เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.matichon.co.th/economy/news_4516901
อสังหา ขานรับมาตรการลดค่าโอนบ้าน 7 ล้าน ตื๊อธปท.อัดยาแรง ลดดอกเบี้ย เลิกLTV
วันที่ 8 เมษายน นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและนายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ตามที่กระทรวงการคลังเตรียมจะนำมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 9 เมษายน 2567 โดยลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% และขยับระดับราคาจากไม่เกิน 3 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 7 ล้านบาทถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะไม่ใช่กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ยังส่งผลต่อธุรกิจเชื่อมโยงอีกจำนวนมาก ไม่ว่าวัสดุก่อสร้าง แรงงาน ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้าน รวมถึงการใช้สาธารณูปโภคต่างๆ
“บ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท มีสัดส่วนมากกว่า 85% ของการซื้อขายที่อยู่อาศัย ทั้งประเทศ ทั้งบ้านมือหนึ่งและมือสอง ซึ่งมาตรการดังกล่าวช่วยกระตุ้นตลาดได้ ถ้ายังเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 ล้านบาท จะติดเรื่องกำลังซื้อที่เปราะบาง กู้ไม่ผ่านสูง แม้จะเป็นมาตรการระยะสั้น แต่ก็มีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังชะลอตัวอยู่”นายอิสระกล่าว
นายอิสระกล่าวว่า ส่วนเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นในของธุรกิจรับสร้างบ้านที่ผู้สร้างบ้าน นำมาลดหย่อนภาษีได้ล้านละ 10,000 บาท สูงสุด 100,000 บาท ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้าน จะมีผลดีต่อรัฐบาลจะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มกลับไป 7 % และภาษีเงินได้ของบุคคลที่เป็นผู้รับจ้างสร้างบ้าน จากจะต้องเสียภาษี หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทรับสร้างบ้านอีก 20% มาตรการนี้ถือเป็นการจูงใจให้ผู้ทำธุรกิจรับสร้างบ้าน ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต้องเข้าสู่ระบบการเสียภาษี
“การที่รัฐมีสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ 3% คงที่ 5 ปีแรก ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ รวมถึงขยายเพดานให้กู้จาก 1.5 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท จะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย และลดภาระค่างวดผ่อนบ้านได้”นายอิสระกล่าว
นายอิสระกล่าวว่า ถือว่าทุกมาตรการที่จะเข้าครม.นั้นช่วยภาคอสังหาฯได้ในห่วงเวลานี้ รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมด้วย แม้ว่าจะยังไม่ได้ตามที่ขอไป 8 ข้อก็ตาม ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เนื่องจากเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่คงต้องไปดำเนินการในปี 2568 ,ยกเลิกมาตรการ LTV,ทบทวนการขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของโครงการคอนโดมิเนียม,ทบทวนหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องการถือครองที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ เช่น ขยายการเช่าจาก 30 ปี เป็น 60 ปี เป็นต้น
นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การที่ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ โดยลดค่าโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท ถือว่าเป็นข่าวดีทั้งผู้ประกอบการและผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน เพราะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายไปได้มากพอสมควร อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมด้วย
“มาตรการนี้ถือว่าเป็นยาแรงกว่าทุกครั้ง เพราะขยายเพดานราคาบ้านจาก 3 ล้านบาท เป็น 7 ล้านบาท เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ แต่ถ้าจะให้แรงจริงๆ ในภาวะแบบนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศต้องปรับลดดอกเบี้ยและเลิกมาตรการLTV ถ้าสามารถผลักดันออกมาได้จะช่วยได้อีกมาก ซึ่งการลดดอกเบี้ยไม่ใช่ส่งผลดีต่อภาคอสังหาฯที่ผู้ประกอบการมีต้นทุนการเงินถูกลงและลูกค้ามีค่างวดที่ลดลงแล้ว ยังช่วยภาคธุรกิจที่ต้องกู้เงินจากแบงก์ได้ด้วย”นายอุทัยกล่าว
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2567 ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงทั้ง เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การยกเลิกมาตรการผ่อนปรน LTV ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ,ภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า90% ของจีดีพี ล้วนส่งผลต่อความสามารถซื้อที่อยู่อาศัยและการขอสินเชื่อ หากรัฐออกมาตรการกระตุ้นได้ในไตรมาส2 นี้ คาดทำให้ตลาดฟื้นตัวได้ตั้งแต่ไตรมาส3 เป็นต้นไป
อสังหา ขานรับมาตรการลดค่าโอนบ้าน 7 ล้าน ตื๊อธปท.อัดยาแรง ลดดอกเบี้ย เลิกLTV
https://www.matichon.co.th/economy/news_4516901
อสังหา ขานรับมาตรการลดค่าโอนบ้าน 7 ล้าน ตื๊อธปท.อัดยาแรง ลดดอกเบี้ย เลิกLTV
วันที่ 8 เมษายน นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและนายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ตามที่กระทรวงการคลังเตรียมจะนำมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 9 เมษายน 2567 โดยลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% และขยับระดับราคาจากไม่เกิน 3 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 7 ล้านบาทถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะไม่ใช่กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ยังส่งผลต่อธุรกิจเชื่อมโยงอีกจำนวนมาก ไม่ว่าวัสดุก่อสร้าง แรงงาน ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้าน รวมถึงการใช้สาธารณูปโภคต่างๆ
“บ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท มีสัดส่วนมากกว่า 85% ของการซื้อขายที่อยู่อาศัย ทั้งประเทศ ทั้งบ้านมือหนึ่งและมือสอง ซึ่งมาตรการดังกล่าวช่วยกระตุ้นตลาดได้ ถ้ายังเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 ล้านบาท จะติดเรื่องกำลังซื้อที่เปราะบาง กู้ไม่ผ่านสูง แม้จะเป็นมาตรการระยะสั้น แต่ก็มีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังชะลอตัวอยู่”นายอิสระกล่าว
นายอิสระกล่าวว่า ส่วนเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นในของธุรกิจรับสร้างบ้านที่ผู้สร้างบ้าน นำมาลดหย่อนภาษีได้ล้านละ 10,000 บาท สูงสุด 100,000 บาท ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้าน จะมีผลดีต่อรัฐบาลจะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มกลับไป 7 % และภาษีเงินได้ของบุคคลที่เป็นผู้รับจ้างสร้างบ้าน จากจะต้องเสียภาษี หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทรับสร้างบ้านอีก 20% มาตรการนี้ถือเป็นการจูงใจให้ผู้ทำธุรกิจรับสร้างบ้าน ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต้องเข้าสู่ระบบการเสียภาษี
“การที่รัฐมีสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ 3% คงที่ 5 ปีแรก ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ รวมถึงขยายเพดานให้กู้จาก 1.5 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท จะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย และลดภาระค่างวดผ่อนบ้านได้”นายอิสระกล่าว
นายอิสระกล่าวว่า ถือว่าทุกมาตรการที่จะเข้าครม.นั้นช่วยภาคอสังหาฯได้ในห่วงเวลานี้ รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมด้วย แม้ว่าจะยังไม่ได้ตามที่ขอไป 8 ข้อก็ตาม ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เนื่องจากเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่คงต้องไปดำเนินการในปี 2568 ,ยกเลิกมาตรการ LTV,ทบทวนการขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของโครงการคอนโดมิเนียม,ทบทวนหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องการถือครองที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ เช่น ขยายการเช่าจาก 30 ปี เป็น 60 ปี เป็นต้น
นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การที่ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ โดยลดค่าโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท ถือว่าเป็นข่าวดีทั้งผู้ประกอบการและผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน เพราะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายไปได้มากพอสมควร อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมด้วย
“มาตรการนี้ถือว่าเป็นยาแรงกว่าทุกครั้ง เพราะขยายเพดานราคาบ้านจาก 3 ล้านบาท เป็น 7 ล้านบาท เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ แต่ถ้าจะให้แรงจริงๆ ในภาวะแบบนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศต้องปรับลดดอกเบี้ยและเลิกมาตรการLTV ถ้าสามารถผลักดันออกมาได้จะช่วยได้อีกมาก ซึ่งการลดดอกเบี้ยไม่ใช่ส่งผลดีต่อภาคอสังหาฯที่ผู้ประกอบการมีต้นทุนการเงินถูกลงและลูกค้ามีค่างวดที่ลดลงแล้ว ยังช่วยภาคธุรกิจที่ต้องกู้เงินจากแบงก์ได้ด้วย”นายอุทัยกล่าว
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2567 ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงทั้ง เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การยกเลิกมาตรการผ่อนปรน LTV ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ,ภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า90% ของจีดีพี ล้วนส่งผลต่อความสามารถซื้อที่อยู่อาศัยและการขอสินเชื่อ หากรัฐออกมาตรการกระตุ้นได้ในไตรมาส2 นี้ คาดทำให้ตลาดฟื้นตัวได้ตั้งแต่ไตรมาส3 เป็นต้นไป