นายจ้างหลายคนไม่เข้าใจว่า แม้ลูกน้องจะลาออกโดยไม่เขียนใบลาออก ตัวเองยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกน้องทำงานถึงนาทีสุดท้ายโดยไม่มีข้อแม้นะคะ หากลูกน้องผู้นั้นไม่ได้ละเมิดประมาททำให้บริษัทเสียหาย ซึ่งมีข้อเอาผิดเพิ่มเติมได้ในประมวลอาญาและแพ่งอยู่นายจ้างต้องไปไล่ฟ้องร้องตามนั้น มันคนละข้อกับกฎหมายแรงงาน
มีบริษัทนึงเคยแพ้เรื่องนี้มาแล้วค่ะแถวพระราม 2 หรือแม้แต่พนักงาน ลูกจ้างผู้นั้นจะมาสายทั้งปี 40 ครั้ง นายจ้างให้ออกและหักเงินเดือนหลายครั้งติดต่อกัน และเดือนสุดท้ายจะไม่จ่ายเลย พนักงานไปฟ้องศาลแรงงานและเรียกเงินที่ถูกหักไปย้อนหลังทั้งหมดคืนได้อีก รวมถึงเงินเดือนสุดท้ายก็ยังคงต้องจ่ายค่าจ้างนั้นเต็มจำนวน กฎหมายไม่ได้ครอบคลุมหากนายจ้างหักจากเงินพิเศษอื่น ๆ เช่น โบนัสปลายปี ซึ่งข้อนี้หักได้ค่ะ แต่เงินเดือนนายจ้างจะหักไปชดเชยค่าขาดลา มาสายไม่ได้ หากใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย
****กระทรวงแรงงานอธิบายไว้ว่า แม้ พนักงานลาออก โดยไม่แจ้งล่วงหน้า แต่บริษัทหรือนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างตามกำหนดที่ตกลงกัน (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 70) ให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาแก่ลูกจ้าง ซึ่งในกรณีนี้ ถ้านายจ้างไม่ยอมจ่าย ก็จะขัดต่อข้อกฎหมาย แล้วลูกจ้างก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ด้วย****
หากใครเจอลูกน้องหรือพนักงานที่ออกฉุกเฉิน อาจด้วยเรื่อง อุบัติเหตุทุพพลภาพถาวร ย้ายที่อยู่กระทันหันเนื่องจากเหตุเพื่อรักษาชีวิต หรือสถานที่ทำงานมีบุคลากรในองค์กรไม่เอื้อต่อการทำงานอีกต่อไป ถูกบีบบังคับ ใส่ร้ายป้ายสี โจมตี ทั้งเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัวอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้อีก และมีการบอกกล่าวแก่นายจ้าง จะด้วยใบลาออก หนังสือ หรือด้วยวาจาก็ตาม นายจ้างผู้นั้นยังคงต้องจ่ายค่าทำงานให้ ด้วยเงินเดือนหรือค่าจ้างรายวันตามตกลงกันในสัญญาจ้างนั้น หรือแม้ไม่มีหนังสือสัญญาจ้าง แต่หากมีข้อความแชท ไลน์ อีเมล์ อื่นใดที่สามารถนำมาเป็นหลักฐาน เช่น ตารางการเดินทาง การใช้บัตรโดยสารทุกชนิดในไทยที่เป็นที่เชื่อถือให้คัดลอก ทำสำเนาเพื่อประกอบการเรียกร้องสิทธิ์ตามกฎหมายเพิ่มได้อีก
แบบนี้เราเข้าใจถูกมั้ยคะ
ลูกน้องออกแต่ไม่แจ้งล่วงหน้า ไม่เขียนใบลาออก ต้องจ่ายเงินเดือนของเดือนนั้นหรือไม่???
มีบริษัทนึงเคยแพ้เรื่องนี้มาแล้วค่ะแถวพระราม 2 หรือแม้แต่พนักงาน ลูกจ้างผู้นั้นจะมาสายทั้งปี 40 ครั้ง นายจ้างให้ออกและหักเงินเดือนหลายครั้งติดต่อกัน และเดือนสุดท้ายจะไม่จ่ายเลย พนักงานไปฟ้องศาลแรงงานและเรียกเงินที่ถูกหักไปย้อนหลังทั้งหมดคืนได้อีก รวมถึงเงินเดือนสุดท้ายก็ยังคงต้องจ่ายค่าจ้างนั้นเต็มจำนวน กฎหมายไม่ได้ครอบคลุมหากนายจ้างหักจากเงินพิเศษอื่น ๆ เช่น โบนัสปลายปี ซึ่งข้อนี้หักได้ค่ะ แต่เงินเดือนนายจ้างจะหักไปชดเชยค่าขาดลา มาสายไม่ได้ หากใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย
****กระทรวงแรงงานอธิบายไว้ว่า แม้ พนักงานลาออก โดยไม่แจ้งล่วงหน้า แต่บริษัทหรือนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างตามกำหนดที่ตกลงกัน (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 70) ให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาแก่ลูกจ้าง ซึ่งในกรณีนี้ ถ้านายจ้างไม่ยอมจ่าย ก็จะขัดต่อข้อกฎหมาย แล้วลูกจ้างก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ด้วย****
หากใครเจอลูกน้องหรือพนักงานที่ออกฉุกเฉิน อาจด้วยเรื่อง อุบัติเหตุทุพพลภาพถาวร ย้ายที่อยู่กระทันหันเนื่องจากเหตุเพื่อรักษาชีวิต หรือสถานที่ทำงานมีบุคลากรในองค์กรไม่เอื้อต่อการทำงานอีกต่อไป ถูกบีบบังคับ ใส่ร้ายป้ายสี โจมตี ทั้งเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัวอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้อีก และมีการบอกกล่าวแก่นายจ้าง จะด้วยใบลาออก หนังสือ หรือด้วยวาจาก็ตาม นายจ้างผู้นั้นยังคงต้องจ่ายค่าทำงานให้ ด้วยเงินเดือนหรือค่าจ้างรายวันตามตกลงกันในสัญญาจ้างนั้น หรือแม้ไม่มีหนังสือสัญญาจ้าง แต่หากมีข้อความแชท ไลน์ อีเมล์ อื่นใดที่สามารถนำมาเป็นหลักฐาน เช่น ตารางการเดินทาง การใช้บัตรโดยสารทุกชนิดในไทยที่เป็นที่เชื่อถือให้คัดลอก ทำสำเนาเพื่อประกอบการเรียกร้องสิทธิ์ตามกฎหมายเพิ่มได้อีก
แบบนี้เราเข้าใจถูกมั้ยคะ