ม็อบแรงงานปักหลักหน้าสภา จี้สส.รับหลักการ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8115768
ม็อบแรงงานปักหลักหน้าสภา จี้สส.รับหลักการร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล วอนใช้กลไกรัฐสภาแก้ไขกฎหมายที่มีมานานตั้งแต่ปี 41
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 ก.พ.2567 ที่ประตูทางเข้ารัฐสภา เกียกกาย (ฝั่ง ส.ส.) ถนนทหาร เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน นัดชุมนุมเรียกร้องให้ สส.โหวตเห็นชอบรับหลักการของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล ในการลงมติวาระที่ 1 ของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
น.ส.
ธนพร วิจันทร์ แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน พร้อมด้วยสมาชิกเครือข่ายสหภาพแรงงา จาก จ.สุรินทร์ สระบุรี อ่างทอง ปราจีน สมุทรปราการ ผู้ใช้แรงงานจากทั่วประเทศ ทยอยเดินทางมารวมตัวกัน
น.ส.
ธนพร หรือ
ไหม กล่าวว่า เราได้แจ้งสน.บางโพและแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐสภาแล้ว แต่มาถึงมีการนำรั้วเหล็กมากั้น เราจึงต้องรื้อออกเพราะเป็นการชุมนุมตามสิทธิ์
วันนี้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เข้าวาระแรก จะเป็นหลักประกันของคนทำงานทุกคน ซึ่งกฎมายนี้มีความสำคัญมาก เราจะมาร่วมกัน 95 สหภาพแรงงาน เรียกร้องในข้อเสนอที่เรียกร้องมายาวนาน มี สส.ที่จะนำกฎหมายแรงงานเข้าสู่สภาในวันนี้ เราจึงมาสนับสนุน
“
ขอฝาก สส.และพรรคการเมือง อยากให้ฝ่ายค้านและรัฐบาลยกมือรับรองกฎหมายฉบับนี้เพื่อที่จะได้พูดคุยกัน ใช้กลไกรัฐสภาแก้ไขกฎหมาย เราเป็นผู้ใช้แรงงาน อยู่กับกฎหมายฉบับนี้มานานตั้งแต่ 2541 มีการแก้แบบปะผุ ไม่ได้แก้ทั้งฉบับ นิยามความคุ้มครองยังแคบอยู่ ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งมีกฎหมายนี้ออกมา แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปก็ล้าสมัย” น.ส.
ธนพร ระบุ
ต่อมาเวลา 10.40 น. สมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ประเทศไทยเดินทางมาสมทบ
จากนั้นนาย
เซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และรองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การแรงงาน พร้อมด้วย สส.จากพรรคก้าวไกล เดินทางมาเยี่ยมเยียนผู้ชุมนุม
สำหรับร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมานานกว่า 20 ปี มีสาระสำคัญ 9 ข้อคือ
1. คนทำงานทุกคนคือแรงงาน : เปลี่ยนนิยาม “ลูกจ้าง” ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบการจ้างงาน รวมถึงอาชีพไรเดอร์ ฟรีแลนซ์ และแรงงานอิสระ เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
2. “การจ้างงานรายเดือน” ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน คือ 30 วัน รวมถึงค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี และวันลาป่วยตามกฎหมายกำหนด
3. เปลี่ยนรายวันเป็นรายเดือน : ในสถานประกอบการที่มีทั้งการจ้างงานรายวันและรายเดือน ผู้จ้างจะต้องจ้างเป็นรายเดือนทั้งหมด โดยไม่เลือกปฏิบัติ
4. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทุกปีอัตโนมัติ : กำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายปี โดยต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าเงินเฟ้อ เช่น หากได้รับค่าแรง 400 บาท อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% จะได้รับค่าแรง 412 บาทอัตโนมัติ โดยไม่ต้องรอการประชุมไตรภาคี
5. ทำงาน 40 ชั่วโมง หรือ 5 วันต่อสัปดาห์ : เวลาทำงานรวมทั้งสิ้นของลูกจ้างต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากเกินต้องได้เงินค่าทำงานนอกเวลา (OT) และนายจ้างต้องจัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 วัน
6. ลาหยุด 10 วันต่อปี สะสมได้ : ให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 120 วัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 10 วันทำงาน
7. ลาดูแลผู้ป่วย : ลูกจ้างมีสิทธิลาไปดูแลบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดปีละไม่เกิน 15 วันทำงาน
8. พื้นที่ปั๊มนมในที่ทำงาน : สถานที่ทำงานต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการให้นมบุตร หรือบีบเก็บน้ำนมในที่ทำงาน
9. ห้ามเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน : นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเท่าเทียม ไม่กีดกัน แบ่งแยก จำกัดสิทธิ ทั้งจากความแตกต่างทางถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ความพิการ หรือความเห็นทางการเมือง
สส.จี้รัฐแก้ขาดแคลนน้ำปัญหาฝุ่น PM 2.5
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_682750/
สส. นำปัญหาระบบสาธารณูปโภคโดยเฉพาะขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และปัญหาฝุ่น PM 2.5 เข้าหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม วันนี้ (28 ก.พ.67) โดยได้เปิดให้สมาชิกนำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเข้าปรึกษาหารือ ซึ่งนอกจากปัญหาระบบสาธารณูปโภค ที่ถือเป็นปัญหาสำคัญที่สมาชิกนำเข้าหารืออย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
ปัญหาน้ำดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปา ปัญหาน้ำประปาไม่ได้คุณภาพ ปัญหาถนนชำรุดเสียหาย ปัญหาถนนทางหลวงชนบทหลายพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และปัญหาไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว สมาชิกยังคงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดย นาย
ถนอมพงศ์ หลีกภัย สส.ตรัง พรรครวมไทยสร้างชาติ
กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งเกิดการเผาป่าและเผาวัสดุทางการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงการเผาป่าของประเทศเพื่อนบ้าน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาโดยเร็ว
นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกนำปัญหาอื่น ๆ เข้าหารือ ทั้งปัญหาไม่มีที่ดินทำกิน ปัญหาการก่อให้จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ปัญหาไม่มีงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนและก่อสร้างศูนย์การศึกษาแก่เด็กพิเศษ ปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมือง และปัญหาการเกาะเซาะชายฝั่งทะเลส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน
มาแรง!เวียดนามตั้งเป้าผลิตไฮโดรเจน ปีละ5แสนตันตามแผนเปลี่ยนพลังงาน หันกลับมาที่ไทยยังอยู่ระหว่างชงแผน
https://www.dailynews.co.th/news/3210702/
เวียดนามมีเป้าหมายที่จะผลิตไฮโดรเจน 100,000–500,000 ตันต่อปี ภายในปี 73 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเปลี่ยนผ่านพลังงาน ตามกลยุทธ์การพัฒนาไฮโดรเจนของประเทศ ที่นำมาใช้เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐบาลเวียดนาม ระบุในเอกสารที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์ ว่าผลผลิตไฮโดรเจนของประเทศ จะเพิ่มขึ้นเป็น 10–20 ล้านตัน ภายในปี 2593 ซึ่งรวมถึงไฮโดรเจนสีเขียวด้วย
“
การผลิต การจำหน่าย และการใช้ไฮโดรเจน จะช่วยให้เวียดนามบรรลุเป้าหมายระดับชาติ ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593” เอกสารของรัฐบาล ระบุเสริม
ทั้งนี้ ไฮโดรเจน จัดอยู่ในประเภท “
พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เมื่อผ่านกระบวนการอิเล็กโทรไลซิส หรือการแยกไฮโดรเจนกับออกซิเจนภายในโมเลกุลนํ้า ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียน อีกทั้งไฮโดรเจนยังถูกมองว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรม แม้เทคโนโลยีดังกล่าวยังคงมีราคาแพง และอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาก็ตาม
เอกสารของรัฐบาลฮานอย ระบุต่อไปว่า ผลผลิตไฮโดรเจน จะเข้ามาแทนที่ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในโรงไฟฟ้าบางส่วน ภายในปี 73 ตลอดจนนำไปใช้ในการขนส่ง และการผลิตปุ๋ย เหล็ก และปูนซีเมนต์ด้วยยิ่งไปกว่านั้น ไฮโดรเจน จะมีสัดส่วน 10% ของการผลิตไฟฟ้าในเวียดนาม ภายในปี 93 เช่นกัน
ส่วนประเทศไทย ยังเป็นการกำหนดให้ไฮโดรเจนเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะยาวและบรรลุ
เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 93 เช่นกัน เป้าหมายการพัฒนาไฮโดรเจนของไทยในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว คือ ประเทศไทยมีความพร้อม สามารถเริ่มมีการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในภาคพลังงาน ตั้งแต่ปี 73 ซึ่งขณะนี้กำหนดเป็นร่างแผนไฮโดรเจน ที่ศึกษาโดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ยังไม่ได้กำหนดตัวเลขที่ชัดเจน แต่มีการกำหนดเป็น 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาตลาด และสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้ใช้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับปรุงระเบียบ และมาตรฐาน.
JJNY : ม็อบแรงงานปักหลักหน้าสภา│จี้รัฐแก้ขาดแคลนน้ำ│เวียดนามตั้งเป้าผลิตไฮโดรเจน ไทยยังชงแผน│เกาหลีใต้-สหรัฐซ้อมรบร่วม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8115768
ม็อบแรงงานปักหลักหน้าสภา จี้สส.รับหลักการร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล วอนใช้กลไกรัฐสภาแก้ไขกฎหมายที่มีมานานตั้งแต่ปี 41
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 ก.พ.2567 ที่ประตูทางเข้ารัฐสภา เกียกกาย (ฝั่ง ส.ส.) ถนนทหาร เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน นัดชุมนุมเรียกร้องให้ สส.โหวตเห็นชอบรับหลักการของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล ในการลงมติวาระที่ 1 ของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
น.ส.ธนพร วิจันทร์ แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน พร้อมด้วยสมาชิกเครือข่ายสหภาพแรงงา จาก จ.สุรินทร์ สระบุรี อ่างทอง ปราจีน สมุทรปราการ ผู้ใช้แรงงานจากทั่วประเทศ ทยอยเดินทางมารวมตัวกัน
น.ส.ธนพร หรือ ไหม กล่าวว่า เราได้แจ้งสน.บางโพและแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐสภาแล้ว แต่มาถึงมีการนำรั้วเหล็กมากั้น เราจึงต้องรื้อออกเพราะเป็นการชุมนุมตามสิทธิ์
วันนี้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เข้าวาระแรก จะเป็นหลักประกันของคนทำงานทุกคน ซึ่งกฎมายนี้มีความสำคัญมาก เราจะมาร่วมกัน 95 สหภาพแรงงาน เรียกร้องในข้อเสนอที่เรียกร้องมายาวนาน มี สส.ที่จะนำกฎหมายแรงงานเข้าสู่สภาในวันนี้ เราจึงมาสนับสนุน
“ขอฝาก สส.และพรรคการเมือง อยากให้ฝ่ายค้านและรัฐบาลยกมือรับรองกฎหมายฉบับนี้เพื่อที่จะได้พูดคุยกัน ใช้กลไกรัฐสภาแก้ไขกฎหมาย เราเป็นผู้ใช้แรงงาน อยู่กับกฎหมายฉบับนี้มานานตั้งแต่ 2541 มีการแก้แบบปะผุ ไม่ได้แก้ทั้งฉบับ นิยามความคุ้มครองยังแคบอยู่ ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งมีกฎหมายนี้ออกมา แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปก็ล้าสมัย” น.ส.ธนพร ระบุ
ต่อมาเวลา 10.40 น. สมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ประเทศไทยเดินทางมาสมทบ
จากนั้นนายเซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และรองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การแรงงาน พร้อมด้วย สส.จากพรรคก้าวไกล เดินทางมาเยี่ยมเยียนผู้ชุมนุม
สำหรับร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมานานกว่า 20 ปี มีสาระสำคัญ 9 ข้อคือ
1. คนทำงานทุกคนคือแรงงาน : เปลี่ยนนิยาม “ลูกจ้าง” ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบการจ้างงาน รวมถึงอาชีพไรเดอร์ ฟรีแลนซ์ และแรงงานอิสระ เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
2. “การจ้างงานรายเดือน” ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน คือ 30 วัน รวมถึงค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี และวันลาป่วยตามกฎหมายกำหนด
3. เปลี่ยนรายวันเป็นรายเดือน : ในสถานประกอบการที่มีทั้งการจ้างงานรายวันและรายเดือน ผู้จ้างจะต้องจ้างเป็นรายเดือนทั้งหมด โดยไม่เลือกปฏิบัติ
4. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทุกปีอัตโนมัติ : กำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายปี โดยต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าเงินเฟ้อ เช่น หากได้รับค่าแรง 400 บาท อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% จะได้รับค่าแรง 412 บาทอัตโนมัติ โดยไม่ต้องรอการประชุมไตรภาคี
5. ทำงาน 40 ชั่วโมง หรือ 5 วันต่อสัปดาห์ : เวลาทำงานรวมทั้งสิ้นของลูกจ้างต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากเกินต้องได้เงินค่าทำงานนอกเวลา (OT) และนายจ้างต้องจัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 วัน
6. ลาหยุด 10 วันต่อปี สะสมได้ : ให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 120 วัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 10 วันทำงาน
7. ลาดูแลผู้ป่วย : ลูกจ้างมีสิทธิลาไปดูแลบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดปีละไม่เกิน 15 วันทำงาน
8. พื้นที่ปั๊มนมในที่ทำงาน : สถานที่ทำงานต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการให้นมบุตร หรือบีบเก็บน้ำนมในที่ทำงาน
9. ห้ามเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน : นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเท่าเทียม ไม่กีดกัน แบ่งแยก จำกัดสิทธิ ทั้งจากความแตกต่างทางถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ความพิการ หรือความเห็นทางการเมือง
สส.จี้รัฐแก้ขาดแคลนน้ำปัญหาฝุ่น PM 2.5
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_682750/
สส. นำปัญหาระบบสาธารณูปโภคโดยเฉพาะขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และปัญหาฝุ่น PM 2.5 เข้าหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม วันนี้ (28 ก.พ.67) โดยได้เปิดให้สมาชิกนำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเข้าปรึกษาหารือ ซึ่งนอกจากปัญหาระบบสาธารณูปโภค ที่ถือเป็นปัญหาสำคัญที่สมาชิกนำเข้าหารืออย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
ปัญหาน้ำดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปา ปัญหาน้ำประปาไม่ได้คุณภาพ ปัญหาถนนชำรุดเสียหาย ปัญหาถนนทางหลวงชนบทหลายพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และปัญหาไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว สมาชิกยังคงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดย นายถนอมพงศ์ หลีกภัย สส.ตรัง พรรครวมไทยสร้างชาติ
กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งเกิดการเผาป่าและเผาวัสดุทางการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงการเผาป่าของประเทศเพื่อนบ้าน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาโดยเร็ว
นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกนำปัญหาอื่น ๆ เข้าหารือ ทั้งปัญหาไม่มีที่ดินทำกิน ปัญหาการก่อให้จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ปัญหาไม่มีงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนและก่อสร้างศูนย์การศึกษาแก่เด็กพิเศษ ปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมือง และปัญหาการเกาะเซาะชายฝั่งทะเลส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน
มาแรง!เวียดนามตั้งเป้าผลิตไฮโดรเจน ปีละ5แสนตันตามแผนเปลี่ยนพลังงาน หันกลับมาที่ไทยยังอยู่ระหว่างชงแผน
https://www.dailynews.co.th/news/3210702/
เวียดนามมีเป้าหมายที่จะผลิตไฮโดรเจน 100,000–500,000 ตันต่อปี ภายในปี 73 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเปลี่ยนผ่านพลังงาน ตามกลยุทธ์การพัฒนาไฮโดรเจนของประเทศ ที่นำมาใช้เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐบาลเวียดนาม ระบุในเอกสารที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์ ว่าผลผลิตไฮโดรเจนของประเทศ จะเพิ่มขึ้นเป็น 10–20 ล้านตัน ภายในปี 2593 ซึ่งรวมถึงไฮโดรเจนสีเขียวด้วย
“การผลิต การจำหน่าย และการใช้ไฮโดรเจน จะช่วยให้เวียดนามบรรลุเป้าหมายระดับชาติ ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593” เอกสารของรัฐบาล ระบุเสริม
ทั้งนี้ ไฮโดรเจน จัดอยู่ในประเภท “พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เมื่อผ่านกระบวนการอิเล็กโทรไลซิส หรือการแยกไฮโดรเจนกับออกซิเจนภายในโมเลกุลนํ้า ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียน อีกทั้งไฮโดรเจนยังถูกมองว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรม แม้เทคโนโลยีดังกล่าวยังคงมีราคาแพง และอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาก็ตาม
เอกสารของรัฐบาลฮานอย ระบุต่อไปว่า ผลผลิตไฮโดรเจน จะเข้ามาแทนที่ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในโรงไฟฟ้าบางส่วน ภายในปี 73 ตลอดจนนำไปใช้ในการขนส่ง และการผลิตปุ๋ย เหล็ก และปูนซีเมนต์ด้วยยิ่งไปกว่านั้น ไฮโดรเจน จะมีสัดส่วน 10% ของการผลิตไฟฟ้าในเวียดนาม ภายในปี 93 เช่นกัน
ส่วนประเทศไทย ยังเป็นการกำหนดให้ไฮโดรเจนเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะยาวและบรรลุ
เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 93 เช่นกัน เป้าหมายการพัฒนาไฮโดรเจนของไทยในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว คือ ประเทศไทยมีความพร้อม สามารถเริ่มมีการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในภาคพลังงาน ตั้งแต่ปี 73 ซึ่งขณะนี้กำหนดเป็นร่างแผนไฮโดรเจน ที่ศึกษาโดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ยังไม่ได้กำหนดตัวเลขที่ชัดเจน แต่มีการกำหนดเป็น 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาตลาด และสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้ใช้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับปรุงระเบียบ และมาตรฐาน.