สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีหน้าที่รับร้องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้สินค้าหรือบริการ เช่น การทำสัญญาต่าง ๆ การโฆษณาที่เกินความเป็นจริง การที่สินค้าควบคุมฉลากไม่ติดฉลาก สินค้าอันตรายต่าง ๆ ธุรกิจขายตรงหรือแม้กระทั่งการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์แต่กลับได้ของไม่ตรงกับที่สั่ง เป็นต้น
ผู้บริโภคหลายท่านมักจะคิดว่าเมื่อต้องการร้องทุกข์ในเรื่องต่าง ๆ ต้องมาร้องเรียนที่ สคบ. อย่าไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเรื่องทุกปัญหาที่ สคบ. นั้นจะรับเรื่องไว้ดำเนินการ แม้ว่าอยากจะช่วยเหลือทุกท่าน แต่บางเรื่องนั้นมีหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายรองรับและเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง เช่น เรื่องอาหารและยาจะมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับผิดชอบดูแล หรือเรื่องการประกันภัยจะมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นหน่วยงานตามกฎหมายที่รับผิดชอบดูแลนั่นเอง ตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒ เรื่องที่ สคบ. ไม่รับดำเนินการ อาทิ
๑. เรื่องที่ผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาลด้วยตนเองแล้ว
๒. เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเสร็จเด็ดขาด ๓. เรื่องที่ผู้บริโภคได้ใช้สิทธิทางศาลด้วยตนเอง แต่จะให้ สคบ. หรือคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา
๔. เรื่องที่อยู่ในกระบวนการล้มละลายหรือฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย ๕. เรื่องที่อายุความในการดำเนินคดีสิ้นสุดแล้ว
๖. เรื่องที่ผู้บริโภคได้ยื่นไว้ไม่มีความชัดเจน ไม่สามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ร้องทุกข์ ไม่มีการลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์ ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการร้องทุกข์หรือไม่มีการติดหรือชำระค่าอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
๗. เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ไม่ใช่ผู้บริโภคตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
๘. เรื่องที่ สคบ. ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์มาพบหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม แต่ผู้บริโภคไม่มาพบ ไม่ส่งเอกสารหรือให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ผู้บริโภคสามารถรับข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจาก สคบ. ได้ทางแอพพลิเคชั่น OCPB Connect หรือ www.ocpb.go.th
ต้องขออภัย...ที่ สคบ. ไม่ได้รับร้องเรียนทุกเรื่อง
ผู้บริโภคหลายท่านมักจะคิดว่าเมื่อต้องการร้องทุกข์ในเรื่องต่าง ๆ ต้องมาร้องเรียนที่ สคบ. อย่าไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเรื่องทุกปัญหาที่ สคบ. นั้นจะรับเรื่องไว้ดำเนินการ แม้ว่าอยากจะช่วยเหลือทุกท่าน แต่บางเรื่องนั้นมีหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายรองรับและเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง เช่น เรื่องอาหารและยาจะมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับผิดชอบดูแล หรือเรื่องการประกันภัยจะมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นหน่วยงานตามกฎหมายที่รับผิดชอบดูแลนั่นเอง ตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒ เรื่องที่ สคบ. ไม่รับดำเนินการ อาทิ
๑. เรื่องที่ผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาลด้วยตนเองแล้ว
๒. เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเสร็จเด็ดขาด ๓. เรื่องที่ผู้บริโภคได้ใช้สิทธิทางศาลด้วยตนเอง แต่จะให้ สคบ. หรือคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา
๔. เรื่องที่อยู่ในกระบวนการล้มละลายหรือฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย ๕. เรื่องที่อายุความในการดำเนินคดีสิ้นสุดแล้ว
๖. เรื่องที่ผู้บริโภคได้ยื่นไว้ไม่มีความชัดเจน ไม่สามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ร้องทุกข์ ไม่มีการลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์ ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการร้องทุกข์หรือไม่มีการติดหรือชำระค่าอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
๗. เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ไม่ใช่ผู้บริโภคตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
๘. เรื่องที่ สคบ. ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์มาพบหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม แต่ผู้บริโภคไม่มาพบ ไม่ส่งเอกสารหรือให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ผู้บริโภคสามารถรับข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจาก สคบ. ได้ทางแอพพลิเคชั่น OCPB Connect หรือ www.ocpb.go.th