ในชีวิตประจำวัน เราพึ่งพาการมองเห็นแทบตลอดเวลา แต่มีโรคหนึ่งที่สามารถพรากการมองเห็นไปอย่างถาวรโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ
“ต้อหิน” (Glaucoma) หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการตาบอดถาวรทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการในระยะแรก และจะเริ่มสังเกตได้ก็ต่อเมื่อการมองเห็นรอบข้างแคบลงหรือสูญเสียไปแล้ว
✨
ต้อหินคืออะไร?
ต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทตา ซึ่งส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับความดันในลูกตาที่สูงเกินไป หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้
✨
อาการของโรคต้อหิน
มักไม่ปรากฏชัดเจนในระยะแรก และจะเกิดอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของโรคต้อหิน ดังนี้
👁️
ต้อหินมุมเปิด (Primary Open-Angle Glaucoma)
พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการอุดตันของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงภายในตา แม้มุมระบายจะเปิดอยู่ ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นอย่างช้า ๆ โดยไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าการมองเห็นรอบข้างจะเริ่มแคบลง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การตาบอดถาวรได้
👁️
ต้อหินมุมปิด (Angle-Closure Glaucoma)
เกิดจากมุมระบายน้ำในลูกตาถูกปิด ทำให้น้ำในตาไม่สามารถระบายออกได้ หากเป็นชนิดเฉียบพลัน ความดันตาจะพุ่งสูงทันที ส่งผลให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง ตามัว เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ คลื่นไส้ และอาเจียน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
👁️
ต้อหินชนิดความดันตาปกติ (Normal-Tension Glaucoma)
แม้ความดันตาจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เส้นประสาทตากลับถูกทำลาย โดยมักเกี่ยวข้องปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องของความดันตา เช่น การไหลเวียนของเลือดที่ไม่ดี หรือภาวะหลอดเลือดผิดปกติ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งเกิดการสูญเสียการมองเห็น
👁️
ต้อหินทุติยภูมิ (Secondary Glaucoma)
เกิดจากโรคหรือปัจจัยอื่น เช่น การอักเสบในตา อุบัติเหตุทางตา ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้นและทำลายเส้นประสาทตา
👁️
ต้อหินในเด็ก (Congenital Glaucoma)
พบในทารกหรือเด็กเล็ก เกิดจากความผิดปกติของระบบระบายน้ำในลูกตาตั้งแต่กำเนิด เด็กจะมีอาการลูกตาใหญ่ น้ำตาไหลมาก กลัวแสง และกระจกตาขุ่น จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว
โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการประคองไม่ให้เส้นประสาทตาเสียหายมากขึ้น เพื่อคงการมองเห็นให้นานที่สุด โดยมีแนวทางการรักษา ดังนี้
💖การรักษาด้วยยา
ใช้ยาหยอดตาเพื่อลดการสร้างน้ำในลูกตา หรือช่วยให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น เพื่อลดความดันตา หลังจากนั้นแพทย์จะติดตามอาการต่อเนื่อง หากรักษาวิธีนี้แล้วไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาด้วยการใช้เลเซอร์ร่วมด้วย
💖การรักษาด้วยเลเซอร์
เพื่อลดความดันภายในลูกตา โดยช่วยให้ของเหลวภายในตาไหลเวียน หรือระบายออกได้ดีขึ้น ซึ่งชนิดของเลเซอร์ที่ใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินที่ผู้ป่วยเป็น โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
👉ต้อหินมุมปิด (Angle-closure glaucoma) จักษุแพทย์จะใช้เลเซอร์ชนิดที่เรียกว่า
Laser Peripheral Iridotomy (LPI) ยิงเลเซอร์เจาะรูขนาดเล็กบนม่านตา เพื่อสร้างช่องทางใหม่ให้ของเหลวในลูกตาสามารถไหลผ่านได้อย่างสะดวกมากขึ้น วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน หรือในผู้ที่มีมุมระบายน้ำแคบจากโครงสร้างทางกายภาพของตา
👉ต้อหินมุมเปิด (Primary Open-Angle Glaucoma) ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะใช้เลเซอร์ที่เรียกว่า Selective Laser Trabeculoplasty (SLT) ซึ่งเป็นการยิงเลเซอร์พลังงานต่ำไปยังบริเวณมุมระบายน้ำของลูกตา (trabecular meshwork) เพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์บริเวณนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำภายในตา ลดความดันตาได้โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง ซึ่งมักใช้ในกรณีที่ยาหยอดตาควบคุมความดันตาได้ไม่ดีพอ หรือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาหยอดตาได้ต่อเนื่อง
💖การผ่าตัดต้อหิน
หากการใช้ยาและเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันในตาได้ แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อลดความดันภายในลูกตา ป้องกันไม่ให้เส้นประสาทตาถูกทำลายเพิ่มเติม โดยมีวิธีผ่าตัด ดังนี้
✅Trabeculectomy
✅Glaucoma Drainage Device
✅Minimally Invasive Bleb Surgery
📌ตรวจต้อหินก่อนสายเกินไป📌
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือมีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ควรตรวจสุขภาพตาปีละ 1 ครั้ง โรคต้อหินแม้ไม่มีสัญญาณเตือน แต่หากพบเร็ว สามารถรักษาและชะลอการสูญเสียการมองเห็นได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์ตา โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000
ต้อหินภัยเงียบ เสี่ยงตาบอดไม่รู้ตัว
ในชีวิตประจำวัน เราพึ่งพาการมองเห็นแทบตลอดเวลา แต่มีโรคหนึ่งที่สามารถพรากการมองเห็นไปอย่างถาวรโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ “ต้อหิน” (Glaucoma) หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการตาบอดถาวรทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการในระยะแรก และจะเริ่มสังเกตได้ก็ต่อเมื่อการมองเห็นรอบข้างแคบลงหรือสูญเสียไปแล้ว
✨ต้อหินคืออะไร?
ต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทตา ซึ่งส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับความดันในลูกตาที่สูงเกินไป หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้
✨อาการของโรคต้อหิน
มักไม่ปรากฏชัดเจนในระยะแรก และจะเกิดอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของโรคต้อหิน ดังนี้
👁️ต้อหินมุมเปิด (Primary Open-Angle Glaucoma)
พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการอุดตันของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงภายในตา แม้มุมระบายจะเปิดอยู่ ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นอย่างช้า ๆ โดยไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าการมองเห็นรอบข้างจะเริ่มแคบลง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การตาบอดถาวรได้
👁️ต้อหินมุมปิด (Angle-Closure Glaucoma)
เกิดจากมุมระบายน้ำในลูกตาถูกปิด ทำให้น้ำในตาไม่สามารถระบายออกได้ หากเป็นชนิดเฉียบพลัน ความดันตาจะพุ่งสูงทันที ส่งผลให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง ตามัว เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ คลื่นไส้ และอาเจียน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
👁️ต้อหินชนิดความดันตาปกติ (Normal-Tension Glaucoma)
แม้ความดันตาจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เส้นประสาทตากลับถูกทำลาย โดยมักเกี่ยวข้องปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องของความดันตา เช่น การไหลเวียนของเลือดที่ไม่ดี หรือภาวะหลอดเลือดผิดปกติ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งเกิดการสูญเสียการมองเห็น
👁️ต้อหินทุติยภูมิ (Secondary Glaucoma)
เกิดจากโรคหรือปัจจัยอื่น เช่น การอักเสบในตา อุบัติเหตุทางตา ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้นและทำลายเส้นประสาทตา
👁️ต้อหินในเด็ก (Congenital Glaucoma)
พบในทารกหรือเด็กเล็ก เกิดจากความผิดปกติของระบบระบายน้ำในลูกตาตั้งแต่กำเนิด เด็กจะมีอาการลูกตาใหญ่ น้ำตาไหลมาก กลัวแสง และกระจกตาขุ่น จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว
โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการประคองไม่ให้เส้นประสาทตาเสียหายมากขึ้น เพื่อคงการมองเห็นให้นานที่สุด โดยมีแนวทางการรักษา ดังนี้
💖การรักษาด้วยยา
ใช้ยาหยอดตาเพื่อลดการสร้างน้ำในลูกตา หรือช่วยให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น เพื่อลดความดันตา หลังจากนั้นแพทย์จะติดตามอาการต่อเนื่อง หากรักษาวิธีนี้แล้วไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาด้วยการใช้เลเซอร์ร่วมด้วย
💖การรักษาด้วยเลเซอร์
เพื่อลดความดันภายในลูกตา โดยช่วยให้ของเหลวภายในตาไหลเวียน หรือระบายออกได้ดีขึ้น ซึ่งชนิดของเลเซอร์ที่ใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินที่ผู้ป่วยเป็น โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
👉ต้อหินมุมปิด (Angle-closure glaucoma) จักษุแพทย์จะใช้เลเซอร์ชนิดที่เรียกว่า Laser Peripheral Iridotomy (LPI) ยิงเลเซอร์เจาะรูขนาดเล็กบนม่านตา เพื่อสร้างช่องทางใหม่ให้ของเหลวในลูกตาสามารถไหลผ่านได้อย่างสะดวกมากขึ้น วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน หรือในผู้ที่มีมุมระบายน้ำแคบจากโครงสร้างทางกายภาพของตา
👉ต้อหินมุมเปิด (Primary Open-Angle Glaucoma) ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะใช้เลเซอร์ที่เรียกว่า Selective Laser Trabeculoplasty (SLT) ซึ่งเป็นการยิงเลเซอร์พลังงานต่ำไปยังบริเวณมุมระบายน้ำของลูกตา (trabecular meshwork) เพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์บริเวณนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำภายในตา ลดความดันตาได้โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง ซึ่งมักใช้ในกรณีที่ยาหยอดตาควบคุมความดันตาได้ไม่ดีพอ หรือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาหยอดตาได้ต่อเนื่อง
💖การผ่าตัดต้อหิน
หากการใช้ยาและเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันในตาได้ แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อลดความดันภายในลูกตา ป้องกันไม่ให้เส้นประสาทตาถูกทำลายเพิ่มเติม โดยมีวิธีผ่าตัด ดังนี้
✅Trabeculectomy
✅Glaucoma Drainage Device
✅Minimally Invasive Bleb Surgery
📌ตรวจต้อหินก่อนสายเกินไป📌
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือมีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ควรตรวจสุขภาพตาปีละ 1 ครั้ง โรคต้อหินแม้ไม่มีสัญญาณเตือน แต่หากพบเร็ว สามารถรักษาและชะลอการสูญเสียการมองเห็นได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้