โรม ถามเดือดรบ. มีหัวใจไหม ช่วยเป่าคดีตากใบ ภูมิธรรมโต้กลับ อัดใช้อารมณ์ ไม่ช่วยแก้ปัญหา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4825374
“โรม” กังขารบ.-ตร.ช่วยเป่าคดีตากใบ หวังให้จบอายุความ ถาม “ภูมิธรรม” ยังมีหัวใจหรือไม่ ด้าน “บิ๊กอ้วน” แจงไม่ได้เจตนาฆ่ากัน แต่เกิดจากความอลหม่าน ลั่นวันนี้ต้องให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย เผยรบ.ยิ่งลักษณ์ เยียวยาแล้วรายละ 7 ล้าน ยันถ้ารู้ตัวผู้ต้องหาก็จับ
เมื่อเวลา 11.05 น.วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา ของ นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ถาม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่องการดำเนินคดีตากใบที่ใกล้จะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ว่า คดีตากใบใกล้จะหมดในอีก 22 วัน จะส่งผลต่อการดำเนินคดีใดๆกับผู้ที่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถดำเนินการได้อีกต่อไป ตราบใดที่คดีนี้ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย ทุกรัฐบาลล้วนต้องรับผิดชอบในการสะสาง จนกว่าสันติภาพชายแดนใต้จะเกิดขึ้น เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นเมื่อ 25 ตุลาคม 47 ในเวลานั้นผู้นำรัฐบาลคือนายทักษิณ ชินวัตร เป็นประวัติศาสตร์บาดแผลของคนในพื้นที่ที่อยู่คู่กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและอดีตนายกฯมาโดยตลอด
นาย
รังสิมันต์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลขณะนั้นตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงขึ้น 1 ชุด ผลการสอบสวนชี้ชัดว่าเกิดจากความบกร่องของเจ้าหน้าที่รัฐที่ควบคุมเหตุการณ์อันนำมาสู่โศกนาฏกรรม สุดท้ายผู้มีอำนาจทางการเมืองลืมเลือนเหตุการณ์ตากใบจนเกือบหมดอายุความ แต่ผู้เสียหายในคดีนี้ลุกขึ้นมาฟ้องเอาผิดเพื่อทำความจริงให้ปรากฏด้วยตนเอง ย้ำว่าคดีนี้ประชาชนร้องเอง ไม่ใช่ผลงานรัฐบาลเหมือนที่รัฐมนตรีบางคนพูดไว้ว่ามีความคืบหน้ามากที่สุดในรัฐบาลนี้
นาย
รังสิมันต์ กล่าวต่อว่า เหตุการณ์นี้ได้ทำลายความไว้วางใจประชาชนต่อรัฐอย่างสิ้นเชิง จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการฟื้นฟู ตนเป็นห่วงจริงๆ 25 ตุลาคม 2547 ภายใต้รัฐบาลของพรรคเพื่อไทย เป็นการฝังกลบความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อรัฐจนยากที่จะฟื้นคืน จะทำให้สันติภาพเป็นเพียงภาพฝันที่ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ มีอดีตนายกฯ 2 คนที่ออกมาขอโทษในเรื่องนี้ คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และอีกคนหนึ่งคือ นายทักษิณ ขอโทษเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ซึ่งครบรอบ 18 ปีเหตุการณ์ตากใบ ไม่น่าเชื่อต้องรอถึง 18 ปี จึงมีท่าทีเสียใจของอดีตนายกฯ ดังนั้น จึงอยากถามว่า จะทำอย่างไรเพื่อฟื้นความไว้วางใจของประชาชนในพื้นที่ และจะสร้างความรู้สึกของประชาชนให้กลับมาดี สมกับที่อดีตนายกฯเคยขอโทษอย่างไร
“
เหลือเวลาอีก 22 วัน กระบวนการที่ทางตำรวจจะต้องไปแจ้งข้อกล่าวหาใหม่กับเวลาแค่นี้ แล้วตำรวจอยู่กับใคร นายภูมิธรรมเป็นคนดู ท่านจะบอกว่า ให้มองอย่างสร้างสรรค์ มองแบบไม่รู้สึกอะไรหรือ ประทานโทษท่านยังมีหัวใจหรือเปล่า นึกไม่ออกว่า สหายใหญ่ซึ่งเคยผ่านเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้ว ถามว่า จะทำให้เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นแบบ 6 ตุลาหรือ ท่านส่องกระจกแล้วยังจำตัวเองได้หรือเปล่า สั้นๆง่ายๆนิดเดียว ว่าวันนี้มีการเป่าคดี มีความพยายามช่วยกัน หนึ่งในการช่วยกัน คือตำรวจ ถามว่าท่านในฐานะที่ดูแลตำรวจจะทำอย่างไร” นาย
รังสิมันต์ กล่าว
นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า ตนทราบดีว่าวันนี้มีการดำเนินคดีในศาล มีส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ถูกดำเนินคดีด้วย และยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อตามตัวใครก็ตามมาดำเนินการทางกฎหมาย วันนี้ประชาชนเริ่มคิดว่านายภูมิธรรมและรัฐบาลต้องการให้เรื่องจบแบบขาดอายุความ ซึ่งก็จะทำให้ไม่มีการสืบพยาน ไม่มีคำให้การ ซึ่งตนสนใจว่า ถ้ามีการให้การหรือสืบพยานสุดท้ายจะชี้ไปที่บุคคลที่ใหญ่กว่านั้นหรือไม่
ด้าน นาย
ภูมิธรรม ชี้แจงว่า ปัญหาชายแดนใต้ต้องเริ่มต้นแก้ไขด้วยเหตุผลและดูให้ครบทุกมิติ ไม่ใช่เริ่มจากความดุเดือด หรือมองแต่ด้านลบเพียงด้านเดียว ไม่ใช่มองเพียงว่าเจ้าหน้าที่ทำแบบโน้น ตรงนั้นตายแบบนี้ แต่เรื่องดังกล่าวมีองค์ประกอบเกี่ยวข้องหลายอย่าง และขอยืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับคดีนี้ ทุกเรื่องมีความสำคัญ แต่รัฐบาลต้องทำเรื่องเร่งด่วนในขณะนั้น คือน้ำท่วม โปรดเข้าใจว่าตนไม่ได้รู้สึกโกรธกับคำถามสื่อมวลชนที่ถามเรื่องคดีตากใบ
นาย
ภูมิธรรม ชี้แจงอีกว่า ทุกคนเสียใจกับเหตุการณ์ตากใบและสิ่งที่เกิดขึ้น เรื่องตากใบเกิดเมื่อปี 47 มีความจริงหลายมิติ รายงานสรุปว่าเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจเป็นหลัก เป็นเรื่องกระบวนการลำเลียงคน ขณะเกิดเหตุมีสื่อรายงานว่ามีนายทหารเตือนว่า การนำคนขึ้นไปจำนวนมากไม่ได้ ต้องเอาลงมา ดังนั้น การสรุปว่า มีเจตนาหวังจะเอาคนไปทับให้ตายถือว่าไม่ใช่ ขณะนั้น มีการสับสนอลวน เป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เหตุการณ์นี้ควรให้ความเป็นธรรม ไม่ใช่ตั้งใจจะฆ่ากัน แต่เป็นเรื่องความสับสนอลหม่าน
“
ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เยียวยาแล้ว ถึงรายละ 7 ล้านบาท และสัดส่วนที่ลดหลั่นลงไปตามความบาดเจ็บที่เกิดขึ้น ทั้งหมดพยายามให้เห็นว่า เรื่องเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้น และใช้เป็นอุทธาหรณ์มากกว่าทำให้เป็นเครื่องมืออธิบายว่า รัฐบาลตั้งใจจะฆ่าเขาหรือรัฐบาลไม่ใส่ใจ โดยไม่เห็นคุ้มค่าของเขา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราเสียใจ และไม่อยากเห็นเกิดขึ้น ไม่ใช่ความตั้งใจแต่เกิดจากความสับสนอลหม่าน” นาย
ภูมิธรรม กล่าว
นาย
ภูมิธรรม กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังหาตัวผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ ซึ่งฝ่ายรัฐต้องดำเนินการไป และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้ารู้ก็ต้องจับอยู่แล้ว พูดชัดเจนตลอดว่าอยากให้กระบวนการยุติธรรมทำหน้าที่ เพราะผู้ถูกกล่าวหาถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ คดีไปถึงจุดของมัน เกือบ20ปีแล้ว เพิ่งมารื้อฟื้นและเพิ่มคดีในตอนนี้ ตอนนั้นเคยมีการถามในการตัดสินว่าไม่ฟ้องคดีต่อ มีเวลา 15 วันที่จะให้ฟ้อง ตอนนั้นก็ไม่มีใครฟ้อง เราก็นึกว่า เรื่องนี้ยุติไปแล้ว เราก็ไม่อยากทำให้เป็นประเด็นแตกแยกเพียงแต่อยากใช้เป็นประสบการณ์และหาทางออก
นาย
ภูมิธรรม กล่าวด้วยว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการอยู่ ขอให้ใจเย็น แล้วมาดูว่าเรื่องนี้จะให้ความเป็นธรรมทั้งญาติผู้เสียชีวิต และคนที่ถูกกล่าวหาซึ่งไม่แน่ใจว่าเขาต้องมีส่วนในการรับผิดชอบหรือไม่ ทั้งหมดจะยุติได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการยุติธรรมเดินถึงที่สุด ฉะนั้นอย่าด่วนเอาตัวเองเป็นคนตัดสิน ทั้งนี้หากมีหลักฐานว่าตำรวจดึงคดีก็ว่ามาจะตรวจสอบให้ แต่อย่าคิดเองว่าศาล ตำรวจ อัยการ ตน และพรรคการเมืองเป็นแบบนั้นแบบนี้ ไม่ควรพูด แต่ควรจะนำข้อเท็จจริงมาคุยกัน ตนไม่อยากคุยเรื่องอารมณ์และการกล่าวหาโดยไม่มีเหตุผล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการถามของนาย
รังสิมันต์ มี นาย
ไชยวัฒนา ติณรัตน์ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงสลับกับ นาง
ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อยู่เป็นระยะเพราะมีการพาดพิงเรื่องราวในอดีต อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายการตอบกระทู้ของนาย
ภูมิธรรม นาย
รังสิมันต์ขอชี้แจง แต่ประธานที่ประชุมไม่อนุญาต เนื่องจากได้ใช้เวลาหมดแล้ว และนาย
รังสิมันต์ เป็นฝ่ายพาดพิงก่อน จนเกิดการโต้เถียงประท้วง ว่า นายภราดรทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง ก่อนที่จะไกล่เกลี่ยกันจนสามารถไปกระทู้ต่อไปได้.
ส.ส.เชียงใหม่ จี้ รัฐยกระดับแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม ทรงศักดิ์ แจงเตรียมของบ ติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4825642
“ส.ส.ปชน.” จี้รัฐยกระดับแจ้งเตือนภัยพิบัติน้ำท่วม ด้าน “ทรงศักดิ์” แจงเตรียมของบจาก กสทช.ติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือน คาด ปี 68 ดำเนินการได้
เมื่อเวลา 11.55 น. วันที่ 3 ตุลาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา ของ นาย
ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคประชาชน ถาม รมว.มหาดไทย ว่า จากเหตุอุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังประสบภัยอยู่ในขณะนี้ ซึ่งไม่ใช่แค่อำเภอเมืองเท่านั้น ยังมีอีกหลายอำเภอ ซึ่งน้ำท่วมเกิดจากสาเหตุ ที่ 1.เกิดจากการเอ่อล้นของแม่น้ำปิงและแม่น้ำกวง 2.น้ำท่วมขังและระบายออกไม่ได้ และ 3 น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งไม่มีการแจ้งเตือนเลย ทั้งๆ ที่เรามีข้อมูลพร้อมที่จะแจ้งเตือนอยู่แล้ว
“
อยากถามว่ารัฐมีการแจ้งเตือนแบบไหนบ้าง และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนอย่างไร รวมถึงการเตือนภัยระดับพื้นที่ในการแจ้งเตือนน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมฉับพลัน การส่งข้อความทางเอสเอ็มเอส ระบบหอเตือนภัย ระเบียบสำนักนายกฯ และข้อตกลงอาเซียนเพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติจากประเทศเพื่อนบ้าน และจะมีการปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนหรือไม่ เพราะถ้ายังเป็นอย่างนี้ ตนเป็นห่วงว่าโครงการเซลล์บรอดแคสต์ที่ใช้งบประมาณกว่า 540 ล้านบาท ต่อให้มีโครงการ แต่ข้อความยังผลิตไม่ได้ก็แจ้งเตือนอะไรไม่ได้”
นาย
ภัทรพงษ์ถามต่อว่า มีเกณฑ์อะไรในการพิจารณายกระดับ จากระดับสองเป็นระดับสาม และมีแผนงานที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับมือภัยพิบัติอย่างไร ทั้งในด้านงบประมาณและบุคลากร รวมถึงเรื่องเงินเยียวยา ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพราะเชียงใหม่กำลังจะเจอน้ำท่วมรอบใหม่ คิดว่าเงินทดลองราชการ 10 ล้านบาท เพื่อป้องกันยับยั้ง และ 20 สำหรับเยียวยา และจังหวัดเชียงใหม่ได้รับการขยายวงเงินออกไป 100 ล้านบาท น่าจะไม่เพียงพอ มีแนวทางในการขยายวงเงินตรงนี้หรือไม่อย่างไร และจะทำได้เมื่อไหร่ และขอให้รัฐมนตรีรับปากว่า ประชาชนทุกคนที่ประสบอุทกภัยไม่ว่าจะมีกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือไม่มีกรรมสิทธิ์ต้องได้รับการเยียวยา
ด้าน นาย
ทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย ได้รับมอบหมายจาก รมว.มหาดไทย ชี้แจงว่า อุทกภัยเกิดขึ้นในหลายจังหวัด ซึ่งไม่ได้เกิดแค่เชียงใหม่จังหวัดเดียว ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในพื้นที่ 37 จังหวัด ซึ่งการแจ้งเตือนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด ถ้าเรารู้ว่าภัยจะเกิด และมีเวลาเพียงพอในการป้องกันโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงลดการสูญเสียก็ทำได้มาก ซึ่งในสถานการณ์ที่ประชาชนอาจได้รับข้อมูลข่าวสารในเวลาจำกัด เบื้องต้น รมว.มหาดไทย เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวโดยมีนโยบายในการแก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดตามสภาพอากาศ ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัย ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของสถานที่ที่ใช้ในการเก็บกักน้ำ ดูแลเครื่องจักรกล ในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นแผนที่ทุกครั้งที่เข้าสู่ช่วงหน้าฝน กระทรวงมหาดไทยสั่งการออกไปเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ต้องเตรียมความพร้อม เพื่อดำเนินการได้ทันท่วงที และมีการติดตามอยู่ตลอดเวลาว่าหน่วยงานทั้งหลายที่ได้สั่งการไป ดำเนินการหรือไม่อย่างไร
JJNY : 5in1 โรมถามเดือดรบ.│ส.ส.เชียงใหม่จี้ยกระดับแจ้งเตือน│ภาคปชช. บุกสภาฯ│หุ้นร่วง 8.67จุด│ปางช้างเชียงใหม่ย้ายหนีน้ำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4825374
“โรม” กังขารบ.-ตร.ช่วยเป่าคดีตากใบ หวังให้จบอายุความ ถาม “ภูมิธรรม” ยังมีหัวใจหรือไม่ ด้าน “บิ๊กอ้วน” แจงไม่ได้เจตนาฆ่ากัน แต่เกิดจากความอลหม่าน ลั่นวันนี้ต้องให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย เผยรบ.ยิ่งลักษณ์ เยียวยาแล้วรายละ 7 ล้าน ยันถ้ารู้ตัวผู้ต้องหาก็จับ
เมื่อเวลา 11.05 น.วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา ของ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ถาม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่องการดำเนินคดีตากใบที่ใกล้จะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ว่า คดีตากใบใกล้จะหมดในอีก 22 วัน จะส่งผลต่อการดำเนินคดีใดๆกับผู้ที่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถดำเนินการได้อีกต่อไป ตราบใดที่คดีนี้ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย ทุกรัฐบาลล้วนต้องรับผิดชอบในการสะสาง จนกว่าสันติภาพชายแดนใต้จะเกิดขึ้น เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นเมื่อ 25 ตุลาคม 47 ในเวลานั้นผู้นำรัฐบาลคือนายทักษิณ ชินวัตร เป็นประวัติศาสตร์บาดแผลของคนในพื้นที่ที่อยู่คู่กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและอดีตนายกฯมาโดยตลอด
นายรังสิมันต์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลขณะนั้นตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงขึ้น 1 ชุด ผลการสอบสวนชี้ชัดว่าเกิดจากความบกร่องของเจ้าหน้าที่รัฐที่ควบคุมเหตุการณ์อันนำมาสู่โศกนาฏกรรม สุดท้ายผู้มีอำนาจทางการเมืองลืมเลือนเหตุการณ์ตากใบจนเกือบหมดอายุความ แต่ผู้เสียหายในคดีนี้ลุกขึ้นมาฟ้องเอาผิดเพื่อทำความจริงให้ปรากฏด้วยตนเอง ย้ำว่าคดีนี้ประชาชนร้องเอง ไม่ใช่ผลงานรัฐบาลเหมือนที่รัฐมนตรีบางคนพูดไว้ว่ามีความคืบหน้ามากที่สุดในรัฐบาลนี้
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า เหตุการณ์นี้ได้ทำลายความไว้วางใจประชาชนต่อรัฐอย่างสิ้นเชิง จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการฟื้นฟู ตนเป็นห่วงจริงๆ 25 ตุลาคม 2547 ภายใต้รัฐบาลของพรรคเพื่อไทย เป็นการฝังกลบความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อรัฐจนยากที่จะฟื้นคืน จะทำให้สันติภาพเป็นเพียงภาพฝันที่ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ มีอดีตนายกฯ 2 คนที่ออกมาขอโทษในเรื่องนี้ คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และอีกคนหนึ่งคือ นายทักษิณ ขอโทษเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ซึ่งครบรอบ 18 ปีเหตุการณ์ตากใบ ไม่น่าเชื่อต้องรอถึง 18 ปี จึงมีท่าทีเสียใจของอดีตนายกฯ ดังนั้น จึงอยากถามว่า จะทำอย่างไรเพื่อฟื้นความไว้วางใจของประชาชนในพื้นที่ และจะสร้างความรู้สึกของประชาชนให้กลับมาดี สมกับที่อดีตนายกฯเคยขอโทษอย่างไร
“เหลือเวลาอีก 22 วัน กระบวนการที่ทางตำรวจจะต้องไปแจ้งข้อกล่าวหาใหม่กับเวลาแค่นี้ แล้วตำรวจอยู่กับใคร นายภูมิธรรมเป็นคนดู ท่านจะบอกว่า ให้มองอย่างสร้างสรรค์ มองแบบไม่รู้สึกอะไรหรือ ประทานโทษท่านยังมีหัวใจหรือเปล่า นึกไม่ออกว่า สหายใหญ่ซึ่งเคยผ่านเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้ว ถามว่า จะทำให้เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นแบบ 6 ตุลาหรือ ท่านส่องกระจกแล้วยังจำตัวเองได้หรือเปล่า สั้นๆง่ายๆนิดเดียว ว่าวันนี้มีการเป่าคดี มีความพยายามช่วยกัน หนึ่งในการช่วยกัน คือตำรวจ ถามว่าท่านในฐานะที่ดูแลตำรวจจะทำอย่างไร” นายรังสิมันต์ กล่าว
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตนทราบดีว่าวันนี้มีการดำเนินคดีในศาล มีส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ถูกดำเนินคดีด้วย และยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อตามตัวใครก็ตามมาดำเนินการทางกฎหมาย วันนี้ประชาชนเริ่มคิดว่านายภูมิธรรมและรัฐบาลต้องการให้เรื่องจบแบบขาดอายุความ ซึ่งก็จะทำให้ไม่มีการสืบพยาน ไม่มีคำให้การ ซึ่งตนสนใจว่า ถ้ามีการให้การหรือสืบพยานสุดท้ายจะชี้ไปที่บุคคลที่ใหญ่กว่านั้นหรือไม่
ด้าน นายภูมิธรรม ชี้แจงว่า ปัญหาชายแดนใต้ต้องเริ่มต้นแก้ไขด้วยเหตุผลและดูให้ครบทุกมิติ ไม่ใช่เริ่มจากความดุเดือด หรือมองแต่ด้านลบเพียงด้านเดียว ไม่ใช่มองเพียงว่าเจ้าหน้าที่ทำแบบโน้น ตรงนั้นตายแบบนี้ แต่เรื่องดังกล่าวมีองค์ประกอบเกี่ยวข้องหลายอย่าง และขอยืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับคดีนี้ ทุกเรื่องมีความสำคัญ แต่รัฐบาลต้องทำเรื่องเร่งด่วนในขณะนั้น คือน้ำท่วม โปรดเข้าใจว่าตนไม่ได้รู้สึกโกรธกับคำถามสื่อมวลชนที่ถามเรื่องคดีตากใบ
นายภูมิธรรม ชี้แจงอีกว่า ทุกคนเสียใจกับเหตุการณ์ตากใบและสิ่งที่เกิดขึ้น เรื่องตากใบเกิดเมื่อปี 47 มีความจริงหลายมิติ รายงานสรุปว่าเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจเป็นหลัก เป็นเรื่องกระบวนการลำเลียงคน ขณะเกิดเหตุมีสื่อรายงานว่ามีนายทหารเตือนว่า การนำคนขึ้นไปจำนวนมากไม่ได้ ต้องเอาลงมา ดังนั้น การสรุปว่า มีเจตนาหวังจะเอาคนไปทับให้ตายถือว่าไม่ใช่ ขณะนั้น มีการสับสนอลวน เป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เหตุการณ์นี้ควรให้ความเป็นธรรม ไม่ใช่ตั้งใจจะฆ่ากัน แต่เป็นเรื่องความสับสนอลหม่าน
“ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เยียวยาแล้ว ถึงรายละ 7 ล้านบาท และสัดส่วนที่ลดหลั่นลงไปตามความบาดเจ็บที่เกิดขึ้น ทั้งหมดพยายามให้เห็นว่า เรื่องเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้น และใช้เป็นอุทธาหรณ์มากกว่าทำให้เป็นเครื่องมืออธิบายว่า รัฐบาลตั้งใจจะฆ่าเขาหรือรัฐบาลไม่ใส่ใจ โดยไม่เห็นคุ้มค่าของเขา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราเสียใจ และไม่อยากเห็นเกิดขึ้น ไม่ใช่ความตั้งใจแต่เกิดจากความสับสนอลหม่าน” นายภูมิธรรม กล่าว
นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังหาตัวผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ ซึ่งฝ่ายรัฐต้องดำเนินการไป และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้ารู้ก็ต้องจับอยู่แล้ว พูดชัดเจนตลอดว่าอยากให้กระบวนการยุติธรรมทำหน้าที่ เพราะผู้ถูกกล่าวหาถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ คดีไปถึงจุดของมัน เกือบ20ปีแล้ว เพิ่งมารื้อฟื้นและเพิ่มคดีในตอนนี้ ตอนนั้นเคยมีการถามในการตัดสินว่าไม่ฟ้องคดีต่อ มีเวลา 15 วันที่จะให้ฟ้อง ตอนนั้นก็ไม่มีใครฟ้อง เราก็นึกว่า เรื่องนี้ยุติไปแล้ว เราก็ไม่อยากทำให้เป็นประเด็นแตกแยกเพียงแต่อยากใช้เป็นประสบการณ์และหาทางออก
นายภูมิธรรม กล่าวด้วยว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการอยู่ ขอให้ใจเย็น แล้วมาดูว่าเรื่องนี้จะให้ความเป็นธรรมทั้งญาติผู้เสียชีวิต และคนที่ถูกกล่าวหาซึ่งไม่แน่ใจว่าเขาต้องมีส่วนในการรับผิดชอบหรือไม่ ทั้งหมดจะยุติได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการยุติธรรมเดินถึงที่สุด ฉะนั้นอย่าด่วนเอาตัวเองเป็นคนตัดสิน ทั้งนี้หากมีหลักฐานว่าตำรวจดึงคดีก็ว่ามาจะตรวจสอบให้ แต่อย่าคิดเองว่าศาล ตำรวจ อัยการ ตน และพรรคการเมืองเป็นแบบนั้นแบบนี้ ไม่ควรพูด แต่ควรจะนำข้อเท็จจริงมาคุยกัน ตนไม่อยากคุยเรื่องอารมณ์และการกล่าวหาโดยไม่มีเหตุผล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการถามของนายรังสิมันต์ มี นายไชยวัฒนา ติณรัตน์ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงสลับกับ นางศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อยู่เป็นระยะเพราะมีการพาดพิงเรื่องราวในอดีต อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายการตอบกระทู้ของนายภูมิธรรม นายรังสิมันต์ขอชี้แจง แต่ประธานที่ประชุมไม่อนุญาต เนื่องจากได้ใช้เวลาหมดแล้ว และนายรังสิมันต์ เป็นฝ่ายพาดพิงก่อน จนเกิดการโต้เถียงประท้วง ว่า นายภราดรทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง ก่อนที่จะไกล่เกลี่ยกันจนสามารถไปกระทู้ต่อไปได้.
ส.ส.เชียงใหม่ จี้ รัฐยกระดับแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม ทรงศักดิ์ แจงเตรียมของบ ติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4825642
“ส.ส.ปชน.” จี้รัฐยกระดับแจ้งเตือนภัยพิบัติน้ำท่วม ด้าน “ทรงศักดิ์” แจงเตรียมของบจาก กสทช.ติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือน คาด ปี 68 ดำเนินการได้
เมื่อเวลา 11.55 น. วันที่ 3 ตุลาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา ของ นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคประชาชน ถาม รมว.มหาดไทย ว่า จากเหตุอุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังประสบภัยอยู่ในขณะนี้ ซึ่งไม่ใช่แค่อำเภอเมืองเท่านั้น ยังมีอีกหลายอำเภอ ซึ่งน้ำท่วมเกิดจากสาเหตุ ที่ 1.เกิดจากการเอ่อล้นของแม่น้ำปิงและแม่น้ำกวง 2.น้ำท่วมขังและระบายออกไม่ได้ และ 3 น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งไม่มีการแจ้งเตือนเลย ทั้งๆ ที่เรามีข้อมูลพร้อมที่จะแจ้งเตือนอยู่แล้ว
“อยากถามว่ารัฐมีการแจ้งเตือนแบบไหนบ้าง และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนอย่างไร รวมถึงการเตือนภัยระดับพื้นที่ในการแจ้งเตือนน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมฉับพลัน การส่งข้อความทางเอสเอ็มเอส ระบบหอเตือนภัย ระเบียบสำนักนายกฯ และข้อตกลงอาเซียนเพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติจากประเทศเพื่อนบ้าน และจะมีการปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนหรือไม่ เพราะถ้ายังเป็นอย่างนี้ ตนเป็นห่วงว่าโครงการเซลล์บรอดแคสต์ที่ใช้งบประมาณกว่า 540 ล้านบาท ต่อให้มีโครงการ แต่ข้อความยังผลิตไม่ได้ก็แจ้งเตือนอะไรไม่ได้”
นายภัทรพงษ์ถามต่อว่า มีเกณฑ์อะไรในการพิจารณายกระดับ จากระดับสองเป็นระดับสาม และมีแผนงานที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับมือภัยพิบัติอย่างไร ทั้งในด้านงบประมาณและบุคลากร รวมถึงเรื่องเงินเยียวยา ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพราะเชียงใหม่กำลังจะเจอน้ำท่วมรอบใหม่ คิดว่าเงินทดลองราชการ 10 ล้านบาท เพื่อป้องกันยับยั้ง และ 20 สำหรับเยียวยา และจังหวัดเชียงใหม่ได้รับการขยายวงเงินออกไป 100 ล้านบาท น่าจะไม่เพียงพอ มีแนวทางในการขยายวงเงินตรงนี้หรือไม่อย่างไร และจะทำได้เมื่อไหร่ และขอให้รัฐมนตรีรับปากว่า ประชาชนทุกคนที่ประสบอุทกภัยไม่ว่าจะมีกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือไม่มีกรรมสิทธิ์ต้องได้รับการเยียวยา
ด้าน นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย ได้รับมอบหมายจาก รมว.มหาดไทย ชี้แจงว่า อุทกภัยเกิดขึ้นในหลายจังหวัด ซึ่งไม่ได้เกิดแค่เชียงใหม่จังหวัดเดียว ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในพื้นที่ 37 จังหวัด ซึ่งการแจ้งเตือนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด ถ้าเรารู้ว่าภัยจะเกิด และมีเวลาเพียงพอในการป้องกันโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงลดการสูญเสียก็ทำได้มาก ซึ่งในสถานการณ์ที่ประชาชนอาจได้รับข้อมูลข่าวสารในเวลาจำกัด เบื้องต้น รมว.มหาดไทย เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวโดยมีนโยบายในการแก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดตามสภาพอากาศ ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัย ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของสถานที่ที่ใช้ในการเก็บกักน้ำ ดูแลเครื่องจักรกล ในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นแผนที่ทุกครั้งที่เข้าสู่ช่วงหน้าฝน กระทรวงมหาดไทยสั่งการออกไปเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ต้องเตรียมความพร้อม เพื่อดำเนินการได้ทันท่วงที และมีการติดตามอยู่ตลอดเวลาว่าหน่วยงานทั้งหลายที่ได้สั่งการไป ดำเนินการหรือไม่อย่างไร