จากเฟส The Coverage
·
https://www.thecoverage.info/news/content/9133?fbclid=IwY2xjawLIigBleHRuA2FlbQIxMABicmlkETFJa0tvTkFlcDAzT1hCTmhnAR7c6qtoTJ3xdq92D9ISSlUTcfoExlpiPR4FHc9OEEHGWnuammltWG0nykj8jA_aem_Te0ANuInrIY_zwxGuSYlxA
กลางเดือน มิ.ย. 2568 ภาคประชาชนที่ชื่อว่า เครือข่ายผู้สนับสนุนการดูแลแบบประคับประคอง
ที่มีทั้งบุคลากรแพทย์ ประชาชนจากหลายองค์กร เช่น
กลุ่มแพทย์เวชศาสตร์ประคับประคอง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่ม Peaceful Death ที่เข้าร่วมกันในนามนี้
ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) เพื่อขอให้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) รับรองสิทธิ
“ลาเพื่อดูแลในวาระสุดท้าย” เป็นสวัสดิการ สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
ลาเพื่อดูแลในวาระสุดท้าย หรือที่เรียกให้เข้าใจว่า "ลาเพื่อไปบอกลา"
ซึ่งเครือข่ายฯ พยายามผลักดันให้เป็นสิทธิของผู้ประกันตนตามกฎหมายมีโอกาสได้ลางานเพื่อไปดูแล
คนรัก ญาติพี่น้อง สมาชิกในครอบครัวที่เจ็บป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต หรืออยู่ในช่วงการดูแลประคับประคองในระยะท้าย
เพื่อเติมเต็มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเสริมและเติมกำลังใจให้กันจนวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะจากไปอย่างสงบ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในระบบประกันสังคม ไม่มีสวัสดิการให้ผู้ประกัน "ลา" ได้ในแบบนี้
และการเคลื่อนไหวครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายใหญ่ให้ผู้ประกันตนได้มีสิทธิดังกล่าว บนข้อเสนอที่เครือข่ายได้ยื่น
คือ ให้ผู้ประกันตนสามารถลาได้ 30 - 60 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน..............
................................
นพ.อิทธิพล วงษ์พรหม แพทย์เวชศาสตร์ประคับประคอง หรือแพทย์ Palliative care คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาฯ
“จุดเริ่มต้นของการออกมายื่นหนังสือคือคำถามซ้ำๆ จากครอบครัวของผู้ป่วยว่า คนไข้จะเสียชีวิตเมื่อไหร่
คำถามเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมใจ แต่เป็นไปเพื่อที่ญาติจะวางแผนลางานหรือวางแผนการจัดพิธีกรรมทางศาสนา
ซึ่งหลายคนใช้วันลาที่มีอย่างจำกัดไปหมดแล้ว"
และเมื่อเวลาสุดท้ายของผ็ป่วยมาถึง กลับมีครอบครัวจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่กับคนที่รักในวาระสุดท้ายอย่างน่าเศร้าใจ
และหลายครั้งแม้แต่ในนาทีสุดท้าย ก็พบว่ามีผู้ป่วยหลายคนที่เรียกหาอยากเห็นลูกหลาน ญาติพี่น้องอยู่ข้างๆ
แม้พูดไม่ได้แล้ว พวกเขาแค่อยากรับรู้ว่าตนเองไม่ได้จากไปตามลำพัง” ” หมออิทธิพล กล่าว
ดังนั้น หากการลางานคือตัวขัดขวางไม่ให้ครอบครัวอยู่เคียงข้างในเวลานั้น
มันก็สวนทางกับหัวใจของศาสตร์การดูแลระยะท้าย ที่ไม่ได้ดูแลแค่ผู้ป่วย แต่ดูแลทั้งครอบครัว
เพราะครอบครัวคือหัวใจสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
อ่านเต็มๆได้ตามลิ้งค์ ครับ
คิดว่า นายจ้าง จะให้ ลูกจ้าง ลางานเพื่อไปดูใจ ครั้งสุดท้าย ได้นานกี่วัน ( มีคนขอ30 - 60 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน )
·https://www.thecoverage.info/news/content/9133?fbclid=IwY2xjawLIigBleHRuA2FlbQIxMABicmlkETFJa0tvTkFlcDAzT1hCTmhnAR7c6qtoTJ3xdq92D9ISSlUTcfoExlpiPR4FHc9OEEHGWnuammltWG0nykj8jA_aem_Te0ANuInrIY_zwxGuSYlxA
กลางเดือน มิ.ย. 2568 ภาคประชาชนที่ชื่อว่า เครือข่ายผู้สนับสนุนการดูแลแบบประคับประคอง
ที่มีทั้งบุคลากรแพทย์ ประชาชนจากหลายองค์กร เช่น
กลุ่มแพทย์เวชศาสตร์ประคับประคอง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่ม Peaceful Death ที่เข้าร่วมกันในนามนี้
ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) เพื่อขอให้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) รับรองสิทธิ
“ลาเพื่อดูแลในวาระสุดท้าย” เป็นสวัสดิการ สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
ลาเพื่อดูแลในวาระสุดท้าย หรือที่เรียกให้เข้าใจว่า "ลาเพื่อไปบอกลา"
ซึ่งเครือข่ายฯ พยายามผลักดันให้เป็นสิทธิของผู้ประกันตนตามกฎหมายมีโอกาสได้ลางานเพื่อไปดูแล
คนรัก ญาติพี่น้อง สมาชิกในครอบครัวที่เจ็บป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต หรืออยู่ในช่วงการดูแลประคับประคองในระยะท้าย
เพื่อเติมเต็มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเสริมและเติมกำลังใจให้กันจนวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะจากไปอย่างสงบ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในระบบประกันสังคม ไม่มีสวัสดิการให้ผู้ประกัน "ลา" ได้ในแบบนี้
และการเคลื่อนไหวครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายใหญ่ให้ผู้ประกันตนได้มีสิทธิดังกล่าว บนข้อเสนอที่เครือข่ายได้ยื่น
คือ ให้ผู้ประกันตนสามารถลาได้ 30 - 60 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน..............
................................ นพ.อิทธิพล วงษ์พรหม แพทย์เวชศาสตร์ประคับประคอง หรือแพทย์ Palliative care คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาฯ