เห็นความประพฤติของ ชาวพุทธ กำมะลอ(?) สมัยนี้แล้ว ก็ได้แต่อ่อนใจ นะครับ
มาคราวนี้ ใจกล้าจนถึงขนาด เสียดสี จาบจ้วง พระพุทธทาส ว่าเป็น อสรพิษ กันเลย
อย่างไร ก็ดี ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากที่อ่านกระทู้นี้จบลงแล้ว
ใครคนนั้น จะแสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป บ้างนะครับ
เริ่มที่ หลักฐาน กันก่อน นะครับ เนื่องจาก ใครคนนี้ เขากล่าวด้วยความมั่นอกมั่นใจมากว่า .................
(๑) คำว่า เดียรถีย์ ในพระสูตรและอรรถกถา ใช้กล่าวถึง พวกนอกรีต พวกมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
(๒) ไม่มีที่ใดบอกว่า เดียรถีย์ เป็นคำกลางๆ หรือเป็นคำที่ดี ฯลฯ
แต่หลักฐานจาก อรรถกถาพระวินัย กลับระบุอย่างชัดเจน ดังนี้ว่า ........
(๑) หากกล่าวว่า ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น เดียรถีย์ ไม่ถือว่าเป็นการเปล่งวาจาสึก
(๒) แต่ต้องกล่าวให้ชัดเจนว่า เธออยากเป็น เดียรถีย์ไหน ? เช่น นิครนถ์ หรือ ปริพาชก เป็นต้น
จากหลักฐานดังกล่าวนี้ แปลว่าอะไรครับ ?
มันก็แปลว่า ลำพังคำว่า เดียรถีย์ คำนี้ มันมิได้บ่งชี้ให้เข้าใจว่าเป็น พวกอื่น ลัทธิอื่น ได้เลย
เพราะคำว่า ติตถิยา มันแปลว่า นักบวชในลัทธิ โดยมิได้เจาะจงว่าเป็นลัทธิใดลัทธิหนึ่งเป็นการเฉพาะ
เว้นไว้แต่จะระบุไปชัดๆว่า อัญญเดียรถีย์ หรือ เจาะจงไปเลยว่า นิครนถ์ หรือ ปริพาชก ฯลฯ
ดังนั้น การกล่าวว่า ฉันปรารถนาจะเป็นเดียรถีย์ หรือ กล่าวว่า จงจำไว้ว่า ฉันเป็นเดียรถีย์
มันจึงมีความหมายแค่ว่า ฉันปรารถนาจะเป็นนักบวช หรือ จงจำไว้ว่า ฉันเป็นนักบวช
ซึ่งข้อความดังกล่าว มันไม่มีความชัดเจน จนอาจถือได้ว่า นั่นเป็นการเปล่งวาจาสึก !
ก็ถ้าคำว่า เดียรถีย์ ไม่ใช่คำกลางๆ แต่มีความหมายว่า อัญเดียรถีย์ มิจฉาทิฐิ ฯลฯ จริงดังที่ใครคนนั้นอ้าง
ถ้อยคำดังกล่าวนี้ ย่อมต้องนับว่าเป็นการเปล่งวาจาสึก ต้องถือว่าเป็นการกล่าวลาสิกขาบทไปแล้วน่ะสิ
แต่มันก็ไม่ใช่ นี่ครับ !
ซึ่งหลักฐานชิ้นนี้ ย่อมมีความสอดคล้องกับคำอธิบายของท่านปยุตโต ที่ระบุว่า
ในสมัยพุทธกาล ถ้าเรียกเดียรถีย์เฉยๆ คนฟัง จะงง ฟังไม่รู้เรื่อง ว่าหมายถึงใคร หรือ หมายถึงอะไร ?
ทีนี้ ลองพิจารณาข้อความจาก อรรถกถา ทีฆนิกาย สักหน่อยนะครับ เนื่องจาก พระพุทธโฆสะ ได้กล่าวว่า
ท่านพระอานนท์ได้บวชอยู่ในสำนักครูที่บริสุทธิ์ จึงเป็นปัจจัยแก่การเข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้โดยง่าย
สำนักครู มาจากคำว่า อะไรครับ ?
อรรถกถาฉบับแปลไทย เขาถอดมาจากคำว่า ติตถวาโส
ทั้งนี้ อย่างพึ่งรีบค้านนะครับว่า คำๆนี้ คือ ติตถะ มิใช่ ติตถิยา
เพราะเมื่อพิจารณา อรรถกถาจาก ติตถสูตร ก็จะได้ความอย่างชัดแจ้งว่า ติตถะ = ติตถิยา
เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระพุทธโฆสะ อธิบายว่า เมื่อว่าโดยอรรถแล้ว ติตถะ มีความหมายเดียวกันกับคำว่า ติตถิยะ
แล้วก็ไม่ต้องมา แถกแถ ว่า การที่ ติตถิยะ = ติตถะ นี้เป็นการเฉพาะกรณี ติตถะ ที่หมายถึงพวก ทิฐิ ๖๒ เท่านั้น
เนื่องจาก ปรากฏหลักฐานจาก มัชฌิมนิกาย กล่าวถึง ติตถะ(ลัทธิคำสอน) ในพระพุทธศาสนา อย่างชัดแจ้ง ดังนี้
ทั้งนี้ ขออนุญาต ทบทวนความจำเสียหน่อยว่า ........
(๑) ติตถะ หมายถึง ลัทธิคำสอน
(๒) ติตถิยะ หมายถึง ผู้มีในคำสอน หรือ ผู้อยู่ในลัทธิ คือ นักบวช
(๓) ติตถกโร หมายถึง ผู้ยังคำสอนให้เกิดขึ้น คือ เจ้าลัทธิ หรือ ศาสดา
ด้วยความบังเอิญเป็นอย่างยิ่ง ที่พระสูตรนี้ เปรียบภิกษุผู้เป็นพหูสูตว่าเป็น ติตถะ คือ ท่า คือ ลัทธิคำสอน
ดังนั้น มันจึงชัดเสียยิ่งกว่าชัดว่า ติตถะ(ลัทธิคำสอน) มีความหมายเท่ากับ ติตถิยะ(นักบวช) จริง
และความจริงอีกประการหนึ่ง ที่สำคัญ ก็คือ ทั้งคำว่า ติตถะ(ลัทธิคำสอน) และคำว่า ติตถิยะ(นักบวช) เป็นคำที่
มีใช้อยู่ในพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นคำกลางๆ โดยระบุถึงทั้งคำสอนที่เป็นสัมมาทิฐิ และ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
นั่นจึงหมายความว่า คำอธิบายของพระพุทธโฆสะ ที่ว่า ติตถะ = ติตถิยา (โดยอรรถ) ตามที่อ้างถึงข้างต้น ย่อมเป็นคำจริง !
อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ เมื่อคราวที่ ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกนั้น
ข้อความในคัมภีร์อรรถกถาได้บรรยายถึงความคิดของ ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ความว่า .......
"ในโลกนี้ มีเดียรถีย์ มีปูรณกัสสปะเป็นต้น เป็นอันมาก ก็กล่าวว่า
เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า
เราพึงรู้ความที่พระศาสดาเป็นพระพุทธเจ้า ได้อย่างไร หนอแล ฯลฯ"
คำถาม ก็คือ คำว่า "เดียรถีย์" ของ ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี นี้เป็นคำติเตียน หรือ ดูหมิ่นว่า
บรรดาเจ้าลัทธิต่างๆในสมัยนั้น รวมไปถึงพระพุทธเจ้า(สมณโคดม) เป็นพวกมิจฉาทิฐิ หรือไม่ ?
คุณๆ ทั้งหลาย ก็ลองใช้สติปัญญา เท่าที่มีติดตัวอยู่ พิจารณาโดยแยบคาย ดูสิครับ
เพราะถ้าหากถามผม ผมก็เห็นว่า เดียรถีย์ คำนี้ ถูกใช้ในความหมายกลางๆ โดยหมายถึง
ศาสดาเจ้าลัทธิต่างๆ ในสมัยนั้น รวมทั้ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งท่านผู้นั้นกำลังจะไปเข้าเฝ้าด้วย
นั่นจึงหมายความว่า นอกจาก เดียรถีย์ จะถูกใช้ในความหมายกลางๆ โดยมิได้ระบุจำเพาะเจาะจงว่า
หมายถึง พวกมิจฉาทิฐิ นอกพระพุทธศาสนาแล้ว หลักฐานชิ้นนี้ ยังบ่งบอกให้ทราบว่า เดียรถีย์(ติตถิยา)
สามารถใช้แทนคำว่า ติตถกโร ซึ่งหมายถึง เจ้าลัทธิ หรือ ศาสดาแห่งลัทธินั้นๆ ได้ด้วยเช่นกัน
หลักฐานทั้งหมดที่ผมยกขึ้นแสดง ชัดเจนมากพอไหมครับ ?
*******************************************************************************
เมื่อพิจารณาความมาจนถึงบัดนี้ ย่อมได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ๓ ประการ คือ
(๑) ในพระบาลี ติตถะ(ลัทธิคำสอน) มีความหมายโดยอรรถ อย่างเดียวกับคำว่า ติตถิยา(นักบวช)
(๒) ทั้งคำว่า ติตถะ(ลัทธิคำสอน) และ ติตถิยา(นักบวช) มีใช้ในพระพุทธศาสนา หมายถึง คำสอนสัมมาทิฐิ และ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
(๓) คำว่า เดียรถีย์(ติตถิยา) สามารถใช้แทนคำว่า ติตถกโร ซึ่งหมายถึง เจ้าลัทธิ หรือ ศาสดาแห่งลัทธินั้นๆ ได้
ทีนี้ คำว่า เดียรถีย์ ของพวกแก๊งส์อภิธรรมเม็ดมะขาม หมายถึง พระบาลีคำไหนเล่าครับ ?
เพราะไม่ว่า จะหมายถึง ติตถะ หรือ ติตถิยา หรือจนแม้แต่คำว่า ติตถกโร มันก็มีความหมายไม่แตกต่างกันเลย
จริงไหม ?
ในท้ายที่สุดนี้ ต้องถือว่าเป็น "ธรรมเนียม" นะครับว่า ใครกล่าวอะไรไว้ ก็ย่อมต้องแสดง ความรับผิดชอบ ในสิ่งที่ตนได้ก่อเอาไว้
ในเมื่อ ใครคนนี้ แอบอ้าง บิดเบือน พระธรรมวินัย ข้างๆ คูๆ เพื่อให้สอดคล้องกับ ทิฐิ ความเห็นผิดของตน ในทำนองว่า
(๑) คำว่า เดียรถีย์ ในพระสูตรและอรรถกถา ใช้กล่าวถึง พวกนอกรีต พวกมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
(๒) ไม่มีที่ใดบอกว่า เดียรถีย์ เป็นคำกลางๆ หรือเป็นคำที่ดี ฯลฯ
แต่เมื่อพิจารณาจากหลักฐานตามความเป็นจริง กลับปรากฏในทางตรงข้าม
กล่าวคือ เดียรถีย์ มีใช้ในพระพุทธศาสนาด้วย โดยหมายถึงทั้ง คำสอน(สัมมาทิฐิ) และ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
ถามว่า ใครคนนั้น ต้องรับผิดชอบในเรื่องอะไร ?
ตอบว่า ด้วยเหตุที่ในส่วนท้ายของข้อความนั้นเอง ใครคนนั้น ได้ฉวยโอกาส
กล่าววาจา "สามหาว" เสียดสี ว่าร้าย ท่านพุทธทาส ในทำนองว่า ท่านเป็น อสรพิษ !
และนี่ ก็คือ สิ่งที่มัน จักต้องแสดงความรับผิดชอบ !
เมื่อกล่าวสำหรับ กรณีนี้ ถ้ามันเป็นฝ่ายถูก
ก็แปลว่า ทั้งท่านพุทธทาส และ ท่านปยุตโต จะเป็นฝ่ายผิด
ดังนั้น ผู้ที่เป็น อสรพิษ ตามคำของมัน คงมิใช่จะมีแต่ท่านพุทธทาส แต่เพียงผู้เดียว เท่านั้น
หากต้องหมายรวมเอา ท่านปยุตโต เข้าไปด้วย เพราะพระเถระท่านนี้ ก็เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ยืนยันว่า
ในสมัยพุทธกาล คำว่า เดียรถีย์ เป็นคำที่มีความหมายกลางๆ ว่า นักบวช เช่นกัน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้มีโอกาสรับฟัง คำอธิบายที่ถูกต้องชัดเจน อย่างผู้มีสติปัญญาพึงกระทำ
และคงจะไม่ใช้วิธี แกล้งตาย หายตัวไปดื้อๆ โดยไม่มีแม้แต่คำ ขอโทษ ....... นะครับ
เพราะถ้าหากเป็นเช่นนั้น ผมคงรู้สึก สมเพช เป็นอย่างยิ่ง
สวัสดี
พระ .......... อสรพิษ
มาคราวนี้ ใจกล้าจนถึงขนาด เสียดสี จาบจ้วง พระพุทธทาส ว่าเป็น อสรพิษ กันเลย
อย่างไร ก็ดี ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากที่อ่านกระทู้นี้จบลงแล้ว
ใครคนนั้น จะแสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป บ้างนะครับ
เริ่มที่ หลักฐาน กันก่อน นะครับ เนื่องจาก ใครคนนี้ เขากล่าวด้วยความมั่นอกมั่นใจมากว่า .................
(๑) คำว่า เดียรถีย์ ในพระสูตรและอรรถกถา ใช้กล่าวถึง พวกนอกรีต พวกมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
(๒) ไม่มีที่ใดบอกว่า เดียรถีย์ เป็นคำกลางๆ หรือเป็นคำที่ดี ฯลฯ
แต่หลักฐานจาก อรรถกถาพระวินัย กลับระบุอย่างชัดเจน ดังนี้ว่า ........
(๑) หากกล่าวว่า ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น เดียรถีย์ ไม่ถือว่าเป็นการเปล่งวาจาสึก
(๒) แต่ต้องกล่าวให้ชัดเจนว่า เธออยากเป็น เดียรถีย์ไหน ? เช่น นิครนถ์ หรือ ปริพาชก เป็นต้น
จากหลักฐานดังกล่าวนี้ แปลว่าอะไรครับ ?
มันก็แปลว่า ลำพังคำว่า เดียรถีย์ คำนี้ มันมิได้บ่งชี้ให้เข้าใจว่าเป็น พวกอื่น ลัทธิอื่น ได้เลย
เพราะคำว่า ติตถิยา มันแปลว่า นักบวชในลัทธิ โดยมิได้เจาะจงว่าเป็นลัทธิใดลัทธิหนึ่งเป็นการเฉพาะ
เว้นไว้แต่จะระบุไปชัดๆว่า อัญญเดียรถีย์ หรือ เจาะจงไปเลยว่า นิครนถ์ หรือ ปริพาชก ฯลฯ
ดังนั้น การกล่าวว่า ฉันปรารถนาจะเป็นเดียรถีย์ หรือ กล่าวว่า จงจำไว้ว่า ฉันเป็นเดียรถีย์
มันจึงมีความหมายแค่ว่า ฉันปรารถนาจะเป็นนักบวช หรือ จงจำไว้ว่า ฉันเป็นนักบวช
ซึ่งข้อความดังกล่าว มันไม่มีความชัดเจน จนอาจถือได้ว่า นั่นเป็นการเปล่งวาจาสึก !
ก็ถ้าคำว่า เดียรถีย์ ไม่ใช่คำกลางๆ แต่มีความหมายว่า อัญเดียรถีย์ มิจฉาทิฐิ ฯลฯ จริงดังที่ใครคนนั้นอ้าง
ถ้อยคำดังกล่าวนี้ ย่อมต้องนับว่าเป็นการเปล่งวาจาสึก ต้องถือว่าเป็นการกล่าวลาสิกขาบทไปแล้วน่ะสิ
แต่มันก็ไม่ใช่ นี่ครับ !
ซึ่งหลักฐานชิ้นนี้ ย่อมมีความสอดคล้องกับคำอธิบายของท่านปยุตโต ที่ระบุว่า
ในสมัยพุทธกาล ถ้าเรียกเดียรถีย์เฉยๆ คนฟัง จะงง ฟังไม่รู้เรื่อง ว่าหมายถึงใคร หรือ หมายถึงอะไร ?
ทีนี้ ลองพิจารณาข้อความจาก อรรถกถา ทีฆนิกาย สักหน่อยนะครับ เนื่องจาก พระพุทธโฆสะ ได้กล่าวว่า
ท่านพระอานนท์ได้บวชอยู่ในสำนักครูที่บริสุทธิ์ จึงเป็นปัจจัยแก่การเข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้โดยง่าย
สำนักครู มาจากคำว่า อะไรครับ ?
อรรถกถาฉบับแปลไทย เขาถอดมาจากคำว่า ติตถวาโส
ทั้งนี้ อย่างพึ่งรีบค้านนะครับว่า คำๆนี้ คือ ติตถะ มิใช่ ติตถิยา
เพราะเมื่อพิจารณา อรรถกถาจาก ติตถสูตร ก็จะได้ความอย่างชัดแจ้งว่า ติตถะ = ติตถิยา
เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระพุทธโฆสะ อธิบายว่า เมื่อว่าโดยอรรถแล้ว ติตถะ มีความหมายเดียวกันกับคำว่า ติตถิยะ
แล้วก็ไม่ต้องมา แถกแถ ว่า การที่ ติตถิยะ = ติตถะ นี้เป็นการเฉพาะกรณี ติตถะ ที่หมายถึงพวก ทิฐิ ๖๒ เท่านั้น
เนื่องจาก ปรากฏหลักฐานจาก มัชฌิมนิกาย กล่าวถึง ติตถะ(ลัทธิคำสอน) ในพระพุทธศาสนา อย่างชัดแจ้ง ดังนี้
ทั้งนี้ ขออนุญาต ทบทวนความจำเสียหน่อยว่า ........
(๑) ติตถะ หมายถึง ลัทธิคำสอน
(๒) ติตถิยะ หมายถึง ผู้มีในคำสอน หรือ ผู้อยู่ในลัทธิ คือ นักบวช
(๓) ติตถกโร หมายถึง ผู้ยังคำสอนให้เกิดขึ้น คือ เจ้าลัทธิ หรือ ศาสดา
ด้วยความบังเอิญเป็นอย่างยิ่ง ที่พระสูตรนี้ เปรียบภิกษุผู้เป็นพหูสูตว่าเป็น ติตถะ คือ ท่า คือ ลัทธิคำสอน
ดังนั้น มันจึงชัดเสียยิ่งกว่าชัดว่า ติตถะ(ลัทธิคำสอน) มีความหมายเท่ากับ ติตถิยะ(นักบวช) จริง
และความจริงอีกประการหนึ่ง ที่สำคัญ ก็คือ ทั้งคำว่า ติตถะ(ลัทธิคำสอน) และคำว่า ติตถิยะ(นักบวช) เป็นคำที่
มีใช้อยู่ในพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นคำกลางๆ โดยระบุถึงทั้งคำสอนที่เป็นสัมมาทิฐิ และ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
นั่นจึงหมายความว่า คำอธิบายของพระพุทธโฆสะ ที่ว่า ติตถะ = ติตถิยา (โดยอรรถ) ตามที่อ้างถึงข้างต้น ย่อมเป็นคำจริง !
อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ เมื่อคราวที่ ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกนั้น
ข้อความในคัมภีร์อรรถกถาได้บรรยายถึงความคิดของ ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ความว่า .......
"ในโลกนี้ มีเดียรถีย์ มีปูรณกัสสปะเป็นต้น เป็นอันมาก ก็กล่าวว่า
เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า
เราพึงรู้ความที่พระศาสดาเป็นพระพุทธเจ้า ได้อย่างไร หนอแล ฯลฯ"
คำถาม ก็คือ คำว่า "เดียรถีย์" ของ ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี นี้เป็นคำติเตียน หรือ ดูหมิ่นว่า
บรรดาเจ้าลัทธิต่างๆในสมัยนั้น รวมไปถึงพระพุทธเจ้า(สมณโคดม) เป็นพวกมิจฉาทิฐิ หรือไม่ ?
คุณๆ ทั้งหลาย ก็ลองใช้สติปัญญา เท่าที่มีติดตัวอยู่ พิจารณาโดยแยบคาย ดูสิครับ
เพราะถ้าหากถามผม ผมก็เห็นว่า เดียรถีย์ คำนี้ ถูกใช้ในความหมายกลางๆ โดยหมายถึง
ศาสดาเจ้าลัทธิต่างๆ ในสมัยนั้น รวมทั้ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งท่านผู้นั้นกำลังจะไปเข้าเฝ้าด้วย
นั่นจึงหมายความว่า นอกจาก เดียรถีย์ จะถูกใช้ในความหมายกลางๆ โดยมิได้ระบุจำเพาะเจาะจงว่า
หมายถึง พวกมิจฉาทิฐิ นอกพระพุทธศาสนาแล้ว หลักฐานชิ้นนี้ ยังบ่งบอกให้ทราบว่า เดียรถีย์(ติตถิยา)
สามารถใช้แทนคำว่า ติตถกโร ซึ่งหมายถึง เจ้าลัทธิ หรือ ศาสดาแห่งลัทธินั้นๆ ได้ด้วยเช่นกัน
หลักฐานทั้งหมดที่ผมยกขึ้นแสดง ชัดเจนมากพอไหมครับ ?
*******************************************************************************
เมื่อพิจารณาความมาจนถึงบัดนี้ ย่อมได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ๓ ประการ คือ
(๑) ในพระบาลี ติตถะ(ลัทธิคำสอน) มีความหมายโดยอรรถ อย่างเดียวกับคำว่า ติตถิยา(นักบวช)
(๒) ทั้งคำว่า ติตถะ(ลัทธิคำสอน) และ ติตถิยา(นักบวช) มีใช้ในพระพุทธศาสนา หมายถึง คำสอนสัมมาทิฐิ และ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
(๓) คำว่า เดียรถีย์(ติตถิยา) สามารถใช้แทนคำว่า ติตถกโร ซึ่งหมายถึง เจ้าลัทธิ หรือ ศาสดาแห่งลัทธินั้นๆ ได้
ทีนี้ คำว่า เดียรถีย์ ของพวกแก๊งส์อภิธรรมเม็ดมะขาม หมายถึง พระบาลีคำไหนเล่าครับ ?
เพราะไม่ว่า จะหมายถึง ติตถะ หรือ ติตถิยา หรือจนแม้แต่คำว่า ติตถกโร มันก็มีความหมายไม่แตกต่างกันเลย
จริงไหม ?
ในท้ายที่สุดนี้ ต้องถือว่าเป็น "ธรรมเนียม" นะครับว่า ใครกล่าวอะไรไว้ ก็ย่อมต้องแสดง ความรับผิดชอบ ในสิ่งที่ตนได้ก่อเอาไว้
ในเมื่อ ใครคนนี้ แอบอ้าง บิดเบือน พระธรรมวินัย ข้างๆ คูๆ เพื่อให้สอดคล้องกับ ทิฐิ ความเห็นผิดของตน ในทำนองว่า
(๑) คำว่า เดียรถีย์ ในพระสูตรและอรรถกถา ใช้กล่าวถึง พวกนอกรีต พวกมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
(๒) ไม่มีที่ใดบอกว่า เดียรถีย์ เป็นคำกลางๆ หรือเป็นคำที่ดี ฯลฯ
แต่เมื่อพิจารณาจากหลักฐานตามความเป็นจริง กลับปรากฏในทางตรงข้าม
กล่าวคือ เดียรถีย์ มีใช้ในพระพุทธศาสนาด้วย โดยหมายถึงทั้ง คำสอน(สัมมาทิฐิ) และ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
ถามว่า ใครคนนั้น ต้องรับผิดชอบในเรื่องอะไร ?
ตอบว่า ด้วยเหตุที่ในส่วนท้ายของข้อความนั้นเอง ใครคนนั้น ได้ฉวยโอกาส
กล่าววาจา "สามหาว" เสียดสี ว่าร้าย ท่านพุทธทาส ในทำนองว่า ท่านเป็น อสรพิษ !
และนี่ ก็คือ สิ่งที่มัน จักต้องแสดงความรับผิดชอบ !
เมื่อกล่าวสำหรับ กรณีนี้ ถ้ามันเป็นฝ่ายถูก
ก็แปลว่า ทั้งท่านพุทธทาส และ ท่านปยุตโต จะเป็นฝ่ายผิด
ดังนั้น ผู้ที่เป็น อสรพิษ ตามคำของมัน คงมิใช่จะมีแต่ท่านพุทธทาส แต่เพียงผู้เดียว เท่านั้น
หากต้องหมายรวมเอา ท่านปยุตโต เข้าไปด้วย เพราะพระเถระท่านนี้ ก็เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ยืนยันว่า
ในสมัยพุทธกาล คำว่า เดียรถีย์ เป็นคำที่มีความหมายกลางๆ ว่า นักบวช เช่นกัน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้มีโอกาสรับฟัง คำอธิบายที่ถูกต้องชัดเจน อย่างผู้มีสติปัญญาพึงกระทำ
และคงจะไม่ใช้วิธี แกล้งตาย หายตัวไปดื้อๆ โดยไม่มีแม้แต่คำ ขอโทษ ....... นะครับ
เพราะถ้าหากเป็นเช่นนั้น ผมคงรู้สึก สมเพช เป็นอย่างยิ่ง
สวัสดี