสำหรับ "รับ" ความรู้สึกในการที่จะได้สิ่งนั้นตามสัญญาแล้ว) ก็จะถูกถอนคืนออกไปจากความคิดอย่างหมดสิ้น เพราะมันไม่ได้เป็นไปตามที่เขาสัญญา ไม่ตรงกับที่จินตนาการ ส่งผลให้ตามมาด้วยความรู้สึกสูญเสียความเชื่อถือในตัวบุคคล (Loss of Trust) ที่มีต่อผู้ให้คำสัญญา
ในส่วนของผู้ให้คำสัญญาเอง ก็อาจเกิดความรู้สึกผิดต่อการที่ตนไม่สามารถกระทำ/ตอบสนองสัญญาที่ให้ไว้ได้ และหากเขายังยึดติดกับคำที่สัญญานั้น ก็จะทำให้เกิดเป็นปมในใจต่อเรื่องที่ได้สัญญาไว้ ต่อไป ดังนั้น "จงระมัดระวังการพูดสัญญาอะไรกับใคร ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเราจะทำได้" -- มันทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่นโดยทางคำพูด โดยไม่ต้องใช้หลักฐานใดๆ เป็นเครื่องยืนยัน เราใช้ใจบันทึกคำเหล่านั้นเอาไว้จนจำได้ เลยทำให้คนเรายึดถือยึดติดกับคำสัญญาอย่างแน่นหนา ไม่ยอมปล่อยวาง หลักคำสอนข้อหนึ่งในศาสนาพุทธกล่าวไว้ดีในเรื่องไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา แม้คำพูดที่สัญญา
จะเห็นได้ว่า เมื่อเราไม่ทำ ไม่เป็น ไม่มี ดังที่สัญญาไว้ เมื่อนั้นปัญหาจึงเกิด คือ จากความคาดหวังที่เต็มเปี่ยมกลับกลายเป็นความผิดหวัง/ความรู้สึกผิด ถ้าแก้สถานการณ์ได้ก็ถือว่ารอดตัวไป แต่หากแก้ไขไม่ได้ มีแต่เสียกับเสีย (loose-loose) ฝ่ายหนึ่งผิดหวัง อีกฝ่ายก็รู้สึกผิดเช่นกัน กลายเป็น bias ระหว่างกัน
หรือจะว่าไปแล้ว เมื่อเราพิจารณาดูดีๆ บางครั้งปัญหาคงไม่ได้อยู่ที่การให้สัญญา หากแต่อยู่ที่คนคนหนึ่งไม่ได้มีความอยากที่จะทำจริงๆ แต่แรก ก็แค่นั้นเอง ...
อ้างอิงบทความจาก https://www.facebook.com/PsychologistCafe/photos/a.1510948479145891.1073741828.1509818395925566/1525857284321677/?type=1
นักจิตวิทยา ชี้ การผิดสัญญาสามารถถอนความรู้สึกดีๆ ของมนุษย์ออกไปได้อย่างสิ้นเชิง
การกระทำที่ถอนความรู้สึกดีของมนุษย์ออกไปได้อย่างหมดสิ้น คือการผิดสัญญา เนื่องจากการกล่าวให้สัญญา ในทางจิตวิทยาแล้ว ถือเป็นการกระทำที่ทำให้จิตใจของทั้งตัวเราและตัวเขา (คนที่เราไปให้สัญญา) ได้รับการเติมเต็มไปด้วยความคาดหวังอย่างเต็มเปี่ยม ว่าจะต้องเกิดสิ่งนี้ขึ้น เกิดการตั้งใจรอคอย (attention) และความรู้สึกที่มโนภาพไปล่วงหน้าแล้วว่า เราจะรู้สึกอย่างไรตามที่เขาสัญญา เช่น สัญญาว่าพรุ่งนี้พ่อบอกกับลูกว่าจะพาไปเที่ยวงานหนังสือ แล้วถึงวันนั้นเมื่อพ่อไม่ได้พาไปจริงๆ จากความรู้สึกดีๆ ที่เด็กตั้งตาคอย จะแปรเปลี่ยนไปเกิดเป็นอารมณ์ที่รู้สึก "ผิดหวัง" (ทั้งที่มันเป็นแค่เพียงคำพูดลมปากเท่านั้นเอง) ซึ่งในบางสถานการณ์อาจทำให้ความรู้สึกกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือไปได้เลย เพียงเพราะไม่ได้ลงมือทำให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ส่งผลให้คนเรามักมีปัญหาความสัมพันธ์ก็เนื่องด้วยการผิดสัญญา
หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น คนเลิกกันมักจะบอกว่า "ที่สัญญากันไว้ ลืมๆไปเถอะนะ" คิดแล้วก็น่าสังเกตเหมือนกันครับว่าเพราะอะไรการให้คำมั่นสัญญาจึงมีผลกระทบต่อจิตใจมนุษย์ได้อย่างมากมายจริงๆ
เมื่อผิดสัญญา ผู้ที่ได้ฟังคำสัญญานั้น จากความรู้สึกที่ดีๆ (ด้วยการวาดภาพความหวังนั้นไว้ในใจว่าจะต้องเป็นจริง และอาจมีการเตรียมตัวสำหรับ "รับ" ความรู้สึกในการที่จะได้สิ่งนั้นตามสัญญาแล้ว) ก็จะถูกถอนคืนออกไปจากความคิดอย่างหมดสิ้น เพราะมันไม่ได้เป็นไปตามที่เขาสัญญา ไม่ตรงกับที่จินตนาการ ส่งผลให้ตามมาด้วยความรู้สึกสูญเสียความเชื่อถือในตัวบุคคล (Loss of Trust) ที่มีต่อผู้ให้คำสัญญา
ในส่วนของผู้ให้คำสัญญาเอง ก็อาจเกิดความรู้สึกผิดต่อการที่ตนไม่สามารถกระทำ/ตอบสนองสัญญาที่ให้ไว้ได้ และหากเขายังยึดติดกับคำที่สัญญานั้น ก็จะทำให้เกิดเป็นปมในใจต่อเรื่องที่ได้สัญญาไว้ ต่อไป ดังนั้น "จงระมัดระวังการพูดสัญญาอะไรกับใคร ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเราจะทำได้" -- มันทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่นโดยทางคำพูด โดยไม่ต้องใช้หลักฐานใดๆ เป็นเครื่องยืนยัน เราใช้ใจบันทึกคำเหล่านั้นเอาไว้จนจำได้ เลยทำให้คนเรายึดถือยึดติดกับคำสัญญาอย่างแน่นหนา ไม่ยอมปล่อยวาง หลักคำสอนข้อหนึ่งในศาสนาพุทธกล่าวไว้ดีในเรื่องไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา แม้คำพูดที่สัญญา
จะเห็นได้ว่า เมื่อเราไม่ทำ ไม่เป็น ไม่มี ดังที่สัญญาไว้ เมื่อนั้นปัญหาจึงเกิด คือ จากความคาดหวังที่เต็มเปี่ยมกลับกลายเป็นความผิดหวัง/ความรู้สึกผิด ถ้าแก้สถานการณ์ได้ก็ถือว่ารอดตัวไป แต่หากแก้ไขไม่ได้ มีแต่เสียกับเสีย (loose-loose) ฝ่ายหนึ่งผิดหวัง อีกฝ่ายก็รู้สึกผิดเช่นกัน กลายเป็น bias ระหว่างกัน
หรือจะว่าไปแล้ว เมื่อเราพิจารณาดูดีๆ บางครั้งปัญหาคงไม่ได้อยู่ที่การให้สัญญา หากแต่อยู่ที่คนคนหนึ่งไม่ได้มีความอยากที่จะทำจริงๆ แต่แรก ก็แค่นั้นเอง ...
อ้างอิงบทความจาก https://www.facebook.com/PsychologistCafe/photos/a.1510948479145891.1073741828.1509818395925566/1525857284321677/?type=1