🧑🏫🧑🏫🔨ศาลสหรัฐฯ ฟันธง!
เอาข้อมูลมาเทรน AI
‘ไม่ใช่’ การละเมิดลิขสิทธิ์
และคำตัดสินครั้งนี้…กำลังจะเปลี่ยนโลกด้วย!
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้BIZ: ศาลสหรัฐฯ ฟันธง!
เอาข้อมูลมาเทรน AI
‘ไม่ใช่’ การละเมิดลิขสิทธิ์
และคำตัดสินครั้งนี้…กำลังจะเปลี่ยนโลกด้วย!
.
ตั้งแต่ Generative AI แพร่กระจายทั่วโลก การใช้ AI ในหมู่คนทั่วไปก็เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล และก็ไม่แปลกว่าหลายปีนี้นักวิเคราะห์แทบทุกสายก็เห็นตรงกันว่า การใช้ AI ตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงการทำงาน มันกำลังจะเปลี่ยนแปลงโลกกระทั่งระบบเศรษฐกิจทั้งหมดแน่ๆ
.
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าไม่มีการพยายามจะ 'สกัดดาวรุ่ง' เพราะ 'อุตสาหกรรมสร้างสรรค์' ทั้งหมด ตั้งแต่หนังสือ ข่าว ดนตรี ภาพถ่าย ภาพยนตร์ แอนิเมชัน ไปจนภาพเขียน ก็ล้วนอ้างว่าตนได้รับ 'ผลกระทบ' ร้ายแรงจาก AI โดยมองว่าถ้าไม่มี 'กฎหมายที่เป็นธรรม' อุตสาหกรรมของตนจะหายไปจากโลกแน่ๆ
.
และทุกฝ่ายสู้ และ 'สู้' แบบเดียวกันเป๊ะ คือทำการฟ้องบริษัทที่สร้าง AI ขึ้นมาทั้งหมดว่าการเอา 'งานมีลิขสิทธิ์' ไปทำการเทรน AI ถือว่าเป็นการ 'ละเมิดลิขสิทธิ์' โดยคดีแบบนี้ปรากฏทั่วไปหมด เรียกได้ว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คดีแบบนี้เกิดในแทบทุกอุตสาหกรรม เพราะบรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์ ถ้าไม่ลุกขึ้นสู้ก็ตายสถานเดียว
.
ถึงตรงนี้ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า กฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งโลกไม่มีการระบุชัดเจนว่าการเอาข้อมูลมาเทรน AI เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าไม่ใช่การละเมิดเช่นกัน ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร เพราะกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งโลกถูกเขียนและสร้างมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก ก่อนโลกนี้จะมีเทคโนโลยี Generative AI
.
ดังนั้นการเดิมพันในการฟ้องคดีพวกนี้ คือการเกลี้ยกล่อมศาลว่า “การคุ้มครองลิขสิทธิ์' ตามกฎหมายนั้นรวมถึงการให้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเอา 'งานอันมีลิขสิทธิ์' ไปเทรน AI ผู้ใดที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์”
.
ส่วนฝ่ายที่โดนฟ้องก็คือบริษัทเทคโนโลยีพวกนี้ก็สู้ได้หลายทางเลย อย่างแรกคือสู้ได้ชัดๆ เลยว่าในกฎหมายไม่มีการระบุว่าการคุ้มครองลิขสิทธิ์รวมถึงการเอางานอันมีลิขสิทธิ์ไปเทรน หรือจะสู้ว่าทั้งหมดมันเป็นข้อมูลในพื้นที่สาธารณะที่ในระดับของ 'ข้อเท็จจริง' ต้องถือว่าเป็นของสาธารณะ ที่ใครจะนำไปทำอะไรก็ได้ ฯลฯ
.
ความน่าสนใจมากๆ คือ ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2025 มีคำตัดสินแรกของคดีแบบนี้ที่ศาลยืนยันว่าการนำเอาข้อมูล AI ไปใช้ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยชัยชนะที่ว่านี้เป็นชัยชนะของบริษัท Anthropic ต่อเหล่า 'นักเขียน' ที่ร่วมกันฟ้อง Anthropic ฐานที่ทางบริษัทเอาข้อมูลจากหนังสือของพวกเขาไปเทรน AI ที่ชื่อ Claude ซึ่งเป็น AI หลักของ Anthropic
.
ประเด็นที่น่าสนใจและน่าสนใจที่สุดของคดีนี้คือ นี่เป็นครั้งแรกที่ฝ่าย 'บริษัทเทคโนโลยี' มีชัยชนะแบบขาวสะอาดในกรณีลิขสิทธิ์ AI เพราะก่อนหน้านี้แม้ว่าชัยชนะจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่มันเกิดเพราะว่าศาลดูจะไม่อยากตัดสินเรื่องใหญ่ขนาดนี้ และตัดสินยกฟ้องเพราะอ้างว่าฝ่ายโจทก์ให้หลักฐานมาไม่พอบ้าง เขียนคำฟ้องมาไม่ดีบ้าง
.
แต่เคส Anthropic เป็นครั้งแรกที่ศาลอเมริกันฟันธงแบบชัดๆ เลยว่าการนำข้อมูลใดๆ ไปเทรน AI ถือว่าเข้าหลัก Fair use หรือถ้าใช้ภาษากฎหมายไทยก็จะเรียกว่าเข้า 'ข้อยกเว้นในการละเมิดลิขสิทธิ์'
.
ซึ่งในทางปฏิบัติคือ คำตัดสินนี้ถือเป็น 'กฎหมาย' ในระบบกฎหมายอเมริกัน และนี่หมายความว่าเว้นแต่จะมีการอุทธรณ์ในศาลอุทธรณ์ระดับภูมิภาคของอเมริกา หรือมีการยื่นให้ศาลสูงสุดตีความ การนำเอาข้อมูลใดๆ ไปเทรน AI ก็น่าจะถือว่าถูกกฎหมายอเมริกา
.
นี่เป็นเรื่องใหญ่โตระดับใหญ่โตมาก เพราะมันพลิกการเทรน AI จาก 'พื้นที่สีเทา' ให้เป็น 'พื้นที่สีขาว' คือศาลรับรองว่ามันถูกกฎหมายเลยทีเดียว และนี่คือการพ่ายแพ้ที่ใหญ่โตมากของอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ทั้งหมดในอเมริกา และก็แน่นอน มันน่าจะส่งสัญญาณว่า 'ศาล' ทั้งโลกควรจะตัดสินคดีแบบนี้ไปในทิศทางใด
.
ทั้งนี้อีกทางหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงผลการตัดสินได้ ก็คือให้ทางสภาคองเกรสออกบทแก้กฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นในยุคที่เหล่าบริษัทเทคโนโลยีเรืองอำนาจอย่างทุกวันนี้
.
และก็คงไม่เกินไปที่จะบอกว่า ถ้าธุรกิจงานสร้างสรรค์เหมือนงานปาร์ตี้แล้ว คำตัดสินของศาลอเมริกันกรณี Anthropic นี้ก็เหมือนการ 'เปิดไฟ' เพื่อบอกว่าปาร์ตี้จบแล้ว ทุกคนเตรียมแยกย้ายกลับบ้านไปทำอย่างอื่นกัน
.
#BIZ #BrandThink #CreativeChange
#Empowering #Diversity #PositiveImpact
🧑🏫🧑🏫🔨ศาลสหรัฐฯ ฟันธง! เอาข้อมูลมาเทรน AI ‘ไม่ใช่’ การละเมิดลิขสิทธิ์ และคำตัดสินครั้งนี้…กำลังจะเปลี่ยนโลกด้วย!