สติ ในการแบ่ง คนไว้ 4 จำพวก คือ
1. ใครที่มีสติดี มีสติอยู่เหนืออารมณ์ เข้าใจตนเอง จนรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา พิจารณาเห็นทั้งคุณและโทษ เข้าใจความพอดี เป็น บัวพ้นน้ำ
2. ใครที่มีสติพอสมควร แม้จะไม่เข้าใจตนเอง แต่ยังรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เห็นโทษของการสุดโต่ง เป็น บัวปริ่มน้ำ
3. ใครที่มีสติน้อย ปล่อยให้อารมณ์ อยู่เหนือสติ เอาแต่ใจนำไป ตกไปสู่ความหลงได้ง่าย พิจารณา อะไร ก็มองด้านเดียว ถ้าใจเกลียด
ก็ เห็นแต่โทษ ถ้าใจชอบ อะไรก็เห็นแต่คุณ เพราะมันถูกใจ ถูกอารมณ์ ไม่สนใจความจริง เอาแต่สิ่งที่มโนแล้วมันถูกใจ เป็นบัวใต้น้ำ
4. ใครที่ขาดสติไปเลย ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรแล้ว เอาแต่อารมณ์ พูดจาภาษาคนโต้ตอบเหตุผลไม่ได้ เอาแต่เป่านกหวีดได้อย่างเดว เจอใคร
คิดไม่เหมือนตน ก็เข้าไปทำร้าย ไม่สนว่าใครจะเดือดร้อนเพราะการกระทำของเรา เอาแต่ใช้ความเชื่อ แลกเปลี่ยนเหตุผลกับใครไม่ได้
ยิ่งมาดูโทรทัศน์ เห็นคนมีการศึกษา ปริญญา 5 ใบ พูดจาเหมือนเด็ก 3 ขวบ เห็นคนมีฐานะ แล้วยังดูถูก คนอื่น เหมือนเด็ก 5 ขวบ เห็นคนทำงานใหญ่โตเป็น ตลก ใช้เหตุผล เหมือนเด็ก 10 ขวบ ก็ยิ่งเห็นชัดว่า พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ดีแล้วเจริญแล้วจริงๆ ดีใจจริงๆ ที่มีศาสนาพุทธ ( พุทธแท้ ) เป็นสถาบันหลักของชาติ ที่ไม่บังคับให้ใครต้องกราบไหว้ โต้เถียง วิจารณ์คำสอน ได้อย่างอิสระ ยิ่งวิจารณ์ ยิ่งมีคุณ ไม่มี โทษ ใครจะโหน ธรรมมะ ก็มีแต่ความเจริญเพิ่ม สติปัญญา ไม่เพิ่ม ความโกรธ ความโง่ ความหลงเหมือนโหนอย่างอื่นแต่อย่างใด
ระบบความคิดที่ทำให้เป็นบัวใต้น้ำ
คือ เริ่มจากความเกลียด หรือ ความรัก พูดง่ายๆว่าเริ่มด้วยอารมณ์ ต่อ ด้วยการมโน เอาแต่ด้านที่มันถูกอารมณ์ ถ้าชอบก็มองแต่คุณ แต่ถ้าเกลียด ก็มองแต่โทษ แล้ว จบด้วยการ ปลงใจเชื่อ ในสิ่งที่ฟิน ( เรียกให้ดูหรูว่า ตกผลึก ) พอมีระบบความคิดแบบนี้ จะทำอะไร ก็ขาดการเรียนรู้ เพราะ ปิดตาไปข้างหนึ่งแล้ว ทางที่เดิน มีแต่ความสุดโต่ง ซึ่งเป็นทางแห่งความเสื่อม ความรุนแรง สังคมใดที่ ธรรมแท้ๆ เสื่อมถอย คนในสังคมมักใช้อารมณ์เป็นใหญ่ สังคมนั้นก็มีแต่ความรุนแรง มุ่งแต่เอาชนะคะค้าน เพราะไม่สามารถปรึกษากันได้เพราะสังคมนั้นจะใช้แต่ ข้ออ้างหลอกตัวเอง ( เอาไว้ให้ถูกใจเวลาเกลียด เวลาชอบ ) ไม่ใช้เหตุผลตามความเป็นจริง
ระบบคิดที่ทำให้เป็นบัวพ้นน้ำ
คือ เริ่มด้วยความสงบ พูดง่ายๆ เริ่มด้วย สติ ต่อด้วย การพิจารณาตามจริง เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด ( อิทิปปัจยยตา ) พิจารณาให้เห็นทั้งคุณและโทษ จนเกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้ แล้วจบด้วย การปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น จนเป็น ทิฐิ ทำให้รับความเห็นต่างได้เสมอ ไม่เกิดอารมณ์กับความเห็นต่าง มองเห็นโทษของการสุดโต่งเข้าใจประโยชน์ของความพอดี เรียกรวมๆว่า ทางสายกลาง เป็นทางที่มีแต่ความเจริญ แล้ว สังคมใดที่ธรรม แท้แบบนี้ คงอยู่ สังคมนั้นก็จะมีแต่ ความสงบร่มเย็น คนในสังคมใช้เหตุผลพูดคุย แก้ปัญหาได้ ไม่ต้องใช้ความรุนแรง มีการให้อภัย ไม่เอาชนะคะค้าน เอาแต่ประโยชน์ตามจริง และ แก้ไขปรับปรุง โทษที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้
ทางพระได้เรียกรวมๆว่า ( ศีล สมาธิ ปัญญา )
สุดท้ายคนเราเมื่อรวมตัวกันมาก แต่ไม่นำ ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) ไปด้วย รวมตัวกันด้วยความเกลียด ความโกรธ สะใจกับ ข้ออ้างหลอกตัวเอง มุ่งแต่เอาชนะ โดยไม่คำนึง โทษที่มีอยู่ คนกลุ่มนั้น จิตใจก็จะหยาบช้า ตกต่ำ จะชอบดูถูกคน สะใจกับการด่าถอ ต่อว่า ตบมือดีใจ เวลา ทำร้าย คนอื่นได้ เป็นการรวมกลุ่มของคนพาลโดยแท้ การรวมกลุ่มแบบนี้ เกิดที่ใด มีแต่ความเสื่อมเป็นเบื้องหน้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://pantip.com/topic/31478848 ขอฝากกระทู้นี้ด้วยอีกหนึ่งกระทู้
ในที่สุดผมก็เข้าใจแล้ว ว่าทำไมพระพุทธเจ้า ถึงแบ่งคนไว้ 4 เหล่า แต่ไม่ใช้ การศึกษา ฐานะ หน้าที่การงานในการแบ่ง แต่ใช้...
1. ใครที่มีสติดี มีสติอยู่เหนืออารมณ์ เข้าใจตนเอง จนรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา พิจารณาเห็นทั้งคุณและโทษ เข้าใจความพอดี เป็น บัวพ้นน้ำ
2. ใครที่มีสติพอสมควร แม้จะไม่เข้าใจตนเอง แต่ยังรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เห็นโทษของการสุดโต่ง เป็น บัวปริ่มน้ำ
3. ใครที่มีสติน้อย ปล่อยให้อารมณ์ อยู่เหนือสติ เอาแต่ใจนำไป ตกไปสู่ความหลงได้ง่าย พิจารณา อะไร ก็มองด้านเดียว ถ้าใจเกลียด
ก็ เห็นแต่โทษ ถ้าใจชอบ อะไรก็เห็นแต่คุณ เพราะมันถูกใจ ถูกอารมณ์ ไม่สนใจความจริง เอาแต่สิ่งที่มโนแล้วมันถูกใจ เป็นบัวใต้น้ำ
4. ใครที่ขาดสติไปเลย ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรแล้ว เอาแต่อารมณ์ พูดจาภาษาคนโต้ตอบเหตุผลไม่ได้ เอาแต่เป่านกหวีดได้อย่างเดว เจอใคร
คิดไม่เหมือนตน ก็เข้าไปทำร้าย ไม่สนว่าใครจะเดือดร้อนเพราะการกระทำของเรา เอาแต่ใช้ความเชื่อ แลกเปลี่ยนเหตุผลกับใครไม่ได้
ยิ่งมาดูโทรทัศน์ เห็นคนมีการศึกษา ปริญญา 5 ใบ พูดจาเหมือนเด็ก 3 ขวบ เห็นคนมีฐานะ แล้วยังดูถูก คนอื่น เหมือนเด็ก 5 ขวบ เห็นคนทำงานใหญ่โตเป็น ตลก ใช้เหตุผล เหมือนเด็ก 10 ขวบ ก็ยิ่งเห็นชัดว่า พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ดีแล้วเจริญแล้วจริงๆ ดีใจจริงๆ ที่มีศาสนาพุทธ ( พุทธแท้ ) เป็นสถาบันหลักของชาติ ที่ไม่บังคับให้ใครต้องกราบไหว้ โต้เถียง วิจารณ์คำสอน ได้อย่างอิสระ ยิ่งวิจารณ์ ยิ่งมีคุณ ไม่มี โทษ ใครจะโหน ธรรมมะ ก็มีแต่ความเจริญเพิ่ม สติปัญญา ไม่เพิ่ม ความโกรธ ความโง่ ความหลงเหมือนโหนอย่างอื่นแต่อย่างใด
ระบบความคิดที่ทำให้เป็นบัวใต้น้ำ
คือ เริ่มจากความเกลียด หรือ ความรัก พูดง่ายๆว่าเริ่มด้วยอารมณ์ ต่อ ด้วยการมโน เอาแต่ด้านที่มันถูกอารมณ์ ถ้าชอบก็มองแต่คุณ แต่ถ้าเกลียด ก็มองแต่โทษ แล้ว จบด้วยการ ปลงใจเชื่อ ในสิ่งที่ฟิน ( เรียกให้ดูหรูว่า ตกผลึก ) พอมีระบบความคิดแบบนี้ จะทำอะไร ก็ขาดการเรียนรู้ เพราะ ปิดตาไปข้างหนึ่งแล้ว ทางที่เดิน มีแต่ความสุดโต่ง ซึ่งเป็นทางแห่งความเสื่อม ความรุนแรง สังคมใดที่ ธรรมแท้ๆ เสื่อมถอย คนในสังคมมักใช้อารมณ์เป็นใหญ่ สังคมนั้นก็มีแต่ความรุนแรง มุ่งแต่เอาชนะคะค้าน เพราะไม่สามารถปรึกษากันได้เพราะสังคมนั้นจะใช้แต่ ข้ออ้างหลอกตัวเอง ( เอาไว้ให้ถูกใจเวลาเกลียด เวลาชอบ ) ไม่ใช้เหตุผลตามความเป็นจริง
ระบบคิดที่ทำให้เป็นบัวพ้นน้ำ
คือ เริ่มด้วยความสงบ พูดง่ายๆ เริ่มด้วย สติ ต่อด้วย การพิจารณาตามจริง เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด ( อิทิปปัจยยตา ) พิจารณาให้เห็นทั้งคุณและโทษ จนเกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้ แล้วจบด้วย การปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น จนเป็น ทิฐิ ทำให้รับความเห็นต่างได้เสมอ ไม่เกิดอารมณ์กับความเห็นต่าง มองเห็นโทษของการสุดโต่งเข้าใจประโยชน์ของความพอดี เรียกรวมๆว่า ทางสายกลาง เป็นทางที่มีแต่ความเจริญ แล้ว สังคมใดที่ธรรม แท้แบบนี้ คงอยู่ สังคมนั้นก็จะมีแต่ ความสงบร่มเย็น คนในสังคมใช้เหตุผลพูดคุย แก้ปัญหาได้ ไม่ต้องใช้ความรุนแรง มีการให้อภัย ไม่เอาชนะคะค้าน เอาแต่ประโยชน์ตามจริง และ แก้ไขปรับปรุง โทษที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้
ทางพระได้เรียกรวมๆว่า ( ศีล สมาธิ ปัญญา )
สุดท้ายคนเราเมื่อรวมตัวกันมาก แต่ไม่นำ ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) ไปด้วย รวมตัวกันด้วยความเกลียด ความโกรธ สะใจกับ ข้ออ้างหลอกตัวเอง มุ่งแต่เอาชนะ โดยไม่คำนึง โทษที่มีอยู่ คนกลุ่มนั้น จิตใจก็จะหยาบช้า ตกต่ำ จะชอบดูถูกคน สะใจกับการด่าถอ ต่อว่า ตบมือดีใจ เวลา ทำร้าย คนอื่นได้ เป็นการรวมกลุ่มของคนพาลโดยแท้ การรวมกลุ่มแบบนี้ เกิดที่ใด มีแต่ความเสื่อมเป็นเบื้องหน้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้