นักเศรษฐศาสตร์ส่งสัญญาณ สงครามการค้าสู่สงครามค่าเงิน “พิชัย ชุณหวชิร” ขุนคลัง เผยสหรัฐเตือนทุกประเทศไม่ให้แทรกแซงค่าเงิน หลังดอลลาร์อ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี “ดร.พิพัฒน์-KKP” ชี้นักลงทุนเริ่มไม่เชื่อมั่น “ดอลลาร์” หันตุน “ยูโร-ทองคำ” เข้าทุนสำรองแทน หวั่นทุกประเทศเล่นเกมค่าเงินอ่อน ระบุหากไทยเดินเกมช้าจะกระทบหนัก หนุน กนง.หั่นดอกเบี้ย 30 เม.ย.นี้ สอดคล้อง “ดร.อมรเทพ-CIMBT” มองสงครามค่าเงินรอบนี้รุนแรงผันผวนมากกว่ายุคทรัมป์ 1.0 เตือนบาทเสี่ยงแข็งโป๊ก จี้คลัง-ธปท.มีมาตรการดูแล หวั่นลามกระทบภาคการผลิต-บริโภค ฉุดความสามารถการแข่งขัน เผยเดือน เม.ย.บาทแข็งค่าขึ้น 5.6% แข็งแซงค่าเงินในภูมิภาค
สหรัฐส่งสัญญาณคุม “ค่าเงิน”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าทีมเจรจาการค้าไทย-สหรัฐ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สาเหตุการเลื่อนเจรจากับสหรัฐ เพราะขอรอดูสถานการณ์ก่อน โดยต้องการศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ รอบด้าน โดยในขณะนี้ได้มีการส่งทีมล่วงหน้าไปทำงานร่วมกับคณะทำงานของสหรัฐ เพื่อปรับจูนเรื่องต่าง ๆ ให้เข้าใจตรงกัน
ประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่สหรัฐมีความกังวล และคาดว่าจะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยเพิ่มเติม คือเรื่องของค่าเงิน เพราะทางสหรัฐก็ต้องการให้ค่าเงินอ่อน ดังนั้นประเทศอื่น ๆ ค่าเงินก็ต้องแข็ง สหรัฐก็ไม่อยากเห็นแต่ละประเทศมีการแทรกแซงค่าเงินเพื่อที่จะทำให้อ่อนค่า ดังนั้น จึงทำให้ประเทศไทยก็ต้องมาคิดว่า เรามีนโยบายในการถือเงินตราต่างประเทศอย่างไร ซึ่งก็ต้องเอาประเด็นนี้มาพิจารณาด้วย
“สหรัฐหวังว่าทุกประเทศจะไม่มีการแทรกแซง เพราะสหรัฐก็อยากส่งออกมากขึ้น ซึ่งทุกประเทศเวลาจะส่งออก ก็อยากเห็นค่าเงินอ่อน โดยที่เขาก็มีวิธีดูว่าใครแทรกแซงหรือไม่”
นักลงทุนไม่เชื่อมั่น “ดอลลาร์”
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนขณะนี้ การที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าหนัก เนื่องจากคนกำลังตั้งคำถามว่า เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ จะยังคงเป็นทุนสำรองได้หรือไม่ เพราะนโยบายต่าง ๆ ของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ว่าจะเรื่องแนวคิดการปลดประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หรือแนวคิดออกพันธบัตร 100 ปี รวมถึงปัญหาหลักนิติธรรมต่าง ๆ ล้วนมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อเงินดอลลาร์
“จริง ๆ ถ้าโดยพื้นฐาน ไม่มีใครสู้ดอลลาร์สหรัฐได้ แต่นโยบายของทรัมป์ ทำให้คนตั้งคำถามว่า ควรจะถือดอลลาร์ต่อไปไหม โดยที่ผ่านมาอเมริกาเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้า ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มีเงินไหลออกตลอด แต่ก็มีเงินก้อนใหญ่ไหลกลับเข้าไป เพราะทุกคนอยากเอาเงินตัวเองไปอยู่ในรูปดอลลาร์ ดังนั้นถ้าอยู่ดี ๆ สหรัฐไปท้าตีท้าต่อย ตัวเองก็ยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ถ้าคนไม่อยากถือดอลลาร์เป็นทุนสำรองแล้ว อันนี้เรื่องใหญ่”
ตอนนี้เห็นชัดเจนว่า เงินยูโรกับทองคำได้รับความสนใจมากขึ้น จะเห็นค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นมาก ขณะที่ราคาทองก็ขึ้นไม่หยุด เนื่องจากธนาคารกลางหันมาถือครองสินทรัพย์เหล่านี้มากขึ้น ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ยิ่งร่วงเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโรกับทอง
เส้นทางสู่สงครามค่าเงิน
“สาเหตุที่ค่าเงินบาทแข็งมาก ๆ ทั้งแข็งจากดอลลาร์อ่อน แข็งจากทองขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับ Fundamental ของเราเลย แต่อยู่ดี ๆ ความสามารถในการแข่งขันของเราก็ได้รับผลกระทบ เราไม่ได้ประโยชน์อะไรด้วย แต่บาทเราดันแข็งไปด้วย ทำให้ก็ซวยไปด้วย แล้วถ้าดอลลาร์ยังอ่อนไปเรื่อย ๆ เราก็จะเจอแบบนี้ไปเรื่อย ๆ”
ดร.พิพัฒน์กล่าวอีกว่า จังหวะต่อไปอาจจะมีปัญหาสงครามค่าเงินขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่ประเทศไทยอยู่เฉย ๆ ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นมา ดังนั้น ไทยอาจจะต้องลดดอกเบี้ย หรือต้องเริ่มทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง ซึ่งหากทุกประเทศเจอปัญหาคล้าย ๆ กันหมดก็จะนำไปสู่สงครามค่าเงินได้
“ถ้าทุกคนทำเหมือนกันหมด แล้วทำก่อนเราด้วย แล้วเราทำช้า จะกลายเป็นว่า พอเราลดดอกเบี้ย แล้วค่าเงินไม่อ่อน เพราะทำช้ากว่าคนอื่น ก็จะซวย เจอปัญหาความสามารถในการแข่งขันเพิ่มเติม”
ดร.พิพัฒน์กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบวันที่ 30 เม.ย.นี้ ควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เนื่องจากมีช่องให้ลดได้ เพราะดอกเบี้ยที่แท้จริงยังสูงกว่าเงินเฟ้อ
ทุกชาติต้องการค่าเงินอ่อน
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สงครามการค้าย่อมนำไปสู่ “สงครามค่าเงิน” จะเห็นได้จากสงครามการค้าทรัมป์ 1.0 ที่จีนปล่อยให้ค่าเงินหยวน (CNY) อ่อนค่า รวมถึงสกุลอื่น ๆ ก็อ่อนค่าตามมา
อย่างไรก็ดี สงครามการค้าทรัมป์ 2.0 แตกต่าง เนื่องจากยุคทรัมป์ 1.0 สหรัฐไม่ได้มีทีท่าจะทำให้ “เงินดอลลาร์อ่อนค่า” แต่รอบนี้สหรัฐต้องการให้ “เงินดอลลาร์อ่อนค่า” จึงมีนโยบายเรื่องของ “Mar-a-Lago Accord” ขึ้นมา เพื่อให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า หลังจากเงินดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
สงครามค่าเงินรอบนี้มีความเสี่ยงรุนแรงและผันผวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับทรัมป์ 1.0 ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่ประเทศจีนที่ทำค่าเงินอ่อนค่า หรือประเทศอื่น ๆ แต่ยังหมายรวมถึงสหรัฐที่ต้องการทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าด้วย หากประเทศไทยอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรเลย จะไม่ส่งผลดี
เพราะค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์-สหรัฐ หรือเงินหยวน-จีน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่ทำให้ค่าเงินอ่อนค่า และจะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าแรงกว่าประเทศในภูมิภาค เนื่องจากไทยมีปัจจัยเฉพาะเรื่องของทองคำเข้ามาเพิ่มเติม ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเป็นพิเศษ ภายใต้สกุลเงินอื่นมีทิศทางอ่อนค่า
ประเทศไทยต้องระวัง อย่าปล่อยให้ “เงินบาทแข็งค่า” จนเกินไป หรือทำให้ “เงินบาทอ่อนค่า” จนถูกมองว่าไทยบิดเบือนค่าเงิน เพราะหากปล่อยให้บาทแข็งค่าไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออก สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และรายได้นักท่องเที่ยวไม่ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการเข้ามาดูแลเงินบาทให้เคลื่อนไหวในระดับที่สมดุล
เตือนบาทเสี่ยงแข็งโป๊ก
ดร.อมรเทพให้ความเห็นว่า สำหรับมาตรการที่มองว่าจะสามารถเข้ามาดูแลหรือช่วยการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเพิ่มเติม เช่น 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สนับสนุนนักลงทุนให้นำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ ซื้อที่ดินในต่างประเทศ โดยอาจขยายวงไปสู่รายย่อยด้วย
2.หน่วยงานภาครัฐ หรือกระทรวงการคลัง ที่มีแนวคิดการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign reserves) ตั้งกองทุนต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นการชั่วคราว และ 3.ธปท.มีการบริหารจัดการความผันผวนของค่าเงินในการเข้าไปดูแล รวมถึงการใช้อัตราดอกเบี้ยเข้าไปช่วย
แม้ว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 2% ต่อปี แต่มองว่ายังสามารถปรับลดลงมาได้อีกภายในรอบการประชุม 30 เมษายนนี้ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันเงินบาทแข็งค่าได้บ้าง และยังช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจด้วย
“เงินบาทเราแข็งค่าแรงแซงโค้งประเทศเพื่อนบ้านที่ค่าเงินอ่อนค่า ซึ่งเราเกิดเหตุการณ์นั้นมาแล้วช่วงปลายทรัมป์ 1.0 ช่วงนั้นเคลื่อนไหวอยู่ที่ราว 29-30 บาทต่อดอลลาร์ กระทั่งมีหน่วยงานและภาคเอกชนออกมาเรียกร้องให้ ธปท.เข้ามาช่วยดูแลค่าเงิน ซึ่งช่วงนั้นไทยมีการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างสูง และไทยยังเป็นประเทศ Regional Safe Haven ทำให้เงินบาทยิ่งแข็งค่า
อย่างไรก็ดี หากรอบนี้ไทยอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร เราอาจเห็นเงินบาททยอยไหลไปอยู่ที่ 33 บาท ไปเป็น 30 บาท และไหลลงไป 29 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากสถานการณ์สงครามการค้ารุนแรง ซึ่งเงินบาทแข็งค่าไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง”
สงครามค่าเงินกระทบชิ่ง
นอกจากนี้ ผลกระทบสงครามค่าเงินในระยะข้างหน้า จะส่งผลขาดแรงจูงใจในภาคการผลิต และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ชะลอตาม กระทบมายังการบริโภคมีความเสี่ยงอ่อนแอ สำหรับภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าจะไม่มีผลจากอัตราแลกเปลี่ยนมากนัก แต่หากประเทศเพื่อนบ้านค่าเงินอ่อน เช่น ญี่ปุ่นที่ทำเงินเยนอ่อนค่า ทำให้นักท่องเที่ยวจีนไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นแทนที่จะมาเที่ยวไทย เป็นต้น
“สงครามค่าเงิน ความผันผวนของค่าเงิน จะกระทบต่อภาคการผลิตและภาคบริโภค มองว่าภาครัฐควรเตรียมกระสุน หรือนโยบายไว้รองรับสงครามการค้า ที่จะทำให้ภาพเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอ ต้องหากันชน (Buffer) ไว้รองรับ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะการขยายเพดานหนี้สาธารณะเท่านั้น แต่จะต้องรู้ว่าจะนำเงินไปใช้อะไร และใช้ในนโยบายที่มีประสิทธิภาพ”
ศก.แบ่งขั้ว-เลือกข้างชัดขึ้น
ดร.กอบสิทธิ์ ศิลปชัย CFA, ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (ห้องค้ากสิกรไทย) กล่าวว่า สงครามการค้าอาจนำไปสู่สงครามสกุลเงิน จีนอาจเร่งเทขายสินทรัพย์ UST เพื่อเร่งแนวโน้ม De-dollarization (ลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลัก) นอกจากนี้ จีนยังท้าทายระเบียบโลกที่ปูรากฐานมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หากสถานการณ์นี้ยังดำเนินต่อไป เราจะได้เห็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแบ่งขั้วแบบเดียวกับที่เคยเห็นในช่วงสงครามเย็น
ทั้งนี้ ความเร็วในการเจรจาจะเป็นตัวกำหนดแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยเราควรคาดหวังว่าจะได้เห็น การฟื้นตัวกลับสู่ค่าเฉลี่ยของเงินดอลลาร์ เมื่อการเจรจามีความคืบหน้ามากขึ้น
อย่างไรก็ดี สงครามที่แต่ละประเทศต่างพยายามลดค่าเงินของตนเองเพื่อช่วยเหลือธุรกิจภายในประเทศ ให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น จะเป็นตัวขัดขวางการเจรจาทางค้ากับทางสหรัฐ เป็นสิ่งซึ่งต้องหลีกเลี่ยง
“การเจรจาจำเป็นต้องดำเนินไปอย่างระมัดระวัง เนื่องจากสถานการณ์อาจบีบให้แต่ละประเทศต้องเลือกข้างว่าจะอยู่กับสหรัฐ หรือจีน ซึ่งไม่ใช่ประเด็นทางเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่เป็นประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์แทน”
SCB จับตาเกมค่าเงิน
นายแพททริก ปูเลีย รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ธนาคารมองว่าความร้อนแรงของ “สงครามค่าเงิน” หรือ Currency War ได้ลดลงบ้างแล้ว หลังจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่สุดโต่งจนเกินไป ทำให้ประเทศที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐเริ่มมีการทบทวนเทขายพันธบัตรสหรัฐ จึงเชื่อว่าสถานการณ์สงครามค่าเงินจะยังไม่ได้รุนแรง หรือลุกลามมากนัก
ลุ้น กนง.ลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง
จากแนวโน้มดังกล่าว ธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงมุมมองกรอบค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 ยังมีทิศทางอ่อนค่า และครึ่งหลังของปี 2568 เงินบาทกลับมาแข็งค่า โดยกรอบเงินบาทสิ้นปีอยู่ที่ 33.00-34.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งในช่วงสั้นจะเห็นได้ว่ามีเงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรรัฐบาลไทย
เนื่องจากเก็งว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ถึง 3 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาดูการตัดสิน กนง.ในรอบปลายเดือนเมษายนก่อน รวมถึงราคาทองคำอาจปรับสูงขึ้นได้ต่อ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เงินบาทแข็งค่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
เม.ย.เงินบาทแข็งค่า 5.6%
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทนับตั้งแต่ต้นปี 2568 ถึงปัจจุบัน แข็งค่าขึ้น 3.0% จากระดับ 34.10 บาทต่อดอลลาร์ มาอยู่ที่ระดับ 33.11 บาทต่อดอลลาร์ (ณ 22 เม.ย. 68)
อย่างไรก็ดี จุดที่ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุด เป็นช่วงที่สงครามการค้าเริ่มยกระดับ ภายหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้า (Reciprocal Tariffs) และมีการตอบโต้กลับของประเทศจีน ทำให้คนเทขายดอลลาร์ และเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่า หลุดแนว 34 บาทต่อดอลลาร์
“หากดูข้อมูลหลังทรัมป์ประกาศขึ้นภาษี วันที่ 9 เมษายน 2568 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 34.98 บาทต่อดอลลาร์ เทียบปัจจุบันเงินบาทอยู่ที่ 33.11 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่า 5.6% ถือว่าแข็งค่ากว่าสกุลอื่นในภูมิภาค”
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1797482
เตือนเสี่ยง ‘สงครามค่าเงิน’ สหรัฐกดดันห้ามแทรกแซง บาทแข็งหวั่นลามภาคผลิต
สหรัฐส่งสัญญาณคุม “ค่าเงิน”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าทีมเจรจาการค้าไทย-สหรัฐ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สาเหตุการเลื่อนเจรจากับสหรัฐ เพราะขอรอดูสถานการณ์ก่อน โดยต้องการศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ รอบด้าน โดยในขณะนี้ได้มีการส่งทีมล่วงหน้าไปทำงานร่วมกับคณะทำงานของสหรัฐ เพื่อปรับจูนเรื่องต่าง ๆ ให้เข้าใจตรงกัน
ประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่สหรัฐมีความกังวล และคาดว่าจะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยเพิ่มเติม คือเรื่องของค่าเงิน เพราะทางสหรัฐก็ต้องการให้ค่าเงินอ่อน ดังนั้นประเทศอื่น ๆ ค่าเงินก็ต้องแข็ง สหรัฐก็ไม่อยากเห็นแต่ละประเทศมีการแทรกแซงค่าเงินเพื่อที่จะทำให้อ่อนค่า ดังนั้น จึงทำให้ประเทศไทยก็ต้องมาคิดว่า เรามีนโยบายในการถือเงินตราต่างประเทศอย่างไร ซึ่งก็ต้องเอาประเด็นนี้มาพิจารณาด้วย
“สหรัฐหวังว่าทุกประเทศจะไม่มีการแทรกแซง เพราะสหรัฐก็อยากส่งออกมากขึ้น ซึ่งทุกประเทศเวลาจะส่งออก ก็อยากเห็นค่าเงินอ่อน โดยที่เขาก็มีวิธีดูว่าใครแทรกแซงหรือไม่”
นักลงทุนไม่เชื่อมั่น “ดอลลาร์”
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนขณะนี้ การที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าหนัก เนื่องจากคนกำลังตั้งคำถามว่า เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ จะยังคงเป็นทุนสำรองได้หรือไม่ เพราะนโยบายต่าง ๆ ของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ว่าจะเรื่องแนวคิดการปลดประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หรือแนวคิดออกพันธบัตร 100 ปี รวมถึงปัญหาหลักนิติธรรมต่าง ๆ ล้วนมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อเงินดอลลาร์
“จริง ๆ ถ้าโดยพื้นฐาน ไม่มีใครสู้ดอลลาร์สหรัฐได้ แต่นโยบายของทรัมป์ ทำให้คนตั้งคำถามว่า ควรจะถือดอลลาร์ต่อไปไหม โดยที่ผ่านมาอเมริกาเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้า ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มีเงินไหลออกตลอด แต่ก็มีเงินก้อนใหญ่ไหลกลับเข้าไป เพราะทุกคนอยากเอาเงินตัวเองไปอยู่ในรูปดอลลาร์ ดังนั้นถ้าอยู่ดี ๆ สหรัฐไปท้าตีท้าต่อย ตัวเองก็ยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ถ้าคนไม่อยากถือดอลลาร์เป็นทุนสำรองแล้ว อันนี้เรื่องใหญ่”
ตอนนี้เห็นชัดเจนว่า เงินยูโรกับทองคำได้รับความสนใจมากขึ้น จะเห็นค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นมาก ขณะที่ราคาทองก็ขึ้นไม่หยุด เนื่องจากธนาคารกลางหันมาถือครองสินทรัพย์เหล่านี้มากขึ้น ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ยิ่งร่วงเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโรกับทอง
เส้นทางสู่สงครามค่าเงิน
“สาเหตุที่ค่าเงินบาทแข็งมาก ๆ ทั้งแข็งจากดอลลาร์อ่อน แข็งจากทองขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับ Fundamental ของเราเลย แต่อยู่ดี ๆ ความสามารถในการแข่งขันของเราก็ได้รับผลกระทบ เราไม่ได้ประโยชน์อะไรด้วย แต่บาทเราดันแข็งไปด้วย ทำให้ก็ซวยไปด้วย แล้วถ้าดอลลาร์ยังอ่อนไปเรื่อย ๆ เราก็จะเจอแบบนี้ไปเรื่อย ๆ”
ดร.พิพัฒน์กล่าวอีกว่า จังหวะต่อไปอาจจะมีปัญหาสงครามค่าเงินขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่ประเทศไทยอยู่เฉย ๆ ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นมา ดังนั้น ไทยอาจจะต้องลดดอกเบี้ย หรือต้องเริ่มทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง ซึ่งหากทุกประเทศเจอปัญหาคล้าย ๆ กันหมดก็จะนำไปสู่สงครามค่าเงินได้
“ถ้าทุกคนทำเหมือนกันหมด แล้วทำก่อนเราด้วย แล้วเราทำช้า จะกลายเป็นว่า พอเราลดดอกเบี้ย แล้วค่าเงินไม่อ่อน เพราะทำช้ากว่าคนอื่น ก็จะซวย เจอปัญหาความสามารถในการแข่งขันเพิ่มเติม”
ดร.พิพัฒน์กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบวันที่ 30 เม.ย.นี้ ควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เนื่องจากมีช่องให้ลดได้ เพราะดอกเบี้ยที่แท้จริงยังสูงกว่าเงินเฟ้อ
ทุกชาติต้องการค่าเงินอ่อน
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สงครามการค้าย่อมนำไปสู่ “สงครามค่าเงิน” จะเห็นได้จากสงครามการค้าทรัมป์ 1.0 ที่จีนปล่อยให้ค่าเงินหยวน (CNY) อ่อนค่า รวมถึงสกุลอื่น ๆ ก็อ่อนค่าตามมา
อย่างไรก็ดี สงครามการค้าทรัมป์ 2.0 แตกต่าง เนื่องจากยุคทรัมป์ 1.0 สหรัฐไม่ได้มีทีท่าจะทำให้ “เงินดอลลาร์อ่อนค่า” แต่รอบนี้สหรัฐต้องการให้ “เงินดอลลาร์อ่อนค่า” จึงมีนโยบายเรื่องของ “Mar-a-Lago Accord” ขึ้นมา เพื่อให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า หลังจากเงินดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
สงครามค่าเงินรอบนี้มีความเสี่ยงรุนแรงและผันผวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับทรัมป์ 1.0 ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่ประเทศจีนที่ทำค่าเงินอ่อนค่า หรือประเทศอื่น ๆ แต่ยังหมายรวมถึงสหรัฐที่ต้องการทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าด้วย หากประเทศไทยอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรเลย จะไม่ส่งผลดี
เพราะค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์-สหรัฐ หรือเงินหยวน-จีน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่ทำให้ค่าเงินอ่อนค่า และจะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าแรงกว่าประเทศในภูมิภาค เนื่องจากไทยมีปัจจัยเฉพาะเรื่องของทองคำเข้ามาเพิ่มเติม ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเป็นพิเศษ ภายใต้สกุลเงินอื่นมีทิศทางอ่อนค่า
ประเทศไทยต้องระวัง อย่าปล่อยให้ “เงินบาทแข็งค่า” จนเกินไป หรือทำให้ “เงินบาทอ่อนค่า” จนถูกมองว่าไทยบิดเบือนค่าเงิน เพราะหากปล่อยให้บาทแข็งค่าไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออก สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และรายได้นักท่องเที่ยวไม่ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการเข้ามาดูแลเงินบาทให้เคลื่อนไหวในระดับที่สมดุล
เตือนบาทเสี่ยงแข็งโป๊ก
ดร.อมรเทพให้ความเห็นว่า สำหรับมาตรการที่มองว่าจะสามารถเข้ามาดูแลหรือช่วยการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเพิ่มเติม เช่น 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สนับสนุนนักลงทุนให้นำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ ซื้อที่ดินในต่างประเทศ โดยอาจขยายวงไปสู่รายย่อยด้วย
2.หน่วยงานภาครัฐ หรือกระทรวงการคลัง ที่มีแนวคิดการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign reserves) ตั้งกองทุนต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นการชั่วคราว และ 3.ธปท.มีการบริหารจัดการความผันผวนของค่าเงินในการเข้าไปดูแล รวมถึงการใช้อัตราดอกเบี้ยเข้าไปช่วย
แม้ว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 2% ต่อปี แต่มองว่ายังสามารถปรับลดลงมาได้อีกภายในรอบการประชุม 30 เมษายนนี้ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันเงินบาทแข็งค่าได้บ้าง และยังช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจด้วย
“เงินบาทเราแข็งค่าแรงแซงโค้งประเทศเพื่อนบ้านที่ค่าเงินอ่อนค่า ซึ่งเราเกิดเหตุการณ์นั้นมาแล้วช่วงปลายทรัมป์ 1.0 ช่วงนั้นเคลื่อนไหวอยู่ที่ราว 29-30 บาทต่อดอลลาร์ กระทั่งมีหน่วยงานและภาคเอกชนออกมาเรียกร้องให้ ธปท.เข้ามาช่วยดูแลค่าเงิน ซึ่งช่วงนั้นไทยมีการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างสูง และไทยยังเป็นประเทศ Regional Safe Haven ทำให้เงินบาทยิ่งแข็งค่า
อย่างไรก็ดี หากรอบนี้ไทยอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร เราอาจเห็นเงินบาททยอยไหลไปอยู่ที่ 33 บาท ไปเป็น 30 บาท และไหลลงไป 29 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากสถานการณ์สงครามการค้ารุนแรง ซึ่งเงินบาทแข็งค่าไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง”
สงครามค่าเงินกระทบชิ่ง
นอกจากนี้ ผลกระทบสงครามค่าเงินในระยะข้างหน้า จะส่งผลขาดแรงจูงใจในภาคการผลิต และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ชะลอตาม กระทบมายังการบริโภคมีความเสี่ยงอ่อนแอ สำหรับภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าจะไม่มีผลจากอัตราแลกเปลี่ยนมากนัก แต่หากประเทศเพื่อนบ้านค่าเงินอ่อน เช่น ญี่ปุ่นที่ทำเงินเยนอ่อนค่า ทำให้นักท่องเที่ยวจีนไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นแทนที่จะมาเที่ยวไทย เป็นต้น
“สงครามค่าเงิน ความผันผวนของค่าเงิน จะกระทบต่อภาคการผลิตและภาคบริโภค มองว่าภาครัฐควรเตรียมกระสุน หรือนโยบายไว้รองรับสงครามการค้า ที่จะทำให้ภาพเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอ ต้องหากันชน (Buffer) ไว้รองรับ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะการขยายเพดานหนี้สาธารณะเท่านั้น แต่จะต้องรู้ว่าจะนำเงินไปใช้อะไร และใช้ในนโยบายที่มีประสิทธิภาพ”
ศก.แบ่งขั้ว-เลือกข้างชัดขึ้น
ดร.กอบสิทธิ์ ศิลปชัย CFA, ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (ห้องค้ากสิกรไทย) กล่าวว่า สงครามการค้าอาจนำไปสู่สงครามสกุลเงิน จีนอาจเร่งเทขายสินทรัพย์ UST เพื่อเร่งแนวโน้ม De-dollarization (ลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลัก) นอกจากนี้ จีนยังท้าทายระเบียบโลกที่ปูรากฐานมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หากสถานการณ์นี้ยังดำเนินต่อไป เราจะได้เห็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแบ่งขั้วแบบเดียวกับที่เคยเห็นในช่วงสงครามเย็น
ทั้งนี้ ความเร็วในการเจรจาจะเป็นตัวกำหนดแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยเราควรคาดหวังว่าจะได้เห็น การฟื้นตัวกลับสู่ค่าเฉลี่ยของเงินดอลลาร์ เมื่อการเจรจามีความคืบหน้ามากขึ้น
อย่างไรก็ดี สงครามที่แต่ละประเทศต่างพยายามลดค่าเงินของตนเองเพื่อช่วยเหลือธุรกิจภายในประเทศ ให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น จะเป็นตัวขัดขวางการเจรจาทางค้ากับทางสหรัฐ เป็นสิ่งซึ่งต้องหลีกเลี่ยง
“การเจรจาจำเป็นต้องดำเนินไปอย่างระมัดระวัง เนื่องจากสถานการณ์อาจบีบให้แต่ละประเทศต้องเลือกข้างว่าจะอยู่กับสหรัฐ หรือจีน ซึ่งไม่ใช่ประเด็นทางเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่เป็นประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์แทน”
SCB จับตาเกมค่าเงิน
นายแพททริก ปูเลีย รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ธนาคารมองว่าความร้อนแรงของ “สงครามค่าเงิน” หรือ Currency War ได้ลดลงบ้างแล้ว หลังจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่สุดโต่งจนเกินไป ทำให้ประเทศที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐเริ่มมีการทบทวนเทขายพันธบัตรสหรัฐ จึงเชื่อว่าสถานการณ์สงครามค่าเงินจะยังไม่ได้รุนแรง หรือลุกลามมากนัก
ลุ้น กนง.ลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง
จากแนวโน้มดังกล่าว ธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงมุมมองกรอบค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 ยังมีทิศทางอ่อนค่า และครึ่งหลังของปี 2568 เงินบาทกลับมาแข็งค่า โดยกรอบเงินบาทสิ้นปีอยู่ที่ 33.00-34.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งในช่วงสั้นจะเห็นได้ว่ามีเงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรรัฐบาลไทย
เนื่องจากเก็งว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ถึง 3 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาดูการตัดสิน กนง.ในรอบปลายเดือนเมษายนก่อน รวมถึงราคาทองคำอาจปรับสูงขึ้นได้ต่อ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เงินบาทแข็งค่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
เม.ย.เงินบาทแข็งค่า 5.6%
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทนับตั้งแต่ต้นปี 2568 ถึงปัจจุบัน แข็งค่าขึ้น 3.0% จากระดับ 34.10 บาทต่อดอลลาร์ มาอยู่ที่ระดับ 33.11 บาทต่อดอลลาร์ (ณ 22 เม.ย. 68)
อย่างไรก็ดี จุดที่ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุด เป็นช่วงที่สงครามการค้าเริ่มยกระดับ ภายหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้า (Reciprocal Tariffs) และมีการตอบโต้กลับของประเทศจีน ทำให้คนเทขายดอลลาร์ และเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่า หลุดแนว 34 บาทต่อดอลลาร์
“หากดูข้อมูลหลังทรัมป์ประกาศขึ้นภาษี วันที่ 9 เมษายน 2568 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 34.98 บาทต่อดอลลาร์ เทียบปัจจุบันเงินบาทอยู่ที่ 33.11 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่า 5.6% ถือว่าแข็งค่ากว่าสกุลอื่นในภูมิภาค”
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1797482