บ้านไหนมีผู้สูงอายุอยู่บ้าง มาแสดงตัวกันหน่อย เมื่อท่านอายุมากขึ้น สุขภาพไม่แข็งแรง เดินเหินไม่สะดวก ลูกหลานก็ต้องระมัดระวังปรับเปลี่ยนพื้นที่บ้านของเราให้ปลอดภัยกับผู้สูงอายุ
แล้วเราจะปรับปรุงบ้านอย่างไรให้เหมาะกับผู้สูงอายุ รอบรั้วชายคารวบรวมข้อมูลมาฝากค่ะ
.
.
.
🧓Universal Design 👵
การออกแบบเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งของ Unisersal Design คือการออกแบบสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับทุกคนทั้งผู้สูงอายุ คนปกติ และคนพิการ มีพื้นฐาน 7 ประการ คือ
ความเสมอภาค ทุกคนใช้งานได้เท่าเทียมกัน
ความยืดหยุ่น ใช้งานได้ถนัด ปรับระดับความสูงได้
ใช้ง่ายเข้าใจง่าย มีรูปภาพอธิบายสื่อสารได้เข้าใจง่าย
ข้อมูลชัดเจนง่ายสำหรับการใช้งาน
ระบบป้องกันอันตรายปลอดภัยเมื่อใช้งาน
ทุ่นแรงกายสะดวกไม่ต้องออกแรงมาก และ
ขนาดสถานที่เหมาะสม
หลักการ Unisersal Design ทั้ง 7 ประการนี้นำมาใช้ปรับบ้านให้ผู้สูงอายุอยู่อาศัยได้สะดวกสบายและปลอดภัย มาเริ่มสำรวจแต่ละจุดในบ้านกันเลย
🧓บันได ขึ้นลงมั่นคง👵
ผู้สูงอายุเดินเหินขึ้นลงบันไดลำบาก ทางที่ดีควรให้ผู้สูงอายุอยู่อาศัยในพื้นที่ชั้นล่าง แต่ถ้าชั้นล่างมีพื้นที่ไม่พอก็ต้องมาสำรวจบันไดว่าสามารถขึ้นลงสะดวกหรือเปล่า เพิ่มราวจับทั้งสองข้าง ขั้นบันไดต้องก้าวได้ไม่สะดุด บันไดตามมาตรฐานคือลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซม. และลูกนอนต้องกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม.
สำหรับพื้นบันได พื้นไม้เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่สุด บ้านไหนไม่ได้ใช้พื้นไม้ก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้ เทปกันลื่น แผ่นปิดตามคิ้วขอบบันไดหลบความเหลี่ยมคมของบันได และพื้นที่บันไดต้องมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อก้าวขึ้นบันไดไม่พลาด
🧓ห้องน้ำ ต้องไม่ลื่น 👵
อุบัติเหตุของผู้สูงอายุเกิดบ่อยในห้องน้ำ ต้องตรวจเช็คกันอย่างละเอียด เริ่มจากทางเข้าไม่ควรมีธรณีประตู บานประตูเลือกแบบเลื่อนดีกว่าแบบเปิดปิดเหมาะกับผู้นั่งวีลแชร์ พื้นที่ห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่อยู่ระดับเดียวกับพื้นบ้าน กรณีที่พื้นอยู่ต่างระดับกันควรปรับพื้นห้องน้ำให้ลาดเอียงแต่ไม่ลาดชันจะได้เดินไม่สะดุด
พื้นห้องน้ำเลือกใช้กระเบื้องกันลื่น ค่ากระเบื้องกันลื่นตั้งแต่ R10 สำหรับห้องน้ำส่วนแห้ง R11 สำหรับห้องน้ำส่วนเปียก (ค่า R คือ SLIP RESISTANCE RATING คือ ค่ากันความลื่น) หรือถ้าไม่สามารถเปลี่ยนกระเบื้องได้ก็สามารถใช้แผ่นกันลื่น หรือน้ำยากันลื่นแทน
โถสุขภัณฑ์ควรจะสูงจากพื้นประมาณ 45 ซ.ม. เพื่อช่วยให้ลุกนั่งได้ง่าย แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกายของผู้ใช้งานด้วย ฝารองนั่งกว้างพิเศษเพื่อการถ่ายน้ำหนักและทรงตัว ควรใช้ก้านกดน้ำมากกว่าปุ่มกดน้ำเพราะออกแรงน้อยกว่า ก้านต้องยาวและอยู่ด้านข้างเพื่อเอื้อมไปกดน้ำได้สะดวก
อย่าลืมเพิ่มราวจับบริเวณพื้นที่นั่งโถสุขภัณฑ์ และติดตั้งให้เชื่อมไปยังอ่างล้างมือเพื่อให้ผู้สูงวัยทำธุระในห้องน้ำต่อ รวมถึงราวจับพื้นที่อาบน้ำ เพิ่มม้านั่งสำหรับอาบน้ำเพื่อให้ผู้สูงวัยอาบน้ำโดยไม่ต้องยืน
🧓ห้องครัว หยิบจับสะดวก👵
การจัดวางภาชนะในห้องครัวควรเอื้อความสะดวกให้กับผู้สูงอายุหยิบใช้ได้ง่าย ชั้นวางของเอื้อมถึงได้ พื้นที่ใช้สอยที่เป็นทางเดินไม่น้อยกว่า 150 ซม. เคาน์เตอร์ครัวสูงจากพื้น 75 ซม. มีช่องว่างใต้เคาน์เตอร์ลึก 5-7 ซม.สูงจากพื้น 10 ซม. เพื่อให้สอดเท้ายืนหน้าเคาน์เตอร์ได้มั่นคง อ่างล้างจานก้นตื้นจะได้ต้องก้มมาก ก๊อกน้ำแบบก้านโยกต้องออกแรงน้อยกว่าแบบหมุนเปิดปิด
พื้นที่ไหนที่เปียกน้ำบ่อย เช่น อ่างล้างจาน ควรมีแผ่นกันลื่น และใช้กระเบื้องกันลื่นมีความหยาบสูง
🧓ห้องนอน ปลอดภัย👵
เมื่อไม่มีผู้ดูแลเข้าไปนอนกับผู้สูงอายุก็ควรต้องจัดแสงสว่างให้พอเพียง มีแสงส่องสว่างรับธรรมชาติ ไฟหัวเตียงเพื่อให้เปิดง่ายเวลากลางคืน
เลือกเตียงที่เมื่อนั่งบนริมเตียงแล้วเท้าติดกับพื้นได้พอตี หรือถ้ารู้สึกว่าเตียงเตี้ยเกินไปแก้ปัญหาได้โดยใช้พรมหนารองบนพื้นที่จะลุกขึ้นนอน
พื้นห้องนอนต้องไม่ลื่นเช่นเดียวกันเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถยืนทรงตัวได้มั่นคง
🧓พื้นที่นั่งเล่น เพิ่มความสบาย👵
ผู้สูงวัยควรมีพื้นที่นั่งพักผ่อนระหว่างวัน เลือกโซฟาพนักพิง นั่งได้มั่นคง ไม่มีล้อเลื่อน มีสตูลวางเท้า และมีที่วางแขนเพื่อให้สามารถพยุงตัวขึ้นอยู่ได้ไม่หกล้ม
ปรับเปลี่ยนพื้นที่นั่งเล่นให้มีพื้นที่เดินไปมาสะดวกโดยไม่เตะหรือชนเฟอร์นิเจอร์ วางข้าวของให้เป็นระเบียบก็มีส่วนช่วยให้เดินได้สะดวกได้เช่นกัน
เลือกโซฟาตัว L และโต๊ะกลางทรงกลมช่วยเพิ่มพื้นที่ มีโต๊ะข้างๆ วางเสริมเมื่อไม่ใช้ก็เก็บเพิ่มพื้นที่สะดวก
🧓สวน เพิ่มมุมพักผ่อน👵
ทางเดินในสวนใช้วัสดุไม่ลื่นและขรุขระ มองเห็นได้ชัดเจน มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตรเพียงพอสำหรับวีลแชร์ ถ้าทางเดินมีการหักมุมต้องมีองศาเลี้ยว 90 องศา
ทางเดินต่างระดับควรไม่สูงชัน สีที่มองเห็นได้ชัดเจน เพิ่มเก้าอี้หรือศาลานั่งพักเพื่อให้ผู้สูงวัยมีพื้นที่พักผ่อนได้อีกมุม
.
.
.
บางจุดอาจจะยากต่อการปรับปรุง ค่อย ๆ หาทางแก้ไขเฉพาะหน้า พื้นที่ตรงไหนเสี่ยงก็ควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุเป็นพิเศษ
เมื่อทุกคนในบ้านอยู่เป็นสุข เราก็เป็นสุขตาม เพราะบ้านคือความปลอดภัยสำหรับทุกคนค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
ปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุ โดย อ. กฤษณ์ อินทรนนท์ สำนักพิมพ์ คอร์ฟังก์ชั่น
https://www.cotto.com/th/blog/Antislip
https://www.baanlaesuan.com/147507/maintenance/elder-sanitary-ware
www.ddproperty.com
www.hba-th.org
ข้อควรรู้…ปรับบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ 🧓👵
หลักการ Unisersal Design ทั้ง 7 ประการนี้นำมาใช้ปรับบ้านให้ผู้สูงอายุอยู่อาศัยได้สะดวกสบายและปลอดภัย มาเริ่มสำรวจแต่ละจุดในบ้านกันเลย
สำหรับพื้นบันได พื้นไม้เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่สุด บ้านไหนไม่ได้ใช้พื้นไม้ก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้ เทปกันลื่น แผ่นปิดตามคิ้วขอบบันไดหลบความเหลี่ยมคมของบันได และพื้นที่บันไดต้องมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อก้าวขึ้นบันไดไม่พลาด
พื้นห้องน้ำเลือกใช้กระเบื้องกันลื่น ค่ากระเบื้องกันลื่นตั้งแต่ R10 สำหรับห้องน้ำส่วนแห้ง R11 สำหรับห้องน้ำส่วนเปียก (ค่า R คือ SLIP RESISTANCE RATING คือ ค่ากันความลื่น) หรือถ้าไม่สามารถเปลี่ยนกระเบื้องได้ก็สามารถใช้แผ่นกันลื่น หรือน้ำยากันลื่นแทน
อย่าลืมเพิ่มราวจับบริเวณพื้นที่นั่งโถสุขภัณฑ์ และติดตั้งให้เชื่อมไปยังอ่างล้างมือเพื่อให้ผู้สูงวัยทำธุระในห้องน้ำต่อ รวมถึงราวจับพื้นที่อาบน้ำ เพิ่มม้านั่งสำหรับอาบน้ำเพื่อให้ผู้สูงวัยอาบน้ำโดยไม่ต้องยืน
พื้นที่ไหนที่เปียกน้ำบ่อย เช่น อ่างล้างจาน ควรมีแผ่นกันลื่น และใช้กระเบื้องกันลื่นมีความหยาบสูง
เลือกเตียงที่เมื่อนั่งบนริมเตียงแล้วเท้าติดกับพื้นได้พอตี หรือถ้ารู้สึกว่าเตียงเตี้ยเกินไปแก้ปัญหาได้โดยใช้พรมหนารองบนพื้นที่จะลุกขึ้นนอน
พื้นห้องนอนต้องไม่ลื่นเช่นเดียวกันเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถยืนทรงตัวได้มั่นคง
เลือกโซฟาตัว L และโต๊ะกลางทรงกลมช่วยเพิ่มพื้นที่ มีโต๊ะข้างๆ วางเสริมเมื่อไม่ใช้ก็เก็บเพิ่มพื้นที่สะดวก
ทางเดินต่างระดับควรไม่สูงชัน สีที่มองเห็นได้ชัดเจน เพิ่มเก้าอี้หรือศาลานั่งพักเพื่อให้ผู้สูงวัยมีพื้นที่พักผ่อนได้อีกมุม
ข้อมูลอ้างอิง
ปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุ โดย อ. กฤษณ์ อินทรนนท์ สำนักพิมพ์ คอร์ฟังก์ชั่น
https://www.cotto.com/th/blog/Antislip
https://www.baanlaesuan.com/147507/maintenance/elder-sanitary-ware
www.ddproperty.com
www.hba-th.org