นักสิทธิ-ผู้ลี้ภัย แห่โพสต์ถึง อานนท์ นำภา ในวันทนายความ 20 กุมภาพันธ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4434879
นักสิทธิ-ผู้ลี้ภัย-นักกิจกรรม แห่โพสต์ถึง อานนท์ นำภา ในวันทนายความ 20 กุมภา
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 นาย
จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ผู้ลี้ภัยทางการเมือง ได้โพสต์ข้อเขียนถึงวันทนายความ โดยมีเนื้อหาดังนี้
สมัยผมเป็นเด็ก จนหนุ่ม ทนายความเป็นสัญลักษณ์ของนักกฎหมาย เพราะส่วนใหญ่เป็นนักสู้ มีบทบาทมากในกระบวนยุติธรรม แล้วค่อยๆลดลง
ถึงปัจจุบัน เหลือไม่กี่มากน้อย
วันทนายความ ขอคารวะทนายกฤษฎางค์ ทนายอานนท์ ทนายศูนย์สิทธิมนุษยชน ฯลฯ
นาย
สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ประจำประเทศไทย ได้โพสต์เช่นกันว่า
20 กุมภาพันธ์ – วันทนายความ – ทนายอานนท์ ติดคุกข้อหา ม.112 และถูกสภาทนายความไต่สวนเพื่อถอนใบอนุญาต เพราะทำกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตย
ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า
วันทนายความ 20 กุมภาพันธ์
ทนายความที่เป็นพี่เลี้ยงตั้งแต่วันแรกๆ
ทนายความที่เป็นนักกิจกรรมที่หัวใจยิ่งใหญ่
ทนาย อานนท์ นำภา
ณัฏฐิธิดา มีวังปลา หรือ
แหวน พยาบาลอาสา ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า
“อยากให้โลกนี้มีเสรีภาพ และสนุกวันที่ 20 กุมภาพันธ์วันทนายความ นี่คือทนายของฉัน ทนายอานนท์ นำภา แม้ไร้อิสรภาพ เจตจำนงของเขาคือเสรีภาพ”
https://www.facebook.com/jaran.ditapichai/posts/pfbid0VbtDE21RQXwD5nv7xy3eNaKLf46GHaquyGeBoBorKqpdoZcKy8Hyf9JJfPCB42fCl
https://twitter.com/sunaibkk/status/1759803650086691301
https://www.facebook.com/jammyjamlawyer/posts/pfbid0fCRDzp8vNrnReM7wVEBZQ4uHjMUZqPoSbDPq5sMbmx8TvYSHPcAfT6n7StHmftPhl
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02vd4pTr2W9aeYAYxQtrGA72gzkJ6ZEqmUAxuZvH8suprVkKELuVfuorb5yyXQPANHl&id=100028412290554
“ชัยธวัช” ประกาศ”ก้าวไกล” มาไกลเกินกว่าจะแพ้-เกินกว่าจะหวั่นไหว
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4434807
“
ชัยธวัช ตุลาธน” สส.และหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินหน้าต่อสถานการณ์การเมืองร้อน ประกาศก้าวไกลมาไกลเกินกว่าจะแก้ เกินกว่าจะหวั่นไหว เป็นสะพานเชื่อมอดีตกับอนาคต ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
ค่าครองชีพพุ่ง คนซื้อบ้านต่ำ 3 ล้านเริ่มผ่อนไม่ไหว ‘หนี้เสียสินเชื่อบ้าน’ ทะลัก 1.2 แสนล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4435063
ค่าครองชีพพุ่ง คนซื้อบ้านต่ำ 3 ล้านเริ่มผ่อนไม่ไหว ‘หนี้เสียสินเชื่อบ้าน’ ทะลัก 1.2 แสนล้าน
สัญญาณกำลังซื้อบ้านอ่อนแรง ในกลุ่มระดับกลาง-ล่างเริ่มผ่อนไม่ไหว ทั้งอัตราดอกเบี้ยแพง ค่าครองชีพที่พุ่งแซงเงินในกระเป๋า กำลังปะทุขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุดดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้เผยภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัวตามที่คาด อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาวะหนี้ครัวเรือนและกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริโภคชะลอแผนซื้อบ้านออกไปก่อน
ทำให้ภาพรวมความต้องการซื้อทั่วประเทศในไตรมาสล่าสุดลดลง 14% และลดลงทุกประเภทที่อยู่อาศัย สวนทางภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศที่ปรับขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นอุปสรรคต่อกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ที่มองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้
อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (ไตรมาส 4 ปี 2562) พบว่า ภาพรวมความต้องการซื้อในระยะยาวยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี โดยความต้องการซื้อคอนโดฯ ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด 12% ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 10% และบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 2%
นอกจากนี้ยังพบว่าที่อยู่อาศัยราคา 1-3 ล้านบาท มีจำนวนมากที่สุดในตลาดด้วยสัดส่วน 30% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคระดับล่าง ยังคงไม่มีกำลังซื้อเพียงพอที่จะดูดซับอุปทานเหล่านี้
สอดคล้องกับข้อมูลของเครดิตบูโรที่พบว่าหนี้เสียจากสินเชื่อบ้านเพิ่มสูงขึ้น ผู้ซื้อระดับล่างเริ่มผ่อนบ้านไม่ไหวจากปัญหาค่าครองชีพที่แพงขึ้น โดยประมาณ 60-70% ของหนี้ที่กำลังจะเสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือประมาณ 1.2 แสนล้านบาท มีปัญหามาจากคนที่ผ่อนบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง
สำหรับภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับภาพรวมของทั้งประเทศ พบว่าดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับเพิ่มขึ้น 4% เทียบปีก่อน โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย
คอนโดฯ เพิ่มขึ้นมากที่สุดเพิ่มขึ้น 5% เทียบปีก่อน ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 3% เทียบปีก่อนและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 3% เทียบปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการก่อสร้างโครงการใหม่ที่กลายเป็นปัจจัยกดดันให้ผู้ประกอบการต้องวางกลยุทธ์เพื่อปรับราคาให้สอดคล้องกับทั้งต้นทุนและกำลังซื้อของผู้บริโภค
ทั้งนี้ราคาบ้านที่แพงขึ้นในยุคที่อัตราดอกเบี้ยสูงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภค ทำให้ความต้องการซื้อในกรุงเทพฯ ลดลงอย่างมาก โดยภาพรวมความต้องการซื้อลดลง 15% เทียบไตรมาสก่อนและลดลง 27% เมื่อเทียบปีก่อน ทั้งนี้ บ้านเดี่ยวเป็นที่อยู่อาศัยที่ความต้องการซื้อลดลงมากที่สุด โดยลดลงถึง 21% เทียบไรมาสก่อน ลดลง 34% เทียบปีก่อน รองลงมาเป็นทาวน์เฮ้าส์ลดลง 17% เทียบไตรมาสก่อน ลดลง 28% เทียบปีก่อนและคอนโดฯ ลดลง 12% เทียบไตรมาสก่อน ลดลง 23% เทียบปีก่อน
อย่างไรก็ดี หากมองในระยะยาวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ภาพรวมความต้องการซื้อในกรุงเทพฯ ยังคงเป็นบวก โดยความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 8% ซึ่งบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 10% สวนทางกับความต้องการระยะสั้น ตามมาด้วยคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 8% และทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 5%
สำหรับทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกรุงเทพฯ ในไตรมาสล่าสุด ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลนอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ และกรุงเทพฯ รอบนอก อันดับ 1 ได้แก่ เขตบางเขน เพิ่มขึ้น 16% เทียบไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น 10% เทียบปีก่อนด้วยทำเลที่ใกล้รถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และยังอยู่ใกล้สนามบินดอนเมืองจึงเชื่อมต่อการเดินทางได้อย่างสะดวก
ตามมาด้วยเขตบางกอกใหญ่ เพิ่มขึ้น 15% เทียบไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น 24% เทียบปีก่อน, เขตลาดกระบัง เพิ่มขึ้น 13% เทียบไตรมาสก่อน ลดลง 5% เทียบปีก่อน , เขตบางขุนเทียน เพิ่มขึ้น 9% เทียบไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น 1% เทียบปีก่อน และเขตประเวศ เพิ่มขึ้น 6% เทียบไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้น 10% เทียบกับปีก่อน
นาย
วิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า หากมองภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้อาจไม่ได้สดใสเท่าใดนัก ยังมีปัจจัยท้าทายที่สืบเนื่องมาจากปีก่อนหน้า ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวไม่มากนัก อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมทั้งค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง ปัจจัยเหล่านี้กำลังผลักให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ต้องชะลอการซื้อบ้านออกไปก่อน
แต่ทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยในระยะถัดไปน่าจะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยรวมทั้งผู้ที่กำลังผ่อนบ้านในเวลานี้
ท่ามกลางความท้าทายบนสถานการณ์ที่คาดเดาอนาคตไม่ได้นี้ มองว่าผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างควรต้องรักษาวินัยทางการเงินอย่างมาก นอกจากจะมีแผนรับมือในกรณีที่ดอกเบี้ยไม่ได้ปรับลดลงแล้ว ควรมีแผนฉุกเฉินในกรณีที่ดอกเบี้ยเข้าสู่ยุคขาขึ้นอีกครั้งด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยโดยที่ไม่ขาดสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารยังคงมีมาตรการที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อกับผู้บริโภคกลุ่มนี้เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียที่อาจตามมา
“
แม้จะมีความท้าทาย แต่คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีปัจจัยบวกในระยะยาว เพร่ะความต้องการซื้อและความต้องการเช่ายังคงสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดโควิด สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในตลาดอสังหาฯในฐานะสินทรัพย์ที่สามารถถือครองและหวังผลกำไรในระยะยาวได้ “นาย
วิทยากล่าว
JJNY : แห่โพสต์ถึง อานนท์ นำภา│“ชัยธวัช” ประกาศ”ก้าวไกล” มาไกล│‘หนี้เสียสินเชื่อบ้าน’ ทะลัก│เงินริงกิตดิ่งหนักสุดรอบ26ปี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4434879
นักสิทธิ-ผู้ลี้ภัย-นักกิจกรรม แห่โพสต์ถึง อานนท์ นำภา ในวันทนายความ 20 กุมภา
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ผู้ลี้ภัยทางการเมือง ได้โพสต์ข้อเขียนถึงวันทนายความ โดยมีเนื้อหาดังนี้
สมัยผมเป็นเด็ก จนหนุ่ม ทนายความเป็นสัญลักษณ์ของนักกฎหมาย เพราะส่วนใหญ่เป็นนักสู้ มีบทบาทมากในกระบวนยุติธรรม แล้วค่อยๆลดลง
ถึงปัจจุบัน เหลือไม่กี่มากน้อย
วันทนายความ ขอคารวะทนายกฤษฎางค์ ทนายอานนท์ ทนายศูนย์สิทธิมนุษยชน ฯลฯ
นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ประจำประเทศไทย ได้โพสต์เช่นกันว่า
20 กุมภาพันธ์ – วันทนายความ – ทนายอานนท์ ติดคุกข้อหา ม.112 และถูกสภาทนายความไต่สวนเพื่อถอนใบอนุญาต เพราะทำกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตย
ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า
วันทนายความ 20 กุมภาพันธ์
ทนายความที่เป็นพี่เลี้ยงตั้งแต่วันแรกๆ
ทนายความที่เป็นนักกิจกรรมที่หัวใจยิ่งใหญ่
ทนาย อานนท์ นำภา
ณัฏฐิธิดา มีวังปลา หรือ แหวน พยาบาลอาสา ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า
“อยากให้โลกนี้มีเสรีภาพ และสนุกวันที่ 20 กุมภาพันธ์วันทนายความ นี่คือทนายของฉัน ทนายอานนท์ นำภา แม้ไร้อิสรภาพ เจตจำนงของเขาคือเสรีภาพ”
https://www.facebook.com/jaran.ditapichai/posts/pfbid0VbtDE21RQXwD5nv7xy3eNaKLf46GHaquyGeBoBorKqpdoZcKy8Hyf9JJfPCB42fCl
https://twitter.com/sunaibkk/status/1759803650086691301
https://www.facebook.com/jammyjamlawyer/posts/pfbid0fCRDzp8vNrnReM7wVEBZQ4uHjMUZqPoSbDPq5sMbmx8TvYSHPcAfT6n7StHmftPhl
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02vd4pTr2W9aeYAYxQtrGA72gzkJ6ZEqmUAxuZvH8suprVkKELuVfuorb5yyXQPANHl&id=100028412290554
“ชัยธวัช” ประกาศ”ก้าวไกล” มาไกลเกินกว่าจะแพ้-เกินกว่าจะหวั่นไหว
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4434807
“ชัยธวัช ตุลาธน” สส.และหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินหน้าต่อสถานการณ์การเมืองร้อน ประกาศก้าวไกลมาไกลเกินกว่าจะแก้ เกินกว่าจะหวั่นไหว เป็นสะพานเชื่อมอดีตกับอนาคต ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
ค่าครองชีพพุ่ง คนซื้อบ้านต่ำ 3 ล้านเริ่มผ่อนไม่ไหว ‘หนี้เสียสินเชื่อบ้าน’ ทะลัก 1.2 แสนล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4435063
ค่าครองชีพพุ่ง คนซื้อบ้านต่ำ 3 ล้านเริ่มผ่อนไม่ไหว ‘หนี้เสียสินเชื่อบ้าน’ ทะลัก 1.2 แสนล้าน
สัญญาณกำลังซื้อบ้านอ่อนแรง ในกลุ่มระดับกลาง-ล่างเริ่มผ่อนไม่ไหว ทั้งอัตราดอกเบี้ยแพง ค่าครองชีพที่พุ่งแซงเงินในกระเป๋า กำลังปะทุขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุดดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้เผยภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัวตามที่คาด อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาวะหนี้ครัวเรือนและกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริโภคชะลอแผนซื้อบ้านออกไปก่อน
ทำให้ภาพรวมความต้องการซื้อทั่วประเทศในไตรมาสล่าสุดลดลง 14% และลดลงทุกประเภทที่อยู่อาศัย สวนทางภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศที่ปรับขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นอุปสรรคต่อกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ที่มองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้
อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (ไตรมาส 4 ปี 2562) พบว่า ภาพรวมความต้องการซื้อในระยะยาวยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี โดยความต้องการซื้อคอนโดฯ ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด 12% ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 10% และบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 2%
นอกจากนี้ยังพบว่าที่อยู่อาศัยราคา 1-3 ล้านบาท มีจำนวนมากที่สุดในตลาดด้วยสัดส่วน 30% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคระดับล่าง ยังคงไม่มีกำลังซื้อเพียงพอที่จะดูดซับอุปทานเหล่านี้
สอดคล้องกับข้อมูลของเครดิตบูโรที่พบว่าหนี้เสียจากสินเชื่อบ้านเพิ่มสูงขึ้น ผู้ซื้อระดับล่างเริ่มผ่อนบ้านไม่ไหวจากปัญหาค่าครองชีพที่แพงขึ้น โดยประมาณ 60-70% ของหนี้ที่กำลังจะเสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือประมาณ 1.2 แสนล้านบาท มีปัญหามาจากคนที่ผ่อนบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง
สำหรับภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับภาพรวมของทั้งประเทศ พบว่าดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับเพิ่มขึ้น 4% เทียบปีก่อน โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย
คอนโดฯ เพิ่มขึ้นมากที่สุดเพิ่มขึ้น 5% เทียบปีก่อน ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 3% เทียบปีก่อนและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 3% เทียบปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการก่อสร้างโครงการใหม่ที่กลายเป็นปัจจัยกดดันให้ผู้ประกอบการต้องวางกลยุทธ์เพื่อปรับราคาให้สอดคล้องกับทั้งต้นทุนและกำลังซื้อของผู้บริโภค
ทั้งนี้ราคาบ้านที่แพงขึ้นในยุคที่อัตราดอกเบี้ยสูงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภค ทำให้ความต้องการซื้อในกรุงเทพฯ ลดลงอย่างมาก โดยภาพรวมความต้องการซื้อลดลง 15% เทียบไตรมาสก่อนและลดลง 27% เมื่อเทียบปีก่อน ทั้งนี้ บ้านเดี่ยวเป็นที่อยู่อาศัยที่ความต้องการซื้อลดลงมากที่สุด โดยลดลงถึง 21% เทียบไรมาสก่อน ลดลง 34% เทียบปีก่อน รองลงมาเป็นทาวน์เฮ้าส์ลดลง 17% เทียบไตรมาสก่อน ลดลง 28% เทียบปีก่อนและคอนโดฯ ลดลง 12% เทียบไตรมาสก่อน ลดลง 23% เทียบปีก่อน
อย่างไรก็ดี หากมองในระยะยาวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ภาพรวมความต้องการซื้อในกรุงเทพฯ ยังคงเป็นบวก โดยความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 8% ซึ่งบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 10% สวนทางกับความต้องการระยะสั้น ตามมาด้วยคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 8% และทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 5%
สำหรับทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกรุงเทพฯ ในไตรมาสล่าสุด ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลนอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ และกรุงเทพฯ รอบนอก อันดับ 1 ได้แก่ เขตบางเขน เพิ่มขึ้น 16% เทียบไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น 10% เทียบปีก่อนด้วยทำเลที่ใกล้รถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และยังอยู่ใกล้สนามบินดอนเมืองจึงเชื่อมต่อการเดินทางได้อย่างสะดวก
ตามมาด้วยเขตบางกอกใหญ่ เพิ่มขึ้น 15% เทียบไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น 24% เทียบปีก่อน, เขตลาดกระบัง เพิ่มขึ้น 13% เทียบไตรมาสก่อน ลดลง 5% เทียบปีก่อน , เขตบางขุนเทียน เพิ่มขึ้น 9% เทียบไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น 1% เทียบปีก่อน และเขตประเวศ เพิ่มขึ้น 6% เทียบไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้น 10% เทียบกับปีก่อน
นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า หากมองภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้อาจไม่ได้สดใสเท่าใดนัก ยังมีปัจจัยท้าทายที่สืบเนื่องมาจากปีก่อนหน้า ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวไม่มากนัก อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมทั้งค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง ปัจจัยเหล่านี้กำลังผลักให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ต้องชะลอการซื้อบ้านออกไปก่อน
แต่ทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยในระยะถัดไปน่าจะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยรวมทั้งผู้ที่กำลังผ่อนบ้านในเวลานี้
ท่ามกลางความท้าทายบนสถานการณ์ที่คาดเดาอนาคตไม่ได้นี้ มองว่าผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างควรต้องรักษาวินัยทางการเงินอย่างมาก นอกจากจะมีแผนรับมือในกรณีที่ดอกเบี้ยไม่ได้ปรับลดลงแล้ว ควรมีแผนฉุกเฉินในกรณีที่ดอกเบี้ยเข้าสู่ยุคขาขึ้นอีกครั้งด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยโดยที่ไม่ขาดสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารยังคงมีมาตรการที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อกับผู้บริโภคกลุ่มนี้เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียที่อาจตามมา
“แม้จะมีความท้าทาย แต่คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีปัจจัยบวกในระยะยาว เพร่ะความต้องการซื้อและความต้องการเช่ายังคงสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดโควิด สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในตลาดอสังหาฯในฐานะสินทรัพย์ที่สามารถถือครองและหวังผลกำไรในระยะยาวได้ “นายวิทยากล่าว