เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ "นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" เผยแพร่ผลการทดสอบสีในเครื่องดื่มชานมไทย จากโครงการเฝ้าระวังสินค้าด้วยการทดสอบสินค้า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภค
โดยนิตยสารฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องดื่มชานมไทยจากร้านแบรนด์ดัง 15 ตัวอย่าง ในเดือนมีนาคม 2568 ได้แก่ ชาตรามือ, คาเฟ่ อเมซอน, ออล คาเฟ่, พันธุ์ไทย, อินทนิล, ทรู คอฟฟี่, Fire Tiger, อาริกาโตะ, โอชายะ, คัดสรร, กาก้า, การัน, ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน, ปังชา และกูโรตีชาชัก ก่อนส่งตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO 17025
📌ผลการทดสอบพบว่า
🧐 เครื่องดื่มทุกตัวอย่างมีการใช้สีสังเคราะห์ (ซึ่งเป็นสีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับอาหาร)
🧐 พบการใช้สีสังเคราะห์ 1-4 ชนิดต่อแก้ว ได้แก่ Sunset yellow FCF, Tartrazine, Ponceau 4R และ Carmoisine or Azorubine
🧐 พบสี Sunset yellow FCF ในทุกตัวอย่าง โดยปริมาณต่ำสุดที่ตรวจพบอยู่ที่ 7.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสูงสุดที่ 291.41 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
📌สำหรับ 3 แบรนด์ที่มีปริมาณสี Sunset yellow FCF สูงสุด ได้แก่
1. ทรู คอฟฟี่ (291.41 มก./กก.)
2. กูโรตีชาชัก (250.20 มก./กก.)
3. ปังชา (222.26 มก./กก.)
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังคุณภาพและมาตรฐานของชานมไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความนิยมบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น แต่การกำกับดูแลมาตรฐานการใช้สีผสมอาหารยังมีปัญหา เช่น ความไม่ชัดเจนเรื่องเกณฑ์ควบคุม การแสดงฉลาก และการบังคับใช้กฎหมาย
ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ ที่ปรึกษานิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวถึงอันตรายจากสีสังเคราะห์ว่า "ไม่มีคำว่าปลอดภัยในทางพิษวิทยาของสารเคมี มีแต่เพียงความเสี่ยงมากหรือน้อย ผู้บริโภคต้องประเมินด้วยตนเองว่าจะยอมรับความเสี่ยงนั้นได้หรือไม่"
📌พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ได้แก่
* เลือกสินค้าที่มีเลข อย.
* อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ หากมีการใช้สีจะต้องระบุไว้ชัดเจน
* เลือกเครื่องดื่มที่หลากหลาย เพื่อลดการได้รับสีชนิดเดิมซ้ำๆ
นอกจากนี้ นิตยสารฉลาดซื้อยังแนะนำวิธีบริโภคอย่างปลอดภัย เช่น เลือกดื่มถ้วยขนาดเล็ก ชงดื่มเองโดยเลือกสูตรไม่ใส่สีผสมอาหาร ดื่มไม่บ่อย และหลีกเลี่ยงการให้เด็กเล็กบริโภค เนื่องจากระบบขับถ่ายสารเคมีของเด็กยังไม่สมบูรณ์ และเน้นว่าการใช้สีผสมหลายชนิดร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ยากต่อการประเมินผลกระทบต่อร่างกาย
ที่มา
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_5154858
ที่มา
https://thestandard.co/synthetic-colors-in-thai-tea-brands/
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผลทดสอบ “สีในเครื่องดื่มชาไทย” 15 แบรนด์ดัง พบสีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง
โดยนิตยสารฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องดื่มชานมไทยจากร้านแบรนด์ดัง 15 ตัวอย่าง ในเดือนมีนาคม 2568 ได้แก่ ชาตรามือ, คาเฟ่ อเมซอน, ออล คาเฟ่, พันธุ์ไทย, อินทนิล, ทรู คอฟฟี่, Fire Tiger, อาริกาโตะ, โอชายะ, คัดสรร, กาก้า, การัน, ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน, ปังชา และกูโรตีชาชัก ก่อนส่งตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO 17025
📌ผลการทดสอบพบว่า
🧐 เครื่องดื่มทุกตัวอย่างมีการใช้สีสังเคราะห์ (ซึ่งเป็นสีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับอาหาร)
🧐 พบการใช้สีสังเคราะห์ 1-4 ชนิดต่อแก้ว ได้แก่ Sunset yellow FCF, Tartrazine, Ponceau 4R และ Carmoisine or Azorubine
🧐 พบสี Sunset yellow FCF ในทุกตัวอย่าง โดยปริมาณต่ำสุดที่ตรวจพบอยู่ที่ 7.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสูงสุดที่ 291.41 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
📌สำหรับ 3 แบรนด์ที่มีปริมาณสี Sunset yellow FCF สูงสุด ได้แก่
1. ทรู คอฟฟี่ (291.41 มก./กก.)
2. กูโรตีชาชัก (250.20 มก./กก.)
3. ปังชา (222.26 มก./กก.)
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังคุณภาพและมาตรฐานของชานมไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความนิยมบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น แต่การกำกับดูแลมาตรฐานการใช้สีผสมอาหารยังมีปัญหา เช่น ความไม่ชัดเจนเรื่องเกณฑ์ควบคุม การแสดงฉลาก และการบังคับใช้กฎหมาย
ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ ที่ปรึกษานิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวถึงอันตรายจากสีสังเคราะห์ว่า "ไม่มีคำว่าปลอดภัยในทางพิษวิทยาของสารเคมี มีแต่เพียงความเสี่ยงมากหรือน้อย ผู้บริโภคต้องประเมินด้วยตนเองว่าจะยอมรับความเสี่ยงนั้นได้หรือไม่"
📌พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ได้แก่
* เลือกสินค้าที่มีเลข อย.
* อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ หากมีการใช้สีจะต้องระบุไว้ชัดเจน
* เลือกเครื่องดื่มที่หลากหลาย เพื่อลดการได้รับสีชนิดเดิมซ้ำๆ
นอกจากนี้ นิตยสารฉลาดซื้อยังแนะนำวิธีบริโภคอย่างปลอดภัย เช่น เลือกดื่มถ้วยขนาดเล็ก ชงดื่มเองโดยเลือกสูตรไม่ใส่สีผสมอาหาร ดื่มไม่บ่อย และหลีกเลี่ยงการให้เด็กเล็กบริโภค เนื่องจากระบบขับถ่ายสารเคมีของเด็กยังไม่สมบูรณ์ และเน้นว่าการใช้สีผสมหลายชนิดร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ยากต่อการประเมินผลกระทบต่อร่างกาย
ที่มา https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_5154858
ที่มา https://thestandard.co/synthetic-colors-in-thai-tea-brands/