คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
๒ อนิจฺจานิ คหกานิ ตตฺถ ตตฺถ ปุนปฺปุนํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ ฯ
|๒๘๙.๑๘๔| คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา ๑- ถูณิรา จ ปทาลิตา
วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ อิเธว วิธมิสฺสตีติ ฯ
สิวโก เถโร ฯ
=======
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
เรือน คือ อัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ
เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้สร้าง
เรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้นชาติมิใช่
น้อย การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูก่อนนายช่างผู้
สร้างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้าง
เรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลสของท่าน เราหักเสียหมด
แล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน เราทำลายเสีย
แล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่
ในภพนี้เอง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจานิ คหกานิ ตตฺถ ตตฺถ ปุนปฺปุนํ ความว่า เรือนทั้งหลายได้แก่เรือนคืออัตภาพ อันบังเกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง คือไม่มั่นคง ไม่คงทน ได้แก่มีอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย.
บทว่า คหการํ คเวสนฺโต มีอธิบายว่า เมื่อเราแสวงหานายช่างผู้กระทำเรือนคืออัตภาพนี้ ได้แก่นายช่างผู้สร้างเรือน คือตัณหา ได้ท่องเที่ยวไปตลอดเวลามีประมาณเท่านี้.
บทว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ นี้เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือน เพราะเหตุที่ ขึ้นชื่อว่าชาตินี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพื่อการเข้าถึงบ่อยๆ เพราะเจือไปด้วยชรา พยาธิและมรณะ ก็เมื่อเรายังหาช่างผู้สร้างเรือนนั้นไม่พบ ชาตินั้นย่อมไม่สูญหาย ฉะนั้น เมื่อเราแสวงหาช่างผู้สร้างเรือนนั้น เราจึงเที่ยวไปแล้ว.
บทว่า คหการก ทิฏฺโฐสิ ความว่า ดูก่อนช่างผู้สร้างเรือน ก็บัดนี้ ท่านเป็นผู้อันเราสามารถเห็นได้ด้วยดวงตา คือพระอริยมรรคนั้นแล้ว.
บทว่า ปุน เคหํ ความว่า เจ้าจะไม่กระทำ คือจักไม่สร้างเรือนของเรา กล่าวคืออัตภาพในสังสารวัฏนี้ต่อไปได้อีก.
บทว่า สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา ความว่า ซี่โครงคือกิเลสทั้งปวงของเจ้า อันเราหักแล้วโดยไม่มีส่วนเหลือ.
บทว่า ถูณิกา จ วิทาลิตา ความว่า และบัดนี้เราทำลายช่อฟ้า กล่าวคืออวิชชา แห่งเรือนคืออัตภาพ อันท่านพึงกระทำเสียแล้ว.
บทว่า วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา.
อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง คือจักถูกกำจัดเสียในภพนี้แหละ ได้แก่จักดับไปด้วยการดับแห่งจิตดวงสุดท้าย.
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ ฯ
|๒๘๙.๑๘๔| คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา ๑- ถูณิรา จ ปทาลิตา
วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ อิเธว วิธมิสฺสตีติ ฯ
สิวโก เถโร ฯ
=======
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
เรือน คือ อัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ
เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้สร้าง
เรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้นชาติมิใช่
น้อย การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูก่อนนายช่างผู้
สร้างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้าง
เรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลสของท่าน เราหักเสียหมด
แล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน เราทำลายเสีย
แล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่
ในภพนี้เอง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจานิ คหกานิ ตตฺถ ตตฺถ ปุนปฺปุนํ ความว่า เรือนทั้งหลายได้แก่เรือนคืออัตภาพ อันบังเกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง คือไม่มั่นคง ไม่คงทน ได้แก่มีอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย.
บทว่า คหการํ คเวสนฺโต มีอธิบายว่า เมื่อเราแสวงหานายช่างผู้กระทำเรือนคืออัตภาพนี้ ได้แก่นายช่างผู้สร้างเรือน คือตัณหา ได้ท่องเที่ยวไปตลอดเวลามีประมาณเท่านี้.
บทว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ นี้เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือน เพราะเหตุที่ ขึ้นชื่อว่าชาตินี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพื่อการเข้าถึงบ่อยๆ เพราะเจือไปด้วยชรา พยาธิและมรณะ ก็เมื่อเรายังหาช่างผู้สร้างเรือนนั้นไม่พบ ชาตินั้นย่อมไม่สูญหาย ฉะนั้น เมื่อเราแสวงหาช่างผู้สร้างเรือนนั้น เราจึงเที่ยวไปแล้ว.
บทว่า คหการก ทิฏฺโฐสิ ความว่า ดูก่อนช่างผู้สร้างเรือน ก็บัดนี้ ท่านเป็นผู้อันเราสามารถเห็นได้ด้วยดวงตา คือพระอริยมรรคนั้นแล้ว.
บทว่า ปุน เคหํ ความว่า เจ้าจะไม่กระทำ คือจักไม่สร้างเรือนของเรา กล่าวคืออัตภาพในสังสารวัฏนี้ต่อไปได้อีก.
บทว่า สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา ความว่า ซี่โครงคือกิเลสทั้งปวงของเจ้า อันเราหักแล้วโดยไม่มีส่วนเหลือ.
บทว่า ถูณิกา จ วิทาลิตา ความว่า และบัดนี้เราทำลายช่อฟ้า กล่าวคืออวิชชา แห่งเรือนคืออัตภาพ อันท่านพึงกระทำเสียแล้ว.
บทว่า วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา.
อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง คือจักถูกกำจัดเสียในภพนี้แหละ ได้แก่จักดับไปด้วยการดับแห่งจิตดวงสุดท้าย.
แสดงความคิดเห็น
จิตดับ
สุภาษิตเย้ยตัณหา
[๒๘๙] เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหา
นายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้น
ชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูกรนายช่างผู้สร้างเรือน
บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลส
ของท่าน เราหักเสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน
เราทำลายแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพ
นี้เอง
=========
สะพาน : อ้าวเฮ้ยในพระไตรมีนะ จิตจักดับอยู่ในภพนี้ ไม่เกิดต่ออีก