หลายฝ่ายออกมาโวย
ตัดสินแบบนี้ คงไม่มีพรรคใดกล้าออกแบบนโยบายใหม่ๆ
กรณีความผิดของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ในคดีจำนำข้าว
ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่ มีการท้วงติงแล้วจากองค์กรอิสระ
ฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล ปปช สตง ในยุคนั้น
ผู้นำรัฐบาลควรรับฟัง และควบคุมการทุจริตอย่างจริงจัง
ซึ่งคงไม่ใช่วิธี นายกฯ ไปดูเอง เช็คเอง ทุกกระสอบ
แต่ถูกคาดหวังให้สั่งการ วางระบบการควบคุมอย่างเข้มข้น
และอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล
เข้าทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้การตรวจสอบ
มีการ cross-check จากหลายฝ่าย
เป็นรัฐบาลที่ไม่ละเลยข้อมูลสาระและอำนาจ
ของรัฐสภา องค์กรอิสระ และศาล
ส่วนเรื่องออกแบบนโยบายใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ศาลไม่ได้ติดใจตรงนั้น
นโยบายที่ควรจะเป็น คือ นโยบายที่มั่นใจว่า
จะไม่ทำให้การลงทุนเชิงภาษีสูญเปล่า
และมีการกำกับดูแลการทุจริตโดยผู้นำ
ประเทศไทยมีโครงการมากมายที่มีทุจริต
อย่างไรก็ดี หากผู้นำไม่สามารถทราบได้ว่ามีทุจริต
แต่พบในภายหลังว่ามีทุจริตที่กระทำโดยผู้อื่น
ผู้นำก็ไม่มีส่วนผิด
แต่หากได้กลิ่นทุจริต แล้วยังประกาศเดินหน้าโครงการ
ไม่ใส่ใจต่อประเด็นทุจริตเท่าที่ควร
รวมถึงบริหารเงินภาษีจำนวนมาก บนความประมาท
ศาลก็อาจใช้บรรทัดฐานเดียวกัน
ผู้ใช้งบประมาณจึงควรพึงตระหนักว่า
กำลังนำเงินของประชาชนไปเสี่ยง
ส่วนประเด็นที่ว่า
"บริหารแล้วเกิดกำไร เงินเป็นของรัฐ
บริหารขาดทุน ผู้นำต้องชดใช้ ไม่แฟร์ "
ขอตีความว่า กำไร / ขาดทุน ศาลไม่ติดใจ
หากการขาดทุนนั้นอยู่บนกระบวนการที่ถูก กม
ข้อค้านที่ว่า
"ผู้นำมีงานมากมาย ดูแลหลายโครงการ
อาจไม่สามารถใส่ใจกับทุกโครงการ"
แต่หากเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูงๆ
น่าจะต้องใส่ใจตรวจตราทุจริตเป็นพิเศษ
และอันที่จริง ผู้นำควรได้รับการอบรมความรู้เชิงสรุป
เรื่อง กม บทลงโทษต่างๆ ก่อนขึ้นสู่ตำแหน่ง
เพื่อให้ดำเนินงานได้ทั้งด้านประสิทธิภาพ
และด้านความรอบคอบระมัดระวัง
คิดช่วยประชาชนผู้ยากไร้ เป็นเรื่องที่น่ายกย่อง
แต่วิธีการ ต้องไม่ทำให้ฐานะทางการเงินและภาพลักษณ์โดยรวม
ของประเทศแย่ลง
การออกแบบนโยบายที่ดี คือ
1. ไม่ซับซ้อน มีแนวโน้มดำเนินการได้จริง
2. ถูก กม.
3. รัฐเป็นกลาง ไม่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ที่เข้ามากอบโกยอย่างผิด กม.
4. นโยบายที่สุ่มเสี่ยงควรกำหนดแบบค่อยเป็นค่อยไป
เช่น ทำปีละ 20% เชิงทดลอง ถ้าสำเร็จ ปีหน้าค่อยเพิ่มปริมาณ
5. ไม่โลภเรื่องคะแนนเสียง หากประเทศพัฒนา ประชาชนย่อมให้คะแนน
อย่าดูถูกประชาชน โดยการแจก แล้วเชื่อว่า จะได้คะแนนเสียง
สร้างค่านิยมใหม่ที่มีคุณค่ากว่า อาทิ
A.
เน้นการพัฒนาเชิงระบบ เช่น รถไฟ โรงพยาบาล อินเตอร์เน็ต
อธิบายง่ายๆ ไม่ต้องเทน้ำเสิร์ฟประชาชนคนละแก้ว โดยใช้เงินภาษีไปซื้อ
แต่ซื้อเครื่องกรองน้ำที่มีคุณภาพ ให้ประชาชนเอาขวดมากรอกน้ำเอง
ติดตั้งหลายจุดให้เพียงพอ
B.
เน้นการพัฒนาคน แล้วคนไปพัฒนาชาติ โดยเฉพาะโอกาส
ทางการศึกษานอกระบบ ที่คนส่วนใหญ่ควรเข้าถึงความรู้ได้ในราคาประหยัด หรือ ฟรี
เพราะการประกอบอาชีพในยุคใหม่มีหลากหลายมากขึ้น มีการเปลี่ยนงานมากขึ้น
C.
เน้นพัฒนา กม ให้ทันสมัย ทำให้ประชาชนใช้ชีวิตได้ง่าย
และทำมาหากินได้ง่าย มีความรู้สึกเท่าเทียม และมีทางเลือกมากขึ้น
เช่น ยกเลิก กม เกณฑ์ทหาร ยกเลิก กม. ใช้นางสาว แต่ไม่มีนายสาว(สิทธิสตรี)
ปรับปรุง กม เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
ให้มีความสมดุลระหว่างมาตรฐานอาชีพ/การตรวจสอบตัวบุคคลอย่างถูก กม
กับ วิธีการ ที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ยากเกินไปสำหรับประชาชนทั่วไป
ในที่นี้ หมายถึง อาชีพที่
ไม่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการเชิงลึก เช่น นวดแผนไทย ไกด์
รวมถึงการพัฒนาการบริการของภาครัฐ
ซึ่งรัฐต้องลงทุนกลไกอำนวยความสะดวกและระบบความปลอดภัย เช่น ใช้ระบบออนไลน์
ให้ประชาชนติดตามเอกสารได้ กล่าวคือ ส่งหนังสือร้องเรียน/นำเสนอโครงการแล้ว ติดตามได้ว่าเรื่องอยู่ขั้นตอนใด
การใช้ลายนิ้วมือในระบบออนไลน์ หรือ อื่นๆ ที่มากกว่าบัตรประชาชน เพื่อป้องกันการสวมรอย
คดีจำนำข้าวกับอนาคตนโยบายสาธารณะ.. ศาลไม่ได้สั่งปิดประตูนวัตกรรม
ตัดสินแบบนี้ คงไม่มีพรรคใดกล้าออกแบบนโยบายใหม่ๆ
กรณีความผิดของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ในคดีจำนำข้าว
ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่ มีการท้วงติงแล้วจากองค์กรอิสระ
ฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล ปปช สตง ในยุคนั้น
ผู้นำรัฐบาลควรรับฟัง และควบคุมการทุจริตอย่างจริงจัง
ซึ่งคงไม่ใช่วิธี นายกฯ ไปดูเอง เช็คเอง ทุกกระสอบ
แต่ถูกคาดหวังให้สั่งการ วางระบบการควบคุมอย่างเข้มข้น
และอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล
เข้าทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้การตรวจสอบ
มีการ cross-check จากหลายฝ่าย
เป็นรัฐบาลที่ไม่ละเลยข้อมูลสาระและอำนาจ
ของรัฐสภา องค์กรอิสระ และศาล
ส่วนเรื่องออกแบบนโยบายใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ศาลไม่ได้ติดใจตรงนั้น
นโยบายที่ควรจะเป็น คือ นโยบายที่มั่นใจว่า
จะไม่ทำให้การลงทุนเชิงภาษีสูญเปล่า
และมีการกำกับดูแลการทุจริตโดยผู้นำ
ประเทศไทยมีโครงการมากมายที่มีทุจริต
อย่างไรก็ดี หากผู้นำไม่สามารถทราบได้ว่ามีทุจริต
แต่พบในภายหลังว่ามีทุจริตที่กระทำโดยผู้อื่น
ผู้นำก็ไม่มีส่วนผิด
แต่หากได้กลิ่นทุจริต แล้วยังประกาศเดินหน้าโครงการ
ไม่ใส่ใจต่อประเด็นทุจริตเท่าที่ควร
รวมถึงบริหารเงินภาษีจำนวนมาก บนความประมาท
ศาลก็อาจใช้บรรทัดฐานเดียวกัน
ผู้ใช้งบประมาณจึงควรพึงตระหนักว่า
กำลังนำเงินของประชาชนไปเสี่ยง
ส่วนประเด็นที่ว่า
"บริหารแล้วเกิดกำไร เงินเป็นของรัฐ
บริหารขาดทุน ผู้นำต้องชดใช้ ไม่แฟร์ "
ขอตีความว่า กำไร / ขาดทุน ศาลไม่ติดใจ
หากการขาดทุนนั้นอยู่บนกระบวนการที่ถูก กม
ข้อค้านที่ว่า
"ผู้นำมีงานมากมาย ดูแลหลายโครงการ
อาจไม่สามารถใส่ใจกับทุกโครงการ"
แต่หากเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูงๆ
น่าจะต้องใส่ใจตรวจตราทุจริตเป็นพิเศษ
และอันที่จริง ผู้นำควรได้รับการอบรมความรู้เชิงสรุป
เรื่อง กม บทลงโทษต่างๆ ก่อนขึ้นสู่ตำแหน่ง
เพื่อให้ดำเนินงานได้ทั้งด้านประสิทธิภาพ
และด้านความรอบคอบระมัดระวัง
คิดช่วยประชาชนผู้ยากไร้ เป็นเรื่องที่น่ายกย่อง
แต่วิธีการ ต้องไม่ทำให้ฐานะทางการเงินและภาพลักษณ์โดยรวม
ของประเทศแย่ลง
การออกแบบนโยบายที่ดี คือ
1. ไม่ซับซ้อน มีแนวโน้มดำเนินการได้จริง
2. ถูก กม.
3. รัฐเป็นกลาง ไม่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ที่เข้ามากอบโกยอย่างผิด กม.
4. นโยบายที่สุ่มเสี่ยงควรกำหนดแบบค่อยเป็นค่อยไป
เช่น ทำปีละ 20% เชิงทดลอง ถ้าสำเร็จ ปีหน้าค่อยเพิ่มปริมาณ
5. ไม่โลภเรื่องคะแนนเสียง หากประเทศพัฒนา ประชาชนย่อมให้คะแนน
อย่าดูถูกประชาชน โดยการแจก แล้วเชื่อว่า จะได้คะแนนเสียง
สร้างค่านิยมใหม่ที่มีคุณค่ากว่า อาทิ
A. เน้นการพัฒนาเชิงระบบ เช่น รถไฟ โรงพยาบาล อินเตอร์เน็ต
อธิบายง่ายๆ ไม่ต้องเทน้ำเสิร์ฟประชาชนคนละแก้ว โดยใช้เงินภาษีไปซื้อ
แต่ซื้อเครื่องกรองน้ำที่มีคุณภาพ ให้ประชาชนเอาขวดมากรอกน้ำเอง
ติดตั้งหลายจุดให้เพียงพอ
B. เน้นการพัฒนาคน แล้วคนไปพัฒนาชาติ โดยเฉพาะโอกาส
ทางการศึกษานอกระบบ ที่คนส่วนใหญ่ควรเข้าถึงความรู้ได้ในราคาประหยัด หรือ ฟรี
เพราะการประกอบอาชีพในยุคใหม่มีหลากหลายมากขึ้น มีการเปลี่ยนงานมากขึ้น
C. เน้นพัฒนา กม ให้ทันสมัย ทำให้ประชาชนใช้ชีวิตได้ง่าย
และทำมาหากินได้ง่าย มีความรู้สึกเท่าเทียม และมีทางเลือกมากขึ้น
เช่น ยกเลิก กม เกณฑ์ทหาร ยกเลิก กม. ใช้นางสาว แต่ไม่มีนายสาว(สิทธิสตรี)
ปรับปรุง กม เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
ให้มีความสมดุลระหว่างมาตรฐานอาชีพ/การตรวจสอบตัวบุคคลอย่างถูก กม
กับ วิธีการ ที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ยากเกินไปสำหรับประชาชนทั่วไป
ในที่นี้ หมายถึง อาชีพที่ไม่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการเชิงลึก เช่น นวดแผนไทย ไกด์
รวมถึงการพัฒนาการบริการของภาครัฐ
ซึ่งรัฐต้องลงทุนกลไกอำนวยความสะดวกและระบบความปลอดภัย เช่น ใช้ระบบออนไลน์
ให้ประชาชนติดตามเอกสารได้ กล่าวคือ ส่งหนังสือร้องเรียน/นำเสนอโครงการแล้ว ติดตามได้ว่าเรื่องอยู่ขั้นตอนใด
การใช้ลายนิ้วมือในระบบออนไลน์ หรือ อื่นๆ ที่มากกว่าบัตรประชาชน เพื่อป้องกันการสวมรอย