บังเอิญเรียนถึงพอดีดังนี้ครับ
ก่อนจะแปะบอกก่อนว่า การเรียนเรื่อง เจตสิกประกอบกับมหากุศลจิตดวงแรก เนี่ย เป็นการเรียนเริ่มต้นของเรื่องเจตสิกปรมัตถ์นิเทศก์นะครับ ในคัมภีร์อภิธัมมาวตาร ซึ่งลำดับการสอนการแจกแจงศัพท์เรียงตามลำดับเป็นไปตรงตาม พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ 1 นะครับ
การแปะเรื่องนี้ เพราะการยักเยื้องของคำพูดให้ผิดแผกแตกต่างออกไปนะครับ จึงขอยกชื่อเรื่องนี้ให้เป็นแบบนี้ว่า ปุถุชนเริ่มเรียนพระธรรม เปรียบได้กับ เด็กอนุบาลเริ่มเรียน ก-ไก่
เมื่อได้พิจารณาแล้ว เรียนเรื่องนี้พอดี ก็เลยยกคำสอนของอาจารย์ที่สอนเรื่อง อภิธัมมาวตาร ครั้งที่ 4 มาแปะให้ดูและศึกษากันนะครับ
ภาพที่258

ดูในยูตู๊บ
ชื่อคลิป อภิธัมมาวตาร ครั้งที่ 4
ตั้งแต่นาทีที่ 18.55 - 24.10
ฉนั้นตอนเราเห็นแล้วสงสารคนอื่นก็จะเป็นเจตสิกอื่นไป ไม่ใช่กรุณาเจตสิก
กรุณาเจตสิก จะเกิดตอน บำเพ็ญสมาธินั่นเอง นะ ตอนภาวนากาลคงรู้จักภาวนากาลนะ
ทำกรุณาเป็นปุพพะภาค หรือ ทำมุทิตาเป็นปุพพะภาค
อย่างพวกเราพลอยยินดีกับคนอื่นเขา อนุโมทนาสาธุ ก็ว่าไป ตัวนี้ไม่ใช่ มุทิตาเจตสิก นะครับ เป็นเจตสิกไหนก็ไปหาเอาเอง ก็แล้วแต่
ถ้ามุทิตาจะเกิดก็เกิดตอนทำสมาธิ นะ โดยยกมุทิตาเป็นปุพพะภาคะ
ยกสมบัติของคนที่เขามีสมบัติอุดมสมบูรณ์พรั่งพร้อมขึ้นมาเป็นตัวตั้งในการทำภาวนาว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายอย่าได้พลัดพรากจากสมบัติที่ตนได้แล้วเลย อย่างนี้เป็นต้นนะ
ทำอย่างนี้วนไปวนมา ทำเป็นภาวนาอย่างนี้จึงจะเป็น มุทิตา 19.46 จึงจะเกิดอย่างนี้นะครับ
นะ ปะเนกะโต อุปปัชชันติ
และทั้งสองตัวนี้ไม่เกิดด้วยกัน
ถ้ามี กรุณา จะไม่มี มุทิตา
ถ้ามี มุทิตา จะไม่มี กรุณา
อารมณ์มันต่างกันนั่นเอง อารมณ์คนละแบบ 20.03
ยะดา ปะนะ อิมินา จิตเตนะ มิจฉากัมมันดาตีหิ วิระมะติ
ในการใด บุคคล ย่อมงดเว้นจากการกระทำทางกายที่ผิด นะ
งดเว้น จากมิจฉากัมมันตะ ก็คือ งดเว้นฆ่าสัตว์ งดเว้นลักทรัพย์ งดเว้นประพฤติผิดในกามด้วยจิตอันนี้
ในตอนใดที่งดเว้นนะ
การงดเว้นก็หมายถึงว่า มีเหตุเฉพาะหน้าที่ปรากฏที่จะให้ทำผิดแต่ไม่ทำตั้งสติได้ หรือมีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้นด้วยการระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรืออะไรก็ตามแต่และก็งดเว้นได้อันนี้20.47
ตะดา สัมมากัมมันตาดีนิ ปะริปูเรนติ
ในการนั้น สัมมากัมมันตะ เป็นต้นก็ย่อมบริบูรณ์
ฉนั้น สัมมากัมมันตะ เป็นต้นนี่นะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ จะเกิดตอนงดเว้นอย่างเดียว ถ้าไม่มีการงดเว้นจะไม่เกิดเช่น
ตอนเราเป็นคนดี เรามีศีล เราทำบุญสุนทาน เดินจงกลม เรานั่งสมาธิ เราหุบปากเงียบ หรือเข้าฌาน พวกนี้ไม่มีวีระตีนะ 21.17
วิระตีจะเกิดตอนงดเว้นเท่านั้น นี่อย่างนี้ ต้องรู้จักตอนไหนมันเกิดด้วยนะ
ฉนั้น อย่างสัมมาวาจา เนี่ยเราพูดดี บอกว่า อันนี้เป็นสัมมาวาจา ไม่ใช่
ตอนพูดดี สัมมาวาจาไม่เกิด
ตอนทำดี สัมมากัมมันตะ ก็ไม่เกิด
นะครับ
สัมมากัมมันตะ จะเกิดตอน งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
สัมมาวาจาจะเกิดตอน งดเว้นจากการพูดโกหก งดเว้นพูดส่อเสียด งดเว้นพูดหยาบคาย งดเว้นพูดเพ้อเจ้อ
นี่ เกิดแบบนี้ 21.54
พอเข้าใจไหม นี่ท่านกำลังอธิบายว่า พวกนี้มันเป็น อะนิยะตะ มันไม่ค่อยเกิดหรอก นานๆเกิดที แล้วมันเกิดตอนไหน นะ
ถ้าเราไปอธิบายว่า โอ้ยสงสารเขาก็เกิดอย่างนี้ มันก็เหมือนเกิดบ่อยเหลือเกินนะมันก็ไม่เข้าพวก อะนิยะตะ นะ 22.10
อย่างนี้ เราพูดดีอยู่เรื่อย สัมมาวาจา เกิดตลอด มันก็จะกลายเป็นพวก นิยะตะ ไปอีกนะทำนองนี้ พวกนี้มันเป็นฝ่าย อะนิยะตะ
ฉนั้นมัน นานๆมันจะเกิดที และมันก็เกิดเป็นกรณีพิเศษมากๆอย่างงี้
อย่างเช่น ถ้าเป็นกรุณามุทิตา มันก็จะเกิดตอนบริกรรมสมาธิ
ถ้าเป็น วิระตี มันก็จะเกิดตอนงดเว้นทุจริต พอเข้าใจไหมครับ อย่างนี้ นะ
ท่านก็บอกตอนมันเกิดไว้นะ 22.39
เอกา วิระติ อุปปัชชะติ
แปลว่าเฉพาะวิระตีข้อเดียวเท่านั้นที่เกิดขึ้นนะ 22.46
ไม่เกิดสองอันพร้อมกัน
เกิดอันเดียวเท่านั้น
ครับ เกิดอันเดียว
กะรุณามุทิตาหิ สะหะ อัญญะมัญเญนะ จะ นะ อุปปัชชันติ
วิระตีทั้งหลายเหล่านี้ย่อมไม่เกิดพร้อมกับกรุณามุทิตา และไม่เกิดพร้อมกับกันและกัน 23.03
ก็คือ ยังไงก็เกิดอันเดียวแหละพวกนี้นะ ไม่เกิดพร้อมกับกรุณามุทิตา
เรามีใจกรุณาเขา อย่างเช่น ทำบริกรรมกรุณาอยู่ ช่วงนั้น ไม่มีทางทำสัมมาวาจา ไม่มีทางมี สัมมากัมมันตะ 23.21
ทั้งๆที่วาจาเราก็ดีนะ กายเราก็ดี แต่ไม่มีเลย เพราะมันไม่เกิดด้วยกันเห็นไหม
ภาวะ มันจะเป็นคนละอย่างกับคำพูด นะ
ตอนนี้พูดถึงตัวสภาวะเลย ส่วนคำพูดนี่มันพูดกัน ยักเยื้อง
ฉนั้นเวลาเราพูดจึงเป็นอย่างหนึ่ง
การวิเคราะห์สภาวะจึงเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ครับ คำพูดก็ยักเยื้องไปตามภาษาทางโลกนะ23.42
แม้แต่ภาษาในพระสูตรท่านก็มีเชิงคำพูดเยอะแยะ ทุกท่านก็เลยต้องแม่นๆดีๆ
ตอนนี้เรียนไปทางปรมัตถ์ หรือไปทางสภาวะ ตอนนี้นะ
ตัสสะมา เอเตสุ เอเกนะ สะหะ จะตุตติงเสวะ ธัมมา โหนติ23.55
เพราะฉนั้นในจิตหนึ่งๆเนี่ย จะมีสภาวะธรรม ที่เกิดพร้อมกันได้ สูงสุดจำนวน 34 เท่านั้น ไม่เกินนี้ นะ24.11
---------------
เมื่อเห็นกระทู้ที่กล่าวยักเยื้องเกิดขึ้น
เมื่อมีสติพิจารณาได้
รู้เรื่องสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ อย่างนี้แล้ว
ก็ย่อมยินดีที่จะได้ได้เกิด สัมมาทิฏฐิ อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น เช่น สัมมาวาจา
นะครับ
---------------
ปุถุชนเริ่มเรียนพระธรรม--เปรียบได้กับ--เด็กอนุบาลเริ่มเรียน ก ไก่
ก่อนจะแปะบอกก่อนว่า การเรียนเรื่อง เจตสิกประกอบกับมหากุศลจิตดวงแรก เนี่ย เป็นการเรียนเริ่มต้นของเรื่องเจตสิกปรมัตถ์นิเทศก์นะครับ ในคัมภีร์อภิธัมมาวตาร ซึ่งลำดับการสอนการแจกแจงศัพท์เรียงตามลำดับเป็นไปตรงตาม พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ 1 นะครับ
การแปะเรื่องนี้ เพราะการยักเยื้องของคำพูดให้ผิดแผกแตกต่างออกไปนะครับ จึงขอยกชื่อเรื่องนี้ให้เป็นแบบนี้ว่า ปุถุชนเริ่มเรียนพระธรรม เปรียบได้กับ เด็กอนุบาลเริ่มเรียน ก-ไก่
เมื่อได้พิจารณาแล้ว เรียนเรื่องนี้พอดี ก็เลยยกคำสอนของอาจารย์ที่สอนเรื่อง อภิธัมมาวตาร ครั้งที่ 4 มาแปะให้ดูและศึกษากันนะครับ
ภาพที่258
ดูในยูตู๊บ
ชื่อคลิป อภิธัมมาวตาร ครั้งที่ 4
ตั้งแต่นาทีที่ 18.55 - 24.10
ฉนั้นตอนเราเห็นแล้วสงสารคนอื่นก็จะเป็นเจตสิกอื่นไป ไม่ใช่กรุณาเจตสิก
กรุณาเจตสิก จะเกิดตอน บำเพ็ญสมาธินั่นเอง นะ ตอนภาวนากาลคงรู้จักภาวนากาลนะ
ทำกรุณาเป็นปุพพะภาค หรือ ทำมุทิตาเป็นปุพพะภาค
อย่างพวกเราพลอยยินดีกับคนอื่นเขา อนุโมทนาสาธุ ก็ว่าไป ตัวนี้ไม่ใช่ มุทิตาเจตสิก นะครับ เป็นเจตสิกไหนก็ไปหาเอาเอง ก็แล้วแต่
ถ้ามุทิตาจะเกิดก็เกิดตอนทำสมาธิ นะ โดยยกมุทิตาเป็นปุพพะภาคะ
ยกสมบัติของคนที่เขามีสมบัติอุดมสมบูรณ์พรั่งพร้อมขึ้นมาเป็นตัวตั้งในการทำภาวนาว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายอย่าได้พลัดพรากจากสมบัติที่ตนได้แล้วเลย อย่างนี้เป็นต้นนะ
ทำอย่างนี้วนไปวนมา ทำเป็นภาวนาอย่างนี้จึงจะเป็น มุทิตา 19.46 จึงจะเกิดอย่างนี้นะครับ
นะ ปะเนกะโต อุปปัชชันติ
และทั้งสองตัวนี้ไม่เกิดด้วยกัน
ถ้ามี กรุณา จะไม่มี มุทิตา
ถ้ามี มุทิตา จะไม่มี กรุณา
อารมณ์มันต่างกันนั่นเอง อารมณ์คนละแบบ 20.03
ยะดา ปะนะ อิมินา จิตเตนะ มิจฉากัมมันดาตีหิ วิระมะติ
ในการใด บุคคล ย่อมงดเว้นจากการกระทำทางกายที่ผิด นะ
งดเว้น จากมิจฉากัมมันตะ ก็คือ งดเว้นฆ่าสัตว์ งดเว้นลักทรัพย์ งดเว้นประพฤติผิดในกามด้วยจิตอันนี้
ในตอนใดที่งดเว้นนะ
การงดเว้นก็หมายถึงว่า มีเหตุเฉพาะหน้าที่ปรากฏที่จะให้ทำผิดแต่ไม่ทำตั้งสติได้ หรือมีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้นด้วยการระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรืออะไรก็ตามแต่และก็งดเว้นได้อันนี้20.47
ตะดา สัมมากัมมันตาดีนิ ปะริปูเรนติ
ในการนั้น สัมมากัมมันตะ เป็นต้นก็ย่อมบริบูรณ์
ฉนั้น สัมมากัมมันตะ เป็นต้นนี่นะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ จะเกิดตอนงดเว้นอย่างเดียว ถ้าไม่มีการงดเว้นจะไม่เกิดเช่น
ตอนเราเป็นคนดี เรามีศีล เราทำบุญสุนทาน เดินจงกลม เรานั่งสมาธิ เราหุบปากเงียบ หรือเข้าฌาน พวกนี้ไม่มีวีระตีนะ 21.17
วิระตีจะเกิดตอนงดเว้นเท่านั้น นี่อย่างนี้ ต้องรู้จักตอนไหนมันเกิดด้วยนะ
ฉนั้น อย่างสัมมาวาจา เนี่ยเราพูดดี บอกว่า อันนี้เป็นสัมมาวาจา ไม่ใช่
ตอนพูดดี สัมมาวาจาไม่เกิด
ตอนทำดี สัมมากัมมันตะ ก็ไม่เกิด
นะครับ
สัมมากัมมันตะ จะเกิดตอน งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
สัมมาวาจาจะเกิดตอน งดเว้นจากการพูดโกหก งดเว้นพูดส่อเสียด งดเว้นพูดหยาบคาย งดเว้นพูดเพ้อเจ้อ
นี่ เกิดแบบนี้ 21.54
พอเข้าใจไหม นี่ท่านกำลังอธิบายว่า พวกนี้มันเป็น อะนิยะตะ มันไม่ค่อยเกิดหรอก นานๆเกิดที แล้วมันเกิดตอนไหน นะ
ถ้าเราไปอธิบายว่า โอ้ยสงสารเขาก็เกิดอย่างนี้ มันก็เหมือนเกิดบ่อยเหลือเกินนะมันก็ไม่เข้าพวก อะนิยะตะ นะ 22.10
อย่างนี้ เราพูดดีอยู่เรื่อย สัมมาวาจา เกิดตลอด มันก็จะกลายเป็นพวก นิยะตะ ไปอีกนะทำนองนี้ พวกนี้มันเป็นฝ่าย อะนิยะตะ
ฉนั้นมัน นานๆมันจะเกิดที และมันก็เกิดเป็นกรณีพิเศษมากๆอย่างงี้
อย่างเช่น ถ้าเป็นกรุณามุทิตา มันก็จะเกิดตอนบริกรรมสมาธิ
ถ้าเป็น วิระตี มันก็จะเกิดตอนงดเว้นทุจริต พอเข้าใจไหมครับ อย่างนี้ นะ
ท่านก็บอกตอนมันเกิดไว้นะ 22.39
เอกา วิระติ อุปปัชชะติ
แปลว่าเฉพาะวิระตีข้อเดียวเท่านั้นที่เกิดขึ้นนะ 22.46
ไม่เกิดสองอันพร้อมกัน
เกิดอันเดียวเท่านั้น
ครับ เกิดอันเดียว
กะรุณามุทิตาหิ สะหะ อัญญะมัญเญนะ จะ นะ อุปปัชชันติ
วิระตีทั้งหลายเหล่านี้ย่อมไม่เกิดพร้อมกับกรุณามุทิตา และไม่เกิดพร้อมกับกันและกัน 23.03
ก็คือ ยังไงก็เกิดอันเดียวแหละพวกนี้นะ ไม่เกิดพร้อมกับกรุณามุทิตา
เรามีใจกรุณาเขา อย่างเช่น ทำบริกรรมกรุณาอยู่ ช่วงนั้น ไม่มีทางทำสัมมาวาจา ไม่มีทางมี สัมมากัมมันตะ 23.21
ทั้งๆที่วาจาเราก็ดีนะ กายเราก็ดี แต่ไม่มีเลย เพราะมันไม่เกิดด้วยกันเห็นไหม
ภาวะ มันจะเป็นคนละอย่างกับคำพูด นะ
ตอนนี้พูดถึงตัวสภาวะเลย ส่วนคำพูดนี่มันพูดกัน ยักเยื้อง
ฉนั้นเวลาเราพูดจึงเป็นอย่างหนึ่ง
การวิเคราะห์สภาวะจึงเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ครับ คำพูดก็ยักเยื้องไปตามภาษาทางโลกนะ23.42
แม้แต่ภาษาในพระสูตรท่านก็มีเชิงคำพูดเยอะแยะ ทุกท่านก็เลยต้องแม่นๆดีๆ
ตอนนี้เรียนไปทางปรมัตถ์ หรือไปทางสภาวะ ตอนนี้นะ
ตัสสะมา เอเตสุ เอเกนะ สะหะ จะตุตติงเสวะ ธัมมา โหนติ23.55
เพราะฉนั้นในจิตหนึ่งๆเนี่ย จะมีสภาวะธรรม ที่เกิดพร้อมกันได้ สูงสุดจำนวน 34 เท่านั้น ไม่เกินนี้ นะ24.11
---------------
เมื่อเห็นกระทู้ที่กล่าวยักเยื้องเกิดขึ้น
เมื่อมีสติพิจารณาได้
รู้เรื่องสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ อย่างนี้แล้ว
ก็ย่อมยินดีที่จะได้ได้เกิด สัมมาทิฏฐิ อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น เช่น สัมมาวาจา
นะครับ
---------------