ทำไมตลาดหุ้นเวียดนามโต 12% แม้ก่อนหน้ามีปัญหาธรรมาภิบาลเหมือนไทย ? เพราะ
1. การปรับปรุงกฎระเบียบ
2. การปรับปรุงกฎหมายหลักทรัพย์
3. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้
ตลาดหุ้นเวียดนามโต 12% ในปี 2024 แม้เผชิญคดีฉ้อโกงหลายราย ขณะที่ไทยติดลบต่อเนื่อง นักวิเคราะห์ชี้ปัจจัยหนุนจากการปรับปรุงกฎระเบียบ-กฎหมายหลักทรัพย์ พร้อมได้แรงหนุนจากโครงสร้างประชากรวัยหนุ่มสาวและเสถียรภาพทางการเมือง
มังกรหนุ่มที่รอเวลาผงาดคือ “ชื่อเล่น” ที่หลายคนนิยามให้เวียดนาม ประเทศที่เปรียบเสมือนเด็กหนุ่มที่กำลังเติบโตขึ้นมาท่ามกลางผู้เล่นในหลายประเทศที่กำลังหมดแรงลง หนึ่งตัวชี้วัดที่เห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุดคือตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเวียดนามปี 2024 ซึ่งโตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนที่ 6.4% ในขณะที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 2.5% เป็นรองเพียงเมียนมาที่เผชิญความไม่สงบในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจเวียดนามเท่านั้นที่ขยายตัวอย่างสดใสแต่ “ตลาดหุ้นเวียดนาม” อย่างตลาดหลักทรัพย์นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City Stock Exchange: HOSE) ก็เติบโตได้สูงที่สุดเป็นอันดับสองในอาเซียนที่ 12% โดยดัชนีฯ ปิด ณ สิ้นเดือน ธ.ค. ที่ 1,266.78 จุด
ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทย หรือ SET ติดลบ 15.2% ณ สิ้นปี 2023 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และยังปิดลบต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. ปี 2024 มาอยู่ที่ 1,400.2 จุด
ทำไมตลาดหุ้นเวียดนามโต 12% แม้ก่อนหน้ามีปัญหาธรรมาภิบาลเหมือนไทย ?
มิหนำซ้ำยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 1,200 จุดช่วงกลางเดือนก.พ. 2025 จนนักลงทุนหลายคนเริ่ม “หมดศรัทธา” กับดัชนีตลาดหุ้นไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งถ้าจะถามถึงสาเหตุนั้นก็ประกอบด้วยหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเศรษฐกิจเติบโตโตต่ำ หนี้ครัวเรือนสูง การเมืองในประเทศ หรือขาดบริษัทที่ทำหน้าที่เป็น Growth Stocks อย่างกลุ่มเทคโนโลยีชั้นสูง
แต่หนึ่งปัญหาสำคัญที่ทำลายความเชื่อมั่นนักลงทุนจนผู้เล่นรายย่อยค่อยๆ หายไปคือ ประเด็นเรื่องธรรมาภิบาลของผู้บริหารบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น หลังเกิดเหตุการณ์ ฉ้อโกง ยักยอกเงิน และตกแต่งบัญชีกับบางบริษัท
อย่างไรก็ตาม คำถามที่ตามมาคือในช่วง 1-2 ปี ก่อนหน้านี้ เวียดนามก็เผชิญกับคดีฉ้อโกง ฟอกเงิน ตกแต่งบัญชี คล้ายกับประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็น คดี Tan Hoang Minh Group ฉ้อโกงนักลงทุนกว่า 6,600 ราย มูลค่า 8.6 ล้านล้านดอง, คดี Van Thinh Phat Group ยักยอกเงินจาก ธนาคาร SCB ของเวียดนามมูลค่า 677 ล้านล้านดอง หรือ คดี FLC Group ปั่นหุ้นและยักยอก มูลค่า 4.3 ล้านล้านดอง แต่ ทว่าดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็นตลาดหุ้นที่เพอร์ฟอร์มได้ดีที่สุดอันดับต้นๆ ในอาเซียน
สาเหตุเป็นเพราะอะไร “กรุงเทพธุรกิจ” พาหาคำตอบไปพร้อมกัน!
สำรวจมาตรการกระตุ้นตลาดของเวียดนาม
สำนักข่าวท้องถิ่นด้านการลงทุน The Investor ของเวียดนามระบุถึงปัจจัยผลักดันตลาดหุ้นเวียดนามว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ
1. การปรับปรุงกฎระเบียบ:
ในเดือนก.ย. 2024 รัฐบาลเวียดนามออกนโยบาย “Circular 68” เป็นการแก้ไขและเพิ่มเติมกฎระเบียบ 4 ฉบับก่อนหน้า
Circular 68 คือกฎที่อนุญาตให้นักลงทุนสถาบันต่างชาติส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์โดยไม่ต้องวางเงินล่วงหน้าเต็มจำนวนซึ่งเปิดทางให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาดเวียดนามมากขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพคล่องในตลาด
กำหนดแผนการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษที่ชัดเจน
2. การปรับปรุงกฎหมายหลักทรัพย์:
สภาแห่งชาติเวียดนามได้ผ่านกฎหมายหลักทรัพย์ฉบับปรับปรุงเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2024 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ:
เพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการออกและซื้อขายหลักทรัพย์
เพิ่มบทบัญญัติเพื่อต่อต้านการฉ้อโกงและเพิ่มความรับผิดชอบของผู้กระทำผิด
จัดตั้งกรอบกฎหมายสำหรับการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ผ่านสำนักหักบัญชีกลาง (CCP)
3. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้:
ตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนของเวียดนามฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2024 โดย:
มูลค่าการออกหุ้นกู้รวมเกิน 455 ล้านล้านดอง เพิ่มขึ้น 32% จากปี 2023
การเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนมีมูลค่า 46.4 ล้านล้านดอง เพิ่มขึ้นกว่า 30%
การฟื้นตัวนี้เกิดจากการปรับปรุงคุณภาพผู้ออกตราสาร การเกิดขึ้นของหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bonds) และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
ทำไมตลาดหุ้นเวียดนามโต 12% แม้ก่อนหน้ามีปัญหาธรรมาภิบาลเหมือนไทย ?
นอกจากนี้ ตามรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ Vina Capital ของเวียดนามยังระบุว่า ตลาดมีสภาพคล่องที่น่าประหลาดใจ โดยมีมูลค่าการซื้อขายรายวันใกล้เคียงกับตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างอินโดนีเซียและสิงคโปร์ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในเวียดนามยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ตลาดหุ้นเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ
บทวิเคราะห์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า มีโอกาสที่ FTSE Russell จะประกาศปรับระดับตลาดหุ้นเวียดนามจาก "Frontier Market" เป็น "Secondary Emerging Market" ในเดือนก.ย. 2025 โดยปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การปฏิรูปของรัฐบาล,ความพร้อมด้านสภาพคล่องของตลาด และการสนับสนุนจากนักลงทุนรายย่อย
ด้านเหว่ย อ่าง นักวิเคราะห์ซึ่งเชี่ยวชาญด้านอาเซียนของ Bank of America Securities ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นบีซี ว่า เวียดนามยังคงเป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในบริบทของกลยุทธ์ "China plus one" เนื่องจากมีข้อได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งใกล้จีน ต้นทุนแรงงานที่แข่งขันได้ และมีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ ทั้งหมดยิ่งส่งเสริมให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น
มากไปกว่านั้น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในปี 2024 ยังแข็งแกร่ง โดยกำไรเพิ่มขึ้น 18.8% ในไตรมาส 3 และ 14% ในช่วง 9 เดือนแรก สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยจีดีพีเพิ่มขึ้น 7.4% ในไตรมาส 3 และ 6.82% ในช่วง 9 เดือนแรก ดังนั้นเมื่อรวมตลอดทั้งปีแล้วจีดีพีปี 2024 จึงโตได้ 6.4%
แนวโน้มตลาดหุ้นเวียดนามปี 2025
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามในปี 2025 บทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ Vina Capital คาดการณ์การเติบโตของกำไรที่ 20% โดยทุกภาคส่วนยกเว้นโบรกเกอร์คาดว่าจะมีการเติบโตสองหลัก ตลาดซื้อขายที่ P/E ล่วงหน้า 11 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต
ขณะที่ธีมการลงทุนสำคัญในปี 2025 ตามรายงานของ Vina Capital ประกอบด้วย การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ การฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และโอกาสในภาคธนาคาร เป็นต้น
ด้านนายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน อธิบายว่า แม้เวียดนามจะประสบปัญหาความไม่โปร่งใสในบางบริษัทคล้ายกับไทย แต่เวียดนามมีจุดเด่นเหนือกว่าในแง่การเติบโตเชิงโครงสร้างประชากร
"เวียดนามยังอยู่ในช่วงที่มีประชากรวัยทำงานจำนวนมาก โดยกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 5 ขวบและรองลงมาคือวัยทำงาน ต่างจากไทยที่กลุ่มประชากรหลักอยู่ที่ 40-42 ปี และกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย" นายกิจพณกล่าว
ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ชี้ว่า โครงสร้างประชากรที่ยังหนุ่มสาวของเวียดนามส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายมิติ ทั้งการบริโภค การขยายตัวของชนชั้นกลาง และการใช้จ่าย ขณะที่ไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนในหลายภาคส่วน เนื่องจากประชากรเข้าสู่วัยสูงอายุ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความต้องการสินค้าและบริการ ตลอดจนการจ้างงานในหลายธุรกิจ
นอกจากนี้ เสถียรภาพทางการเมืองยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญ "แม้เวียดนามจะปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ แต่มีเสถียรภาพทางการเมืองและความต่อเนื่องของนโยบาย ต่างจากไทยที่มีความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำและนโยบายบ่อยครั้ง"
"ในอดีต หากเศรษฐกิจเติบโตดี นักลงทุนอาจมองข้ามความเสี่ยงบางประการไปได้ แต่วันนี้เมื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตช้าและนโยบายขาดความต่อเนื่อง จึงทำให้นักลงทุนมองว่าการลงทุนในเวียดนามให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่น่าสนใจกว่า" นายกิจพณกล่าวสรุป
เวียดนามก็ยังมีความเสี่ยง
อีกด้านหนึ่งแม้เวียดนามจะเป็นหนึ่งประเทศที่นักวิเคราะห์หลายสำนักมองว่าน่าลงทุน ทว่าก็ยังมีปัญหาที่น่าจับตา โดยบทวิเคราะห์ของ The Investor ระบุว่า นอกจากนี้เรื่องการฉ้อโกงและความท้าทายด้านพลังงานแล้ว เวียดนามประสบปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์ที่สำคัญ โดยบริษัทหลักทรัพย์ VNDirect และ PVOIL ถูกโจมตี ส่งผลให้ระบบการซื้อขายและการดำเนินงานหยุดชะงัก
รวมทั้งในปีนี้ยังมีความท้าทายด้านค่าเงิน โดยคาดการณ์ว่าเงินดองจะอ่อนค่า 3% ในปี 2025 โดยเฉพาะในไตรมาส 1 แต่จะมีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงหลังของปี
ประกอบกับในปีที่แล้ว เวียดนามมีการจดทะเบียนบริษัทใหม่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีเพียง 10 บริษัท จากจำนวนธุรกิจที่ดำเนินการในเวียดนามมากกว่า 900,000 แห่ง สะท้อนถึงโอกาสที่หายไปในการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์
ท้ายที่สุด ตลอดทั้งปี 2024 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นประวัติการณ์ที่ 90 ล้านล้านดอง สูงกว่าปี 2023 ถึง 4 เท่า เนื่องจากโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในตลาดอื่น โดยเฉพาะในสหรัฐที่ดอลลาร์แข็งค่าและนโยบายปกป้องการค้าส่งเสริมผลการดำเนินงานของบริษัทอเมริกัน
https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1167762?anm&fbclid=IwY2xjawIl4g1leHRuA2FlbQIxMQABHfcud4fVtwTE0d55xXFXNGPiUU-mglDOzNfbbD8JepTpmawSFoSzWevKAQ_aem_eQ1Vzz1HzijJTt3BOnwOqg#google_vignette
ทำไมตลาดหุ้นเวียดนามโต 12% แม้ก่อนหน้ามีปัญหาธรรมาภิบาลเหมือนไทย ?
1. การปรับปรุงกฎระเบียบ
2. การปรับปรุงกฎหมายหลักทรัพย์
3. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้
ตลาดหุ้นเวียดนามโต 12% ในปี 2024 แม้เผชิญคดีฉ้อโกงหลายราย ขณะที่ไทยติดลบต่อเนื่อง นักวิเคราะห์ชี้ปัจจัยหนุนจากการปรับปรุงกฎระเบียบ-กฎหมายหลักทรัพย์ พร้อมได้แรงหนุนจากโครงสร้างประชากรวัยหนุ่มสาวและเสถียรภาพทางการเมือง
มังกรหนุ่มที่รอเวลาผงาดคือ “ชื่อเล่น” ที่หลายคนนิยามให้เวียดนาม ประเทศที่เปรียบเสมือนเด็กหนุ่มที่กำลังเติบโตขึ้นมาท่ามกลางผู้เล่นในหลายประเทศที่กำลังหมดแรงลง หนึ่งตัวชี้วัดที่เห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุดคือตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเวียดนามปี 2024 ซึ่งโตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนที่ 6.4% ในขณะที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 2.5% เป็นรองเพียงเมียนมาที่เผชิญความไม่สงบในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจเวียดนามเท่านั้นที่ขยายตัวอย่างสดใสแต่ “ตลาดหุ้นเวียดนาม” อย่างตลาดหลักทรัพย์นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City Stock Exchange: HOSE) ก็เติบโตได้สูงที่สุดเป็นอันดับสองในอาเซียนที่ 12% โดยดัชนีฯ ปิด ณ สิ้นเดือน ธ.ค. ที่ 1,266.78 จุด
ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทย หรือ SET ติดลบ 15.2% ณ สิ้นปี 2023 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และยังปิดลบต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. ปี 2024 มาอยู่ที่ 1,400.2 จุด
ทำไมตลาดหุ้นเวียดนามโต 12% แม้ก่อนหน้ามีปัญหาธรรมาภิบาลเหมือนไทย ?
มิหนำซ้ำยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 1,200 จุดช่วงกลางเดือนก.พ. 2025 จนนักลงทุนหลายคนเริ่ม “หมดศรัทธา” กับดัชนีตลาดหุ้นไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งถ้าจะถามถึงสาเหตุนั้นก็ประกอบด้วยหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเศรษฐกิจเติบโตโตต่ำ หนี้ครัวเรือนสูง การเมืองในประเทศ หรือขาดบริษัทที่ทำหน้าที่เป็น Growth Stocks อย่างกลุ่มเทคโนโลยีชั้นสูง
แต่หนึ่งปัญหาสำคัญที่ทำลายความเชื่อมั่นนักลงทุนจนผู้เล่นรายย่อยค่อยๆ หายไปคือ ประเด็นเรื่องธรรมาภิบาลของผู้บริหารบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น หลังเกิดเหตุการณ์ ฉ้อโกง ยักยอกเงิน และตกแต่งบัญชีกับบางบริษัท
อย่างไรก็ตาม คำถามที่ตามมาคือในช่วง 1-2 ปี ก่อนหน้านี้ เวียดนามก็เผชิญกับคดีฉ้อโกง ฟอกเงิน ตกแต่งบัญชี คล้ายกับประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็น คดี Tan Hoang Minh Group ฉ้อโกงนักลงทุนกว่า 6,600 ราย มูลค่า 8.6 ล้านล้านดอง, คดี Van Thinh Phat Group ยักยอกเงินจาก ธนาคาร SCB ของเวียดนามมูลค่า 677 ล้านล้านดอง หรือ คดี FLC Group ปั่นหุ้นและยักยอก มูลค่า 4.3 ล้านล้านดอง แต่ ทว่าดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็นตลาดหุ้นที่เพอร์ฟอร์มได้ดีที่สุดอันดับต้นๆ ในอาเซียน
สาเหตุเป็นเพราะอะไร “กรุงเทพธุรกิจ” พาหาคำตอบไปพร้อมกัน!
สำรวจมาตรการกระตุ้นตลาดของเวียดนาม
สำนักข่าวท้องถิ่นด้านการลงทุน The Investor ของเวียดนามระบุถึงปัจจัยผลักดันตลาดหุ้นเวียดนามว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ
1. การปรับปรุงกฎระเบียบ:
ในเดือนก.ย. 2024 รัฐบาลเวียดนามออกนโยบาย “Circular 68” เป็นการแก้ไขและเพิ่มเติมกฎระเบียบ 4 ฉบับก่อนหน้า
Circular 68 คือกฎที่อนุญาตให้นักลงทุนสถาบันต่างชาติส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์โดยไม่ต้องวางเงินล่วงหน้าเต็มจำนวนซึ่งเปิดทางให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาดเวียดนามมากขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพคล่องในตลาด
กำหนดแผนการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษที่ชัดเจน
2. การปรับปรุงกฎหมายหลักทรัพย์:
สภาแห่งชาติเวียดนามได้ผ่านกฎหมายหลักทรัพย์ฉบับปรับปรุงเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2024 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ:
เพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการออกและซื้อขายหลักทรัพย์
เพิ่มบทบัญญัติเพื่อต่อต้านการฉ้อโกงและเพิ่มความรับผิดชอบของผู้กระทำผิด
จัดตั้งกรอบกฎหมายสำหรับการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ผ่านสำนักหักบัญชีกลาง (CCP)
3. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้:
ตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนของเวียดนามฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2024 โดย:
มูลค่าการออกหุ้นกู้รวมเกิน 455 ล้านล้านดอง เพิ่มขึ้น 32% จากปี 2023
การเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนมีมูลค่า 46.4 ล้านล้านดอง เพิ่มขึ้นกว่า 30%
การฟื้นตัวนี้เกิดจากการปรับปรุงคุณภาพผู้ออกตราสาร การเกิดขึ้นของหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bonds) และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
ทำไมตลาดหุ้นเวียดนามโต 12% แม้ก่อนหน้ามีปัญหาธรรมาภิบาลเหมือนไทย ?
นอกจากนี้ ตามรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ Vina Capital ของเวียดนามยังระบุว่า ตลาดมีสภาพคล่องที่น่าประหลาดใจ โดยมีมูลค่าการซื้อขายรายวันใกล้เคียงกับตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างอินโดนีเซียและสิงคโปร์ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในเวียดนามยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ตลาดหุ้นเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ
บทวิเคราะห์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า มีโอกาสที่ FTSE Russell จะประกาศปรับระดับตลาดหุ้นเวียดนามจาก "Frontier Market" เป็น "Secondary Emerging Market" ในเดือนก.ย. 2025 โดยปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การปฏิรูปของรัฐบาล,ความพร้อมด้านสภาพคล่องของตลาด และการสนับสนุนจากนักลงทุนรายย่อย
ด้านเหว่ย อ่าง นักวิเคราะห์ซึ่งเชี่ยวชาญด้านอาเซียนของ Bank of America Securities ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นบีซี ว่า เวียดนามยังคงเป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในบริบทของกลยุทธ์ "China plus one" เนื่องจากมีข้อได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งใกล้จีน ต้นทุนแรงงานที่แข่งขันได้ และมีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ ทั้งหมดยิ่งส่งเสริมให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น
มากไปกว่านั้น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในปี 2024 ยังแข็งแกร่ง โดยกำไรเพิ่มขึ้น 18.8% ในไตรมาส 3 และ 14% ในช่วง 9 เดือนแรก สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยจีดีพีเพิ่มขึ้น 7.4% ในไตรมาส 3 และ 6.82% ในช่วง 9 เดือนแรก ดังนั้นเมื่อรวมตลอดทั้งปีแล้วจีดีพีปี 2024 จึงโตได้ 6.4%
แนวโน้มตลาดหุ้นเวียดนามปี 2025
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามในปี 2025 บทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ Vina Capital คาดการณ์การเติบโตของกำไรที่ 20% โดยทุกภาคส่วนยกเว้นโบรกเกอร์คาดว่าจะมีการเติบโตสองหลัก ตลาดซื้อขายที่ P/E ล่วงหน้า 11 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต
ขณะที่ธีมการลงทุนสำคัญในปี 2025 ตามรายงานของ Vina Capital ประกอบด้วย การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ การฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และโอกาสในภาคธนาคาร เป็นต้น
ด้านนายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน อธิบายว่า แม้เวียดนามจะประสบปัญหาความไม่โปร่งใสในบางบริษัทคล้ายกับไทย แต่เวียดนามมีจุดเด่นเหนือกว่าในแง่การเติบโตเชิงโครงสร้างประชากร
"เวียดนามยังอยู่ในช่วงที่มีประชากรวัยทำงานจำนวนมาก โดยกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 5 ขวบและรองลงมาคือวัยทำงาน ต่างจากไทยที่กลุ่มประชากรหลักอยู่ที่ 40-42 ปี และกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย" นายกิจพณกล่าว
ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ชี้ว่า โครงสร้างประชากรที่ยังหนุ่มสาวของเวียดนามส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายมิติ ทั้งการบริโภค การขยายตัวของชนชั้นกลาง และการใช้จ่าย ขณะที่ไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนในหลายภาคส่วน เนื่องจากประชากรเข้าสู่วัยสูงอายุ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความต้องการสินค้าและบริการ ตลอดจนการจ้างงานในหลายธุรกิจ
นอกจากนี้ เสถียรภาพทางการเมืองยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญ "แม้เวียดนามจะปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ แต่มีเสถียรภาพทางการเมืองและความต่อเนื่องของนโยบาย ต่างจากไทยที่มีความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำและนโยบายบ่อยครั้ง"
"ในอดีต หากเศรษฐกิจเติบโตดี นักลงทุนอาจมองข้ามความเสี่ยงบางประการไปได้ แต่วันนี้เมื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตช้าและนโยบายขาดความต่อเนื่อง จึงทำให้นักลงทุนมองว่าการลงทุนในเวียดนามให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่น่าสนใจกว่า" นายกิจพณกล่าวสรุป
เวียดนามก็ยังมีความเสี่ยง
อีกด้านหนึ่งแม้เวียดนามจะเป็นหนึ่งประเทศที่นักวิเคราะห์หลายสำนักมองว่าน่าลงทุน ทว่าก็ยังมีปัญหาที่น่าจับตา โดยบทวิเคราะห์ของ The Investor ระบุว่า นอกจากนี้เรื่องการฉ้อโกงและความท้าทายด้านพลังงานแล้ว เวียดนามประสบปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์ที่สำคัญ โดยบริษัทหลักทรัพย์ VNDirect และ PVOIL ถูกโจมตี ส่งผลให้ระบบการซื้อขายและการดำเนินงานหยุดชะงัก
รวมทั้งในปีนี้ยังมีความท้าทายด้านค่าเงิน โดยคาดการณ์ว่าเงินดองจะอ่อนค่า 3% ในปี 2025 โดยเฉพาะในไตรมาส 1 แต่จะมีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงหลังของปี
ประกอบกับในปีที่แล้ว เวียดนามมีการจดทะเบียนบริษัทใหม่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีเพียง 10 บริษัท จากจำนวนธุรกิจที่ดำเนินการในเวียดนามมากกว่า 900,000 แห่ง สะท้อนถึงโอกาสที่หายไปในการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์
ท้ายที่สุด ตลอดทั้งปี 2024 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นประวัติการณ์ที่ 90 ล้านล้านดอง สูงกว่าปี 2023 ถึง 4 เท่า เนื่องจากโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในตลาดอื่น โดยเฉพาะในสหรัฐที่ดอลลาร์แข็งค่าและนโยบายปกป้องการค้าส่งเสริมผลการดำเนินงานของบริษัทอเมริกัน
https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1167762?anm&fbclid=IwY2xjawIl4g1leHRuA2FlbQIxMQABHfcud4fVtwTE0d55xXFXNGPiUU-mglDOzNfbbD8JepTpmawSFoSzWevKAQ_aem_eQ1Vzz1HzijJTt3BOnwOqg#google_vignette