สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ขอประธานศาลฎีกาใช้ข้อบังคับว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวฯ
https://prachatai.com/journal/2023/09/106149
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ออกจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกา เรื่อง ขอให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้ข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวฯ ถูกบังคับใช้ เพื่อคุ้มครองหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยอย่างเป็นเอกภาพ
30 ก.ย. 2566 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ออกจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกา เรื่อง ขอให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้ข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวฯ ถูกบังคับใช้ เพื่อคุ้มครองหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยอย่างเป็นเอกภาพ
เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2566 เวลา 9.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 811 ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ2495/2564 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ นาย
อานนท์ นำภา จำเลย โดยสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน องค์กรและบุคคลจำนวน 138 รายชื่อได้มีหนังสือถึงอธิบดีศาลอาญา ขอให้สั่งคำร้องให้เป็นไปตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ข้อ 24 และ 25 ในวันดังกล่าว ศาลอาญาพิพากษาจำคุกจำเลย 4 ปี ปรับ 20,000 บาท ไม่รอการลงโทษ ภายหลังศาลอาญามีคำพิพากษาได้มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. วันที่ 28 ก.ย. 2566 มีข้อมูลจากทนายความว่าทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลอาญาว่านัแต่มีการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยในวันที่ 26 ก.ย. 2566 จนกระทั่งวันนี้ ยังไม่ได้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง เนื่องจากข้อขัดข้องด้านธุรการ และศาลอาญาเพิ่งส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปยังศาลอุทธรณ์หลังเวลา 15.00 น. ไม่ทราบเวลาที่แน่นอน
2. วันที่ 29 ก.ย. 2566 ซึ่งครบระยะเวลา 3 วันทำการซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยเร็ว ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำสั่งส่งมายังศาลชั้นต้น
3. วันที่ 30 ก.ย. 2566 หลังเวลา 12.00 น. ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย ด้วยเหตผลว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีประกอบพยานหลักฐานในสำนวนแล้ว การกระทำของจำเลยกระทบกระเทือนและสร้างความเสียหายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมีเหตุเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง
ส่วนที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนพยานผู้ร้องก่อนมีคำสั่งในคำร้องขอปล่อยชั่วคราวนั้น เนื่องจากพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอต่อการวินิจฉัยแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานผู้ร้องอีก ให้ยกคำร้องในส่วนนี้”
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การกระทำและคำสั่งของศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ในข้อ 24 ที่กำหนดว่า
“กรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือคดีที่ต้องขออนุญาตฎีกาก็ตาม หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใดๆ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยใช้วิธีการอย่างเดียวกับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง
ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์ และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใดๆ แม้จำเลยยังไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลที่มีอำนาจอาจมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวโดยใช้เงื่อนไขหรือมาตรการอย่างเดียวกับศาลล่างหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้”
ข้อ 25 กำหนดว่า “การดำเนินการตามข้อบังคับนี้ ให้ใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงและแบบพิมพ์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด”
กรณีดังกล่าว ศาลอาญาละเลยการปฏิบัติตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาจนทำให้จำเลยต้องสูญเสียอิสรภาพในระหว่างที่ศาลอาญาส่งคำร้องฯ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง และส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์ล่าช้าเป็นอย่างมาก ซึ่งโดยปกติคำร้องจะถูกส่งไปยังศาลอุทธรณ์ในเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวคือวันที 26 กันยายน 2566 แต่ปรากฏว่าคดีนี้ ศาลชั้นต้นส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์ช่วงเย็นของวันที่ 28 กันยายน 2566
ส่วนศาลอุทธรณ์ก็สั่งคำร้องไปโดยไม่มีการไต่สวน และอ้างว่าพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอต่อการวินิจฉัยแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานผู้ร้องอีก ทั้งที่ในสำนวนคดี ไม่มีพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใดปรากฏว่าหากจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วจะหลบหนี จึงเป็นการสั่งคำร้องโดยปราศจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน เป็นการกระทำที่ขัดกับข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ โดยชัดแจ้ง ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของจำเลยและขัดแย้งต่อหลักกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนนานัปการ
สมาคมฯ ขอเรียนต่อท่านว่า การสั่งคำร้องปล่อยชั่วคราวควรมีมาตรฐานขั้นต่ำในการพิจารณาสั่ง ซึ่งข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อการนี้ไว้ในข้อ 25 คือให้มีการประเมินความเสี่ยงและแบบพิมพ์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลเป็นการคาดเดาเอาเองอย่างเลื่อนลอยโดยปราศจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่าจำเลยจะหลบหนีหากได้รับการปล่อยชั่วคราว ซึ่งนับแต่ก่อตั้งสมาคมฯ เมื่อปี 2550 ปัญหาการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลในลักษณะนี้เป็นปัญหามาโดยตลอด ไม่ใช่เฉพาะคดีของนายอานนท์ นำภา และยังคงเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งประธานศาลฎีกาได้ออกข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น ซึ่งสมาคมฯ ประชาชน นักวิชาการ ทนายความและแวดวงนักกฎหมายต่างเห็นว่าเป็นข้อบังคับฯ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาการปล่อยชั่วคราวที่ดำรงอยู่มาเนิ่นนานได้ แต่ปรากฏว่าศาลไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ
สมาคมฯ จึงขอเรียนมายังท่านเพื่อขอให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้ข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ ถูกบังคับใช้และปฏิบัติตามเพื่อคุ้มครองหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาอย่างเป็นเอกภาพต่อไป และเพื่อไม่ให้การกระทำหรือคำสั่งของศาลในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยกระทบกระเทือนและสร้างความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย เสมือนเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของจำเลยเสียเอง
https://www.facebook.com/hrlathai/posts/707735194732589
‘สุดารัตน์’ ขอรบ.จริงใจ เร่งแก้รธน. แนะทำต่อจากร่างที่เคยเสนอไว้ ชี้ตั้ง กก.ศึกษา ยิ่งเสียเวลา
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4208668
“สุดารัตน์” ขอรบ. จริงใจ เร่งรธน. แนะทำต่อจากร่างที่เคยเสนอไว้ ชี้ตั้งคณะกรรมการศึกษา ยิ่งเสียเวลา เสียเงิน และสร้างความขัดแย้ง
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม คุณหญิงสุ
ดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) กล่าวถึงการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ว่า ไม่มีความชัดเจนมาตั้งแต่ต้นและใช้เวลานานมาก ทั้งที่เมื่อตอนเป็นฝ่ายค้านต้องการแก้ไขตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไป รวมถึงการแก้รายประเด็นเพื่อตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งทางพรรคทสท.เอง ได้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาฯ เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง ใจความสำคัญคือ ให้มีเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เป็นผู้มาเขียนรัฐธรรมนูญ โดยไม่แก้หมวด 1 และ 2 เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง โดยมุ่งแก้ไขในส่วนที่กระทบถึงประชาชนและขจัดการสืบทอดอำนาจ
“
พรรคไทยสร้างไทยได้เสนอร่างแก้ไขไปแล้ว ตรงนี้เราชัดเจน โดยวิธีการของเราคือไม่ต้องทำประชามติ ถามประชาชนก่อน เพราะไม่ใช่การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ประชาชนเสียโอกาสมาหลายปีแล้ว ครั้งนี้ถ้าร่วมมือกันก็จะแก้ไขได้เสร็จภายในปี 2567 และนายโภคิน พลกุล ซึ่งถือว่าเป็นปรมาจารย์ด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ท่านได้ร่างเอาไว้สามารถทำได้ทันที” คุณหญิง
สุดารัตน์ กล่าว
คุณหญิง
สุดารัตน์ กล่าวต่อว่า แนะนำรัฐบาลว่าถ้าจริงใจให้ใช้วิธีนี้ ไม่ต้องเสียเงินไปทำประชามติก่อน และไม่เกิดความขัดแย้ง เพราะไม่ได้แก้หมวด 1 และ 2 อยากเรียกร้องให้รัฐบาลมีความจริงใจ อย่าไปซื้อเวลาด้วยการตั้งคณะกรรมการ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะทำให้เสียเงิน และยิ่งสร้างความขัดแย้ง
“
ขอเชิญชวนภาคประชาชน รัฐบาล สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันสร้าง สสร. ไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไป เพื่อปากท้อง สิทธิเสรีภาพที่ดีกว่าของประชาชน และเพื่อสถาปนาประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง ซึ่งตามร่างของพรรคไทยสร้างไทย จะมีการทำประชามติเพียงครั้งเดียวที่รัฐธรรมนูญบังคับ และขอยืนยันว่าแล้วเสร็จภายในปี 2567 ถ้าเริ่มทำกันวันนี้” คุณหญิง
สุดารัตน์กล่าว
โรม ห่วงภูเก็ต เด่นท่องเที่ยวแต่ ‘คอร์รัปชั่น-ส่วย’ อื้อ ทำ ศก.สะดุด ชี้ต้องกระจายอำนาจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4208467
“รังสิมันต์ โรม” ชี้ ภูเก็ต โดดเด่นท่องเที่ยว เต็มไปด้วยทุจริตคอร์รัปชั่น ส่วยใต้โต๊ะ ทำให้เศรษฐกิจสะดุด
เมื่อวันที่ 30 กันยายน นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล นาย
เฉลิมพงศ์ แสงดี ส.ส.เขต 2 ภูเก็ต นาย
ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ส.ส.เขต 3 ภูเก็ต พบปะสมาชิกพรรคก้าวไกลและร่วมโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมาย ในประเด็นที่บรรยาย อาทิ กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ประชาชนต้องรู้ โดยมี ผู้ประกอบการเข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก ณโรงแรม ทาชฮ พูลวิลล่า ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกับพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ 4 ปีที่มีการเลือกตั้ง 62 เป็นต้นมา เราได้ลงพื้นที่ภูเก็ตเป็นระยะ พยายามพูดถึงผลักดันปัญหาของพี่น้องชาวภูเก็ตมาตลอด คราวนี้พี่น้องชาวภูเก็ตให้โอกาสพรรคก้าวไกล ชนะการเลือกตั้ง ส.ส.ทั้ง 3 เขต ชนะทั้งจังหวัด เป็นอะไรที่ส้มทั้งเกาะ เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ได้รับโอกาสแบบนี้ ต้องขอบคุณทุกโอกาสทุกคะแนนเสียงทุกความไว้วางใจจากพี่น้องชาวภูเก็ตมาก จริงๆ และมีความภาคภูมิใจ ส.ส.ภูเก็ต เขต 2 เขต 3 ที่ผลักดันนำปัญหาต่างๆ ของภูเก็ต ซึ่งทุกคนที่อยู่ในภูเก็ตรู้ว่าปัญหาต่างๆ มีภูเก็ตมีอะไรบ้าง
JJNY : ส.นักกฎหมายสิทธิฯ ขอปธ.ศาลฎีกา│ขอรบ.จริงใจ เร่งแก้รธน.│โรมห่วงภูเก็ต ‘คอร์รัปชั่น-ส่วย’ อื้อ│โลกร้อนทำน้ำท่วม
https://prachatai.com/journal/2023/09/106149
30 ก.ย. 2566 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ออกจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกา เรื่อง ขอให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้ข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวฯ ถูกบังคับใช้ เพื่อคุ้มครองหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยอย่างเป็นเอกภาพ
เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2566 เวลา 9.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 811 ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ2495/2564 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ นายอานนท์ นำภา จำเลย โดยสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน องค์กรและบุคคลจำนวน 138 รายชื่อได้มีหนังสือถึงอธิบดีศาลอาญา ขอให้สั่งคำร้องให้เป็นไปตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ข้อ 24 และ 25 ในวันดังกล่าว ศาลอาญาพิพากษาจำคุกจำเลย 4 ปี ปรับ 20,000 บาท ไม่รอการลงโทษ ภายหลังศาลอาญามีคำพิพากษาได้มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. วันที่ 28 ก.ย. 2566 มีข้อมูลจากทนายความว่าทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลอาญาว่านัแต่มีการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยในวันที่ 26 ก.ย. 2566 จนกระทั่งวันนี้ ยังไม่ได้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง เนื่องจากข้อขัดข้องด้านธุรการ และศาลอาญาเพิ่งส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปยังศาลอุทธรณ์หลังเวลา 15.00 น. ไม่ทราบเวลาที่แน่นอน
2. วันที่ 29 ก.ย. 2566 ซึ่งครบระยะเวลา 3 วันทำการซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยเร็ว ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำสั่งส่งมายังศาลชั้นต้น
3. วันที่ 30 ก.ย. 2566 หลังเวลา 12.00 น. ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย ด้วยเหตผลว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีประกอบพยานหลักฐานในสำนวนแล้ว การกระทำของจำเลยกระทบกระเทือนและสร้างความเสียหายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมีเหตุเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง
ส่วนที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนพยานผู้ร้องก่อนมีคำสั่งในคำร้องขอปล่อยชั่วคราวนั้น เนื่องจากพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอต่อการวินิจฉัยแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานผู้ร้องอีก ให้ยกคำร้องในส่วนนี้”
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การกระทำและคำสั่งของศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ในข้อ 24 ที่กำหนดว่า
“กรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือคดีที่ต้องขออนุญาตฎีกาก็ตาม หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใดๆ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยใช้วิธีการอย่างเดียวกับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง
ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์ และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใดๆ แม้จำเลยยังไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลที่มีอำนาจอาจมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวโดยใช้เงื่อนไขหรือมาตรการอย่างเดียวกับศาลล่างหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้”
ข้อ 25 กำหนดว่า “การดำเนินการตามข้อบังคับนี้ ให้ใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงและแบบพิมพ์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด”
กรณีดังกล่าว ศาลอาญาละเลยการปฏิบัติตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาจนทำให้จำเลยต้องสูญเสียอิสรภาพในระหว่างที่ศาลอาญาส่งคำร้องฯ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง และส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์ล่าช้าเป็นอย่างมาก ซึ่งโดยปกติคำร้องจะถูกส่งไปยังศาลอุทธรณ์ในเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวคือวันที 26 กันยายน 2566 แต่ปรากฏว่าคดีนี้ ศาลชั้นต้นส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์ช่วงเย็นของวันที่ 28 กันยายน 2566
ส่วนศาลอุทธรณ์ก็สั่งคำร้องไปโดยไม่มีการไต่สวน และอ้างว่าพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอต่อการวินิจฉัยแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานผู้ร้องอีก ทั้งที่ในสำนวนคดี ไม่มีพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใดปรากฏว่าหากจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วจะหลบหนี จึงเป็นการสั่งคำร้องโดยปราศจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน เป็นการกระทำที่ขัดกับข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ โดยชัดแจ้ง ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของจำเลยและขัดแย้งต่อหลักกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนนานัปการ
สมาคมฯ ขอเรียนต่อท่านว่า การสั่งคำร้องปล่อยชั่วคราวควรมีมาตรฐานขั้นต่ำในการพิจารณาสั่ง ซึ่งข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อการนี้ไว้ในข้อ 25 คือให้มีการประเมินความเสี่ยงและแบบพิมพ์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลเป็นการคาดเดาเอาเองอย่างเลื่อนลอยโดยปราศจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่าจำเลยจะหลบหนีหากได้รับการปล่อยชั่วคราว ซึ่งนับแต่ก่อตั้งสมาคมฯ เมื่อปี 2550 ปัญหาการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลในลักษณะนี้เป็นปัญหามาโดยตลอด ไม่ใช่เฉพาะคดีของนายอานนท์ นำภา และยังคงเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งประธานศาลฎีกาได้ออกข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น ซึ่งสมาคมฯ ประชาชน นักวิชาการ ทนายความและแวดวงนักกฎหมายต่างเห็นว่าเป็นข้อบังคับฯ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาการปล่อยชั่วคราวที่ดำรงอยู่มาเนิ่นนานได้ แต่ปรากฏว่าศาลไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ
สมาคมฯ จึงขอเรียนมายังท่านเพื่อขอให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้ข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ ถูกบังคับใช้และปฏิบัติตามเพื่อคุ้มครองหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาอย่างเป็นเอกภาพต่อไป และเพื่อไม่ให้การกระทำหรือคำสั่งของศาลในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยกระทบกระเทือนและสร้างความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย เสมือนเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของจำเลยเสียเอง
https://www.facebook.com/hrlathai/posts/707735194732589
‘สุดารัตน์’ ขอรบ.จริงใจ เร่งแก้รธน. แนะทำต่อจากร่างที่เคยเสนอไว้ ชี้ตั้ง กก.ศึกษา ยิ่งเสียเวลา
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4208668
“สุดารัตน์” ขอรบ. จริงใจ เร่งรธน. แนะทำต่อจากร่างที่เคยเสนอไว้ ชี้ตั้งคณะกรรมการศึกษา ยิ่งเสียเวลา เสียเงิน และสร้างความขัดแย้ง
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) กล่าวถึงการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ว่า ไม่มีความชัดเจนมาตั้งแต่ต้นและใช้เวลานานมาก ทั้งที่เมื่อตอนเป็นฝ่ายค้านต้องการแก้ไขตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไป รวมถึงการแก้รายประเด็นเพื่อตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งทางพรรคทสท.เอง ได้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาฯ เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง ใจความสำคัญคือ ให้มีเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เป็นผู้มาเขียนรัฐธรรมนูญ โดยไม่แก้หมวด 1 และ 2 เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง โดยมุ่งแก้ไขในส่วนที่กระทบถึงประชาชนและขจัดการสืบทอดอำนาจ
“พรรคไทยสร้างไทยได้เสนอร่างแก้ไขไปแล้ว ตรงนี้เราชัดเจน โดยวิธีการของเราคือไม่ต้องทำประชามติ ถามประชาชนก่อน เพราะไม่ใช่การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ประชาชนเสียโอกาสมาหลายปีแล้ว ครั้งนี้ถ้าร่วมมือกันก็จะแก้ไขได้เสร็จภายในปี 2567 และนายโภคิน พลกุล ซึ่งถือว่าเป็นปรมาจารย์ด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ท่านได้ร่างเอาไว้สามารถทำได้ทันที” คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวต่อว่า แนะนำรัฐบาลว่าถ้าจริงใจให้ใช้วิธีนี้ ไม่ต้องเสียเงินไปทำประชามติก่อน และไม่เกิดความขัดแย้ง เพราะไม่ได้แก้หมวด 1 และ 2 อยากเรียกร้องให้รัฐบาลมีความจริงใจ อย่าไปซื้อเวลาด้วยการตั้งคณะกรรมการ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะทำให้เสียเงิน และยิ่งสร้างความขัดแย้ง
“ขอเชิญชวนภาคประชาชน รัฐบาล สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันสร้าง สสร. ไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไป เพื่อปากท้อง สิทธิเสรีภาพที่ดีกว่าของประชาชน และเพื่อสถาปนาประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง ซึ่งตามร่างของพรรคไทยสร้างไทย จะมีการทำประชามติเพียงครั้งเดียวที่รัฐธรรมนูญบังคับ และขอยืนยันว่าแล้วเสร็จภายในปี 2567 ถ้าเริ่มทำกันวันนี้” คุณหญิงสุดารัตน์กล่าว
โรม ห่วงภูเก็ต เด่นท่องเที่ยวแต่ ‘คอร์รัปชั่น-ส่วย’ อื้อ ทำ ศก.สะดุด ชี้ต้องกระจายอำนาจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4208467
“รังสิมันต์ โรม” ชี้ ภูเก็ต โดดเด่นท่องเที่ยว เต็มไปด้วยทุจริตคอร์รัปชั่น ส่วยใต้โต๊ะ ทำให้เศรษฐกิจสะดุด
เมื่อวันที่ 30 กันยายน นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล นายเฉลิมพงศ์ แสงดี ส.ส.เขต 2 ภูเก็ต นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ส.ส.เขต 3 ภูเก็ต พบปะสมาชิกพรรคก้าวไกลและร่วมโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมาย ในประเด็นที่บรรยาย อาทิ กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ประชาชนต้องรู้ โดยมี ผู้ประกอบการเข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก ณโรงแรม ทาชฮ พูลวิลล่า ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกับพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ 4 ปีที่มีการเลือกตั้ง 62 เป็นต้นมา เราได้ลงพื้นที่ภูเก็ตเป็นระยะ พยายามพูดถึงผลักดันปัญหาของพี่น้องชาวภูเก็ตมาตลอด คราวนี้พี่น้องชาวภูเก็ตให้โอกาสพรรคก้าวไกล ชนะการเลือกตั้ง ส.ส.ทั้ง 3 เขต ชนะทั้งจังหวัด เป็นอะไรที่ส้มทั้งเกาะ เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ได้รับโอกาสแบบนี้ ต้องขอบคุณทุกโอกาสทุกคะแนนเสียงทุกความไว้วางใจจากพี่น้องชาวภูเก็ตมาก จริงๆ และมีความภาคภูมิใจ ส.ส.ภูเก็ต เขต 2 เขต 3 ที่ผลักดันนำปัญหาต่างๆ ของภูเก็ต ซึ่งทุกคนที่อยู่ในภูเก็ตรู้ว่าปัญหาต่างๆ มีภูเก็ตมีอะไรบ้าง