74 ประเทศและดินแดนไหนบ้าง ที่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลก
ช่วงนี้ เราคงได้ยินคำว่า “ศาลโลก” หรือชื่อเต็มคึอ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ บ่อยขึ้น นับตั้งแต่ความขัดแย้งเรื่องดินแดนพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชาปะทุขึ้นอีกครั้ง สร้างความสนใจเกี่ยวกับบทบาทของศาลโลกที่มีต่อทั้ง 2 ประเทศ
“ศาลโลก” ผู้เป็นดั่งองค์กรตุลาการของ UN ทำหน้าที่ตัดสินคดีพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ มานานกว่า 70 ปี
ศาลนี้มีที่ตั้งอยู่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน ซึ่งทั้งหมดได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง 9 ปี โดยจะต้องเป็นผู้ได้รับการเลือกมาจากที่ประชุมของสมัชชาแห่งสหประชาชาติ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ส่วนสำคัญคือ บุคคลที่จะเป็นคู่ความในคดีทั้งฝ่ายโจทย์และจำเลย ต้องเป็นรัฐเท่านั้น เช่น ไทยและกัมพูชา เป็นต้น
แล้วไทยไม่ไปขึ้นศาลโลกสามารถทำได้ไหม คำตอบคือ “ได้”
เพราะถึงแม้ศาลแห่งนี้ จะมีอำนาจตัดสินคดีความระหว่างรัฐกับรัฐ แต่ความเป็นจริง ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะไม่มีเขตอำนาจศาลในลักษณะบังคับได้ ฉะนั้น รัฐสามารถที่จะไม่ยอมรับอำนาจศาลได้ และไม่มาปรากฎตัวต่อศาลก็ได้ หากรัฐนั้นไม่ยินยอม
ผลจึงทำให้ศาลมีเขตอำนาจจำกัด เพราะต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับอำนาจศาลของรัฐที่เกี่ยวข้องในคดีพิพาทด้วย เขตอำนาจศาลจึงเป็นไปในลักษณะของเขตอำนาจทางเลือกไม่ใช่เขตอำนาจบังคับ ไม่เหมือนกับที่เวลาเราฟ้องร้องใครสักคน ศาลก็จะสามารถบังคับให้อีกฝ่ายทำตามกฎหมายได้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีประเทศที่ยอมรับอำนาจศาลโลกทั้งสิ้น 74 ประเทศและดินแดน จากจำนวนสมาชิก UN ทั้งหมด 193 ประเทศและดินแดน โดยประเทศไทยไม่มีรายชื่ออยู่ในประเทศที่ยอมรับอำนาจศาลดังกล่าว
เช็ครายชื่อประเทศที่ยอมรับอำนาจศาลโลกได้ที่นี่:
https://www.icj-cij.org/declarations
https://www.facebook.com/share/p/1FmhDsyyBs/
74 ประเทศและดินแดนไหนบ้าง ที่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลก
ช่วงนี้ เราคงได้ยินคำว่า “ศาลโลก” หรือชื่อเต็มคึอ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ บ่อยขึ้น นับตั้งแต่ความขัดแย้งเรื่องดินแดนพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชาปะทุขึ้นอีกครั้ง สร้างความสนใจเกี่ยวกับบทบาทของศาลโลกที่มีต่อทั้ง 2 ประเทศ
“ศาลโลก” ผู้เป็นดั่งองค์กรตุลาการของ UN ทำหน้าที่ตัดสินคดีพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ มานานกว่า 70 ปี
ศาลนี้มีที่ตั้งอยู่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน ซึ่งทั้งหมดได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง 9 ปี โดยจะต้องเป็นผู้ได้รับการเลือกมาจากที่ประชุมของสมัชชาแห่งสหประชาชาติ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ส่วนสำคัญคือ บุคคลที่จะเป็นคู่ความในคดีทั้งฝ่ายโจทย์และจำเลย ต้องเป็นรัฐเท่านั้น เช่น ไทยและกัมพูชา เป็นต้น
แล้วไทยไม่ไปขึ้นศาลโลกสามารถทำได้ไหม คำตอบคือ “ได้”
เพราะถึงแม้ศาลแห่งนี้ จะมีอำนาจตัดสินคดีความระหว่างรัฐกับรัฐ แต่ความเป็นจริง ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะไม่มีเขตอำนาจศาลในลักษณะบังคับได้ ฉะนั้น รัฐสามารถที่จะไม่ยอมรับอำนาจศาลได้ และไม่มาปรากฎตัวต่อศาลก็ได้ หากรัฐนั้นไม่ยินยอม
ผลจึงทำให้ศาลมีเขตอำนาจจำกัด เพราะต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับอำนาจศาลของรัฐที่เกี่ยวข้องในคดีพิพาทด้วย เขตอำนาจศาลจึงเป็นไปในลักษณะของเขตอำนาจทางเลือกไม่ใช่เขตอำนาจบังคับ ไม่เหมือนกับที่เวลาเราฟ้องร้องใครสักคน ศาลก็จะสามารถบังคับให้อีกฝ่ายทำตามกฎหมายได้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีประเทศที่ยอมรับอำนาจศาลโลกทั้งสิ้น 74 ประเทศและดินแดน จากจำนวนสมาชิก UN ทั้งหมด 193 ประเทศและดินแดน โดยประเทศไทยไม่มีรายชื่ออยู่ในประเทศที่ยอมรับอำนาจศาลดังกล่าว
เช็ครายชื่อประเทศที่ยอมรับอำนาจศาลโลกได้ที่นี่: https://www.icj-cij.org/declarations
https://www.facebook.com/share/p/1FmhDsyyBs/