หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไม HYBE เลือกที่จะฟ้อง Min Hee Jin อย่างคดีแรกอย่างที่เรารู้กันว่าแพ้ไปแล้ว (จริง ๆ หลาย ๆ อันที่คนคิดว่ายังไม่ตัดสิน จริง ๆ แล้วตัดสินไปแล้วในคดีนั้น) รวมถึงการฟ้องโดยโจทก์หลากหลายนิติบุคคลและบุคคล (หลาย ๆ อันไม่น่าจะชนะ) วันนี้ผมจึงขอชวนชาวบันนี่มาเพิ่มความรู้กันครับ (เราอย่าเป็นแบบติ่งบางส่วนที่ไม่คิดเพิ่มความรู้แล้วท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองสร้างวาทะกรรมแสดงความเกลียดชังกันเลยครับ)
ผู้เขียนคาดเดาว่าหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ HYBE เลือกที่จะฟ้องร้อง Min Hee Jin และฟ้องอย่างต่อเนื่องเป็นการฟ้องร้องแบบ
SLAPP ครับหรือก็คือ
Strategic Lawsuit Against Public Participation มาถึงตรงนี้คำศัพท์อาจจะทำให้หลาย ๆ คนตกใจ รวมถึงผมด้วยเมื่ออ่านครั้งแรกจากเหตุการณ์การเมืองในไทยเราที่มีความพยายามในการฟ้องปิดปากคนจำนวนมากครับ
ถามว่า SLAPP แปลเป็นไทยคืออะไร? คำตอบคือ
การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน หรือคนที่กล้าออกมาเปิดโปงข้อเท็จจริง เรียกกันสั้นๆ ว่า ‘คดีปิดปาก’ คือการฟ้องคดีเพื่อมีวัตถุประสงค์กลั่นแกล้ง หรือสร้างภาระให้กับบุคคลที่ออกมาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือออกมามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของประชาชนหรือชุมชน ซึ่งการฟ้องคดีไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับความยุติธรรมตามกฎหมาย แต่เพื่อใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ ‘ปิดปาก’ คนที่แสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ (Quote มาจาก The Standard นะ)
พูดง่าย ๆ ภาษาชาวบ้านให้เข้าใจเลยคือเป็นกระบวนการที่ใช้ช่องที่กฎหมายอนุญาตให้ฟ้องร้องหมิ่นประมาทได้หากทำการแสดงความเห็น เผยแพร่ รวมถึงการแถลงหรืออะไรต่าง ๆ โดยเป็นการทำที่ไม่ได้หวังผลชนะ (คุ้น ๆ มั้ยครับ) แต่เป็นการกระทำเพื่อสร้างความลำบากให้กับคนที่ออกมาพูดประเด็นอะไรบางอย่างในสังคม
จริง ๆ แล้วคิดว่าเคยมีคนพูดถึงไปแล้วแหละครับเรื่องนี้ใน Pantip ว่าจุดมุ่งหมายของ HYBE ไม่ใช่การเอาชนะ MHJ ด้วยกฎหมาย แต่เป็นการทำให้ MHJ ลำบาก
ต้องหาเงินมาใช้ในการสู้คดี ไปศาล สู้คดี หาพยานหลักฐาน
รวมถึงการนำมาซึ่งความเครียด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ถ้าไม่ใช่ MHJ ไม่น่ารอดไปตั้งแต่รอบแรกแล้วครับ หลาย ๆ รายที่ถูกปิดปากด้วยเครื่องมือนี้มักจะยินยอมเจรจาไกล่เกลี่ยกับเจ้าทุกข์ แต่นั่นไม่ใช่ MHJ ครับ (การสู้คดีมันใช้เงินเยอะมากเลยนะครับ จ้างทนายดี ๆ ก็แทบหมดตัวกันแล้วครับ อย่าง MHJ เหมือนวันนี้นางจะอ้างว่าต้องขายบ้านเพื่อสู้คดี)
ถามว่าแล้วทำไมกฎหมายและนักกฎหมายไม่หาวิธีแก้ปัญหา คำตอบคือ เค้าหากันแล้วครับ หลาย ๆ ประเทศมีกฎหมายป้องการกัน SLAPP แล้วหรือเรียกว่า Anti-SLAPP Law คำถามคือในเกาหลีมีกฎหมายตัวนี้หรือยัง? คำตอบคือยังครับ ดังนั้นจึงทำให้ที่ผ่านมาในเกาหลีมี Case Study ของคดีแบบนี้ค่อนข้างเยอะครับ ผมคิดว่าสามารถนับคดี MHJ เป็นหนึ่งในการ SLAPP ได้เลย (สังเกตดูหลัง ๆ มานี้คดีส่วนใหญ่เป็นคดีแนว ๆ หมิ่นประมาทเยอะเลยครับ)
จุดสังเกตของคดีประเภทนี้อีกอย่างคือ ปกติแล้วโจทก์ย่อมอยากเอาชนะภายในเวลาอันสั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ใช้กลยุทธ์ที่ผมว่ามา เมื่อนั้นโจทก์จะพยายามประวิงเวลา เพื่อให้จำเลยมีความลำบากอย่างที่ผมได้เกริ่นไปทั้งทางกายและทางใจ รวมถึงลำบากทางด้านการเงินด้วยเช่นกัน (คุ้น ๆ ยังครับเรื่องพยายามประวิงเวลาให้ Min Hee Jin เสียเวลาสู้คดีหลาย ๆ คดี)
นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตเพิ่มเติมนะครับว่า HYBE มีความพยายามฟ้องประชาชนที่ออกมาให้ข้อมูลครับ สังเกตได้จากกรณีนักข่าว รวมถึงคดีความที่เกี่ยวข้องกับผู้กำกับครับ
สำหรับความรู้ประจำวันนี้ก็ขอนำเสนอประมาณนี้ครับ ขอบอกก่อนเลยว่าผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายนะครับ พวกท่านสามารถเสริมกันได้เลยนะครับ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องกฎหมายเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันใกล้ตัวมาก ๆ จนทำให้ผมเชื่อว่า ทุก ๆ ท่านควรจะหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายไว้เผื่อวันหนึ่งที่ท่านถูก SLAPP จะได้ไม่ตกใจไปครับ ขอบคุณครับ
ขอขอบคุณ Source จาก The Standard และ ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในเกาหลีจาก Linkedin ครับ
Source:
https://thestandard.co/slapp-prosecution-of-the-authority/
https://www.linkedin.com/pulse/why-south-korea-must-adopt-anti-slapp-legislation-maru-kim-90lnc
มาทำความรู้จัก SLAPP กันครับ กลยุทธ์ในการเอาชนะที่ HYBE คิดว่าจะทำให้ตัวเองชนะ
ผู้เขียนคาดเดาว่าหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ HYBE เลือกที่จะฟ้องร้อง Min Hee Jin และฟ้องอย่างต่อเนื่องเป็นการฟ้องร้องแบบ SLAPP ครับหรือก็คือ Strategic Lawsuit Against Public Participation มาถึงตรงนี้คำศัพท์อาจจะทำให้หลาย ๆ คนตกใจ รวมถึงผมด้วยเมื่ออ่านครั้งแรกจากเหตุการณ์การเมืองในไทยเราที่มีความพยายามในการฟ้องปิดปากคนจำนวนมากครับ
ถามว่า SLAPP แปลเป็นไทยคืออะไร? คำตอบคือ การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน หรือคนที่กล้าออกมาเปิดโปงข้อเท็จจริง เรียกกันสั้นๆ ว่า ‘คดีปิดปาก’ คือการฟ้องคดีเพื่อมีวัตถุประสงค์กลั่นแกล้ง หรือสร้างภาระให้กับบุคคลที่ออกมาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือออกมามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของประชาชนหรือชุมชน ซึ่งการฟ้องคดีไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับความยุติธรรมตามกฎหมาย แต่เพื่อใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ ‘ปิดปาก’ คนที่แสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ (Quote มาจาก The Standard นะ)
พูดง่าย ๆ ภาษาชาวบ้านให้เข้าใจเลยคือเป็นกระบวนการที่ใช้ช่องที่กฎหมายอนุญาตให้ฟ้องร้องหมิ่นประมาทได้หากทำการแสดงความเห็น เผยแพร่ รวมถึงการแถลงหรืออะไรต่าง ๆ โดยเป็นการทำที่ไม่ได้หวังผลชนะ (คุ้น ๆ มั้ยครับ) แต่เป็นการกระทำเพื่อสร้างความลำบากให้กับคนที่ออกมาพูดประเด็นอะไรบางอย่างในสังคม
จริง ๆ แล้วคิดว่าเคยมีคนพูดถึงไปแล้วแหละครับเรื่องนี้ใน Pantip ว่าจุดมุ่งหมายของ HYBE ไม่ใช่การเอาชนะ MHJ ด้วยกฎหมาย แต่เป็นการทำให้ MHJ ลำบาก ต้องหาเงินมาใช้ในการสู้คดี ไปศาล สู้คดี หาพยานหลักฐาน รวมถึงการนำมาซึ่งความเครียด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ถ้าไม่ใช่ MHJ ไม่น่ารอดไปตั้งแต่รอบแรกแล้วครับ หลาย ๆ รายที่ถูกปิดปากด้วยเครื่องมือนี้มักจะยินยอมเจรจาไกล่เกลี่ยกับเจ้าทุกข์ แต่นั่นไม่ใช่ MHJ ครับ (การสู้คดีมันใช้เงินเยอะมากเลยนะครับ จ้างทนายดี ๆ ก็แทบหมดตัวกันแล้วครับ อย่าง MHJ เหมือนวันนี้นางจะอ้างว่าต้องขายบ้านเพื่อสู้คดี)
ถามว่าแล้วทำไมกฎหมายและนักกฎหมายไม่หาวิธีแก้ปัญหา คำตอบคือ เค้าหากันแล้วครับ หลาย ๆ ประเทศมีกฎหมายป้องการกัน SLAPP แล้วหรือเรียกว่า Anti-SLAPP Law คำถามคือในเกาหลีมีกฎหมายตัวนี้หรือยัง? คำตอบคือยังครับ ดังนั้นจึงทำให้ที่ผ่านมาในเกาหลีมี Case Study ของคดีแบบนี้ค่อนข้างเยอะครับ ผมคิดว่าสามารถนับคดี MHJ เป็นหนึ่งในการ SLAPP ได้เลย (สังเกตดูหลัง ๆ มานี้คดีส่วนใหญ่เป็นคดีแนว ๆ หมิ่นประมาทเยอะเลยครับ)
จุดสังเกตของคดีประเภทนี้อีกอย่างคือ ปกติแล้วโจทก์ย่อมอยากเอาชนะภายในเวลาอันสั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ใช้กลยุทธ์ที่ผมว่ามา เมื่อนั้นโจทก์จะพยายามประวิงเวลา เพื่อให้จำเลยมีความลำบากอย่างที่ผมได้เกริ่นไปทั้งทางกายและทางใจ รวมถึงลำบากทางด้านการเงินด้วยเช่นกัน (คุ้น ๆ ยังครับเรื่องพยายามประวิงเวลาให้ Min Hee Jin เสียเวลาสู้คดีหลาย ๆ คดี)
นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตเพิ่มเติมนะครับว่า HYBE มีความพยายามฟ้องประชาชนที่ออกมาให้ข้อมูลครับ สังเกตได้จากกรณีนักข่าว รวมถึงคดีความที่เกี่ยวข้องกับผู้กำกับครับ
สำหรับความรู้ประจำวันนี้ก็ขอนำเสนอประมาณนี้ครับ ขอบอกก่อนเลยว่าผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายนะครับ พวกท่านสามารถเสริมกันได้เลยนะครับ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องกฎหมายเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันใกล้ตัวมาก ๆ จนทำให้ผมเชื่อว่า ทุก ๆ ท่านควรจะหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายไว้เผื่อวันหนึ่งที่ท่านถูก SLAPP จะได้ไม่ตกใจไปครับ ขอบคุณครับ
ขอขอบคุณ Source จาก The Standard และ ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในเกาหลีจาก Linkedin ครับ
Source: https://thestandard.co/slapp-prosecution-of-the-authority/
https://www.linkedin.com/pulse/why-south-korea-must-adopt-anti-slapp-legislation-maru-kim-90lnc