เนื่องจาก Sanga ทำโปรเจคอสังหาที่ญี่ปุ่น ผมเลยพอมีความรู้เรื่องของแผ่นดินไหวในระดับหนึ่ง เลยอยากมาเล่าให้ฟังในช่วงเวลาที่หลายคนกำลังให้ความสนใจกับแผ่นดินไหวที่เกิดวันนี้ครับ
ประกันภัยแผ่นดินไหว..?
ประเทศญี่ปุ่นมีประกันภัยพิบัติ อย่างแผ่นดินไหวนะครับ โดยเบี้ยประกันค่อนข้างสูง ประมาณ 0-5-1% ของราคาทรัพย์ แต่ประกันประเภทนี้ รัฐจะร่วม subsidize ให้บริษัทประกันด้วยในกรณีที่ประกันต้องชดใช้หากมีการเสียหายที่รุนแรงมากๆ
เทคโนโลยีการก่อสร้าง..?
ส่วนมาตรฐานโครงสร้างอาคารของญี่ปุ่นมีกฏหมายเรื่องโครงสร้างอาคารที่ต้องสามารถทนต่อแผ่นดินไหวได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว (และนี่เป็นเหตุผลข้อนึง ที่การก่อสร้างอสังหาในญี่ปุ่นถึงมีต้นทุนสูงเป็นพิเศษ มันไม่ใช่แค่ค่าแรงสูง แต่วัสดุที่ใช้ก็มีสเปคสูงไปด้วย)
โดยระดับพื้นฐานคือ 耐震構造 (Taishin) เป็นการเสริมความแข็งแรงของเสา คาน ให้มากพอสำหรับแผ่นดินไหวในระดับพื้นฐาน (ภาพ 1)
ระดับสูงขึ้นมาอีกขั้นคือ 制震構造 (Seishin) จะมีอุปกรณ์เหมือนโช๊คอัพ เพื่อเอาไว้ดูดซับแรงสั่นสะเทือนก่อนจะถูกส่งต่อไปยังโครงสร้างหลัก โดยมากพวกคอนโดหรือตึกสูงส่วนใหญ่ใช้กัน (ภาพ 2)
และระดับสูงสุดคือ 免震構造 (Menshin) คือเทคโนโลยีแยกแรงสั่น ที่จะแยกตัวอาคารออกจากพื้นดินเลยโดยอาคารจะวางอยู่บนวัสดุที่เป็นเหมือนสปริงที่ยืดหยุ่นและแข็งแรงมาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาคารจะลอยตัวและเคลื่อนไหวอิสระไม่ได้รับผลกระทบจากการสั่นของพื้นดิน เทคโนโลยีตัวนี้แพงที่สุด จะใช้กับตึกที่มีความสำคัญของภาครัฐ หรือพวกโรงพยาบาล (ภาพ 3)
แต่การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการก่อสร้างในไทยแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะต้นทุนการก่อสร้างจะสูงขึ้นเป็นอย่างมาก คำถามสำคัญที่ต้องถามกันต่อไปคือ ความเสี่ยงของการเกิดแผ่นดินไหวในไทยนั้นต่ำกว่าในญี่ปุ่นแน่นอน แต่ถ้าแจ๊กพอตขึ้นมา ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่คงมีความสูญเสียที่รุนแรงแน่ๆ
รัฐจะสร้างสมดุลระหว่างกฏระเบียบที่เคร่งครัด กับภาระต้นทุนของภาคเอกชนอย่างไร เป็นความท้าทายที่ยากจริงๆ ครับ
cr Niran Pravithana
การใช้เทคโนโลยีทนต่อแผ่นดินไหวในการก่อสร้างในไทยแทบจะเป็นไปไม่ได้