ผมเป็นช่างตีเหล็ก อยู่กับเหล็กทุกวัน วันนี้จะพากันมาทำแกงขี้เหล็ก
ผมเองเป็นคนที่ไม่ค่อยปรกตินักและมักจะป่วยไข้ออดๆแอดๆ แต่ถ้าไม่ถึงกับนอนสิ้นฤทธิ์พังพาบไปกับพื้นแล้วผมจะไม่ไปหาหมอ ไม่ไปไหนทั้งนั้นแหละ ผมถูกขังเอาไว้ด้วยกำแพงที่มองไม่เห็น ภรรยาของผมเป็นคนดูแลผมทุกอย่าง เธอเชื่อมั่นในลัทธิพึ่งพาตนเอง เริ่มกระบวนการรักษาโรคดูแลสุขภาพของผมด้วยระบบอาหารเป็นยา You Are What You Eat กินแบบไหนก็เป็นแบบนั้น คือกินอาหารอะไรเข้าไปมันก็แสดงผลแบบนั้นแหละ ผมต้องกินอาหารแบบควบคุม ซึ่งผมไม่ค่อยจะสบอารมณ์นัก แต่ก็ต้องกินเพราะยังไม่อยากตาย จริงๆแล้วตายไม่ค่อยน่ากลัว แต่อยู่อย่างช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยจะได้ลำบากและโหดร้ายกว่าความตายมากนัก พี่ไม่ได้กลัวความตาย แต่พี่กลัวว่าตายแล้วพี่จะไม่ได้อยู่กับเธอ
พี่ไม่ชอบกินผัก แต่ไม่ว่าเธอจะหาผักอะไรมาให้พี่ก็ต้องกิน
แกงขี้เหล็กก็ต้องทำจากใบขี้เหล็กนะครับ ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมเค้าถึงตั้งชื่อมันแบบนั้น ใบขี้เหล็กมีสรรพคุณในทางยาหลายอย่าง ที่สำคัญจริงๆก็คือเป็นยาเย็น ดับพิษไข้ คลายความเครียด บรรเทาอาการฟุ้งซ่านทางจิต ช่วยให้นอนหลับได้ดี บำรุงสมอง และอีกหลายอย่างมากมายแบบไม่น่าเชื่อ
เราเก็บยอดขี้เหล็กมาแล้วไม่ใช่เอาลงหม้อแกงได้เลยนะครับ ต้องลดความขมของมันซะก่อน เค้าว่าในความขมนั้นมีตัวยา แต่บางทีก็มีมากเกินไป ต้องให้มันพอดีๆ มีเพียงความรักเท่านั้นที่ไม่นับว่ามากเกินไป เอาใส่หม้อต้มให้สุก ต้มให้เดือดๆนานๆให้สีของมันออกมาในน้ำ เสร็จแล้วเปลี่ยนน้ำเย็น รูดใบไม้ออกจากกิ่ง บีบเอาน้ำออก จึงจะเอาใบขี้เหล็กที่ได้ไปแกงกินอีกที บางคนก็ต้มครั้งเดียว บางคนก็ต้มสองครั้งและบางคนก็ใส่เกลือลงไปเพื่อลดความขม ผมเองชอบแบบต้มครั้งเดียวให้มีรสขมหน่อยๆ มันจะได้พอรู้สึกว่าเรายังไม่ได้ด้านชาไปซะทั้งหมด ประสาทรับรสมันยังพอทำงานอยู่บ้าง
ระหว่างที่ต้มใบขี้เหล็กเราก็เริ่มตำพริกแกงเข้าซักครกนึง ก็เหมือนๆพริกแกงมาตรฐานนั่นแหละ พริกแห้ง ใหญ่ เล็ก แต่วันนี้เหมือนว่าพริกแห้งบางช้างจะหมดไปแล้ว ไม่เป็นไรนะเราใส่แค่พริกเม็ดเล็กก็ได้ ยังไงเราก็รักกันเหมือนเดิม หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูดไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกเหมือนกัน เม็ดผักชี ยี่หร่า ใส่กระชายนิดหน่อย เติมกะปิเล็กน้อย จับใส่ครกแล้วก็ตำ เอาพอเบาๆก็ได้ไม่ต้องถึงขนาดให้ทุ่งสะเทือน
ใบขี้เหล็กสุกได้ที่ยกหม้อลง เอาเนื้อหมูที่คลุกกับซอสปรุงรสขึ้นย่างบนตะแกรง เอาให้สุกๆ แห้งๆเลยก็ได้ รสสัมผัสเวลาอยู่ในแกงจะแน่นๆหอมๆกว่าใช้เนื้อที่ย่างพอสุกหรือใช้เนื้อสดๆเลย บางคนอาจจะแกงใส่เนื้อวัว หรือหนังวัว เมื่อก่อนตอนพ่อผมยังอยู่เค้าชอบกินแกงขี้เหล็กกับปลาช่อน จะปลาสดก็ได้หรือปลาช่อนแห้ง ปลาช่อนย่างก็ได้ เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยกินปลาแล้ว ก็แกงใส่เนื้อหมูย่างนี่แหละ เจือด้วยกากหมูหรือแคบหมูซะหน่อยก็อร่อยจนหมด
หั่นหมูย่างให้เป็นชิ้นๆ เตรียมใบขี้เหล็กที่บีบน้ำออกแล้ว พริกแกง น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ กะทิ
เอาหม้อขึ้นตั้งไฟ ใส่กะทิลงเคี่ยวให้พอแตกมันนิดหน่อย ใส่พริกแกงลงไปผัดให้สุก หอม เติมกะทิ เติมน้ำ ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บแค่นั้นครับ ปิดฝาให้เดือด ใส่ใบขี้เหล็ก ใส่เนื้อหมู ตั้งไฟเคี่ยวให้นุ่มซักไฟนึงครับ เท่านั้นก็เรียบร้อย
เป็นแกงรสชาติออกไปทางขมๆและหวานมัน มีรสเผ็ดพริกแกงจางๆไม่จัดจ้านมาก กินกับข้าวสวย โรยหน้าด้วยกากหมูกรอบซักเล็กน้อย หรือจะใส่ตอนหม้อเดือดๆให้กากหมูซึมซับรสแกงไปด้วยก็อร่อยไม่แพ้กัน
อ้ำ
เป็นไงครับ อร่อยใช่ไหมล่ะ
นี่แหละรสชาติของความชราล่ะ
...
แกงขี้เหล็ก
ผมเองเป็นคนที่ไม่ค่อยปรกตินักและมักจะป่วยไข้ออดๆแอดๆ แต่ถ้าไม่ถึงกับนอนสิ้นฤทธิ์พังพาบไปกับพื้นแล้วผมจะไม่ไปหาหมอ ไม่ไปไหนทั้งนั้นแหละ ผมถูกขังเอาไว้ด้วยกำแพงที่มองไม่เห็น ภรรยาของผมเป็นคนดูแลผมทุกอย่าง เธอเชื่อมั่นในลัทธิพึ่งพาตนเอง เริ่มกระบวนการรักษาโรคดูแลสุขภาพของผมด้วยระบบอาหารเป็นยา You Are What You Eat กินแบบไหนก็เป็นแบบนั้น คือกินอาหารอะไรเข้าไปมันก็แสดงผลแบบนั้นแหละ ผมต้องกินอาหารแบบควบคุม ซึ่งผมไม่ค่อยจะสบอารมณ์นัก แต่ก็ต้องกินเพราะยังไม่อยากตาย จริงๆแล้วตายไม่ค่อยน่ากลัว แต่อยู่อย่างช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยจะได้ลำบากและโหดร้ายกว่าความตายมากนัก พี่ไม่ได้กลัวความตาย แต่พี่กลัวว่าตายแล้วพี่จะไม่ได้อยู่กับเธอ
พี่ไม่ชอบกินผัก แต่ไม่ว่าเธอจะหาผักอะไรมาให้พี่ก็ต้องกิน
แกงขี้เหล็กก็ต้องทำจากใบขี้เหล็กนะครับ ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมเค้าถึงตั้งชื่อมันแบบนั้น ใบขี้เหล็กมีสรรพคุณในทางยาหลายอย่าง ที่สำคัญจริงๆก็คือเป็นยาเย็น ดับพิษไข้ คลายความเครียด บรรเทาอาการฟุ้งซ่านทางจิต ช่วยให้นอนหลับได้ดี บำรุงสมอง และอีกหลายอย่างมากมายแบบไม่น่าเชื่อ
เราเก็บยอดขี้เหล็กมาแล้วไม่ใช่เอาลงหม้อแกงได้เลยนะครับ ต้องลดความขมของมันซะก่อน เค้าว่าในความขมนั้นมีตัวยา แต่บางทีก็มีมากเกินไป ต้องให้มันพอดีๆ มีเพียงความรักเท่านั้นที่ไม่นับว่ามากเกินไป เอาใส่หม้อต้มให้สุก ต้มให้เดือดๆนานๆให้สีของมันออกมาในน้ำ เสร็จแล้วเปลี่ยนน้ำเย็น รูดใบไม้ออกจากกิ่ง บีบเอาน้ำออก จึงจะเอาใบขี้เหล็กที่ได้ไปแกงกินอีกที บางคนก็ต้มครั้งเดียว บางคนก็ต้มสองครั้งและบางคนก็ใส่เกลือลงไปเพื่อลดความขม ผมเองชอบแบบต้มครั้งเดียวให้มีรสขมหน่อยๆ มันจะได้พอรู้สึกว่าเรายังไม่ได้ด้านชาไปซะทั้งหมด ประสาทรับรสมันยังพอทำงานอยู่บ้าง
ระหว่างที่ต้มใบขี้เหล็กเราก็เริ่มตำพริกแกงเข้าซักครกนึง ก็เหมือนๆพริกแกงมาตรฐานนั่นแหละ พริกแห้ง ใหญ่ เล็ก แต่วันนี้เหมือนว่าพริกแห้งบางช้างจะหมดไปแล้ว ไม่เป็นไรนะเราใส่แค่พริกเม็ดเล็กก็ได้ ยังไงเราก็รักกันเหมือนเดิม หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูดไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกเหมือนกัน เม็ดผักชี ยี่หร่า ใส่กระชายนิดหน่อย เติมกะปิเล็กน้อย จับใส่ครกแล้วก็ตำ เอาพอเบาๆก็ได้ไม่ต้องถึงขนาดให้ทุ่งสะเทือน
ใบขี้เหล็กสุกได้ที่ยกหม้อลง เอาเนื้อหมูที่คลุกกับซอสปรุงรสขึ้นย่างบนตะแกรง เอาให้สุกๆ แห้งๆเลยก็ได้ รสสัมผัสเวลาอยู่ในแกงจะแน่นๆหอมๆกว่าใช้เนื้อที่ย่างพอสุกหรือใช้เนื้อสดๆเลย บางคนอาจจะแกงใส่เนื้อวัว หรือหนังวัว เมื่อก่อนตอนพ่อผมยังอยู่เค้าชอบกินแกงขี้เหล็กกับปลาช่อน จะปลาสดก็ได้หรือปลาช่อนแห้ง ปลาช่อนย่างก็ได้ เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยกินปลาแล้ว ก็แกงใส่เนื้อหมูย่างนี่แหละ เจือด้วยกากหมูหรือแคบหมูซะหน่อยก็อร่อยจนหมด
หั่นหมูย่างให้เป็นชิ้นๆ เตรียมใบขี้เหล็กที่บีบน้ำออกแล้ว พริกแกง น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ กะทิ
เอาหม้อขึ้นตั้งไฟ ใส่กะทิลงเคี่ยวให้พอแตกมันนิดหน่อย ใส่พริกแกงลงไปผัดให้สุก หอม เติมกะทิ เติมน้ำ ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บแค่นั้นครับ ปิดฝาให้เดือด ใส่ใบขี้เหล็ก ใส่เนื้อหมู ตั้งไฟเคี่ยวให้นุ่มซักไฟนึงครับ เท่านั้นก็เรียบร้อย
เป็นแกงรสชาติออกไปทางขมๆและหวานมัน มีรสเผ็ดพริกแกงจางๆไม่จัดจ้านมาก กินกับข้าวสวย โรยหน้าด้วยกากหมูกรอบซักเล็กน้อย หรือจะใส่ตอนหม้อเดือดๆให้กากหมูซึมซับรสแกงไปด้วยก็อร่อยไม่แพ้กัน
อ้ำ
เป็นไงครับ อร่อยใช่ไหมล่ะ
นี่แหละรสชาติของความชราล่ะ
...