เพราะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงเกิดอาการ โง่ซ้ำซาก

เพราะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงเกิดอาการ โง่ซ้ำซาก



เห็นสภาพของ คันโตนาซีแล้ว ช่างน่าสมเพชนัก เพราะจนป่านนี้แล้ว
ไอ้หมอนี่ ก็ยังไม่เข้าใจอีกว่า สิ่งที่มันได้ "สำราก" ออกมานั้น มันผิดตรงไหน และ อย่างไร  ?

ที่จริงแล้ว คันโตนาซี "งง" หรือว่า "เงิบ" กันแน่ครับ ?

แต่ก็เอาเถิด ไหนๆ ก็โง่จน "สุดซอย" ขนาดนี้แล้ว
ก็คงเป็นภาระที่ผมต้อง อธิบาย เพื่อความกระจ่างแจ้ง กันต่อไป นะครับ

*****************************************************************************************

กรณีที่ ๑ นายคันโตนาซี

เริ่มต้น นายคนนี้เขาอ้างว่า เขาเข้าใจดีแล้วในประโยคที่ผมอธิบายความเอาไว้ว่า

"บุคคลผู้เป็นโสดาบัน หรือ นาย ก. นาย ข. นี้เรียกว่า สัตว์ แต่มิได้หมายความว่า
เมื่อกล่าวว่า สัตว์ แล้วจะต้องหมายถึง โสดาบัน หรือ นาย ก. นาย ข. เสมอไป
เพราะมันอาจหมายถึง นาย ง. นาง จ. หรือ เทวดามารพรหม ฯลฯ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น"

(๑) การกล่าวว่า โสดาบัน เป็น สัตว์โลก อย่างนี้ถือว่า กล่าวถูกต้อง(โดยสมมุติ)
(๒) แต่การกล่าวในทางกลับกันว่า สัตว์โลก เป็น โสดาบัน อย่างนี้ถือว่ากล่าวผิด แม้แต่ในระดับสมมุติก็ตาม



ก็ถ้า คันโตนาซี เข้าใจอย่างปากว่าจริง นั่นก็ต้องเท่ากับว่า คำกล่าวของมัน ที่ระบุว่า
มีสัตว์ตายแล้วไปเกิดในนรกหรือสวรรค์ ย่อมเป็น อัพยากฤตปัญหา เป็นการถาม ที่ผิด น่ะสิ !



หากไม่เชื่อ ก็ลองนำ ข้อความ "อัปยศ" ของคันโตนาซี ไปเปรียบเทียบกับ ข้อความ "ตัวอย่าง" ของผมได้ดังนี้

(๑) การกล่าวว่า โสดาบัน เป็น สัตว์โลก อย่างนี้ถือว่า กล่าวถูกต้อง(โดยสมมุติ)

สิ่งที่ท่านทั้งหลายจำต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ ก็คือ ประโยคนี้มันถูกต้องได้อย่างไร ?
อธิบายว่า เป็นเพราะประโยคดังกล่าวมี "คำตอบ" หรือ "ข้อเท็จจริง" อยู่เพียง ๑ เดียวเท่านั้น(เอกังสิกะ)
กล่าวคือ เราไม่มีทางที่จะบัญญัติว่า โสดาบัน เป็นอื่นไปจาก สัตว์โลก ในลักษณะที่เป็น วัตถุ ไม่มีใจครองได้

ดังนั้น ข้อความตัวอย่างนี้ จึงมิได้เป็น อัพยากฤตปัญหา จึงสามารถกล่าวได้ บัญญัติได้ โดยไม่ผิด(ในระดับสมมุติ)

(๒) แต่การกล่าวในทางกลับกันว่า สัตว์โลก เป็น โสดาบัน อย่างนี้ถือว่ากล่าวผิด(แม้แต่ในระดับสมมุติ)

เหตุที่เป็นดังนี้ ก็เพราะ ประโยคที่ ๒ นี้มี "ชุดของคำตอบ" หรือ "ชุดของข้อเท็จจริง" มากกว่า ๑ (อเนกังสิกะ)
เช่นว่า สัตว์โลก อาจหมายถึง สกทาคามี ก็ได้ อาจหมายถึง ปุถุชน ก็ได้ อาจหมาย เทวดา มาร พรหม ฯลฯ ก็ย่อมได้

ดังนั้น การกล่าว แต่เพียงแง่ใดแง่หนึ่งของข้อเท็จจริง จึงเป็นการกล่าวที่ผิดไปจาก "สภาวะ" ตามความเป็นจริง
กรณีเช่นนี้จัดเป็น อัพยากฤตปัญหา ซึ่งพระพุทธเจ้า ไม่ทรงพยากรณ์ อย่างแน่นอน !

(๓) เมื่อหวนกลับไปพิจารณา ข้อความ ของนายคันโตนาซี จะพบว่า
การกล่าวถึง สัตว์ ว่าเมื่อตายแล้วต้องไปเกิดในนรกสวรรค์ มีคำตอบ หรือ ข้อเท็จจริงมากกว่า ๑ ชุด กล่าวคือ

ประเด็นที่ ๑ สัตว์ตายไปแล้ว อาจเกิด หรือ ไม่เกิด ก็ได้
(การกล่าวเพียงแง่ใดแง่หนึ่งจึงเป็นการกล่าวที่ผิดไปจากความจริง)

ประเด็นที่ ๒ สัตว์ที่ตายแล้วเกิด อาจไม่ไปเกิดในนรก หรือสวรรค์ ก็ได้
(เช่นไปเกิดในภพภูมิของดิรัจฉาน หรือ มนุษย์ เป็นต้น)

ดังนั้น ข้อความอัปยศของ คันโตนาซี จึงจัดว่าเป็นการกล่าวถึงธรรมที่มีหลายแง่
โดยการกล่าว "ข้อเท็จจริง" แต่เพียงแง่(มุม)เดียว
กรณีอย่างนี้ เป็น อัพยากฤตปัญหา เป็นการกล่าวที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง
ตาม "สภาวะ" ที่มันเป็นอยู่จริง ซึ่งพระพุทธเจ้าย่อมไม่ตรัสแบบนี้

สรุปก็คือ คันโตนาซี(รวมไปถึงพรรคพวกที่ยกหูชูหางกันอยู่)
ได้กล่าวข้อความซึ่งผิดไปจากแนวทางพุทธธรรม นั่นเอง

ยัง งง อยู่อีกไหมครับ ?

หรือว่ายัง "อยาก" จะ "แถกแถ" อะไรโง่ๆ อีก ?



ทีนี้ เรามาดู สภาพอันน่าทุเรศ ของ คันโตนาซี กันต่อ นะครับ

เขายังคง "อวดฉลาด" ต่อไปอีกว่า เขาเข้าใจดีแล้วว่า

"เราจึงไม่อาจกล่าวยืนยันโดยแง่เดียวว่า สัตว์ ตายแล้วต้องเกิดเสมอไป
เพราะ ถ้าหากสัตว์นั้น หมายถึง อรหันต์ ย่อมไม่เกิดอีก"

ประเด็นปัญหา ก็คือ ที่ คันโตนาซีทำเป็น "สู่รู้"
ว่าตนเข้าใจดีแล้วนั้น มันมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง จริงละหรือ ?
เพราะถ้าหากมันมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า
ไม่สามารถกล่าวแต่เพียงแง่เดียวว่า สัตว์ตายแล้วเกิด หรือ สัตว์ตายแล้ว ไม่เกิด
แล้วมันจะไปตั้งคำถามโง่ๆ ในทำนองว่า สัตว์ตายแล้ว ไปเกิดในนรก หรือสวรรค์ ได้อย่างไร ?



ก็นั่นมันเป็นการตั้งคำถามที่ผิดนี่ครับ เมื่อผมอธิบายความมาถึงตรงนี้
คันโตนาซีและพวก ยอมรับได้หรือยังว่า ข้อความอัปยศดังกล่าว เป็นอัพยากฤตปัญหา
เป็นการกล่าวผิด เป็นการตั้งคำถามผิด ที่พระพุทธเจ้า จะไม่ทรงพยากรณ์ คำถามโง่ๆ แบบนี้ !

คันโตนาซี และพวก ยังจะ "งง" อยู่อีกไหมครับ ?

*****************************************************************************************

กรณีที่ ๒ นาย lossless

สำหรับนายคนนี้ ผมก็ไม่ทราบจริงๆ ว่ามันไป "มุดหัว" อยู่แถวไหนมา
เพราะพอมันโผล่หัวออกมาได้ ก็รีบอ้างขึ้นมาทันที ดังนี้ว่า .......



สิ่งที่ ท่านทั้งหลาย พึงพิจารณาอย่างรอบคอบ ก็คือ
จากข้อความดังกล่าวของ นาย  lossless สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ

(๑) ข้อเท็จจริงที่พระพุทธเจ้าตรัส
(๒) ทิฐิ หรือความคิดเห็นของ นาย  lossless เอง

ในประเด็นที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองว่า ได้ทรงเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนนั้น
ท่านทั้งหลาย ก็จงพิจารณาดูตามลำดับ ให้ดีเถิดว่า

(๑) ข้อความดังกล่าวนี้ มีชุดของคำตอบ หรือ ชุดของข้อเท็จจริง มากกว่า ๑ หรือไม่ ?
ถ้าข้อความดังกล่าว มีชุดของคำตอบ หรือ ชุดของข้อเท็จจริง อยู่เพียง ๑ เดียว  กรณีนี้ ย่อมมิใช่ อัพยากฤปัญหา เรื่องมันก็จบ

(๒) แต่ถ้าข้อความดังกล่าว มีชุดของคำตอบ หรือ ชุดของข้อเท็จจริง อยู่มากกว่า ๑
ก็จงพิจารณาต่อไปอีกว่า ข้อความดังกล่าว ระบุ "ข้อเท็จจริง" หรือ "คำตอบ" เอาไว้ครบถ้วนหรือไม่
ถ้าครบถ้วน ข้อความดังกล่าว ก็ถูกต้อง แต่ถ้า ระบุเอาไว้ไม่ครบถ้วน ข้อความดังกล่าว ก็ผิด

ดังกรณีที่อ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสถึงการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของพระองค์
มันเป็นข้อเท็จจริง ที่เป็นจริงอย่างนั้น โดยไม่มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้อีก เรื่องนี้จึงมิได้เป็น อัพยากฤตปัญหา
ในเมื่อเรื่องนี้ มิใช่ อัพยากฤตปัญหา แล้ว นาย lossless จะมาทำให้มันเป็นปัญหา ทำไมมิทราบ ?

แต่สิ่งที่ท่านทั้งหลาย พึงระมัดระวังให้มาก ก็คือ การนำเอา "ทิฐิ" หรือความเห็นส่วนตน เข้ามา "ปลอมปน"
ให้ดูคลับคล้ายคลับคลา ว่าเป็นข้อเท็จจริง อันมีที่มาจากพระบาลีพุทธพจน์ ซึ่งนับว่า อันตรายที่สุด ดังเช่น
การที่นาย lossless กล่าวสรุปในทำนองว่า เพราะพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของพระองค์
จึงทำให้เข้าใจได้ว่า "ท่านเองก็เป็นสัตว์ที่ตายแล้วไปเกิด เช่นเดียวกัน"

การพูดจาแบบนี้ ถือว่าเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้าอย่างหน้าด้านๆ เลยนะครับ
พร้อมกันนั้น ข้อสรุปดังกล่าวนี้ ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า ผู้พูด ยังไม่เข้าใจเรื่อง อัพยากฤตปัญหา ดีพอ

ข้อเท็จจริงที่คนอย่างนาย lossless  จะต้องทำความเข้าใจให้ดี ก็คือ
พระพุทธเจ้าตรัสด้วยพระองค์เองว่า ไม่ทรงพยากรณ์ เรื่อง สัตว์ตายแล้วเกิด หรือ ตายแล้วไม่เกิด ฯลฯ เป็นต้น



แต่เมื่อ คนอย่างนาย lossless ไปพบข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในสังสารวัฏ
แล้วสรุปเอาเอง ด้วยทิฐิความโง่เขลาว่า เช่นนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า สัตว์ตายแล้วเกิด เช่นกัน
ซึ่งการสรุปความอย่างโง่ๆ เช่นนี้ มันจะมีความหมายอันไม่พึงประสงค์ ในอีกแบบหนึ่งว่า

คนอย่างนาย lossless ได้กล่าววาจาชั่ว อันอาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิดว่า พระพุทธเจ้าตรัสขัดแย้งกันเอง ด้วยเหตุว่า
ในที่หนึ่งตรัสว่า จะไม่พยากรณ์เรื่อง สัตว์ตายแล้วเกิด แต่ปรากฏอีกที่หนึ่งว่า ตรัสพยากรณ์ว่า สัตว์ตายแล้วเกิด

ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว นั่นย่อมมิใช่ความผิดของ พระพุทธเจ้า หากแต่เป็นความผิดของ คนอย่างนาย lossless เอง
ที่ไม่มีความเข้าใจในอรรถในธรรม แต่มักคิดว่าตนเองฉลาด เที่ยวไปตัดสินวินิจฉัยพระธรรมคำสอนแบบผิดฝาผิดตัว
จนในท้ายที่สุด ก็ได้กลายเป็นการ กล่าวตู่บิดเบือนพระธรรมคำสอน และที่สำคัญ ก็คือ มันกำลังกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า  !

โดยปกติแล้ว ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ที่มีความเคารพศรัทธาในพระบรมศาสดา
เมื่อพบว่ามีข้อความในพระบาลีที่(เข้าใจว่า)ขัดแย้งกันอยู่ ในเบื้องต้นเขาย่อมต้องพิจารณาว่า
ตนเอง มีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องบางอย่าง จึงยังเห็น(ผิด)ว่าพระบาลีพุทธพจน์นั้นขัดกัน

แต่ คนอย่างนาย lossless กลับมิได้คิดเห็นเช่นนั้น โดยเขาได้ทำในสิ่งที่ตรงข้าม
กล่าวคือ ทำการ "ตีความ" พระบาลีให้เข้ากับ(มิจฉา)ทิฐิของตน ที่เมาหมกอยู่ในอัพยากฤตปัญหา
อันนำมาสู่ข้อสรุปที่น่าเศร้าว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความ ที่มีเนื้อหา "ขัดแย้ง" กันเอง

คนอย่างนาย lossless นี่มันมีความเคารพศรัทธาต่อพระรัตนตรัย ด้วยอาการอย่างไร กันครับ ?
ทำไมมันจึงได้ ปรุงแต่งคิดอ่าน อะไรๆ ที่นำมาสู่ข้อสรุปอันน่ารังเกียจ เยี่ยงนั้น !

พระพุทธเจ้าย่อมไม่ตรัสขัดแย้งกันเอง อย่างแน่นอน นะครับ
เรื่องเวียนว่ายตายเกิดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้น ไม่ใช่ อัพยากฤตปัญหา
ดังนั้น คนอย่างนาย lossless จึงไม่สามารถนำมาสรุปมั่วๆ เพื่อสนับสนุนมิจฉาทิฐิของตนเอง
ว่า มีความหมายอย่างเดียวกับ อัพยากฤตปัญหา เช่นเรื่อง สัตว์ตายแล้วเกิด หรือ สัตว์ตายแล้วไม่เกิด ฯลฯ

เมื่อเข้าใจแล้ว ก็จงกล่าวขอขมาพระรัตนตรัยเสียนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่